กทม.เสวนาเปิดแนวทางเมืองพาหนะส่วนร่วม หนุนคนกรุงใช้รถสาธารณะเพิ่ม เร่งสร้างกรุงเทพฯเป็นเมืองขนส่งสาธารณะอย่างยั่งยืนด้วยมาตรการ 9 ข้อ เชื่ออีก 3 ปีการจราจรดีขึ้นหากระบบรถไฟฟ้าเสร็จสมบูรณ์
วันนี้ (12 ก.ย.) ที่ห้องประชุมจิ๊ด เศรษฐบุตร อาคารคณะนิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และภาคประชาชนจัดงานเสวนาเสวนา “จะทำอย่างไรให้กรุงเทพฯเป็นเมืองพาหนะส่วนรวม” โครงการรณรงค์ลดการใช้รถยนต์ในเขตกรุงเทพฯ มีนางสาวตรีดาว อภัยวงศ์ โฆษกกรุงเทพมหานครเป็นประธานเปิดงาน สำหรับงานเสวนานี้จัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ มุมมอง ประสบการณ์ ทางออกในการแก้ปัญหาจราจรติดขัด ด้วยการผลักดันให้กรุงเทพฯเป็นเมืองพาหนะส่วนรวม โดยมี พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย ผู้บังคับการตำรวจจราจร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นายทรงกลด บางยี่ขัน บรรณาธิการนิตยสาร A Day นางสรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ เลขาธิการมูลนิธิโลกสีเขียว เข้าร่วมเสวนา ดำเนินรายการโดย ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำภาคกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นางสาวตรีดาว กล่าวว่า กทม.มีแนวคิดในการสร้างการขนส่งมวลชนอย่างยั่งยืนเพื่อก้าวไปสู่เมืองแห่งพาหนะส่วนรวม ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนในการเสียสละความสุขสบายส่วนตัวในการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลมาใช้ระบบขนส่งมวลชน อีกทั้งต้องร่วมกันสร้างเมืองที่ให้สิทธิพิเศษแก่ระบบขนส่งมวลชน จักรยาน คนเดินเท้ามากกว่าผู้ใช้รถยนต์เพื่อสร้างเมืองที่ถนนเป็นของทุกคนเท่าเทียมกัน ซึ่ง กทม.มีแผนการสร้างเมืองขนส่งสาธารณะอย่างยั่งยืน 9 มาตรการหลัก คือ 1.ต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส 2.จัดสิทธิพิเศษถนนใหม่ เพิ่มความสำคัญกับระบบขนส่งสาธารณะ 3.เปิดให้บริการรถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที 4.ปรับปรุงบาทวิถี 5.พัฒนาระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว 6.ปรับปรุงรูปแบบการสัญจรในคลองเรือสาธารณะ 7.จัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้บริการขนส่งสาธารณะอย่างต่อเนื่องเช่นจุดจอดแล้วจร 8.เพิ่มเส้นทางจักรยาน 9.รณรงค์ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้เดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน
นางสาวตรีดาว กล่าวต่อว่า ทัศนคติของคนเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ถ้าคนยังคิดว่าใช้รถยนต์ส่วนตัวสบายกว่า ต่อให้มีระบบขนส่งสาธารณะที่มีคุณภาพมากแค่ไหนคนก็คงไม่ใช้บริการ จึงต้องขอความร่วมมือทุกภาคส่วนหาวิธีการทำงานให้เกิดการบูรณาการร่วมกัน อีกทั้งถ้าจะรณรงค์เลิกใช้รถยนต์จริงจัง ต้องทำให้จักรยานใช้บนถนนได้จริง โดยกทม.มีแผนจะใช้เกาะรัตนโกสินทร์เป็นเส้นทางต้นแบบ ซึ่ง กทม.ต้องไปทำความเข้าใจกับหน่วยงานทั้งหมด เพื่อใช้ถนนเส้นนี้เป็นถนนจักรยานที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งทั้ง 39 เส้นทางจักรยานที่จะเกิดขึ้นใหม่ อยู่ระหว่างการพิจาณาว่าสามารถเชื่อมต่อเส้นทางอื่นได้หรือไม่ ซึ่งก็อยู่ในขั้นตอนการทำงานต่อไป
