นักวิชาการติง สธ.รับลูก ก.อุตฯ ศึกษาผลกระทบแร่ใยหินว่าอันตรายหรือไม่ ทั้งที่เคยประกาศเมื่อปี 2549 แล้วว่าเป็นอันตรายแน่นอน ชี้เตะถ่วงให้การแบนแร่ใยหินช้าออกไปอีก หลังจาก ก.อุตฯ ยื้อการทำวิจัยมาเกือบ 2 ปี ย้ำหาก ครม.เห็นชอบแผนยกเลิกแร่ใยหิน 5 ปี อาจส่งผลกระทบการส่งออกหลังเปิดเออีซี
วันนี้ (28 ก.ค.) เมื่อเวลา 09.00 น.ที่โรงแรมเอเชีย ราชเทวี กรุงเทพฯ รศ.พญ.พิชญา พรรคทองสุข คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวภายหลังงานเสวนา “รัฐบาลยิ่งลักษณ์กับสังคมไทยไร้แร่ใยหิน” ว่า การยกเลิกแร่ใยหินตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อปี 2554 เรื่องมาตรการสังคมไทยไร้แร่ใยหิน ขณะนี้ถือว่าล่าช้ามาก เพราะกว่าที่กระทรวงอุตสาหกรรมจะดำเนินการศึกษาอันตรายที่เกิดจากแร่ใยหินก็ใช้เวลานานเกือบ 2 ปี โดยครั้งแรกได้มีการว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทำการศึกษาเรื่องนี้ แต่ได้รับการปฏิเสธ จึงว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชศึกษาแทน ซึ่งผลการศึกษาก็ออกมาว่าแร่ใยหินเป็นอันตราย ควรมีการเลิกใช้ใน 2 ระยะ คือ เลิกภายในระยะเวลา 2 ปี และมากกว่า 2 ปี แต่สุดท้ายกลับมีการโยนเรื่องมาให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ทำการศึกษาต่อว่า แร่ใยหินเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนจริงหรือไม่
“การย้อนกลับมาถาม สธ.เช่นนี้ เหมือนการกลัดกระดุมผิดเม็ด เพราะตั้งแต่ปี 2549 นพ.มงคล ณ สงขลา ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นปลัด สธ.ก็ได้มีการออกมาประกาศกำจัดแร่ใยหิน เพราะอาจเป็นสารก่อมะเร็งได้ จึงไม่ควรกลับมาถาม สธ.ซ้ำอีกว่าเป็นอันตรายหรือไม่ และที่น่าแปลกใจคือ สธ.ก็รับลูกกลับมาตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาเรื่องนี้” รศ.พญ.พิชญา กล่าว
รศ.พญ.พิชญา กล่าวอีกว่า ในวงประชุมคณะกรรมการศึกษาผลกระทบแร่ใยหินของ สธ.มีการประชุมมาแล้ว 2 ครั้ง โดยทั้ง 2 ครั้งที่ประชุมมีความเห้นตรงกันว่า แร่ใยหินเป็นอันตรายจริง แต่การประชุมครั้งที่ 3 นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัด สธ.ซึ่งเป็นประธาน คกก.ศึกษาฯ ได้ยกเลิกการประชุม โดยให้เหตุผลว่าอ่านเอกสารไม่ทัน แต่กลับมีการให้ข่าวภายหลังว่าที่ประชุมมีมติว่าแร่ใยหินสีขาวไม่มีอันตราย โดย สธ.จะหามาตรการเพื่อให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกับแร่ใยหินได้อย่างปลอดภัย ซึ่งไม่ใช่มติในที่ประชุมเลย
รศ.พญ.พิชญา กล่าวด้วยว่า คกก.ศึกษาฯ จะมีการประชุมอีกครั้งในวันที่ 29 ก.ค.หาก สธ.เร่งดำเนินการคาดว่าผลการศึกษาจะสามารถเข้า ครม.ได้เร็วที่สุดในวันที่ 30 ก.ค.แต่หากช้าสุดก็อาจจะเป็นวัน 6 ส.ค.ทั้งนี้ หาก ครม.มีมติเห็นด้วยตามแผนที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอคือ ลดและเลิกใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบจำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ โดยมีแนวทางในการเลิก 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม 2 ปี และกลุ่ม 5 ปี นั้น จะเท่ากับว่าเป็นการยืดเวลาไปจนถึงปี 2561 ซึ่งเป็นปีหลังเปิดประชาคมอาเซียน ซึ่งหลายประเทศในภูมิภาคนี้ได้ยกเลิกการนำเข้าและใช้แร่ใยหินแล้ว อาทิ มาเลเซีย สิงคโปร์ หากไทยยังคงไม่ยกเลิกก็อาจจะมีผลกระทบต่อการส่งออกวัสดุที่ผลิตจากแร่ใยหิน
