xs
xsm
sm
md
lg

Bangkok Green City ฝันที่เป็นจริง ของคนกทม.?

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร
•ผู้ว่ากทม. 2 สมัย กำลังรุกคืบ 4 ภารกิจสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มเหนี่ยว
•ชูการขับเคลื่อนโครงการเมืองสีเขียว ทั้งการเพิ่มปอด กำจัดขยะ-น้ำเสีย ในระยะยาวสร้างความยั่งยืน
•ล่าสุด ขยับเป้า เพิ่มพื้นที่สีเขียวอีก 5,000 ไร่ ทำเป็นสวนป่าขนาดใหญ่ และ Dog Park แห่งแรกเหมือนอารยะประเทศ

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ชูธงขับเคลื่อนภารกิจด้านสิ่งแวดล้อมของมหานครกรุงเทพฯ สู่เป้าหมาย “Green City” ล่าสุดกำลังเดินหน้าสร้างสวนสาธารณะแห่งใหม่ 5,000 ไร่ ในรูปแบบสวนป่า หวังเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อเป็นปอดให้คนเมือง โดย ปิ๊งไอเดียสร้าง “Dog Park” สำหรับคนรักสุนัขเป็นแห่งแรกที่บางเขน ส่วนน้ำเสีย-ขยะ-อากาศ มุ่งวางแผนเป็นโครงการระยะยาว

ผู้ว่า กทม. กล่าวว่า การทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นต้องทำหลายส่วน ที่สำคัญที่สุดและอยู่ในอำนาจของกทม. มี 4 ส่วนด้วยกัน
สวนสาธารณะขนาดใหญ่ พื้นที่ตั้งแต่ 10 ไร่ขึ้นไปหรือใกล้เคียง จะมีเพิ่มไม่น้อยกว่า 10 แห่ง
“อยากให้กรุงเทพฯ เป็นเหมือนเมืองในยุโรปหรืออเมริกา ผมอยากทำสวนสาธารณะขนาดใหญ่ หรือ Dog Park ที่คนกับสุนัขอยู่ร่วมกันได้”
ส่วนแรก “การเพิ่มพื้นที่สีเขียว” ซึ่งในการทำงานที่ผ่านมาจากการดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งแรกสามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียว 5 พันไร่ จาก 1.2 หมื่นไร่ เป็น 1.7 หมื่นไร่ ทำให้พื้นที่สีเขียวต่อหัวของประชากรในกทม.เพิ่มขึ้นจาก 3.49 ตารางเมตร เป็น 4.88 ตารางเมตร แต่มองว่ายังไม่พอเพราะเมื่อเปรียบเทียบกับมหานครนิวยอร์คมีถึง 20 ตารางเมตร หรือลอนดอนซึ่งราคาที่ดินแพงที่สุดแห่งหนึ่งในโลกมีถึง 30 กว่าตารางเมตร

ดังนั้น ในการเข้ามารับตำแหน่งผู้ว่าฯ ในครั้งที่สองนี้มีเป้าหมายจะเพิ่มพื้นที่สีเขียวต่อจากเดิมอีก 5 พันไร่ โดยต้องการให้เป็นรูปแบบของสวนสาธารณะขนาดใหญ่ ซึ่งมีพื้นที่ตั้งแต่ 10 ไร่ขึ้นไปหรือใกล้เคียง ไม่ต่ำกว่า 10 แห่ง โดยในวันนี้ มีพื้นที่พร้อมแล้ว 9 แห่ง ทั้งที่ดำเนินการไปแล้วและกำลังจะดำเนินการ สำหรับพื้นที่ซึ่งดำเนินการโดยมีการออกแบบไปแล้วแห่งแรกอยู่ที่เขตบางบอน

ส่วนที่กำลังดำเนินการโดยอยู่ในระหว่างการออกแบบเป็นแห่งที่สองอยู่ที่เขตเพชรเกษม 69 ขนาด 70 ไร่ ซึ่งในพื้นที่นี้จะมีตลาดนัดแห่งแรกซึ่งอยู่ในสวนสาธารณะ แห่งที่สามอยู่ที่ทางแยกต่างระดับวัชรพล เขตบางเขน ขนาด 33 ไร่ โดยจะมีพื้นที่สำหรับสุนัขหรือ Dog Park เป็นแห่งแรกของกรุงเทพฯ แห่งที่สี่อยู่ที่บึงลำไผ่ เขตมีนบุรี ขนาด 78 ไร่ แห่งที่ห้าอยู่ที่ถนนเชื่อมคลองมอญ ขนาด 19 ไร่ แห่งที่หกอยู่ที่เขตบางเขน ขนาด 20 ไร่ แห่งที่เจ็ดอยู่ที่สถานีพัฒนาที่ดินบางขุนเทียน แห่งที่แปดอยู่ที่ซอยสุขสวัสดิ์ 10 เขตราษฎร์บูรณะ ขนาด 65 ไร่ และแห่งที่เก้าอยู่ที่สุวินทวงศ์ 67 เขตหนองจอก ขนาด 7 ไร่ ส่วนแห่งที่สิบอยู่ในระหว่างการเจรจา โดยมีพื้นที่ที่น่าสนใจขนาด 50 ไร่ อยู่ด้านทิศตะวันออกของกรุงเทพฯ

