กระแสการตื่นตัว เกี่ยวกับปัญหาภาวะโลกร้อน หรือที่เรียกอีกอย่างว่ากระแสการอนุรักษ์โลก ซึ่งการตื่นตัวดังกล่าวสืบเนื่องมากจากผลกระทบจากปัญหาภาวะโลกร้อนที่มนุษย์ชาติเรากำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน นั้นในประเทศไทยถือว่ามีความตื่นตัวในเรื่องดังกล่าวน้อยมาก เนื่องจากการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารยังไม่กระจายลงลึกถึงประชาชนในระดับรากหญ้า หรือมีแต่ก็น้อยมาก
ขณะที่กลุ่ม ซึ่งมีการเข้าถึงข้อมูลทางด้านนี้ค่อนข้างมากคือ กลุ่มคนระดับกลาง และสูงในสังคม ซึ่งทำงานในออฟฟิศ และเป็นผู้บริหารทั้งหน่วยงานราชการและเอกชนระดับสูง จากการเข้าถึงและรับรู้ผลกระทบปัญหาโลกร้อยเฉพาะกลุ่มนี้ ทำให้การให้ความร่วมมือกันแก้ปัญหายังมีไม่มากเท่าที่ควร
นายวิญญุ วานิชศิริโรจน์ เลขานุการและกรรมการสถาบันอาคารเขียวไทย เปิดเผยว่า การตื่นตัวแก้ปัญหาโลกร้อน ของต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วนั้น เกิดขึ้นมานานกว่า 10ปี โดยเฉพาะการนำระก่อสร้างอาคารเขียวเข้ามาใช้ในงานก่อสร้างซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวของผู้บริโภคมากที่สุด ส่วนในประเทศไทยนั้น ความรู้เรื่องระบบก่อสร้างอาคารเขียวมีมานานแล้ว แต่พึ่งมีการจัดตั้งหน่วยงานด้านนี้อย่างจริงจังเกิดขึ้นเมื่อ1-2ปีที่ผ่านมา คือ สถาบันอาคารเขียว ซึ่งเป็นการจัดตั้งขึ้นโดย สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ร่วมกับสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดตั้ง สถาบันอาคารเขียวไทย ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิอาคารเขียวไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการโดยเอกชน100% ไม่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐใดๆทั้งสิ้น
สำหรับปัญหาการที่ทำให้การก่อสร้างอาคารเขียวในประเทศไทยได้รับความนิยม หรือ เกิดขึ้นไม่แพร่หลายคือปัญหาการสเปกวัสดุก่อสร้างและการจัดซื้อวัสดุก่อสร้าง ซึ่งมีราคาสูงเนื่องจากสินค้ามีอีโคหรือวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้เลือกในตลาดน้อยราย ทำให้ต้นทุนในการก่อสร้างสูง เพราะวัสดุก่อสร้างอีโค่ มีราคาที่สูง ในขณะที่ระบบหรือเทคโนโลยีในการก่อสร้างอาคารเขียวนั้นไม่ได้มีความแตกต่างไปจากงานก่อสร้างปกติดมากนัก เนื่องจากการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ออฟฟิศ หรืออาคารที่จะเข้าข้อกำหนดว่าเป็นอาคารเขียวนั้น ให้ความสำคัญกับการออกแบบก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน และช่วยให้ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้อยู่อาศัยหรือใช้ประโยชน์อาคารดังกล่าว นอกจากนี้ การไม่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรหรือหน่วยงานรัฐก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กระแสอาคารเขียวในประเทศไทยไม่ได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชนหรือเอกชนมากเท่าที่ควร
นายโค ลิน จิ Group Director ฝ่าย International Development Group สังกัดหน่วยงาน Building Consturction Authority (BCA) ประเทศสิงค์โปร์ กล่าวถึงแผนแม่บทเพื่อความยั่งยืน โดยการพัฒนาเมืองของประเทศสิงคโปร์ให้เป็นเมืองสีเขียว ว่า สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความพยายามในการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ทำให้มีการจัดทำแผนแม่บทขึ้นโดยรัฐบาลมาแล้ว2ฉบับ โดยการดำเนินการของรัฐบาลไม่ได้นำกฎหมายมาบังคับใช้ แต่เป็นการปลุกจิตสำนัก และสร้างความรับผิดชอบให้เกิดในประชาชนของสิงคโปร์ ดังนั้นก่อนหน้าที่รัฐบาลจะจัดทำแผ่นแม่บทออกมา3ปี จึงได้มีการประชาสัมพันธ์การให้ความรู้และการสร้างกระแสนิยมการรักสิ่งแวดล้อมในประชาชนทุกระดับของประเทศ เพื่อรับรู้ถึงผลดีและ ประโชยน์ รวมถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากปัญหาโลกร้อนก่อน
สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเมืองที่ออกมานั้น มีทั้งการระชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และการให้ประโยชน์ตอบแทนแก่เอกชนที่ก่อสร้างอาคารใหม่ด้วยระบบอาคารเขียว โดยตั้งเป้าว่าในปี2573 สิงคโปร์จะมีอาคารเขียวเป็น 80% ของอาคารที่มีอยู่ทั้งหมด และสามารถลดการใช้พลังงานลง30% ของปัจจุบัน โดยแผนแม่บทการกำหนดยุทธศาตร์ผักดันให้เกิดอาคารเขียว 6 ข้อหลักประกอบด้วย 1.รัฐบาลต้องเป็นผู้นำในการผลักดันให้เกิดอาคารเขียว 2.กระตุ้นเอกชนให้พัฒนาโครงการภายใต้คอนเซ็ปต์อาคารเขียว โดยให้รางวัลสำหรับเอกชนที่พัฒนาโครงการภายใต้คอนเซ็ปต์อาคารเขียว โดยรัฐบาลสนับสนุนงบการก่อสร้าง 6 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อตารางเมตร ส่วนบริษัทที่ปรึกษาในการก่อสร้างโครงการจะได้รับเงินสนับสนุน300,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ ในการเป็นที่ปรึกษางานก่อสร้างโครงการภายใต้คอนเซ็ปต์อาคารเขียว นอกจากนี้ ยังมีการมอบโบนัสการเพิ่มพื้นที่ก่อสร้างให้แก่บริษัทเอกชนที่ก่อสร้างอาคารเขียวเพิ่มอีก 2%
3.รัฐบาลจะให้งบ100 ล้านดอลลาร์ สำหรับบริษัทผู้พัฒนาเทคโนโลยีงานก่อสร้างสีเขียว สำหรับบริษัทที่ทำการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีการก่อสร้างอาคารเขียวสำหรับเมืองร้อนชื่นขึ้นมาใหม่ เนื่องจากเทคโนโลยีก่อสร้างอาคารเขียวส่วนใหญ่ในปัจจุบันที่มีอยู่ถูกออกแบบและพัฒนาสำหรับเมืองหนาวเป็นส่วนใหญ่จึงไม่เหมาะกับงานก่อสร้างในเมืองร้อนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
4. ส่งเสริมให้เกิดการใช้อาคารสีเขียว เช่นการจัดกิจกรรมให้ความรู้และการใช้ชีวิรวมถึงวิธีการใช้งานอาคารเขียว โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นการสร้างคมสีเขียวในสังคมให้มากขึ้น 5.การสร้างความตื่นตัวในสังคม โดยในทุกๆ 3เดือนรัฐบาลจะจัดให้มีกิจกรรมอนุรักสิ่งแวดล้อม และอาคารเขียว เพื่อปลูกฝังให้คนในสังคมต้องการใช้อาคารเขียว เช่นการจัดงานการแลกเปลี่ยนความรู้การอยู่อาศัยในอาคารเขียวเพื่อผลักดันให้เกิดความเข้าใจในนวัตกรรมอาคารเขียวมากขึ้น
