ไทยขึ้นแท่นอันดับ 3 ใช้แร่ใยหินมากสุดในอาเซียน ขณะที่สิงคโปร์เลิกใช้แล้ว ด้านออสเตรเลียดีเดย์ 1 ก.ค.เริ่มกฎหมายใหม่ปกป้องอันตรายจากใยหิน คณะทำงานคุณภาพชีวิต สป.ผิดหวัง สธ.สวนกระแสโลกไม่เชื่อใยหินอันตราย เตรียมเสนอ ครม. สร้างทีโออาร์รัฐ ไม่ใช้แร่ใยหิน ตั้งหน่วยงานอิสระ และกองทุนเยียวยา
วันนี้ (24 มิ.ย.) ที่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) รศ.ภก.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะคณะทำงานคุณภาพชีวิต สาธารณสุข และการคุ้มครองผู้บริโภค สป.กล่าวภายหลังการประชุมติดตามการดำเนินงานของรัฐตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปี 2554 เรื่องมาตรการสังคมไทยไร้แร่ใยหิน ว่า ในปี 2555 การใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ในประเทศพัฒนาแล้วลดลงมาก แม้แต่ผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดอย่างรัสเซียที่ส่งออกใยหิน 1 ล้านตันต่อปี ก็ลดการใช้ลง ร้อยละ 38 โดยมีการใช้ 155,476 ตัน แต่ที่น่าเป็นห่วงคือการใช้ใยหินในเอเชียกลับเพิ่มไปเป็น ร้อยละ 70 ของการใช้ทั่วโลก โดยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5 เป็น 1.39 ล้านตัน
รศ.ภก.วิทยา กล่าวอีกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศในประชาคมอาเซียน พบว่า ไทยมีอัตราการใช้แร่ใยหิน 58,008 ตัน ถือเป็นอันดับสาม รองจากอินโดนีเซีย 161,824 ตัน และเวียดนาม 78,909 ตัน ขณะที่ ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ใช้น้อยกว่าไทยถึง 30 เท่า ส่วนสิงคโปร์และบรูไน เลิกใช้ใยหินแล้ว เมื่อพิจารณามาตรการของประเทศต่างๆ ยังพบว่า ประเทศออสเตรเลีย เริ่มมาตรการปกป้องสุขภาพประชาชนจากอันตรายของใยหิน โดยการออกกฎหมายชื่อ “ความปลอดภัยและการกำจัดแร่ใยหิน” จะบังคับใช้ในวันที่ 1 ก.ค.นี้ โดยให้มีแผนยุทธศาสตร์ชาติเพื่อสนับสนุนการสร้างความตื่นตัวและการจัดการป้องกันอันตรายจากแร่ใยหิน และตั้งหน่วยงานสนับสนุน เพื่อเพิ่มความตื่นตัวแก่สาธารณชน จัดลำดับการรื้อถอน การพัฒนามาตรฐานแนวทางในการควบคุมจัดการ การวิจัยระดับชาติเพื่อการลดความเสี่ยง เป็นต้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้นำของโลกและเป็นแบบอย่างในการป้องภัยจากใยหิน
ศ.เมธี ดร.สุปรีดิ์ วงศ์ดีพร้อม ประธานคณะทำงานคุณภาพชีวิต สาธารณสุข และคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า สภาที่ปรึกษาได้เชิญผู้แทนจาก 3 หน่วยงานคือ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสุขภาพแห่งชาติ เพื่อติดตามการดำเนินการตามข้อตกลงว่าด้วยเรื่องแร่ใยหิน ซึ่งสภาที่ปรึกษาได้ส่งคำแนะนำให้กับ ครม.เพื่อให้เร่งรัดการยกเลิก และการขายวัสดุที่มีแร่ใยหินในปี 2556 นี้ ซึ่งพบว่า ครม.ได้ให้กระทรวงสาธารณสุข ตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาเพิ่มเติมว่าแร่ใยหินมีอันตรายเพียงพอต่อการยกเลิกการใช้หรือไม่ ซึ่งที่ประชุมคณะทำงานกระทรวงสาธารณสุข ได้ประชุมไปแล้ว 3 ครั้ง และล่าสุดวันที่ 20 มิ.ย.พบว่า มีการเลื่อนการประชุมออกไป โดย นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุม ได้ให้ความเห็นหลังเลื่อนการประชุม ว่าแร่ใยหินไครโซไทล์ไม่มีอันตรายจนถึงกับต้องเลิกการใช้ แต่ให้ควบคุมสิ่งแวดล้อม ทั้งที่คณะทำงานฯยังไม่ได้สรุปผล ตรงกันข้าม ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมเห็นว่าควรยกเลิกใช้ใยหินทันที ซึ่งสภาที่ปรึกษาฯ จะทำข้อเสนอถึง ครม.อีกครั้ง เพราะความพยายามในการเตะถ่วงเรื่องดังกล่าวออกไปนั้นเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม
“สภาที่ปรึกษาฯ ได้สรุปความเห็น 3 ข้อ เพื่อเตรียมส่งให้ ครม. คือ 1.ในขณะที่ยังไม่มีมาตรการยกเลิกการใช้แร่ใยหิน ควรมีมาตรการอื่น เพื่อควบคุมความปลอดภัย เช่น โครงการก่อสร้างของภาครัฐ ต้องระบุในทีโออาร์ว่า ต้องไม่มีการใช้วัสดุจากแร่ใยหิน เป็นต้น 2. ควรมีหน่วยงานอิสระ ภายใต้การกำกับของสำนักนายกฯ เพื่อดูแลเรื่องความปลอดภัยจากสารเคมีและวัตถุที่อาจเป็นอันตรายทุกชนิด เพราะการกำกับความปลอดภัยไม่สามารถทำได้เพียงลำพังหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง และ 3.ควรมีการตั้งกองทุนเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตราย เพื่อป้องกันผลกระทบและเป็นการควบคุมให้เกิดความปลอดภัยของประชาชนอีกทาง” ศ.เมธี ดร.สุปรีดิ์ กล่าว
