เวียนมาอีกครั้ง สำหรับเทศกาลถือศีลกินเจ ซึ่งตามปฏิทินจีนกำหนดไว้ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำไปจนถึงขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ของทุกปี และในปี 2556 นี้ ตรงกับวันที่ 5-13 ตุลาคม ถือเป็นช่วงเวลาดีๆ ที่ทุกคนจะได้มีโอกาสทำบุญ ชำระจิตใจให้สะอาด ซึ่งปัจจุบันการกินเจกลายเป็นที่นิยมของคนยุคใหม่ไปแล้ว เพราะนอกจากจะได้ทำบุญ ด้วยการงดเว้นเนื้อสัตว์และอบายมุขต่างๆ การกินเจยังช่วยให้สุขภาพดีได้อีกด้วย
แต่...นั่นต้องหมายถึงการกินเจอย่างถูกต้องเหมาะสม
ข้อมูลจาก ดร.ชนิดา ปโชติการ นายกสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย ระบุว่า แม้ว่าปัจจุบันการกินเจจะได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ แต่หลายคนยังมีข้อสงสัยว่า การกินเจดีต่อสุขภาพจริงหรือ? เพราะการกินเจในปัจจุบัน มักจะฝากท้องไว้กับอาหารเจนอกบ้าน และอาหารเจสำเร็จรูป ซึ่งมักจะไปเน้นหนักอาหารเจที่มันๆ ทอดๆ ประกอบด้วยแป้งและไขมันสูง แทนที่กินเจแล้วจะได้ประโยชน์ทางสุขภาพ แต่กลับทำให้บางคนพอออกเจแล้ว สุขภาพแย่ลง มีไขมันในเลือดสูงขึ้น น้ำตาลสูง หรือ ปวดข้อปวดเข่า
อันที่จริงแล้ว หากเรากินเจอย่างถูกต้อง จะส่งผลดีต่อสุขภาพ เพราะการงดเนื้อสัตว์ทุกชนิด ใช้โปรตีนจากถั่ว และอาหารธรรมชาติชนิดต่างๆ แทน จะช่วยให้กระเพาะอาหารได้พักจากภารกิจการย่อยเนื้อสัตว์ที่ทำประจำอยู่ นอกจากนี้ อาหารเจ ซึ่งเต็มไปด้วยผักผลไม้ ธัญพืช และอาหารจากธรรมชาติ ล้วนให้คุณค่าสารอาหารที่ต่างกันออกไป หากเรารู้จักเลือกและผสมผสานวัตถุดิบในการประกอบอาหารให้เหมาะสม ก็จะทำให้ได้รับสารอาหารที่หลากหลายและสมดุล
- ถั่ว เป็นหนึ่งในเมนูสำคัญที่นำมาใช้ประกอบอาหารในช่วงกินเจ เพื่อให้ได้โปรตีนมาทดแทนเนื้อสัตว์ที่ขาดหายไป ซึ่งถั่วเหลืองเป็นแห
- เห็ด ปัจจุบันเห็ดเป็นเมนูฮิตของทุกคนในครอบครัว เพราะนอกจากจะนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายเมนูและมีรสชาติอร่อยถูกปากแล้ว เห็ดถือเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีไม่แพ้เนื้อสัตว์และถั่ว แม้ปริมาณจะไม่มากเท่าเนื้อสัตว์ แต่เห็ดมีกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายต้องการครบถ้วน เมื่อเทียบกับผักชนิดอื่น และที่สำคัญเห็ดยังเป็นแหล่งที่ดีของวิตามิน แร่ธาตุ รวมทั้งธาตุเหล็ก และซีลีเนียมซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วย
เห็ดที่นิยมนำมาปรุงอาหาร เช่น เห็ดออรินจิ เห็ดหอม เห็ดเข็มทอง เห็ดโคน เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู และสารพัดเห็ดต่างๆ ซึ่งล้วนแต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งสิ้น โดยเมนูเห็ดยอดนิยม ได้แก่ ยำเห็ดญี่ปุ่น เต้าหู้ตุ๋นเห็ดหอม สเต็กเต้าหู้ราดซอสเห็ดเจ หรือ สปาเก็ตตี้ซอสเห็ด เป็นต้น นอกจากเห็ดที่นำมาปรุงอาหารแล้ว ยังมีเห็ดบางชนิดที่ไม่ได้มีเพียงคุณค่าทางโภชนาการ แต่ยังมีประโยชน์ต่อการรักษาโรคและเสริมภูมิคุ้มกัน ได้แก่ เห็ดทางการแพทย์ หรือ Medicinal Mushrooms