และ6. รัฐบาลได้กำหนดเป็นกฎหมายว่าภายหลังปี2552 เป็นต้นมาทุกๆอาคารที่ก่อสร้างใหม่ต้องพัฒนาเป็นอาคารเขียว หากไม่พัฒนาเป็นอาคารเขียวรัฐบาลจะไม่ออกใบอนุญาตใช้อาคารให้ ดดยหลังจากที่ประกาศใช้แผนแม่ทบ2ฉบับที่ผ่านมาส่งผลให้ขณะนี้ ในสิงคโปรมีอาคารสีเขียวแล้วกว่า 15,000 อาคาร หรือมีเนื้อที่ประมาณ 74 ล้านตร.ม.ในอาคารเขียว คิอเป็น27% ของพื้นที่ทั้งหมดอาคารในสิงคโปร์ และเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการผลักดันให้เกิดอาคารเขียวในอนาคต รัฐบาลยังได้เตรียมออกแผนแม่ทบฉบับที่ 3ในเดือน ก.ย.2556นี้ โดยแผนแม่บทฉบับดังกล่าวจะเป็นการผลักดันให้ประชาชนใช้ชีวิตแบบกรีนมากขึ้น
“แนวโน้มการรักษาสิ่งแวดล้อม ไม่ได้เกิดขึ้นที่สิงคโปร์เพียงแห่งเดียว แต่กลุ่มประเทศในเอเชีย ก็มีการตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งทุกๆประเทศกำลังมุ่งให้เกิดการพัฒนาที่ไม่กระทบสิ่งแวดล้อมและสร้างความยั่งยืนให้สังคมเช่นเดียวกัน ดังนั้นในฐานะที่สิงคโปร์ ซึ่งมีประสบการณ์ในด้านดังกล่าวจึงได้จะได้งาน(Build Eco Xpo)หรือ BEX Asia เพื่อนำเสนอเทคโนโลยีสีเขียวขึ้นระหว่างวันที่ 11-13 ก.ย.2556 ที่ มารีน่า เบย์ แซน์ คอมเวนชั่น เซ็นเตอร์ ประเทศสิงคโปร์ เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนแนวคิดและนำเสนอนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนในภูมิภาค ผ่านเวทีพบปะประจำปีของผู้คนในวงการเพื่อให้เกิดการยอมรับเทคโนโลยีสีเขียวมากขึ้น”นายโค ลิน จิ กล่าวสรุป
อนึ่งแนวทางการผลักดันให้เกิดสังคมสีเขียวเพื่อลดปัญหาการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้ชีวิตของประชาชน ในประเทศไทยนั้นหากจะก้าวไปให้ถึงจุดหมายปลายทางเช่นประเทศที่พัฒนาแล้วนั้นต้องยอมรับว่า การมีรัฐบาลเป็นแกนนำเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวด เพราะหากปล่อยให้ประชาชนดำเนินการด้วยตัว เองโดยไม่มีผู้นำก็เป็นเสมือนเช่นการเดินทางที่ไร้จุดหมาย และขาดซึ่งแรงผลักดัน
ขณะที่กลุ่ม ซึ่งมีการเข้าถึงข้อมูลทางด้านนี้ค่อนข้างมากคือ กลุ่มคนระดับกลาง และสูงในสังคม ซึ่งทำงานในออฟฟิศ และเป็นผู้บริหารทั้งหน่วยงานราชการและเอกชนระดับสูง จากการเข้าถึงและรับรู้ผลกระทบปัญหาโลกร้อยเฉพาะกลุ่มนี้ ทำให้การให้ความร่วมมือกันแก้ปัญหายังมีไม่มากเท่าที่ควร
นายวิญญุ วานิชศิริโรจน์ เลขานุการและกรรมการสถาบันอาคารเขียวไทย เปิดเผยว่า การตื่นตัวแก้ปัญหาโลกร้อน ของต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วนั้น เกิดขึ้นมานานกว่า 10ปี โดยเฉพาะการนำระก่อสร้างอาคารเขียวเข้ามาใช้ในงานก่อสร้างซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวของผู้บริโภคมากที่สุด ส่วนในประเทศไทยนั้น ความรู้เรื่องระบบก่อสร้างอาคารเขียวมีมานานแล้ว แต่พึ่งมีการจัดตั้งหน่วยงานด้านนี้อย่างจริงจังเกิดขึ้นเมื่อ1-2ปีที่ผ่านมา คือ สถาบันอาคารเขียว ซึ่งเป็นการจัดตั้งขึ้นโดย สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ร่วมกับสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดตั้ง สถาบันอาคารเขียวไทย ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิอาคารเขียวไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการโดยเอกชน100% ไม่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐใดๆทั้งสิ้น
สำหรับปัญหาการที่ทำให้การก่อสร้างอาคารเขียวในประเทศไทยได้รับความนิยม หรือ เกิดขึ้นไม่แพร่หลายคือปัญหาการสเปกวัสดุก่อสร้างและการจัดซื้อวัสดุก่อสร้าง ซึ่งมีราคาสูงเนื่องจากสินค้ามีอีโคหรือวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้เลือกในตลาดน้อยราย ทำให้ต้นทุนในการก่อสร้างสูง เพราะวัสดุก่อสร้างอีโค่ มีราคาที่สูง ในขณะที่ระบบหรือเทคโนโลยีในการก่อสร้างอาคารเขียวนั้นไม่ได้มีความแตกต่างไปจากงานก่อสร้างปกติดมากนัก เนื่องจากการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ออฟฟิศ หรืออาคารที่จะเข้าข้อกำหนดว่าเป็นอาคารเขียวนั้น ให้ความสำคัญกับการออกแบบก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน และช่วยให้ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้อยู่อาศัยหรือใช้ประโยชน์อาคารดังกล่าว นอกจากนี้ การไม่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรหรือหน่วยงานรัฐก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กระแสอาคารเขียวในประเทศไทยไม่ได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชนหรือเอกชนมากเท่าที่ควร
นายโค ลิน จิ Group Director ฝ่าย International Development Group สังกัดหน่วยงาน Building Consturction Authority (BCA) ประเทศสิงค์โปร์ กล่าวถึงแผนแม่บทเพื่อความยั่งยืน โดยการพัฒนาเมืองของประเทศสิงคโปร์ให้เป็นเมืองสีเขียว ว่า สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความพยายามในการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ทำให้มีการจัดทำแผนแม่บทขึ้นโดยรัฐบาลมาแล้ว2ฉบับ โดยการดำเนินการของรัฐบาลไม่ได้นำกฎหมายมาบังคับใช้ แต่เป็นการปลุกจิตสำนัก และสร้างความรับผิดชอบให้เกิดในประชาชนของสิงคโปร์ ดังนั้นก่อนหน้าที่รัฐบาลจะจัดทำแผ่นแม่บทออกมา3ปี จึงได้มีการประชาสัมพันธ์การให้ความรู้และการสร้างกระแสนิยมการรักสิ่งแวดล้อมในประชาชนทุกระดับของประเทศ เพื่อรับรู้ถึงผลดีและ ประโชยน์ รวมถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากปัญหาโลกร้อนก่อน
สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเมืองที่ออกมานั้น มีทั้งการระชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และการให้ประโยชน์ตอบแทนแก่เอกชนที่ก่อสร้างอาคารใหม่ด้วยระบบอาคารเขียว โดยตั้งเป้าว่าในปี2573 สิงคโปร์จะมีอาคารเขียวเป็น 80% ของอาคารที่มีอยู่ทั้งหมด และสามารถลดการใช้พลังงานลง30% ของปัจจุบัน โดยแผนแม่บทการกำหนดยุทธศาตร์ผักดันให้เกิดอาคารเขียว 6 ข้อหลักประกอบด้วย 1.รัฐบาลต้องเป็นผู้นำในการผลักดันให้เกิดอาคารเขียว 2.กระตุ้นเอกชนให้พัฒนาโครงการภายใต้คอนเซ็ปต์อาคารเขียว โดยให้รางวัลสำหรับเอกชนที่พัฒนาโครงการภายใต้คอนเซ็ปต์อาคารเขียว โดยรัฐบาลสนับสนุนงบการก่อสร้าง 6 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อตารางเมตร ส่วนบริษัทที่ปรึกษาในการก่อสร้างโครงการจะได้รับเงินสนับสนุน300,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ ในการเป็นที่ปรึกษางานก่อสร้างโครงการภายใต้คอนเซ็ปต์อาคารเขียว นอกจากนี้ ยังมีการมอบโบนัสการเพิ่มพื้นที่ก่อสร้างให้แก่บริษัทเอกชนที่ก่อสร้างอาคารเขียวเพิ่มอีก 2%
