มติบอร์ด สปสช.เห็นชอบยุทธศาสตร์การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว แจงสัดส่วนประชากรสูงอายุมากขึ้น ต้องมีการจัดระบบการดูแลที่เหมาะสม พร้อมเดินหน้าปี 57 จัดชุดสิทธิประโยชน์ พัฒนาบุคลากร และงบประมาณ คาดใช้งบพัฒนาระบบบริการ 2,109 ล้านบาท ตรียมเสนอ ครม.ต่อไป
วันนี้ (5 ส.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวภายหลังประชุมบอร์ด สปสช.ที่มีการพิจารณาเรื่อง แผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ว่า มติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและได้มอบ สปสช.และ อปท.ดำเนินการโดยใช้งบค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มผู้สูงอายุและงบกองทุนท้องถิ่น ในการตรวจคัดกรองและทำทะเบียนเพื่อจัดกลุ่มผู้สูงอายุตามระดับการพึ่งพิง ตลอดจนจัดบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันภาวะทุพพลภาพ ขณะเดียวกันเตรียมเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา จัดสรรงบเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาระบบบริการตามแผนยุทธศาสตร์ จัดให้มีแหล่งการคลังสำหรับจัดบริการดูแลระยะยาวที่ยั่งยืน และมอบหมายหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์
ด้าน นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง กล่าวว่า จากสถานการณ์ของไทยที่สัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น จากร้อยละ 12.2 ในปี 2554 อาจะเพิ่มเป็นร้อยละ 18 และ 24 ของประชากรรวมในอีก 10 ปีและ 20 ปีข้างหน้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในระดับมหภาค ดังนั้นคณะอนุกรรมการได้จัดทำยุทธศาสตร์ระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีเป้าประสงค์ คือ บุคคล ครอบครัวและชุมชน ได้รับการสนับสนุนให้มีขีดความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุ ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรีในครอบครัวและชุมชน โดยเชื่อมโยงกับระบบบริการสุขภาพและบริการทางสังคม
“เป้าหมาย ผู้สูงอายุทุกคน ได้รับการคัดกรอง และมีระบบส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูและการดูแลระยะยาวในชุมชน มีระบบการเงินการคลังที่ยั่งยืนในการดูแลครบวงจร ทุกชุมชนมีระบบสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุ ให้อยู่ในครอบครัวได้อย่างมีความสุข เช่น มี nursing home สถานพยาบาลทุกแห่งมีระบบสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนและครอบครัว ท้องถิ่นมีหน้าที่จัดระบบการดูแลผู้สูงอายุ ตลอดจนมีระบบข้อมูล ภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนการดำเนินงานของท้องถิ่น มีกองทุนในระดับท้องถิ่นเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ โดยบูรณาการแหล่งเงินต่างๆ ที่ลงไปในชุมชน” นพ.วิชัย กล่าว
นพ.วิชัย กล่าวต่อว่า ยุทธศาสตร์ที่ต้องดำเนินการคือ การคัดกรองผู้สูงอายุ และพัฒนาฐานข้อมูลผู้สูงอายุในชุมชน การพัฒนาระบบบริการดูแลระยะยาวในชุมชนเพื่อการส่งเสริมป้องกัน การพัฒนาระบบการเงินการคลัง และ ชุดสิทธิประโยชน์ การพัฒนากำลังคนเพื่อการจัดบริการดูแลระยะยาวในชุมชน การสร้าง การจัดการความรู้ และการติดตามประเมินผล การพัฒนากฎหมาย/ระเบียบ/มาตรฐาน และการบริหารจัดการ งบประมาณที่คาดว่าจะต้องใช้ เริ่มจากในปี 2557 งบพัฒนาระบบตามยุทธศาสตร์ 2,701 ล้านบาท และงบบริการดูแลระยะยาว 2,109 ล้านบาท
วันนี้ (5 ส.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวภายหลังประชุมบอร์ด สปสช.ที่มีการพิจารณาเรื่อง แผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ว่า มติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและได้มอบ สปสช.และ อปท.ดำเนินการโดยใช้งบค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มผู้สูงอายุและงบกองทุนท้องถิ่น ในการตรวจคัดกรองและทำทะเบียนเพื่อจัดกลุ่มผู้สูงอายุตามระดับการพึ่งพิง ตลอดจนจัดบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันภาวะทุพพลภาพ ขณะเดียวกันเตรียมเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา จัดสรรงบเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาระบบบริการตามแผนยุทธศาสตร์ จัดให้มีแหล่งการคลังสำหรับจัดบริการดูแลระยะยาวที่ยั่งยืน และมอบหมายหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์
ด้าน นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง กล่าวว่า จากสถานการณ์ของไทยที่สัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น จากร้อยละ 12.2 ในปี 2554 อาจะเพิ่มเป็นร้อยละ 18 และ 24 ของประชากรรวมในอีก 10 ปีและ 20 ปีข้างหน้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในระดับมหภาค ดังนั้นคณะอนุกรรมการได้จัดทำยุทธศาสตร์ระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีเป้าประสงค์ คือ บุคคล ครอบครัวและชุมชน ได้รับการสนับสนุนให้มีขีดความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุ ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรีในครอบครัวและชุมชน โดยเชื่อมโยงกับระบบบริการสุขภาพและบริการทางสังคม
“เป้าหมาย ผู้สูงอายุทุกคน ได้รับการคัดกรอง และมีระบบส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูและการดูแลระยะยาวในชุมชน มีระบบการเงินการคลังที่ยั่งยืนในการดูแลครบวงจร ทุกชุมชนมีระบบสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุ ให้อยู่ในครอบครัวได้อย่างมีความสุข เช่น มี nursing home สถานพยาบาลทุกแห่งมีระบบสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนและครอบครัว ท้องถิ่นมีหน้าที่จัดระบบการดูแลผู้สูงอายุ ตลอดจนมีระบบข้อมูล ภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนการดำเนินงานของท้องถิ่น มีกองทุนในระดับท้องถิ่นเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ โดยบูรณาการแหล่งเงินต่างๆ ที่ลงไปในชุมชน” นพ.วิชัย กล่าว
นพ.วิชัย กล่าวต่อว่า ยุทธศาสตร์ที่ต้องดำเนินการคือ การคัดกรองผู้สูงอายุ และพัฒนาฐานข้อมูลผู้สูงอายุในชุมชน การพัฒนาระบบบริการดูแลระยะยาวในชุมชนเพื่อการส่งเสริมป้องกัน การพัฒนาระบบการเงินการคลัง และ ชุดสิทธิประโยชน์ การพัฒนากำลังคนเพื่อการจัดบริการดูแลระยะยาวในชุมชน การสร้าง การจัดการความรู้ และการติดตามประเมินผล การพัฒนากฎหมาย/ระเบียบ/มาตรฐาน และการบริหารจัดการ งบประมาณที่คาดว่าจะต้องใช้ เริ่มจากในปี 2557 งบพัฒนาระบบตามยุทธศาสตร์ 2,701 ล้านบาท และงบบริการดูแลระยะยาว 2,109 ล้านบาท