ปลัด สธ.สั่งข้าราชการปรับภาพลักษณ์หวังลดภาพถูกกล่าวหาว่าโกง เข้มงวดห้ามผู้น้อยจัดซื้อจัดจ้างวิเคราะห์งบด้านต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาขาดสภาพคล่อง ย้ำต้องไม่กระทบต่อการบริการประชาชน
วันนี้ (12 ก.ย.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังประชุมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) ทั่วประเทศ ว่า จากกรณีโครงการแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง (SP2) ข้าราชการ สธ.ถูกกล่าวหาว่าโกงงบประมาณดังกล่าว จนส่งผลให้การพิจารณางบในระยะหลังเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น จากนี้ไป สธ.จะต้องทำงานลบภาพลักษณ์ดังกล่าวที่เคยถูกสร้างไว้ในอดีต โดยต้องปรับระบบการจัดการทุกอย่างให้เข้มงวด มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เมื่อมีการจัดซื้อจัดจ้างห้ามให้ผู้น้อยดำเนินการเด็ดขาด สำหรับบทบาทหน้าที่ของ นพ.สสจ.นั้น นับเป็นกลไกสำคัญในส่วนของผู้ดูแลควบคุมกฎระเบียบต่างๆ (Regulator) โดยตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้เป็นต้นไป จะต้องปรับบทบาทหน้าที่ตัวเอง โดยจะต้องทำหน้าที่กำกับโรงพยาบาลต่างๆ ที่อยู่ในจังหวัด วิเคราะห์แผนการดำเนินงานต่างๆ เช่น งบประมาณด้านต่างๆ ทั้งเงินบำรุงโรงพยาบาล งบพัฒนากำลังคน การบริหารจัดการยา เป็นต้น รวมถึงการแก้ปัญหาสุขภาพในระดับพื้นที่ โดยใช้ระบาดวิทยาเป็นหลักในการวิเคราะห์ อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดไม่ได้มุ่งลดภาระค่าใช้จ่าย แก้ปัญหาโรงพยาบาลขาดสภาพคล่องทางการเงินเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญต้องไม่กระทบต่อการบริการผู้ป่วยด้วย
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า การเดินหน้าเขตบริการสุขภาพ 12 เขตนั้น จะมีการแบ่งอำนาจปลัด สธ.ให้แต่ละพื้นที่บริหารจัดการภายในเขตกันเอง โดยมีผู้ตรวจราชการแต่ละเขตเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนคณะกรรมการภายในเขตนั้น ข้อเท็จจริงคือเรามีคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขต (อปสข.) ซึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพในระดับเขตอยู่แล้ว ก็อาจจะมอบอำนาจเรื่องบริหารให้ชัดเจนและกว้างขึ้น นพ.ณรงค์ กล่าวด้วยว่า สำหรับงบประมาณในการบริหารจัดการภายในเขต จะมีงบลงทุนอยู่ 2 ส่วนคือ งบแผ่นดิน และงบค่าเสื่อมที่เป็นงบค่าหัวของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) ซึ่งในปีงบประมาณ 2557 จะมีการเปลี่ยนวิธีการให้งบประมาณ จากเดิมที่จะมีการโอนงบประมาณไปให้แต่ละพื้นที่เลยนั้น แต่ปรากฏว่ามีหลายหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณแล้วแต่ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างล่าช้า ไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ จึงกำหนดให้ต้องมีการจัดซื้อจัดจ้าง ลงนามเซ็นสัญญาให้เรียบร้อยเสียก่อนจึงค่อยโอนงบประมาณดังกล่าวให้แก่พื้นที่
"ขอย้ำในเรื่องการใช้งบประมาณการจัดซื้อจัดจ้างในส่วนของงบค่าเสื่อม ต้องลงนามสัญญาจัดซื้อจัดจ้างให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ต.ค.ส่วนงบสิ่งก่อสร้าง ซึ่งเป็นงบประมาณของ สธ.เองต้องลงนามเซ็นสัญญาภายในวันที่ 30 พ.ย.นี้ หากพื้นที่ไหนไม่ดำเนินการตามกรอบเวลาก็จะพิจารณาโยกงบฯไปให้พื้นที่อื่นแทน” ปลัด สธ.กล่าว