การวางแนวทางให้ทำในรูปแบบสวนป่า ด้วยการปลูกไม้ใหญ่ยืนต้นเป็นหลัก เพราะจะให้ความร่มรื่นและช่วยฟอกอากาศได้มาก รวมทั้ง น่าจะดูแลได้ง่ายขึ้น เช่นเดียวกับสวนสาธารณะหลายแห่งในต่างประเทศ ไม่ใช่สวนไม้ดอก ในขณะที่ การจัดทำเป็นพื้นที่สำหรับสุนัขซึ่งเป็นนโยบายที่จะใช้กับสวนสาธารณะแห่งใหม่เนื่องจากมีอุปสรรคกับการใช้พื้นที่ในสวนสาธารณะเดิม

“อยากให้กรุงเทพฯ เป็นเหมือนเมืองในยุโรปหรืออเมริกา ผมอยากทำสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่คนกับสุนัขอยู่ร่วมกันได้ ซึ่งต้องทำหลายอย่าง อย่างแรกเจ้าของต้องมีความรับผิดชอบ เช่น เรื่องของการดูแลความสะอาด ต้องไม่ทำสกปรก อย่างที่สองสุนัขของมีระเบียบวินัยไม่ทะเลาะวิวาทกับสุนัขอื่นหรือไม่กัดคน เพราะคนไทยบางคนขังสุนัขใหญ่ไว้ในพื้นที่เล็กทำให้ดุหรือเครียดและอาจจะกัดคนแปลกหน้าได้ จึงต้องมีการดูแลที่เหมาะสม สำหรับการจัดทำ dog park แห่งแรกนี้แบ่งพื้นที่ประมาณ 3 ไร่ออกมาเป็นโซน โดยจะมีการตรวจสุขภาพสุนัขก่อน เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายกับผู้มาใช้สวนสาธารณะ แต่ dog park ในใจผมคือไม่ต้องแบ่งเขตของคนกับเขตของสุนัข เพราะทั้งคนและสุนัขอยู่ในพื้นที่เดียวกันได้หมด”
การบำบัดน้ำเสีย วางแผนระยะยาวเพื่อให้กรุงเทพฯ สามารถบำบัดน้ำเสียได้ทั้งหมด 100%
ส่วนที่สอง “การบำบัดน้ำเสีย” เป็นอีกเรื่องกทม.จะต้องดำเนินการเพื่อให้สิ่งแวดล้อมในเมืองดีขึ้นหรือการไปสู่การเป็น Green City เนื่องจากปัจจุบันกรุงเทพฯ มีน้ำเสียประมาณ 3 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน แต่ภายใน 4-5 ปีจากนี้จะเพิ่มเป็นประมาณ 4 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ขณะที่ ขณะนี้กทม.มีขีดความสามารถในการบำบัดประมาณ 1 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน อย่างไรก็ตาม ในสมัยแรกของการเป็นผู้ว่าฯ ได้ก่อสร้างสถานีบำบัดน้ำเสียใต้ดินแห่งแรกในเอเชียที่สวนรถไฟ และเปิดดำเนินการไปแล้ว โดยสามารถบำบัดน้ำเสียได้ 1 แสนลูกบาศก์เมตรต่อวัน และกำลังจะก่อสร้างแห่งใหม่ที่เขตมีนบุรี สามารถบำบัดได้ 1 หมื่นลูกบาศก์เมตรต่อวัน จึงต้องดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไป

ขณะที่ปัญหาของโรงบำบัดน้ำเสียคือค่าใช้จ่ายที่สูงมาก เพราะไม่ใช่แค่การต้องซื้อเทคโนโลยีเท่านั้น แต่จำเป็นต้องมีพื้นที่ขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อาจจะทำได้ในช่วงของการดำรงตำแหน่งครั้งนี้คือการวางแผนระยะยาวเพื่อให้กรุงเทพฯ สามารถบำบัดน้ำเสียได้ทั้งหมด 100% โดยตั้งเป้าหมายไว้ภายใน 10 ปี แต่ต้องใช้งบประมาณในการลงทุนค่อนข้างมาก เนื่องจากปัญหาคือการที่น้ำดีหรือน้ำฝนและน้ำเสียไหลไปลงที่ท่อเดียวกันเข้าสู่โรงบำบัดน้ำเสีย ดังนั้น ในขั้นแรกจึงต้องมีการวางระบบใหม่เพื่อแยกน้ำดีหรือน้ำฝนออกจากน้ำเสีย ซึ่งในต่างประเทศใช้แนวทางนี้อยู่แล้ว เช่น ญี่ปุ่น ฯลฯ จากนั้นจึงจะดำเนินการลงทุนเกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสียในขั้นต่อไป
กทม.ต้องใช้วิธีการฝังกลบต่อไปอีก 20 ปี
ส่วนที่สาม “การกำจัดขยะ” ซึ่งในปัจจุบันใช้วิธีการฝังกลบประมาณ 90% และแม้ว่าจะไม่กระทบกับสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพฯ โดยตรง แต่มีผลกระทบต่อพื้นที่ในจังหวัดที่นำขยะจากกรุงเทพฯ ไปฝังกลบ จึงเห็นว่าควรจะใช้วิธีการอื่นในการกำจัด ซึ่งจะต้องค่อยๆ ลงทุนเป็นระยะยาว โดยขณะนี้มีขยะถึงเกือบ 9 พันตันต่อวัน ซึ่งการเผาขยะปริมาณ 2-3 พันตันต่อวัน ต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 5 พันล้านบาท เนื่องจากกทม.ไม่สามารถขายขยะให้เอกชน เพราะมีปัญหาทางกฎหมายคือ 1.ขยะถือเป็นทรัพย์สินจึงต้องมีราคาที่ถูกต้อง และ2.จะเข้าข่ายพรบ.ร่วมทุนซึ่งต้องใช้ระยะเวลานานมากกว่าจะผ่านขั้นตอนการพิจารณาจากรัฐสภา
อย่างไรก็ตาม กทม.ต้องใช้วิธีการฝังกลบต่อไปอีก 20 ปี เพราะนอกจากจะมีการทำสัญญาเอาไว้แล้ว ในการเผาขยะ 1 หมื่นตัน ต้องใช้เงินลงทุนนับหมื่นล้านบาท
มลภาวะทางอากาศของกรุงเทพฯ ในขณะนี้อยู่ในระดับปานกลาง และน่าจะดีขึ้น เพราะจะมีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น
สำหรับส่วนที่สี่ “คุณภาพของอากาศ” เป็นเรื่องที่มีความเป็นห่วงมากที่สุด แต่เนื่องจากมลภาวะทางอากาศของกรุงเทพฯ ในขณะนี้อยู่ในระดับปานกลาง และเห็นว่าน่าจะดีขึ้นได้ เพราะการมีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น และระบบการขนส่งแบบรางมากขึ้น ทำให้มีการใช้รถยนต์น้อยลง แต่การจะออกมาตรการต่างๆ เช่น ห้ามรถยนต์ที่อยู่ย่านชานเมืองเข้ามาในเขตกรุงเทพฯ ชั้นใน ยังต้องพิจารณาผลกระทบให้รอบคอบ เพราะหากออกมาตรการดังกล่าวจะเป็นการเพิ่มภาระหรือค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้กับคนชานเมืองซึ่งส่วนมาเป็นคนชั้นกลาง ฯลฯ

•ดังนั้น มาตรการต่างๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพอากาศให้กับคนเมืองหลวงจึงต้องก้าวตามมาหลังจากโครงการขนส่งมวลชนแบบรางพัฒนาไปแล้ว แต่สามผู้ว่ากทม. 2 สมัย กำลังรุกคืบ 4 ภารกิจสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มเหนี่ยว
•ชูการขับเคลื่อนโครงการเมืองสีเขียว ทั้งการเพิ่มปอด กำจัดขยะ-น้ำเสีย ในระยะยาวสร้างความยั่งยืน
ล่าสุด ขยับเป้า เพิ่มพื้นที่สีเขียวอีก 5,000 ไร่ ทำเป็นสวนป่าขนาดใหญ่ และ Dog Park แห่งแรกเหมือนอารยะประเทศารถใช้แนวทางการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น “Car Free Day” ทางกทม. จัดเป็นประจำทุกปีเพื่อรณรงค์ให้คนเมืองหลวงช่วยลดมลพิษทางอากาศด้วยการลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวโดยหันมาเดินทางด้วยจักรยาน และบริการขนส่งสาธารณะแทน เป็นต้น
กำลังโหลดความคิดเห็น