นางอรพรรณ ศรีสุขวัฒนา รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า ที่ ครม.มีมติให้ทำการศึกษาผลกระทบก็เพื่อหาแนวทางวิธีป้องกัน ไม่ใช่ศึกษาว่าควรยกเลิกใช้แร่ใยหินหรือไม่ ซึ่งการประชุมของ คกก.ศึกษาผลกระทบแร่ใยหินของ สธ.กำลังหลงทิศทางในเรื่องนี้ ทั้งที่มติ ครม.ก็ชัดเจนว่าให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน สธ.ในฐานะที่เป็นหน่วยงานดูแลด้านสุขภาพของประชาชนไม่ควรที่จะรออีกต่อไป เพราะผลกระทบชัดเจนว่าเป็นอันตรายแน่นอน แต่กลับบอกว่าผู้ป่วยจากแร่ใยหินของไทยยังมีน้อย จะต้องรอให้มีผู้ป่วยตายก่อน หรืออย่างไรจึงจะฟันธงว่าเป็นอันตรายจริง ที่สำคัญยังมีการอ้างว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบต่อแร่ใยหินมีเฉพาะคนงาน แต่ผู้บริโภคไม่ได้รับผลกระทบ ตรงนี้ก็ไม่จริง เพราะต่างประเทศมีหลักฐานตรงนี้ทั้งหมดว่าเป็นอันตรายต่อประชาชน เพราะอย่างการทุบตึกก็มีโอกาสที่จะได้รับฝุ่นละอองจากแร่ใยหิน หรือแม้แต่ขยะที่เกิดจากการทุบทำลายตึกก็ถือว่าเป็นขยะที่มีสารอันตราย และประเด็นสำคัญคือประเทศไทยยังไม่มีมาตรการควบคุมดูแลเรื่องนี้อย่างปลอดภัย
ด้าน นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานกรรมการบริหารแผนฯ คณะที่ 2 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ในประเทศที่พัฒนาแล้ว การต่อสู้เพื่อยกเลิกการใช้แร่ใยหินของภาคประชาชนจะเข้มแข็งมาก โดยมี 3 ยุทธศาสตร์คือ 1.ทำงานด้านวิชาการอย่างแข็งขัน 2.ต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม และ 3.ขจัดกวาดล้างพิษภัยแร่ใยหินให้ออกไปจากสังคมชุมชน อย่างที่อิตาลีก็มีผู้เสียหายหลายพันคนร่วมต่อสู้เป็นโจทย์ร่วมกัน สุดท้ายศาลก็ตัดสินจำคุกผู้บริหารของบริษัทซึ่งต่างประเทศ 16 ปี เป็นต้น หรืออย่างเดนมาร์กที่สามารถยกเลิกใช้ได้ตั้งแต่ปี 2529 แต่พบข้อมูลที่น่าตกใจว่า โรคมะเร็งปอดจะยังเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ และสูงสุดถึงปี 2558 จึงจะลดลง
วันนี้ (28 ก.ค.) เมื่อเวลา 09.00 น.ที่โรงแรมเอเชีย ราชเทวี กรุงเทพฯ รศ.พญ.พิชญา พรรคทองสุข คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวภายหลังงานเสวนา “รัฐบาลยิ่งลักษณ์กับสังคมไทยไร้แร่ใยหิน” ว่า การยกเลิกแร่ใยหินตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อปี 2554 เรื่องมาตรการสังคมไทยไร้แร่ใยหิน ขณะนี้ถือว่าล่าช้ามาก เพราะกว่าที่กระทรวงอุตสาหกรรมจะดำเนินการศึกษาอันตรายที่เกิดจากแร่ใยหินก็ใช้เวลานานเกือบ 2 ปี โดยครั้งแรกได้มีการว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทำการศึกษาเรื่องนี้ แต่ได้รับการปฏิเสธ จึงว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชศึกษาแทน ซึ่งผลการศึกษาก็ออกมาว่าแร่ใยหินเป็นอันตราย ควรมีการเลิกใช้ใน 2 ระยะ คือ เลิกภายในระยะเวลา 2 ปี และมากกว่า 2 ปี แต่สุดท้ายกลับมีการโยนเรื่องมาให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ทำการศึกษาต่อว่า แร่ใยหินเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนจริงหรือไม่
“การย้อนกลับมาถาม สธ.เช่นนี้ เหมือนการกลัดกระดุมผิดเม็ด เพราะตั้งแต่ปี 2549 นพ.มงคล ณ สงขลา ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นปลัด สธ.ก็ได้มีการออกมาประกาศกำจัดแร่ใยหิน เพราะอาจเป็นสารก่อมะเร็งได้ จึงไม่ควรกลับมาถาม สธ.ซ้ำอีกว่าเป็นอันตรายหรือไม่ และที่น่าแปลกใจคือ สธ.ก็รับลูกกลับมาตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาเรื่องนี้” รศ.พญ.พิชญา กล่าว