วันนี้ (12 ก.ย.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังประชุมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) ทั่วประเทศ ว่า จากกรณีโครงการแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง (SP2) ข้าราชการ สธ.ถูกกล่าวหาว่าโกงงบประมาณดังกล่าว จนส่งผลให้การพิจารณางบในระยะหลังเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น จากนี้ไป สธ.จะต้องทำงานลบภาพลักษณ์ดังกล่าวที่เคยถูกสร้างไว้ในอดีต โดยต้องปรับระบบการจัดการทุกอย่างให้เข้มงวด มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เมื่อมีการจัดซื้อจัดจ้างห้ามให้ผู้น้อยดำเนินการเด็ดขาด สำหรับบทบาทหน้าที่ของ นพ.สสจ.นั้น นับเป็นกลไกสำคัญในส่วนของผู้ดูแลควบคุมกฎระเบียบต่างๆ (Regulator) โดยตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้เป็นต้นไป จะต้องปรับบทบาทหน้าที่ตัวเอง โดยจะต้องทำหน้าที่กำกับโรงพยาบาลต่างๆ ที่อยู่ในจังหวัด วิเคราะห์แผนการดำเนินงานต่างๆ เช่น งบประมาณด้านต่างๆ ทั้งเงินบำรุงโรงพยาบาล งบพัฒนากำลังคน การบริหารจัดการยา เป็นต้น รวมถึงการแก้ปัญหาสุขภาพในระดับพื้นที่ โดยใช้ระบาดวิทยาเป็นหลักในการวิเคราะห์ อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดไม่ได้มุ่งลดภาระค่าใช้จ่าย แก้ปัญหาโรงพยาบาลขาดสภาพคล่องทางการเงินเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญต้องไม่กระทบต่อการบริการผู้ป่วยด้วย
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า การเดินหน้าเขตบริการสุขภาพ 12 เขตนั้น จะมีการแบ่งอำนาจปลัด สธ.ให้แต่ละพื้นที่บริหารจัดการภายในเขตกันเอง โดยมีผู้ตรวจราชการแต่ละเขตเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนคณะกรรมการภายในเขตนั้น ข้อเท็จจริงคือเรามีคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขต (อปสข.) ซึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพในระดับเขตอยู่แล้ว ก็อาจจะมอบอำนาจเรื่องบริหารให้ชัดเจนและกว้างขึ้น นพ.ณรงค์ กล่าวด้วยว่า สำหรับงบประมาณในการบริหารจัดการภายในเขต จะมีงบลงทุนอยู่ 2 ส่วนคือ งบแผ่นดิน และงบค่าเสื่อมที่เป็นงบค่าหัวของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) ซึ่งในปีงบประมาณ 2557 จะมีการเปลี่ยนวิธีการให้งบประมาณ จากเดิมที่จะมีการโอนงบประมาณไปให้แต่ละพื้นที่เลยนั้น แต่ปรากฏว่ามีหลายหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณแล้วแต่ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างล่าช้า ไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ จึงกำหนดให้ต้องมีการจัดซื้อจัดจ้าง ลงนามเซ็นสัญญาให้เรียบร้อยเสียก่อนจึงค่อยโอนงบประมาณดังกล่าวให้แก่พื้นที่
"ขอย้ำในเรื่องการใช้งบประมาณการจัดซื้อจัดจ้างในส่วนของงบค่าเสื่อม ต้องลงนามสัญญาจัดซื้อจัดจ้างให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ต.ค.ส่วนงบสิ่งก่อสร้าง ซึ่งเป็นงบประมาณของ สธ.เองต้องลงนามเซ็นสัญญาภายในวันที่ 30 พ.ย.นี้ หากพื้นที่ไหนไม่ดำเนินการตามกรอบเวลาก็จะพิจารณาโยกงบฯไปให้พื้นที่อื่นแทน” ปลัด สธ.กล่าว