ม็อบลูกจ้างชั่วคราว บุก สธ.เรียกร้อง 4 ข้อ หลังถูกจ่อปรับเป็นพนักงานกระทรวง แล้วค่าจ้างต่ำกว่าเดิม ลั่นไม่ได้ตามที่ขอเจอชุมชนุมยืดเยื้อแน่ สุดท้ายหลังหารือ “ประดิษฐ” ได้ยาหอมสลายม็อบ รับปากบรรจุลูกจ้างทั้ง 128 สายงานเป็นพนักงานกระทรวง เผยขอเพิ่มค่าตอบแทนต้องหารือ ก.คลัง ผิดระเบียบหรือไม่
วันนี้ (5 ส.ค.) เมื่อเวลา 09.00 น.สมาพันธ์สมาคมลูกจ้างของรัฐแห่งประเทศไทย (สสลท.) ประมาณ 200 คน รวมตัวประท้วงที่หน้าสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดย นายโอสถ สุวรรณ์เศวต รองประธาน สสลท.กล่าวว่า สมาพันธ์ฯขอเรียกร้องให้ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เร่งแก้ปัญหาลูกจ้างชั่วคราว สธ.4 เรื่อง ได้แก่ 1.การปรับค่าจ้างต้องไม่ต่ำกว่าค่าจ้างปัจจุบันและบวกค่าประสบการณ์ตามอายุการทำงาน 2.ผู้ที่ทำงานมาก่อนจะมีระเบียบว่าด้วยพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.) บังคับใช้ต้องมีการคุ้มครองเฉพาะ เช่น กรณีพนักงานคอมพิวเตอร์ ที่ไม่ได้จบมาตรงสายก็ต้องได้รับการคุ้มครอง 3.เพิ่มกรรมการบริหาร พกส.จาก 12 คน เป็น 15 คน และต้องมีฝ่ายลูกจ้างเข้าไปอยู่ในคณะกรรมการด้วยจำนวน 7 คน โดยต้องเป็นคนที่ สสลท.เป็นผู้สรรหา และ 4.ลูกจ้างชั่วคราวทุกคนต้องได้ปรับเป็น พกส.ทั้งนี้ หากไม่ได้ตามข้อเรียกร้องก็จะไม่เลิกชุมนุมและจะมีคนเดินทางมาร่วมชุมนุมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
วันเดียวกัน เมื่อเวลา 10.00 น. นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข กล่าวภายหลังหารือร่วมกับตัวแทน สสลท.ว่า การหารือเป็นไปด้วยดีและและมีข้อสรุปร่วมกันว่า สธ.จะดำเนินการบรรจุลูกจ้างชั่วคราวในสังกัด สธ.ให้เป็น พกส.ควบคู่กับการขอรับการบรรจุเป็นข้าราชการ ตามเงื่อนไขที่รัฐบาลและสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) กำหนด ในการขอตำแหน่งข้าราชการเพิ่ม และจะพยายามบรรจุลูกจ้างชั่วคราวทั้งหมด 128 สายงาน ให้เป็น พกส.ให้เสร็จภายในวันที่ 27 ส.ค.นี้ ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมทั้งหมดยอมสลายการชุมนุม
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น สธ.รับรู้มาโดยตลอด แต่เรื่องดังกล่าวต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหา และถ้า สธ.จะทำทุกเรื่องทั้งที่บางเรื่องยังไม่ชัดเจนก็จะทำให้คนส่วนใหญ่เสียโอกาส เพราะฉะนั้นจึงมีการตกลงกันว่าจะมีการแก้ไขโดยค่อยๆ แก้ไขที่ละเรื่อง ซึ่งในการบรรจุเป็น พกส.ก็มีคณะกรรมการที่คอยดูแลอยู่แล้วนั้น แต่ในเมื่อมีการเรียกร้องว่าค่าตอบแทนลดลงกว่าเดิม ทาง สธ.ก็จะมีการตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นอีกชุด โดยจะให้มีตัวแทนของ พกส.เข้ามาร่วมในคณะกรรมการชุดนี้ ซี่งจะมาคอยดูแลในเรื่องของมาตรการเยียวยาโดยเฉพาะ เพื่อให้แล้วเสร็จภายใน ก.ย.นี้ และให้สามารถเดินหน้าเข้าสู่ตำแหน่ง พกส.ใน 1 ต.ค.