3.รัฐบาลจะให้งบ100 ล้านดอลลาร์ สำหรับบริษัทผู้พัฒนาเทคโนโลยีงานก่อสร้างสีเขียว สำหรับบริษัทที่ทำการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีการก่อสร้างอาคารเขียวสำหรับเมืองร้อนชื่นขึ้นมาใหม่ เนื่องจากเทคโนโลยีก่อสร้างอาคารเขียวส่วนใหญ่ในปัจจุบันที่มีอยู่ถูกออกแบบและพัฒนาสำหรับเมืองหนาวเป็นส่วนใหญ่จึงไม่เหมาะกับงานก่อสร้างในเมืองร้อนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
4. ส่งเสริมให้เกิดการใช้อาคารสีเขียว เช่นการจัดกิจกรรมให้ความรู้และการใช้ชีวิรวมถึงวิธีการใช้งานอาคารเขียว โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นการสร้างคมสีเขียวในสังคมให้มากขึ้น 5.การสร้างความตื่นตัวในสังคม โดยในทุกๆ 3เดือนรัฐบาลจะจัดให้มีกิจกรรมอนุรักสิ่งแวดล้อม และอาคารเขียว เพื่อปลูกฝังให้คนในสังคมต้องการใช้อาคารเขียว เช่นการจัดงานการแลกเปลี่ยนความรู้การอยู่อาศัยในอาคารเขียวเพื่อผลักดันให้เกิดความเข้าใจในนวัตกรรมอาคารเขียวมากขึ้น
และ6. รัฐบาลได้กำหนดเป็นกฎหมายว่าภายหลังปี2552 เป็นต้นมาทุกๆอาคารที่ก่อสร้างใหม่ต้องพัฒนาเป็นอาคารเขียว หากไม่พัฒนาเป็นอาคารเขียวรัฐบาลจะไม่ออกใบอนุญาตใช้อาคารให้ ดดยหลังจากที่ประกาศใช้แผนแม่ทบ2ฉบับที่ผ่านมาส่งผลให้ขณะนี้ ในสิงคโปรมีอาคารสีเขียวแล้วกว่า 15,000 อาคาร หรือมีเนื้อที่ประมาณ 74 ล้านตร.ม.ในอาคารเขียว คิอเป็น27% ของพื้นที่ทั้งหมดอาคารในสิงคโปร์ และเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการผลักดันให้เกิดอาคารเขียวในอนาคต รัฐบาลยังได้เตรียมออกแผนแม่ทบฉบับที่ 3ในเดือน ก.ย.2556นี้ โดยแผนแม่บทฉบับดังกล่าวจะเป็นการผลักดันให้ประชาชนใช้ชีวิตแบบกรีนมากขึ้น
“แนวโน้มการรักษาสิ่งแวดล้อม ไม่ได้เกิดขึ้นที่สิงคโปร์เพียงแห่งเดียว แต่กลุ่มประเทศในเอเชีย ก็มีการตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งทุกๆประเทศกำลังมุ่งให้เกิดการพัฒนาที่ไม่กระทบสิ่งแวดล้อมและสร้างความยั่งยืนให้สังคมเช่นเดียวกัน ดังนั้นในฐานะที่สิงคโปร์ ซึ่งมีประสบการณ์ในด้านดังกล่าวจึงได้จะได้งาน(Build Eco Xpo)หรือ BEX Asia เพื่อนำเสนอเทคโนโลยีสีเขียวขึ้นระหว่างวันที่ 11-13 ก.ย.2556 ที่ มารีน่า เบย์ แซน์ คอมเวนชั่น เซ็นเตอร์ ประเทศสิงคโปร์ เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนแนวคิดและนำเสนอนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนในภูมิภาค ผ่านเวทีพบปะประจำปีของผู้คนในวงการเพื่อให้เกิดการยอมรับเทคโนโลยีสีเขียวมากขึ้น”นายโค ลิน จิ กล่าวสรุป
อนึ่งแนวทางการผลักดันให้เกิดสังคมสีเขียวเพื่อลดปัญหาการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้ชีวิตของประชาชน ในประเทศไทยนั้นหากจะก้าวไปให้ถึงจุดหมายปลายทางเช่นประเทศที่พัฒนาแล้วนั้นต้องยอมรับว่า การมีรัฐบาลเป็นแกนนำเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวด เพราะหากปล่อยให้ประชาชนดำเนินการด้วยตัว เองโดยไม่มีผู้นำก็เป็นเสมือนเช่นการเดินทางที่ไร้จุดหมาย และขาดซึ่งแรงผลักดัน