เครือข่ายนักวิชาการสาธารณสุขฯ กว่า 300 คน บุก สธ.ร้องขอความเป็นธรรม หลังหมดสิทธิ์ร่วมบรรจุ ขรก.เหตุจบมหาวิทยาลัยนอกสมทบสถาบันพระบรมราชชนก รองปลัด สธ.ยาหอม สั่งผู้ตรวจฯทั้ง 12 เขตบริการสำรวจจำนวน ก่อนเจรจา ก.พ.ให้ยกเว้นเงื่อนไม่ต้องสอบ แต่ให้สธ.พิจารณาบรรจุได้เอง คาดบรรจุ ขรก.ล็อตแรก 6,558 ตำแหน่ง ได้ 21 ก.พ.นี้ ส่วนอีก 989 ตำแหน่งเตรียมพิจารณาคุณสมบัติเพิ่มเติม
วันนี้ (1 ก.พ.) เมื่อเวลา 09.00 น.เครือข่ายนักวิชาการสาธารณสุขลูกจ้างชั่วคราวนอกสมทบ (นวก.) ประมาณ 300 คน เดินทางมาชุมนุมบริเวณหน้าอาคารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อเรียกร้องการบรรจุเป็นข้าราชการ หลังพบว่าระเบียบการจัดสรรตำแหน่งข้าราชการของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ในส่วนของนักวิชาการสาธารณสุขครอบคลุมเพียงผู้ที่จบจากสถาบันพระบรมราชชนก (สบช.) และสถาบันสมทบ สบช.เท่านั้น ทำให้นักวิชาการสาธารณสุขลูกจ้างชั่วคราวนอกสมทบไม่มีสิทธิ์ในการบรรจุเป็นข้าราชการ
นายธนะพัฒน์ ทักษิณ เครือข่ายนักวิชาการสาธารณสุขลูกจ้างชั่วคราวฯ กล่าวว่า ขณะนี้มีนักวิชาการสาธารณสุขที่จบจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศประมาณ 6,600 คน ในจำนวนนี้มีผู้ที่จบตั้งแต่ปี 2551 ย้อนลงไป ประมาณ 100 คน แต่ไม่ว่าจะจบเมื่อปีใดก็ไม่เข้าเกณฑ์การพิจารณาบรรจุเป็นข้าราชการ จึงตัดสินใจมาเรียกร้องความยุติธรรม และสอบถาม สธ.ว่าจะมีมาตรการดูแลนักวิชาการสาธารณสุขชั่วคราวนอกสมทบอย่างไร
ด้าน น.ส.นาฏนภา ปัดชาสุวรรณ เครือข่ายนักวิชาการสาธารณสุขลูกจ้างชั่วคราวฯ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 30 ม.ค.ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมผู้บริหารสถานบริการ และได้รับการชี้แจงว่า การจัดสรรตำแหน่งข้าราชการ สธ.ไม่รวมนักวิชาการสาธารณสุขที่จบจากมหาวิทยาลัย เราจึงต้องการความเท่าเทียม เพราะว่าหลักสูตรที่เรียนก็เป็นหลักสูตรตรง และเราก็เป็นลูกของพระบิดามหิตลาธิเบศรเหมือนกัน ส่วนประเด็นเรื่องเงินไม่มีความกังวลใจ อย่างไรก็ตาม หลังจากเข้าพบ นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา รองปลัด สธ. หากไม่ได้รับจัดสรรตำแหน่งจริง ในช่วงบ่ายนี้จะเดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อเรียกร้องกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพราะว่าตามมติของ ครม.นายกฯ ให้บรรจุหมดไม่มีการแบ่งแยกสถาบัน ใครที่เป็นลูกจ้างของ สธ.ก็ได้รับการบรรจุหมด
นพ.สุพรรณ กล่าวว่า วันนี้มีบุคลากร สธ.เข้ามาเรียกร้องเรื่องการบรรจุข้าราชการด้วยกัน 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มลูกจ้างประจำที่ไปศึกษาต่อสำเร็จแล้วขอบรรจุเป็นข้าราชการ และ 2.กลุ่มนักวิชาการสาธารณสุขลูกจ้างชั่วคราวที่จบการศึกษานอกเหนือจาก สบช.และสถาบันสมทบ สบช.ซึ่งแนวทางการแก้ปัญหา คือ ให้แต่ละกลุ่มตั้งตัวแทนเข้ามาพูดคุยทำความเข้าใจ และติดตามความคืบหน้าเรื่องการบรรจุข้าราชการ รวมไปถึงให้ผู้ตรวจราชการฯทั้ง 12 เขตเครือข่ายบริการ ทำการสำรวจข้อมูลลูกจ้างทั้งสองกลุ่มว่ามีจำนวนเท่าไร อยู่ในพื้นที่ใดบ้าง โดยให้ระยะเวลาดำเนินการ 3 เดือน เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปเจรจาเงื่อนไขการบรรจุข้าราชการในรอบ 2 (2557) และรอบ 3 (2558) กับ ก.พ.อย่างกลุ่มนักวิชาการสาธารณสุขฯ ก็จะเจรจาให้ยกเว้นเงื่อนไขไม่ต้องสอบแข่งขัน แต่ให้ สธ.พิจารณาเลือกบรรจุเป็นข้าราชการเองได้เลย