“หากลูกจ้างชั่วคราวคนใดไม่มั่นใจที่จะเข้าสู่ตำแหน่ง พกส.ก็สามารถเลือกดำรงสถานะเป็นลูกจ้างชั่วคราวไปก่อนได้ โดยได้รับสิทธิเดิม อย่างไรก็ตาม กรณีที่มีการเรียกร้องพร้อมกล่าวว่าผมรับปากเรื่องค่าตอบแทน อยากให้มองว่าการรับปากก็ต้องมีการกลับไปคิดทบทวนต่อด้วย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นในอนาคต แต่ สธ.ก็เชื่อว่าถ้าได้รับผลกระทบก็จะต้องได้รับการเยียวยาแก้ไขอยู่แล้ว” รมว.สาธารณสุข กล่าวและว่า สำหรับกรณีการขอเพิ่มค่าตอบแทน สธ.ต้องไปดูเรื่องระเบียบกระทรวงการคลังด้วย เนื่องจากหากผิดระเบียบของกระทรวงการคลังก็คงทำไม่ได้ แต่ก็ต้องหาวิธีเยียวยารูปแบบอื่น เช่น การให้ค่าครองชีพเฉพาะกาล แต่ตรงนี้ก็ต้องมีการมาหารือกันอีกครั้ง
วันนี้ (5 ส.ค.) เมื่อเวลา 09.00 น.สมาพันธ์สมาคมลูกจ้างของรัฐแห่งประเทศไทย (สสลท.) ประมาณ 200 คน รวมตัวประท้วงที่หน้าสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดย นายโอสถ สุวรรณ์เศวต รองประธาน สสลท.กล่าวว่า สมาพันธ์ฯขอเรียกร้องให้ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เร่งแก้ปัญหาลูกจ้างชั่วคราว สธ.4 เรื่อง ได้แก่ 1.การปรับค่าจ้างต้องไม่ต่ำกว่าค่าจ้างปัจจุบันและบวกค่าประสบการณ์ตามอายุการทำงาน 2.ผู้ที่ทำงานมาก่อนจะมีระเบียบว่าด้วยพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.) บังคับใช้ต้องมีการคุ้มครองเฉพาะ เช่น กรณีพนักงานคอมพิวเตอร์ ที่ไม่ได้จบมาตรงสายก็ต้องได้รับการคุ้มครอง 3.เพิ่มกรรมการบริหาร พกส.จาก 12 คน เป็น 15 คน และต้องมีฝ่ายลูกจ้างเข้าไปอยู่ในคณะกรรมการด้วยจำนวน 7 คน โดยต้องเป็นคนที่ สสลท.เป็นผู้สรรหา และ 4.ลูกจ้างชั่วคราวทุกคนต้องได้ปรับเป็น พกส.ทั้งนี้ หากไม่ได้ตามข้อเรียกร้องก็จะไม่เลิกชุมนุมและจะมีคนเดินทางมาร่วมชุมนุมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
วันเดียวกัน เมื่อเวลา 10.00 น. นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข กล่าวภายหลังหารือร่วมกับตัวแทน สสลท.ว่า การหารือเป็นไปด้วยดีและและมีข้อสรุปร่วมกันว่า สธ.จะดำเนินการบรรจุลูกจ้างชั่วคราวในสังกัด สธ.ให้เป็น พกส.ควบคู่กับการขอรับการบรรจุเป็นข้าราชการ ตามเงื่อนไขที่รัฐบาลและสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) กำหนด ในการขอตำแหน่งข้าราชการเพิ่ม และจะพยายามบรรจุลูกจ้างชั่วคราวทั้งหมด 128 สายงาน ให้เป็น พกส.ให้เสร็จภายในวันที่ 27 ส.ค.นี้ ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมทั้งหมดยอมสลายการชุมนุม
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น สธ.รับรู้มาโดยตลอด แต่เรื่องดังกล่าวต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหา และถ้า สธ.จะทำทุกเรื่องทั้งที่บางเรื่องยังไม่ชัดเจนก็จะทำให้คนส่วนใหญ่เสียโอกาส เพราะฉะนั้นจึงมีการตกลงกันว่าจะมีการแก้ไขโดยค่อยๆ แก้ไขที่ละเรื่อง ซึ่งในการบรรจุเป็น พกส.ก็มีคณะกรรมการที่คอยดูแลอยู่แล้วนั้น แต่ในเมื่อมีการเรียกร้องว่าค่าตอบแทนลดลงกว่าเดิม ทาง สธ.ก็จะมีการตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นอีกชุด โดยจะให้มีตัวแทนของ พกส.เข้ามาร่วมในคณะกรรมการชุดนี้ ซี่งจะมาคอยดูแลในเรื่องของมาตรการเยียวยาโดยเฉพาะ เพื่อให้แล้วเสร็จภายใน ก.ย.นี้ และให้สามารถเดินหน้าเข้าสู่ตำแหน่ง พกส.ใน 1 ต.ค.
“หากลูกจ้างชั่วคราวคนใดไม่มั่นใจที่จะเข้าสู่ตำแหน่ง พกส.ก็สามารถเลือกดำรงสถานะเป็นลูกจ้างชั่วคราวไปก่อนได้ โดยได้รับสิทธิเดิม อย่างไรก็ตาม กรณีที่มีการเรียกร้องพร้อมกล่าวว่าผมรับปากเรื่องค่าตอบแทน อยากให้มองว่าการรับปากก็ต้องมีการกลับไปคิดทบทวนต่อด้วย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นในอนาคต แต่ สธ.ก็เชื่อว่าถ้าได้รับผลกระทบก็จะต้องได้รับการเยียวยาแก้ไขอยู่แล้ว” รมว.สาธารณสุข กล่าวและว่า สำหรับกรณีการขอเพิ่มค่าตอบแทน สธ.ต้องไปดูเรื่องระเบียบกระทรวงการคลังด้วย เนื่องจากหากผิดระเบียบของกระทรวงการคลังก็คงทำไม่ได้ แต่ก็ต้องหาวิธีเยียวยารูปแบบอื่น เช่น การให้ค่าครองชีพเฉพาะกาล แต่ตรงนี้ก็ต้องมีการมาหารือกันอีกครั้ง