วันนี้ (24 มิ.ย.) ที่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) รศ.ภก.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะคณะทำงานคุณภาพชีวิต สาธารณสุข และการคุ้มครองผู้บริโภค สป.กล่าวภายหลังการประชุมติดตามการดำเนินงานของรัฐตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปี 2554 เรื่องมาตรการสังคมไทยไร้แร่ใยหิน ว่า ในปี 2555 การใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ในประเทศพัฒนาแล้วลดลงมาก แม้แต่ผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดอย่างรัสเซียที่ส่งออกใยหิน 1 ล้านตันต่อปี ก็ลดการใช้ลง ร้อยละ 38 โดยมีการใช้ 155,476 ตัน แต่ที่น่าเป็นห่วงคือการใช้ใยหินในเอเชียกลับเพิ่มไปเป็น ร้อยละ 70 ของการใช้ทั่วโลก โดยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5 เป็น 1.39 ล้านตัน
รศ.ภก.วิทยา กล่าวอีกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศในประชาคมอาเซียน พบว่า ไทยมีอัตราการใช้แร่ใยหิน 58,008 ตัน ถือเป็นอันดับสาม รองจากอินโดนีเซีย 161,824 ตัน และเวียดนาม 78,909 ตัน ขณะที่ ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ใช้น้อยกว่าไทยถึง 30 เท่า ส่วนสิงคโปร์และบรูไน เลิกใช้ใยหินแล้ว เมื่อพิจารณามาตรการของประเทศต่างๆ ยังพบว่า ประเทศออสเตรเลีย เริ่มมาตรการปกป้องสุขภาพประชาชนจากอันตรายของใยหิน โดยการออกกฎหมายชื่อ “ความปลอดภัยและการกำจัดแร่ใยหิน” จะบังคับใช้ในวันที่ 1 ก.ค.นี้ โดยให้มีแผนยุทธศาสตร์ชาติเพื่อสนับสนุนการสร้างความตื่นตัวและการจัดการป้องกันอันตรายจากแร่ใยหิน และตั้งหน่วยงานสนับสนุน เพื่อเพิ่มความตื่นตัวแก่สาธารณชน จัดลำดับการรื้อถอน การพัฒนามาตรฐานแนวทางในการควบคุมจัดการ การวิจัยระดับชาติเพื่อการลดความเสี่ยง เป็นต้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้นำของโลกและเป็นแบบอย่างในการป้องภัยจากใยหิน
ศ.เมธี ดร.สุปรีดิ์ วงศ์ดีพร้อม ประธานคณะทำงานคุณภาพชีวิต สาธารณสุข และคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า สภาที่ปรึกษาได้เชิญผู้แทนจาก 3 หน่วยงานคือ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสุขภาพแห่งชาติ เพื่อติดตามการดำเนินการตามข้อตกลงว่าด้วยเรื่องแร่ใยหิน ซึ่งสภาที่ปรึกษาได้ส่งคำแนะนำให้กับ ครม.เพื่อให้เร่งรัดการยกเลิก และการขายวัสดุที่มีแร่ใยหินในปี 2556 นี้ ซึ่งพบว่า ครม.ได้ให้กระทรวงสาธารณสุข ตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาเพิ่มเติมว่าแร่ใยหินมีอันตรายเพียงพอต่อการยกเลิกการใช้หรือไม่ ซึ่งที่ประชุมคณะทำงานกระทรวงสาธารณสุข ได้ประชุมไปแล้ว 3 ครั้ง และล่าสุดวันที่ 20 มิ.ย.พบว่า มีการเลื่อนการประชุมออกไป โดย นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุม ได้ให้ความเห็นหลังเลื่อนการประชุม ว่าแร่ใยหินไครโซไทล์ไม่มีอันตรายจนถึงกับต้องเลิกการใช้ แต่ให้ควบคุมสิ่งแวดล้อม ทั้งที่คณะทำงานฯยังไม่ได้สรุปผล ตรงกันข้าม ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมเห็นว่าควรยกเลิกใช้ใยหินทันที ซึ่งสภาที่ปรึกษาฯ จะทำข้อเสนอถึง ครม.อีกครั้ง เพราะความพยายามในการเตะถ่วงเรื่องดังกล่าวออกไปนั้นเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม
“สภาที่ปรึกษาฯ ได้สรุปความเห็น 3 ข้อ เพื่อเตรียมส่งให้ ครม. คือ 1.ในขณะที่ยังไม่มีมาตรการยกเลิกการใช้แร่ใยหิน ควรมีมาตรการอื่น เพื่อควบคุมความปลอดภัย เช่น โครงการก่อสร้างของภาครัฐ ต้องระบุในทีโออาร์ว่า ต้องไม่มีการใช้วัสดุจากแร่ใยหิน เป็นต้น 2. ควรมีหน่วยงานอิสระ ภายใต้การกำกับของสำนักนายกฯ เพื่อดูแลเรื่องความปลอดภัยจากสารเคมีและวัตถุที่อาจเป็นอันตรายทุกชนิด เพราะการกำกับความปลอดภัยไม่สามารถทำได้เพียงลำพังหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง และ 3.ควรมีการตั้งกองทุนเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตราย เพื่อป้องกันผลกระทบและเป็นการควบคุมให้เกิดความปลอดภัยของประชาชนอีกทาง” ศ.เมธี ดร.สุปรีดิ์ กล่าว