นางสรณรัชฎ์ กล่าวว่า หากดูตัวอย่างจากเมืองชั้นนำทั่วโลก ทุกเมืองจะมีเอกลักษณ์ตามกายภาพ ถ้ามีการถอดบทเรียนจะพบว่าจะมีการให้ความสำคัญเพื่อให้ความสะดวกสบายกับรถยนต์ให้น้อยที่สุด เราจึงต้องหันมาลำดับความสำคัญดูว่าสิ่งใดความดำเนินการเป็นสิ่งแรก เราต้องลดการอำนายความสะดวกแก่รถยนต์ โดยอาจมีการแบ่งแยกเลนในการใช้ถนนให้ชัดเจน
นายทรงกลด กล่าวว่า คนไทยมองพาหนะเป็นเฟอร์นิเจอร์ เป็นเครื่องประดับตกแต่ง เป็นสิ่งที่บ่งบอกสถานะทางสังคม คนไทยยังคิดว่านั่งรถเมล์จะดูไม่ดี แต่ถ้าเลิกคิดเป็นว่าพาหนะเป็นเฟอร์นิเจอร์เราก็จะเลิกใช้สิ่งนั้น คนไทยเราส่วนใหญ่ไม่ได้แก้ปัญหาจากตัวเอง แต่จะมองคนอื่นผิด ทางแก้จึงต้องให้มองเห็นปัญหาร่วมกัน โดยเริ่มที่ตัวเราก่อน ถ้าเปลี่ยนรูปแบบความคิดเป็นเคร่งครัดกับตนเอง และผ่อนปรนกับคนอื่นโลกจะดีขึ้น
ด้าน พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่า ปัญหาจราจรเป็นปัญหาวิกฤต ที่เป็นวาระแห่งชาติ และปัจจุบันมีความเลวร้ายเพิ่มมากขึ้น แต่ตนคิดว่าจากนี้อีก 3 ปีทุกอย่างจะดีขึ้น เพราะระบบรถไฟฟ้าจะสร้างเสร็จอีกหลายสาย อีกทั้งถ้ามีการพัฒนาคุณภาพของคน รถ การบริการของรถขนส่งสาธารณะให้ดีขึ้น หลายคนคงไม่ขับรถยนต์ อย่างไรก็ตามตนไม่เห็นด้วยที่รัฐจะมาลิดรอนสิทธิการใช้ท้องถนนกับประชาชน โดยที่รัฐไม่สนับสนุนอะไรขั้นพื้นฐานที่มีประสทธิภาพให้แก่ประชาชนเลย ดังนั้นรัฐจึงต้องสนับสนุนการขนส่งมวลชนให้ดี แล้ววันหนึ่งประชาชนจะเลิกใช้รถยนต์แล้วหันไปใช้พาหนะส่วนร่วม
วันนี้ (12 ก.ย.) ที่ห้องประชุมจิ๊ด เศรษฐบุตร อาคารคณะนิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และภาคประชาชนจัดงานเสวนาเสวนา “จะทำอย่างไรให้กรุงเทพฯเป็นเมืองพาหนะส่วนรวม” โครงการรณรงค์ลดการใช้รถยนต์ในเขตกรุงเทพฯ มีนางสาวตรีดาว อภัยวงศ์ โฆษกกรุงเทพมหานครเป็นประธานเปิดงาน สำหรับงานเสวนานี้จัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ มุมมอง ประสบการณ์ ทางออกในการแก้ปัญหาจราจรติดขัด ด้วยการผลักดันให้กรุงเทพฯเป็นเมืองพาหนะส่วนรวม โดยมี พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย ผู้บังคับการตำรวจจราจร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นายทรงกลด บางยี่ขัน บรรณาธิการนิตยสาร A Day นางสรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ เลขาธิการมูลนิธิโลกสีเขียว เข้าร่วมเสวนา ดำเนินรายการโดย ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำภาคกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นางสาวตรีดาว กล่าวว่า กทม.มีแนวคิดในการสร้างการขนส่งมวลชนอย่างยั่งยืนเพื่อก้าวไปสู่เมืองแห่งพาหนะส่วนรวม ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนในการเสียสละความสุขสบายส่วนตัวในการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลมาใช้ระบบขนส่งมวลชน อีกทั้งต้องร่วมกันสร้างเมืองที่ให้สิทธิพิเศษแก่ระบบขนส่งมวลชน จักรยาน คนเดินเท้ามากกว่าผู้ใช้รถยนต์เพื่อสร้างเมืองที่ถนนเป็นของทุกคนเท่าเทียมกัน ซึ่ง กทม.