สธ.หนุนใช้นวัตกรรม “คัมภีร์วิถีเพศ” หวังปรับลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ โดยเฉพาะกลุ่มชายรักชาย เด็กวัยเรียน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ หลังพบว่า ร้อยละ 85 ของผู้ป่วยโรคเอดส์เป็นเยาวชนและวัยแรงงาน
วันนี้ (12 ก.ย.) ที่โรงแรมนารายณ์ กทม. นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวเปิดการประชุมสัมมนานวัตกรรม โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์ที่มีประสิทธิผล จัดโดยภาคีเครือข่ายทำงานป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์ ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนโลก ว่า การป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติของไทย พ.ศ.2555-2559 มุ่งสู่เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 3 ประการ ภายในปี 2559 คือ 1.ไม่มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ 2.ไม่มีการเสียชีวิตเนื่องจากเอดส์ และ 3.ไม่มีการตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีและกลุ่มประชากรหลักที่ได้รับผลกระทบ ดังนั้นการปรับใช้คัมภีร์วิถีเพศเพื่อเสริมศักยภาพ และสร้างสมรรถนะให้ผู้ปฏิบัติการร่วมกับกลุ่มเป้าหมายในแต่ละพื้นที่ชุมชน ให้สามารถปรับแก้พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และใช้บริการสุขภาพที่ถูกต้อง เป็นหัวใจสำคัญของยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ดังกล่าวทั้งนี้ สธ.จะเป็นเจ้าภาพจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ปี 2557-2559 เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการเอดส์ชาติ ในวันที่ 27 ก.ย.นี้ ที่กระทรวงสาธารณสุข โดยจะเน้นนโยบายป้องกันผสมผสาน ประกอบด้วยการส่งเสริมความปลอดภัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ และการส่งเสริมให้ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงตรวจและรู้สถานภาพการติดเชื้อและได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ
“สำหรับนวัตกรรมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์ของไทย ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนโลก (Global Fund) ในครั้งนี้ มุ่งใช้วิธีการเสริมสร้างทักษะให้ผู้ปฏิบัติงานมีสมรรถนะในการพัฒนาโครงการ นำรูปแบบ วิธีการ และเครื่องมือ ที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายได้จริง จะช่วยให้ไทยสามารถจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์อย่างมีประสิทธิผล” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ด้าน นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า กองทุนโลก ได้สนับสนุนงบประมาณให้ไทย เป็นเงินประมาณ 2,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการพัฒนานวัตกรรมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์ของไทย ระยะเวลา 3 ปี ซึ่งเริ่มศึกษาตั้งแต่ปี 2555 เป็นครั้งแรกของไทย โดยมี 9 รูปแบบ ได้แก่ 1.การป้องกันท้องในวัยเรียน 2.การป้องกันเอดส์เยาวชนในชุมชนแออัด 3.การสร้างทักษะชีวิตเยาวชนมุสลิม 4.การจัดการยุทธศาสตร์ป้องกันเอดส์ อบต.และภาคี 5.การบริการที่เป็นมิตรกับเยาวชน 6.การสร้างคุณค่าผู้ติดเชื้อเอดส์ 7.การป้องกันเอดส์เกย์ในหอพัก 8.ชุมชนพนักงานบริการกับการป้องกันเอชไอวี/เอดส์ และ 9.โครงการบริการจัดการด้านเอดส์ในสถานประกอบกิจการ
วันนี้ (12 ก.ย.) ที่โรงแรมนารายณ์ กทม. นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวเปิดการประชุมสัมมนานวัตกรรม โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์ที่มีประสิทธิผล จัดโดยภาคีเครือข่ายทำงานป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์ ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนโลก ว่า การป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติของไทย พ.ศ.2555-2559 มุ่งสู่เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 3 ประการ ภายในปี 2559 คือ 1.ไม่มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ 2.ไม่มีการเสียชีวิตเนื่องจากเอดส์ และ 3.ไม่มีการตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีและกลุ่มประชากรหลักที่ได้รับผลกระทบ ดังนั้นการปรับใช้คัมภีร์วิถีเพศเพื่อเสริมศักยภาพ และสร้างสมรรถนะให้ผู้ปฏิบัติการร่วมกับกลุ่มเป้าหมายในแต่ละพื้นที่ชุมชน ให้สามารถปรับแก้พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และใช้บริการสุขภาพที่ถูกต้อง เป็นหัวใจสำคัญของยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ดังกล่าวทั้งนี้ สธ.จะเป็นเจ้าภาพจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ปี 2557-2559 เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการเอดส์ชาติ ในวันที่ 27 ก.ย.นี้ ที่กระทรวงสาธารณสุข โดยจะเน้นนโยบายป้องกันผสมผสาน ประกอบด้วยการส่งเสริมความปลอดภัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ และการส่งเสริมให้ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงตรวจและรู้สถานภาพการติดเชื้อและได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ
“สำหรับนวัตกรรมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์ของไทย ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนโลก (Global Fund) ในครั้งนี้ มุ่งใช้วิธีการเสริมสร้างทักษะให้ผู้ปฏิบัติงานมีสมรรถนะในการพัฒนาโครงการ นำรูปแบบ วิธีการ และเครื่องมือ ที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายได้จริง จะช่วยให้ไทยสามารถจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์อย่างมีประสิทธิผล” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ด้าน นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า กองทุนโลก ได้สนับสนุนงบประมาณให้ไทย เป็นเงินประมาณ 2,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการพัฒนานวัตกรรมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์ของไทย ระยะเวลา 3 ปี ซึ่งเริ่มศึกษาตั้งแต่ปี 2555 เป็นครั้งแรกของไทย โดยมี 9 รูปแบบ ได้แก่ 1.การป้องกันท้องในวัยเรียน 2.การป้องกันเอดส์เยาวชนในชุมชนแออัด 3.การสร้างทักษะชีวิตเยาวชนมุสลิม 4.การจัดการยุทธศาสตร์ป้องกันเอดส์ อบต.และภาคี 5.การบริการที่เป็นมิตรกับเยาวชน 6.การสร้างคุณค่าผู้ติดเชื้อเอดส์ 7.การป้องกันเอดส์เกย์ในหอพัก 8.ชุมชนพนักงานบริการกับการป้องกันเอชไอวี/เอดส์ และ 9.โครงการบริการจัดการด้านเอดส์ในสถานประกอบกิจการ