ที่สามารถนำมาใช้เป็นสารแอนติออกซิแดนต์ ป้องกันเซลล์ต่างๆ ไม่ให้ถูกทำลายหรือเสื่อมง่าย นอกจากนี้ ยังมีสารบางตัวที่เพิ่มภูมิต้านทานของร่างกาย ซึ่งปัจจุบันจึงถูกนำมาสกัดเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในรูปเห็ดสกัดเข้มข้นเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ หรือแปรในรูปเห็ดแห้งมาบริโภคในรูปชา หรือซุป หรือในรูปแคปซูล เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้รักสุขภาพ สามารถเลือกนำมาบริโภคได้สะดวก และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายในช่วงถือศิลกินเจ เช่น เห็ดไมตาเกะ เห็ดยามาบูชิตาเกะ (เห็ดปุยฝ้าย) เห็ดมาเน็นตาเกะ เห็ดเรอิชิ (เห็ดหลินจือ) และเห็ดชิตาเกะ (เห็ดหอมญี่ปุ่น) เป็นต้น
- ผักนานาชนิด เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการกินเจ แต่ถ้าจะกินให้ได้ประโยชน์สูงสุด ควรกินเป็นผักสด หรือลวก มากกว่านำมาผัดที่ใช้น้ำมันราดจนเยิ้ม หรือผัดน้ำมันแต่น้อย และควรกินผักให้ครบ 5 สี คือ สีแดง-ส้ม จากมะเขือเทศ พริกสุก แครอท ช่วยลดคอเลสเตอรอลส่วนเกิน ลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ สีดำ-น้ำเงิน-ม่วง จากถั่วดำ เผือก มะเขือม่วง ช่วยในการบำรุงไต สีเหลือง จากฟักทอง ถั่วเหลือง มะม่วงสุก ข้าวโพด มีประโยชน์ในการบำรุงม้าม สีเขียว เช่น ผักคะน้า ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว ช่วยบำรุงตับ และสีขาว จากลูกเดือย ผักกาดขาว ช่วยในการบำรุงปอด ควรกินสลับกันไปในแต่ละวันเพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารที่ครบถ้วน และต้องงดเว้น กระเทียม หัวหอม กุ๊ยช่าย หรือ ผักที่มีกลิ่นฉุน
- ธัญพืชไม่ขัดสีและผลไม้ มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมากมาย เช่น วิตามิน เกลือแร่ สารต้านอนุมูลอิสระ สารพฤกษเคมี สารเฟลโวนอยด์และใยอาหาร ซึ่งผู้กินเจควรเลือกกินผลไม้ให้หลากหลาย เช่น ส้ม กล้วย แอปเปิล ช่วยบำรุงสุขภาพผิวให้สดชื่น และเส้นใยอาหารจากผลไม้ ช่วยให้ระบบย่อยและการขับถ่ายเป็นปกติ ซึ่งผลไม้ที่สารต้านอนุมูลอิสระสูงสุด ได้แก่ พรุน และบิลเบอรี่ ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันความเสื่อมของจอประสาทตา มีใยอาหารช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านม ที่มีทั้งใยอาหารช่วยลดคอเลสเทรอลและระดับน้ำตาลได้ดี ป้องกันท้องผูก
อย่างไรก็ตาม การกินเจที่ดีต่อสุขภาพนั้น ต้องระมัดระวังอาหารประเภทแป้งและไขมัน ควรเน้นผักผลไม้ให้มากๆ เพราะถ้าเผลอรับประทานอาหารที่ปรุงสำเร็จ ซึ่งมักจะใช้ “หมี่กึง” ซึ่งเป็นแป้งทำเลียนแบบเนื้อสัตว์ รับรองความอ้วนมาเยือนแน่ๆ ควรเลือกอาหารที่ปรุงด้วยผัก เต้าหู้ และโปรตีนเกษตร ส่วนอาหารทอดๆ ก็ไม่ควรรับประทานเยอะ ไม่อย่างนั้นพอหมดช่วงกินเจ รอบเอวจะเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว
นอกจากนั้นอาหารเจในปัจจุบันมีการนำเครื่องปรุงรส เช่น ซอส เต้าหู้ เต้าเจี้ยว เกลือ ที่มีเกลือเป็นส่วนประกอบค่อนข้างมาก ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานอาหารเจที่มีรสเค็มเกินไป ประกอบกับอาหารเจส่วนใหญ่เป็นประเภทผัดและทอด ซึ่งจะมีน้ำมันมาก ควรรับประทานประเภทต้ม หรือนึ่งจะดีกับสุขภาพมากกว่า และที่สำคัญอย่าลืมขยับกาย เคลื่อนไหวให้เหงื่อออกทุกวัน
แต่...นั่นต้องหมายถึงการกินเจอย่างถูกต้องเหมาะสม
ข้อมูลจาก ดร.ชนิดา ปโชติการ นายกสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย ระบุว่า แม้ว่าปัจจุบันการกินเจจะได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ แต่หลายคนยังมีข้อสงสัยว่า การกินเจดีต่อสุขภาพจริงหรือ? เพราะการกินเจในปัจจุบัน มักจะฝากท้องไว้กับอาหารเจนอกบ้าน และอาหารเจสำเร็จรูป ซึ่งมักจะไปเน้นหนักอาหารเจที่มันๆ ทอดๆ ประกอบด้วยแป้งและไขมันสูง แทนที่กินเจแล้วจะได้ประโยชน์ทางสุขภาพ แต่กลับทำให้บางคนพอออกเจแล้ว สุขภาพแย่ลง มีไขมันในเลือดสูงขึ้น น้ำตาลสูง หรือ ปวดข้อปวดเข่า
อันที่จริงแล้ว หากเรากินเจอย่างถูกต้อง จะส่งผลดีต่อสุขภาพ เพราะการงดเนื้อสัตว์ทุกชนิด ใช้โปรตีนจากถั่ว และอาหารธรรมชาติชนิดต่างๆ แทน จะช่วยให้กระเพาะอาหารได้พักจากภารกิจการย่อยเนื้อสัตว์ที่ทำประจำอยู่ นอกจากนี้ อาหารเจ ซึ่งเต็มไปด้วยผักผลไม้ ธัญพืช และอาหารจากธรรมชาติ ล้วนให้คุณค่าสารอาหารที่ต่างกันออกไป หากเรารู้จักเลือกและผสมผสานวัตถุดิบในการประกอบอาหารให้เหมาะสม ก็จะทำให้ได้รับสารอาหารที่หลากหลายและสมดุล
- ถั่ว เป็นหนึ่งในเมนูสำคัญที่นำมาใช้ประกอบอาหารในช่วงกินเจ เพื่อให้ได้โปรตีนมาทดแทนเนื้อสัตว์ที่ขาดหายไป ซึ่งถั่วเหลืองเป็นแห
- เห็ด ปัจจุบันเห็ดเป็นเมนูฮิตของทุกคนในครอบครัว เพราะนอกจากจะนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายเมนูและมีรสชาติอร่อยถูกปากแล้ว เห็ดถือเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีไม่แพ้เนื้อสัตว์และถั่ว แม้ปริมาณจะไม่มากเท่าเนื้อสัตว์ แต่เห็ดมีกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายต้องการครบถ้วน เมื่อเทียบกับผักชนิดอื่น และที่สำคัญเห็ดยังเป็นแหล่งที่ดีของวิตามิน แร่ธาตุ รวมทั้งธาตุเหล็ก และซีลีเนียมซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วย
เห็ดที่นิยมนำมาปรุงอาหาร เช่น เห็ดออรินจิ เห็ดหอม เห็ดเข็มทอง เห็ดโคน เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู และสารพัดเห็ดต่างๆ ซึ่งล้วนแต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งสิ้น โดยเมนูเห็ดยอดนิยม ได้แก่ ยำเห็ดญี่ปุ่น เต้าหู้ตุ๋นเห็ดหอม สเต็กเต้าหู้ราดซอสเห็ดเจ หรือ สปาเก็ตตี้ซอสเห็ด เป็นต้น นอกจากเห็ดที่นำมาปรุงอาหารแล้ว ยังมีเห็ดบางชนิดที่ไม่ได้มีเพียงคุณค่าทางโภชนาการ แต่ยังมีประโยชน์ต่อการรักษาโรคและเสริมภูมิคุ้มกัน ได้แก่ เห็ดทางการแพทย์ หรือ Medicinal Mushrooms ที่สามารถนำมาใช้เป็นสารแอนติออกซิแดนต์ ป้องกันเซลล์ต่างๆ ไม่ให้ถูกทำลายหรือเสื่อมง่าย นอกจากนี้ ยังมีสารบางตัวที่เพิ่มภูมิต้านทานของร่างกาย ซึ่งปัจจุบันจึงถูกนำมาสกัดเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในรูปเห็ดสกัดเข้มข้นเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ หรือแปรในรูปเห็ดแห้งมาบริโภคในรูปชา หรือซุป หรือในรูปแคปซูล เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้รักสุขภาพ สามารถเลือกนำมาบริโภคได้สะดวก และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายในช่วงถือศิลกินเจ เช่น เห็ดไมตาเกะ เห็ดยามาบูชิตาเกะ (เห็ดปุยฝ้าย) เห็ดมาเน็นตาเกะ เห็ดเรอิชิ (เห็ดหลินจือ) และเห็ดชิตาเกะ (เห็ดหอมญี่ปุ่น) เป็นต้น
- ผักนานาชนิด เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการกินเจ แต่ถ้าจะกินให้ได้ประโยชน์สูงสุด ควรกินเป็นผักสด หรือลวก มากกว่านำมาผัดที่ใช้น้ำมันราดจนเยิ้ม หรือผัดน้ำมันแต่น้อย และควรกินผักให้ครบ 5 สี คือ สีแดง-ส้ม จากมะเขือเทศ พริกสุก แครอท ช่วยลดคอเลสเตอรอลส่วนเกิน ลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ สีดำ-น้ำเงิน-ม่วง จากถั่วดำ เผือก มะเขือม่วง ช่วยในการบำรุงไต สีเหลือง จากฟักทอง ถั่วเหลือง มะม่วงสุก ข้าวโพด มีประโยชน์ในการบำรุงม้าม สีเขียว เช่น ผักคะน้า ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว ช่วยบำรุงตับ และสีขาว จากลูกเดือย ผักกาดขาว ช่วยในการบำรุงปอด ควรกินสลับกันไปในแต่ละวันเพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารที่ครบถ้วน และต้องงดเว้น กระเทียม หัวหอม กุ๊ยช่าย หรือ ผักที่มีกลิ่นฉุน
- ธัญพืชไม่ขัดสีและผลไม้ มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมากมาย เช่น วิตามิน เกลือแร่ สารต้านอนุมูลอิสระ สารพฤกษเคมี สารเฟลโวนอยด์และใยอาหาร ซึ่งผู้กินเจควรเลือกกินผลไม้ให้หลากหลาย เช่น ส้ม กล้วย แอปเปิล ช่วยบำรุงสุขภาพผิวให้สดชื่น และเส้นใยอาหารจากผลไม้ ช่วยให้ระบบย่อยและการขับถ่ายเป็นปกติ ซึ่งผลไม้ที่สารต้านอนุมูลอิสระสูงสุด ได้แก่ พรุน และบิลเบอรี่ ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันความเสื่อมของจอประสาทตา มีใยอาหารช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านม ที่มีทั้งใยอาหารช่วยลดคอเลสเทรอลและระดับน้ำตาลได้ดี ป้องกันท้องผูก
อย่างไรก็ตาม การกินเจที่ดีต่อสุขภาพนั้น ต้องระมัดระวังอาหารประเภทแป้งและไขมัน ควรเน้นผักผลไม้ให้มากๆ เพราะถ้าเผลอรับประทานอาหารที่ปรุงสำเร็จ ซึ่งมักจะใช้ “หมี่กึง” ซึ่งเป็นแป้งทำเลียนแบบเนื้อสัตว์ รับรองความอ้วนมาเยือนแน่ๆ ควรเลือกอาหารที่ปรุงด้วยผัก เต้าหู้ และโปรตีนเกษตร ส่วนอาหารทอดๆ ก็ไม่ควรรับประทานเยอะ ไม่อย่างนั้นพอหมดช่วงกินเจ รอบเอวจะเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว
นอกจากนั้นอาหารเจในปัจจุบันมีการนำเครื่องปรุงรส เช่น ซอส เต้าหู้ เต้าเจี้ยว เกลือ ที่มีเกลือเป็นส่วนประกอบค่อนข้างมาก ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานอาหารเจที่มีรสเค็มเกินไป ประกอบกับอาหารเจส่วนใหญ่เป็นประเภทผัดและทอด ซึ่งจะมีน้ำมันมาก ควรรับประทานประเภทต้ม หรือนึ่งจะดีกับสุขภาพมากกว่า และที่สำคัญอย่าลืมขยับกาย เคลื่อนไหวให้เหงื่อออกทุกวัน