“ผมอยากให้ทุกคนได้รับการบรรจุ แต่เงื่อนไขของรัฐบาลมีจำกัด จะให้ทุกคนได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการตอนนี้เลยคงเป็นไปไม่ได้ เพราะคุณสมบัติไม่ตรงกับเงื่อนไขของ ก.พ.อย่างไรก็ตาม กระทรวงก็จะช่วยปรับสถานะให้เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พนักงาน ก.สธ.) ก่อน ซึ่งมีสิทธิประโยชน์เทียบเท่ากับข้าราชการ และมีอัตราเงินเดือนที่สูงกว่า 1.2 เท่า ส่วนข้อกังวลที่ว่าจะไม่ได้เงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 บาท ตามนโยบายของรัฐบาลนั้น อยากให้ทำความเข้าใจว่าตรงนั้นเป็นส่วนของสถานประกอบการ แต่เงินเดือนขั้นต่ำของกระทรวงนั้นยังคงเป็นไปตามกำหนดของหน่วยงานราชการ” รองปลัด สธ.กล่าว
นพ.สุพรรณ กล่าวอีกว่า สำหรับร่างระเบียบพนักงาน ก.สธ.ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อตรวจสอบความถูกต้องทางกฎหมาย ซึ่งคาดว่าภายใน 3 เดือนจะมีมติออกมาอย่างเป็นทางการ จากนั้นจะมีการแก้ระเบียบเงินบำรุง เพื่อนำมาจ่ายเป็นค่าตอบแทนเงินเดือน และประสานกับกระทรวงการคลัง เพื่อจดทะเบียนจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นอกจากนี้ จะทำการประชาสัมพันธ์ถึงขั้นตอนการปรับสถานะเป็นพนักงาน ก.สธ.อย่างละเอียด เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจมากยิ่งขึ้นด้วย
นพ.สุพรรณ กล่าวด้วยว่า ส่วนการบรรจุเป็นข้าราชการล็อตแรกจำนวน 7,547 ตำแหน่งนั้น เมื่อพิจารณาคุณสมบัติตามที่ ก.พ.กำหนดพบว่า จาก 26 สายงาน มีเพียง 18 สายงาน จำนวน 6,558 ตำแหน่ง ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสามารถบรรจุเป็นข้าราชการได้เลย ซึ่งตรงนี้ได้ให้ทั้ง 12 เขตเครือข่ายบริการจัดทำแผนกำลังคนส่งกลับมา สธ.ภายในวันที่ 8 ก.พ.นี้ เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ซึ่งคาดว่าจะสามารถบรรจุได้ภายในวันที่ 21 ก.พ.นี้ และมีผลอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มี.ค.2556 ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 989 ตำแหน่งนั้น สธ.จะทำการตรวจคุณสมบัติเพิ่มเติมต่อไป
วันนี้ (1 ก.พ.) เมื่อเวลา 09.00 น.เครือข่ายนักวิชาการสาธารณสุขลูกจ้างชั่วคราวนอกสมทบ (นวก.) ประมาณ 300 คน เดินทางมาชุมนุมบริเวณหน้าอาคารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อเรียกร้องการบรรจุเป็นข้าราชการ หลังพบว่าระเบียบการจัดสรรตำแหน่งข้าราชการของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ในส่วนของนักวิชาการสาธารณสุขครอบคลุมเพียงผู้ที่จบจากสถาบันพระบรมราชชนก (สบช.) และสถาบันสมทบ สบช.เท่านั้น ทำให้นักวิชาการสาธารณสุขลูกจ้างชั่วคราวนอกสมทบไม่มีสิทธิ์ในการบรรจุเป็นข้าราชการ