มีแผนการสร้างเมืองขนส่งสาธารณะอย่างยั่งยืน 9 มาตรการหลัก คือ 1.ต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส 2.จัดสิทธิพิเศษถนนใหม่ เพิ่มความสำคัญกับระบบขนส่งสาธารณะ 3.เปิดให้บริการรถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที 4.ปรับปรุงบาทวิถี 5.พัฒนาระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว 6.ปรับปรุงรูปแบบการสัญจรในคลองเรือสาธารณะ 7.จัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้บริการขนส่งสาธารณะอย่างต่อเนื่องเช่นจุดจอดแล้วจร 8.เพิ่มเส้นทางจักรยาน 9.รณรงค์ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้เดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน
นางสาวตรีดาว กล่าวต่อว่า ทัศนคติของคนเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ถ้าคนยังคิดว่าใช้รถยนต์ส่วนตัวสบายกว่า ต่อให้มีระบบขนส่งสาธารณะที่มีคุณภาพมากแค่ไหนคนก็คงไม่ใช้บริการ จึงต้องขอความร่วมมือทุกภาคส่วนหาวิธีการทำงานให้เกิดการบูรณาการร่วมกัน อีกทั้งถ้าจะรณรงค์เลิกใช้รถยนต์จริงจัง ต้องทำให้จักรยานใช้บนถนนได้จริง โดยกทม.มีแผนจะใช้เกาะรัตนโกสินทร์เป็นเส้นทางต้นแบบ ซึ่ง กทม.ต้องไปทำความเข้าใจกับหน่วยงานทั้งหมด เพื่อใช้ถนนเส้นนี้เป็นถนนจักรยานที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งทั้ง 39 เส้นทางจักรยานที่จะเกิดขึ้นใหม่ อยู่ระหว่างการพิจาณาว่าสามารถเชื่อมต่อเส้นทางอื่นได้หรือไม่ ซึ่งก็อยู่ในขั้นตอนการทำงานต่อไป
นางสรณรัชฎ์ กล่าวว่า หากดูตัวอย่างจากเมืองชั้นนำทั่วโลก ทุกเมืองจะมีเอกลักษณ์ตามกายภาพ ถ้ามีการถอดบทเรียนจะพบว่าจะมีการให้ความสำคัญเพื่อให้ความสะดวกสบายกับรถยนต์ให้น้อยที่สุด เราจึงต้องหันมาลำดับความสำคัญดูว่าสิ่งใดความดำเนินการเป็นสิ่งแรก เราต้องลดการอำนายความสะดวกแก่รถยนต์ โดยอาจมีการแบ่งแยกเลนในการใช้ถนนให้ชัดเจน
นายทรงกลด กล่าวว่า คนไทยมองพาหนะเป็นเฟอร์นิเจอร์ เป็นเครื่องประดับตกแต่ง เป็นสิ่งที่บ่งบอกสถานะทางสังคม คนไทยยังคิดว่านั่งรถเมล์จะดูไม่ดี แต่ถ้าเลิกคิดเป็นว่าพาหนะเป็นเฟอร์นิเจอร์เราก็จะเลิกใช้สิ่งนั้น คนไทยเราส่วนใหญ่ไม่ได้แก้ปัญหาจากตัวเอง แต่จะมองคนอื่นผิด ทางแก้จึงต้องให้มองเห็นปัญหาร่วมกัน โดยเริ่มที่ตัวเราก่อน ถ้าเปลี่ยนรูปแบบความคิดเป็นเคร่งครัดกับตนเอง และผ่อนปรนกับคนอื่นโลกจะดีขึ้น
ด้าน พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่า ปัญหาจราจรเป็นปัญหาวิกฤต ที่เป็นวาระแห่งชาติ และปัจจุบันมีความเลวร้ายเพิ่มมากขึ้น แต่ตนคิดว่าจากนี้อีก 3 ปีทุกอย่างจะดีขึ้น เพราะระบบรถไฟฟ้าจะสร้างเสร็จอีกหลายสาย อีกทั้งถ้ามีการพัฒนาคุณภาพของคน รถ การบริการของรถขนส่งสาธารณะให้ดีขึ้น หลายคนคงไม่ขับรถยนต์ อย่างไรก็ตามตนไม่เห็นด้วยที่รัฐจะมาลิดรอนสิทธิการใช้ท้องถนนกับประชาชน โดยที่รัฐไม่สนับสนุนอะไรขั้นพื้นฐานที่มีประสทธิภาพให้แก่ประชาชนเลย ดังนั้นรัฐจึงต้องสนับสนุนการขนส่งมวลชนให้ดี แล้ววันหนึ่งประชาชนจะเลิกใช้รถยนต์แล้วหันไปใช้พาหนะส่วนร่วม