กรมอนามัยชี้ กินนมผงเด็กปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียบูโทลิซึม อาจทำให้กินได้น้อยลง ซึม ท้องเสีย ท้องผูก และอาจรุนแรงถึงขั้นหายใจไม่ออก แนะพ่อแม่สังเกตอาการ อึ้ง! ระบบผลิตนมผงไม่มีวิธีการปลอดเชื้อ แนะเด็กเล็กให้ดื่มนมแม่บ่อยขึ้น ส่วนเด็กเกิน 2 ขวบ ให้กินนมสมแทน
พญ.นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กล่าวถึงกรณีนมเด็กที่อาจมีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ว่า หากเด็กกินนมผงที่มีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียโบทูลิซึม อาการป่วยจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณที่กินเข้าไป โดยอาการน้อยสุดอาจเพียงแค่กินได้น้อยลง ซึมลง ท้องเสีย ท้องผูก และอาจรุนแรงมาก คือหายใจไม่ออก เนื่องจากพิษจากเชื้อแบคทีเรียจะไปกดระบบประสาท ทำให้กล้ามเนื้อผิดปกติ ดังนั้น พ่อแม่จะต้องสังเกตอาการของลูก หากพบว่ากินนมผงแล้วเกิดอาการผิดปกติก็ควรรีบพาไปพบแพทย์ อย่างไรก็ตาม ช่วงนี้ขอให้ระมัดระวังนมผงที่ผลิตในล็อตเดือน เม.ย. 2556 และล็อตที่มีการประกาศให้เรียกคืนด้วย
“มีคำถามในโลกออนไลน์อย่างมากว่ามีเพียงบริษัทเดียวจริงหรือที่มีการปนเปื้อนตามที่ประกาศ เรื่องนี้ต้องมีการประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อติดตามตรวจสอบเพราะแท้จริงแล้วระบบการผลิตนมผงไม่ได้มีขั้นตอนการฆ่า หรือปลอดเชื้อเหมือนอย่างน้ำเกลือ เชื้อจึงมีโอกาสอยู่ในกระป๋องได้ และสามารถอยู่ได้ในนมผงทุกสูตรสำหรับเด็กวัยต่างๆ” ผอ.สำนักโภชนาการ กล่าว
พญ.นภาพรรณ กล่าวอีกว่า สำหรับเด็กเล็กที่ยังกินนมแม่อยู่ และเสริมด้วยนมผง ถือว่าเป็นโอกาสดีที่จะให้ลูกกินนมแม่เพียงอย่างเดียว แม่จึงควรพาลูกเข้าเต้าบ่อยขึ้น เพื่อให้ร่างกายผลิตน้ำนมได้เพียงพอ แต่จะต้องทานอาหาร ดื่มน้ำ และพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ให้อ่อนเพลีย เครียด จนน้ำนมแห้ง ส่วนเด็กวัยเกิด 2 ปี ซึ่งยังกินนมผงอยู่ ขอแนะนำให้หันไปดื่มนมสด นมยูเอชที หรือนมพาสเจอไรซ์ได้เลย ซึ่งจะช่วยลดความกังวลในเรื่องการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียได้
พญ.นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กล่าวถึงกรณีนมเด็กที่อาจมีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ว่า หากเด็กกินนมผงที่มีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียโบทูลิซึม อาการป่วยจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณที่กินเข้าไป โดยอาการน้อยสุดอาจเพียงแค่กินได้น้อยลง ซึมลง ท้องเสีย ท้องผูก และอาจรุนแรงมาก คือหายใจไม่ออก เนื่องจากพิษจากเชื้อแบคทีเรียจะไปกดระบบประสาท ทำให้กล้ามเนื้อผิดปกติ ดังนั้น พ่อแม่จะต้องสังเกตอาการของลูก หากพบว่ากินนมผงแล้วเกิดอาการผิดปกติก็ควรรีบพาไปพบแพทย์ อย่างไรก็ตาม ช่วงนี้ขอให้ระมัดระวังนมผงที่ผลิตในล็อตเดือน เม.ย. 2556 และล็อตที่มีการประกาศให้เรียกคืนด้วย
“มีคำถามในโลกออนไลน์อย่างมากว่ามีเพียงบริษัทเดียวจริงหรือที่มีการปนเปื้อนตามที่ประกาศ เรื่องนี้ต้องมีการประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อติดตามตรวจสอบเพราะแท้จริงแล้วระบบการผลิตนมผงไม่ได้มีขั้นตอนการฆ่า หรือปลอดเชื้อเหมือนอย่างน้ำเกลือ เชื้อจึงมีโอกาสอยู่ในกระป๋องได้ และสามารถอยู่ได้ในนมผงทุกสูตรสำหรับเด็กวัยต่างๆ” ผอ.สำนักโภชนาการ กล่าว
พญ.นภาพรรณ กล่าวอีกว่า สำหรับเด็กเล็กที่ยังกินนมแม่อยู่ และเสริมด้วยนมผง ถือว่าเป็นโอกาสดีที่จะให้ลูกกินนมแม่เพียงอย่างเดียว แม่จึงควรพาลูกเข้าเต้าบ่อยขึ้น เพื่อให้ร่างกายผลิตน้ำนมได้เพียงพอ แต่จะต้องทานอาหาร ดื่มน้ำ และพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ให้อ่อนเพลีย เครียด จนน้ำนมแห้ง ส่วนเด็กวัยเกิด 2 ปี ซึ่งยังกินนมผงอยู่ ขอแนะนำให้หันไปดื่มนมสด นมยูเอชที หรือนมพาสเจอไรซ์ได้เลย ซึ่งจะช่วยลดความกังวลในเรื่องการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียได้