ศ.เมธี ดร.สุปรีดิ์ วงศ์ดีพร้อม ประธานคณะทำงานคุณภาพชีวิต สาธารณสุข และคุ้มครองผู้บริโภค สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า เตรียมทำข้อเสนอ 3 ประเด็นให้กับคณะรัฐมนตรี ได้แก่ ในขณะที่ยังไม่มีมาตรการยกเลิกการใช้แร่ใยหิน ควรมีมาตรการอื่นเพื่อควบคุมความปลอดภัย เช่น โครงการก่อสร้างของภาครัฐ ต้องระบุในข้อกำหนดเงื่อนไขการกำหนดราคา หรือ ทีโออาร์ว่า ต้องไม่มีการใช้วัสดุจากแร่ใยหิน เป็นต้น และ ควรมีหน่วยงานอิสระ ภายใต้การกำกับของสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อดูแลเรื่องความปลอดภัยจากสารเคมี และวัตถุที่อาจเป็นอันตรายทุกชนิด เพราะการกำกับความปลอดภัยไม่สามารถทำได้เพียงลำพังหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง และสุดท้ายควรมีการตั้งกองทุนเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตราย เพื่อป้องกันผลกระทบ และเป็นการควบคุมให้เกิดความปลอดภัยของประชาชนอีกทาง
รศ.เภสัชกร วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานพัฒนาวิชาการ และกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ หรือ คคส. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในปี 2555 การใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ในประเทศพัฒนาแล้วลดลงมาก แม้แต่ผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดอย่างรัสเซียที่ส่งออกใยหิน 1 ล้านตันต่อปี ก็ลดการใช้ลงร้อยละ 38 โดยมีการใช้ 155,476 ตัน แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ การใช้ใยหินในเอเชียกลับเพิ่มไปเป็น ร้อยละ70 ของการใช้ทั่วโลก โดยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5 เป็น 1.39 ล้านตัน
รศ.เภสัชกร วิทยา กล่าวต่อไปว่า ประเทศไทยมีอัตราการใช้แร่ใยหิน 58,008 ตัน เป็นอันดับสาม รองจากอินโดนีเซีย 161,824ตัน และเวียดนาม 78,909 ตัน ขณะที่ ฟิลิปปินส์ และมาเลเซียใช้น้อยกว่าไทยถึง 30 เท่า ส่วนสิงคโปร์และบรูไน เลิกใช้แร่ใยหินแล้ว
ขณะที่ประเทศออสเตรเลียเริ่มมาตรการปกป้องสุขภาพประชาชนจากอันตรายของใยหิน โดยการออกกฎหมายชื่อ "ความปลอดภัยและการกำจัดแร่ใยหิน" จะบังคับใช้ในวันที่1 กรกฎาคมนี้ โดยให้มีแผนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อสนับสนุนการสร้างความตื่นตัว และการจัดการป้องกันอันตรายจากแร่ใยหิน และตั้งหน่วยงานสนับสนุน เพื่อเพิ่มความตื่นตัวแก่สาธารณชน จัดลำดับการรื้อถอน การพัฒนามาตรฐานแนวทางในการควบคุมจัดการ การวิจัยระดับชาติ เพื่อการลดความเสี่ยง เป็นต้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้นำของโลกและเป็นแบบอย่างในการป้องภัยจากแร่ใยหิน
รศ.เภสัชกร วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานพัฒนาวิชาการ และกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ หรือ คคส. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในปี 2555 การใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ในประเทศพัฒนาแล้วลดลงมาก แม้แต่ผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดอย่างรัสเซียที่ส่งออกใยหิน 1 ล้านตันต่อปี ก็ลดการใช้ลงร้อยละ 38 โดยมีการใช้ 155,476 ตัน แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ การใช้ใยหินในเอเชียกลับเพิ่มไปเป็น ร้อยละ70 ของการใช้ทั่วโลก โดยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5 เป็น 1.39 ล้านตัน
รศ.เภสัชกร วิทยา กล่าวต่อไปว่า ประเทศไทยมีอัตราการใช้แร่ใยหิน 58,008 ตัน เป็นอันดับสาม รองจากอินโดนีเซีย 161,824ตัน และเวียดนาม 78,909 ตัน ขณะที่ ฟิลิปปินส์ และมาเลเซียใช้น้อยกว่าไทยถึง 30 เท่า ส่วนสิงคโปร์และบรูไน เลิกใช้แร่ใยหินแล้ว
ขณะที่ประเทศออสเตรเลียเริ่มมาตรการปกป้องสุขภาพประชาชนจากอันตรายของใยหิน โดยการออกกฎหมายชื่อ "ความปลอดภัยและการกำจัดแร่ใยหิน" จะบังคับใช้ในวันที่1 กรกฎาคมนี้ โดยให้มีแผนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อสนับสนุนการสร้างความตื่นตัว และการจัดการป้องกันอันตรายจากแร่ใยหิน และตั้งหน่วยงานสนับสนุน เพื่อเพิ่มความตื่นตัวแก่สาธารณชน จัดลำดับการรื้อถอน การพัฒนามาตรฐานแนวทางในการควบคุมจัดการ การวิจัยระดับชาติ เพื่อการลดความเสี่ยง เป็นต้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้นำของโลกและเป็นแบบอย่างในการป้องภัยจากแร่ใยหิน