เปิดผลวิจัยพบ “คนขับ-กระเป๋ารถเมล์” ติดเชื้อวัณโรคถึงร้อยละ 33.15 เหตุอยู่ในสถานที่อากาศถ่ายเทจำกัดนาน ชี้ชัดเป็นกลุ่มเสี่ยงรับเชื้อจากผู้โดยสารและแพร่ไปยังผู้โดยสารคนอื่น เผยกลุ่มความดัน เบาหวาน หัวใจ เสี่ยงรับเชื้อมากกว่ากลุ่มอื่นร้อยละ 38.14 จี้เร่งค้นหาผู้ป่วยช่วยตัดวงจรแพร่เชื้อ
นายเบญจวรรณ เพชรสุขศิริ นักวิจัยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นำเสนอเรื่อง “อัตราการติดเชื้อวัณโรคในกลุ่มผู้ให้บริการบนรถสาธารณะ ปี 2556” ในงานประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุขประจำปี 2556 ว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ร่วมกับบริษัทขนส่ง จำกัด ประเมินความเสี่ยงของผู้ติดเชื้อวัณโรค ในกลุ่มผู้ให้บริการบนรถโดยสาร บขส.เพื่อสร้างความตระหนักและเฝ้าระวังหยุดยั้งวัณโรค ซึ่งการค้นหาผู้ป่วยจะช่วยตัดวงจรการแพร่เชื้อได้ด้วย ซึ่งผู้ขับขี่รถสาธารณะถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องอยู่ในสถานที่อากาศถ่ายเทจำกัดเป็นเวลานาน และต้องพบกับคนจำนวนมาก หากติดเชื้อหรือเป็นวัณโรค จึงถือเป็นผู้ที่จะสามารถแพร่และทำให้เกิดการติดต่อโรคไปสู่คนวงกว้างได้
นายเบญจวรรณ กล่าวอีกว่า จากการทดสอบเลือดตามความสมัครใจในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,252 ตัวอย่าง พบว่า อัตราการติดเชื้อวัณโรคในกลุ่มผู้ขับรถและพนักงานที่ให้บริการบนรถโดยสารสาธารณะ มีผลบวกคือติดเชื้อ ร้อยละ 33.15 ไม่พบการติดเชื้อ ร้อยละ 66.85 พนักงานชายให้ผลบวกร้อยละ 34.52 พนักงานหญิงให้ผลบวกร้อยละ 23.75 เมื่อวิเคราะห์ตามอายุ พบว่ากลุ่มอายุ 41-50 ปี ให้ผลบวกมากที่สุดร้อยละ 34.91 และจะพบในผู้ที่มีอายุงานระหว่าง 6-10 ปี มากที่สุด นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ที่มีโรคประจำตัว คือ เบาหวาน ความดัน หัวใจ จะมีผลบวกสูงขึ้นกว่ากลุ่มอื่นร้อยละ 38.14 อย่างไรก็ตาม พนักงานที่ให้บริการบนรถสาธารณะมีอัตราการติดเชื้อวัณโรคสูงกว่าบุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพดี โดยกลุ่มผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการนั้น ถือเป็นกลุ่มที่ควรเฝ้าระวัง ซึ่งร้อยละ 10 ของวัณโรคระยะแฝงจะเสี่ยงเกิดวัณโรคปอดได้ภายใน 10 ปีด้วย
นายเบญจวรรณ เพชรสุขศิริ นักวิจัยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นำเสนอเรื่อง “อัตราการติดเชื้อวัณโรคในกลุ่มผู้ให้บริการบนรถสาธารณะ ปี 2556” ในงานประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุขประจำปี 2556 ว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ร่วมกับบริษัทขนส่ง จำกัด ประเมินความเสี่ยงของผู้ติดเชื้อวัณโรค ในกลุ่มผู้ให้บริการบนรถโดยสาร บขส.เพื่อสร้างความตระหนักและเฝ้าระวังหยุดยั้งวัณโรค ซึ่งการค้นหาผู้ป่วยจะช่วยตัดวงจรการแพร่เชื้อได้ด้วย ซึ่งผู้ขับขี่รถสาธารณะถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องอยู่ในสถานที่อากาศถ่ายเทจำกัดเป็นเวลานาน และต้องพบกับคนจำนวนมาก หากติดเชื้อหรือเป็นวัณโรค จึงถือเป็นผู้ที่จะสามารถแพร่และทำให้เกิดการติดต่อโรคไปสู่คนวงกว้างได้
นายเบญจวรรณ กล่าวอีกว่า จากการทดสอบเลือดตามความสมัครใจในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,252 ตัวอย่าง พบว่า อัตราการติดเชื้อวัณโรคในกลุ่มผู้ขับรถและพนักงานที่ให้บริการบนรถโดยสารสาธารณะ มีผลบวกคือติดเชื้อ ร้อยละ 33.15 ไม่พบการติดเชื้อ ร้อยละ 66.85 พนักงานชายให้ผลบวกร้อยละ 34.52 พนักงานหญิงให้ผลบวกร้อยละ 23.75 เมื่อวิเคราะห์ตามอายุ พบว่ากลุ่มอายุ 41-50 ปี ให้ผลบวกมากที่สุดร้อยละ 34.91 และจะพบในผู้ที่มีอายุงานระหว่าง 6-10 ปี มากที่สุด นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ที่มีโรคประจำตัว คือ เบาหวาน ความดัน หัวใจ จะมีผลบวกสูงขึ้นกว่ากลุ่มอื่นร้อยละ 38.14 อย่างไรก็ตาม พนักงานที่ให้บริการบนรถสาธารณะมีอัตราการติดเชื้อวัณโรคสูงกว่าบุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพดี โดยกลุ่มผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการนั้น ถือเป็นกลุ่มที่ควรเฝ้าระวัง ซึ่งร้อยละ 10 ของวัณโรคระยะแฝงจะเสี่ยงเกิดวัณโรคปอดได้ภายใน 10 ปีด้วย