รศ.พญ.พิชญา กล่าวอีกว่า ในวงประชุมคณะกรรมการศึกษาผลกระทบแร่ใยหินของ สธ.มีการประชุมมาแล้ว 2 ครั้ง โดยทั้ง 2 ครั้งที่ประชุมมีความเห้นตรงกันว่า แร่ใยหินเป็นอันตรายจริง แต่การประชุมครั้งที่ 3 นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัด สธ.ซึ่งเป็นประธาน คกก.ศึกษาฯ ได้ยกเลิกการประชุม โดยให้เหตุผลว่าอ่านเอกสารไม่ทัน แต่กลับมีการให้ข่าวภายหลังว่าที่ประชุมมีมติว่าแร่ใยหินสีขาวไม่มีอันตราย โดย สธ.จะหามาตรการเพื่อให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกับแร่ใยหินได้อย่างปลอดภัย ซึ่งไม่ใช่มติในที่ประชุมเลย
รศ.พญ.พิชญา กล่าวด้วยว่า คกก.ศึกษาฯ จะมีการประชุมอีกครั้งในวันที่ 29 ก.ค.หาก สธ.เร่งดำเนินการคาดว่าผลการศึกษาจะสามารถเข้า ครม.ได้เร็วที่สุดในวันที่ 30 ก.ค.แต่หากช้าสุดก็อาจจะเป็นวัน 6 ส.ค.ทั้งนี้ หาก ครม.มีมติเห็นด้วยตามแผนที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอคือ ลดและเลิกใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบจำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ โดยมีแนวทางในการเลิก 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม 2 ปี และกลุ่ม 5 ปี นั้น จะเท่ากับว่าเป็นการยืดเวลาไปจนถึงปี 2561 ซึ่งเป็นปีหลังเปิดประชาคมอาเซียน ซึ่งหลายประเทศในภูมิภาคนี้ได้ยกเลิกการนำเข้าและใช้แร่ใยหินแล้ว อาทิ มาเลเซีย สิงคโปร์ หากไทยยังคงไม่ยกเลิกก็อาจจะมีผลกระทบต่อการส่งออกวัสดุที่ผลิตจากแร่ใยหิน
นางอรพรรณ ศรีสุขวัฒนา รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า ที่ ครม.มีมติให้ทำการศึกษาผลกระทบก็เพื่อหาแนวทางวิธีป้องกัน ไม่ใช่ศึกษาว่าควรยกเลิกใช้แร่ใยหินหรือไม่ ซึ่งการประชุมของ คกก.ศึกษาผลกระทบแร่ใยหินของ สธ.กำลังหลงทิศทางในเรื่องนี้ ทั้งที่มติ ครม.ก็ชัดเจนว่าให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน สธ.ในฐานะที่เป็นหน่วยงานดูแลด้านสุขภาพของประชาชนไม่ควรที่จะรออีกต่อไป เพราะผลกระทบชัดเจนว่าเป็นอันตรายแน่นอน แต่กลับบอกว่าผู้ป่วยจากแร่ใยหินของไทยยังมีน้อย จะต้องรอให้มีผู้ป่วยตายก่อน หรืออย่างไรจึงจะฟันธงว่าเป็นอันตรายจริง ที่สำคัญยังมีการอ้างว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบต่อแร่ใยหินมีเฉพาะคนงาน แต่ผู้บริโภคไม่ได้รับผลกระทบ ตรงนี้ก็ไม่จริง เพราะต่างประเทศมีหลักฐานตรงนี้ทั้งหมดว่าเป็นอันตรายต่อประชาชน เพราะอย่างการทุบตึกก็มีโอกาสที่จะได้รับฝุ่นละอองจากแร่ใยหิน หรือแม้แต่ขยะที่เกิดจากการทุบทำลายตึกก็ถือว่าเป็นขยะที่มีสารอันตราย และประเด็นสำคัญคือประเทศไทยยังไม่มีมาตรการควบคุมดูแลเรื่องนี้อย่างปลอดภัย
ด้าน นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานกรรมการบริหารแผนฯ คณะที่ 2 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ในประเทศที่พัฒนาแล้ว การต่อสู้เพื่อยกเลิกการใช้แร่ใยหินของภาคประชาชนจะเข้มแข็งมาก โดยมี 3 ยุทธศาสตร์คือ 1.ทำงานด้านวิชาการอย่างแข็งขัน 2.ต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม และ 3.ขจัดกวาดล้างพิษภัยแร่ใยหินให้ออกไปจากสังคมชุมชน อย่างที่อิตาลีก็มีผู้เสียหายหลายพันคนร่วมต่อสู้เป็นโจทย์ร่วมกัน สุดท้ายศาลก็ตัดสินจำคุกผู้บริหารของบริษัทซึ่งต่างประเทศ 16 ปี เป็นต้น หรืออย่างเดนมาร์กที่สามารถยกเลิกใช้ได้ตั้งแต่ปี 2529 แต่พบข้อมูลที่น่าตกใจว่า โรคมะเร็งปอดจะยังเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ และสูงสุดถึงปี 2558 จึงจะลดลง