นายธนะพัฒน์ ทักษิณ เครือข่ายนักวิชาการสาธารณสุขลูกจ้างชั่วคราวฯ กล่าวว่า ขณะนี้มีนักวิชาการสาธารณสุขที่จบจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศประมาณ 6,600 คน ในจำนวนนี้มีผู้ที่จบตั้งแต่ปี 2551 ย้อนลงไป ประมาณ 100 คน แต่ไม่ว่าจะจบเมื่อปีใดก็ไม่เข้าเกณฑ์การพิจารณาบรรจุเป็นข้าราชการ จึงตัดสินใจมาเรียกร้องความยุติธรรม และสอบถาม สธ.ว่าจะมีมาตรการดูแลนักวิชาการสาธารณสุขชั่วคราวนอกสมทบอย่างไร
ด้าน น.ส.นาฏนภา ปัดชาสุวรรณ เครือข่ายนักวิชาการสาธารณสุขลูกจ้างชั่วคราวฯ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 30 ม.ค.ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมผู้บริหารสถานบริการ และได้รับการชี้แจงว่า การจัดสรรตำแหน่งข้าราชการ สธ.ไม่รวมนักวิชาการสาธารณสุขที่จบจากมหาวิทยาลัย เราจึงต้องการความเท่าเทียม เพราะว่าหลักสูตรที่เรียนก็เป็นหลักสูตรตรง และเราก็เป็นลูกของพระบิดามหิตลาธิเบศรเหมือนกัน ส่วนประเด็นเรื่องเงินไม่มีความกังวลใจ อย่างไรก็ตาม หลังจากเข้าพบ นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา รองปลัด สธ. หากไม่ได้รับจัดสรรตำแหน่งจริง ในช่วงบ่ายนี้จะเดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อเรียกร้องกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพราะว่าตามมติของ ครม.นายกฯ ให้บรรจุหมดไม่มีการแบ่งแยกสถาบัน ใครที่เป็นลูกจ้างของ สธ.ก็ได้รับการบรรจุหมด
นพ.สุพรรณ กล่าวว่า วันนี้มีบุคลากร สธ.เข้ามาเรียกร้องเรื่องการบรรจุข้าราชการด้วยกัน 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มลูกจ้างประจำที่ไปศึกษาต่อสำเร็จแล้วขอบรรจุเป็นข้าราชการ และ 2.กลุ่มนักวิชาการสาธารณสุขลูกจ้างชั่วคราวที่จบการศึกษานอกเหนือจาก สบช.และสถาบันสมทบ สบช.ซึ่งแนวทางการแก้ปัญหา คือ ให้แต่ละกลุ่มตั้งตัวแทนเข้ามาพูดคุยทำความเข้าใจ และติดตามความคืบหน้าเรื่องการบรรจุข้าราชการ รวมไปถึงให้ผู้ตรวจราชการฯทั้ง 12 เขตเครือข่ายบริการ ทำการสำรวจข้อมูลลูกจ้างทั้งสองกลุ่มว่ามีจำนวนเท่าไร อยู่ในพื้นที่ใดบ้าง โดยให้ระยะเวลาดำเนินการ 3 เดือน เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปเจรจาเงื่อนไขการบรรจุข้าราชการในรอบ 2 (2557) และรอบ 3 (2558) กับ ก.พ.อย่างกลุ่มนักวิชาการสาธารณสุขฯ ก็จะเจรจาให้ยกเว้นเงื่อนไขไม่ต้องสอบแข่งขัน แต่ให้ สธ.พิจารณาเลือกบรรจุเป็นข้าราชการเองได้เลย
“ผมอยากให้ทุกคนได้รับการบรรจุ แต่เงื่อนไขของรัฐบาลมีจำกัด จะให้ทุกคนได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการตอนนี้เลยคงเป็นไปไม่ได้ เพราะคุณสมบัติไม่ตรงกับเงื่อนไขของ ก.พ.อย่างไรก็ตาม กระทรวงก็จะช่วยปรับสถานะให้เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พนักงาน ก.สธ.) ก่อน ซึ่งมีสิทธิประโยชน์เทียบเท่ากับข้าราชการ และมีอัตราเงินเดือนที่สูงกว่า 1.2 เท่า ส่วนข้อกังวลที่ว่าจะไม่ได้เงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 บาท ตามนโยบายของรัฐบาลนั้น อยากให้ทำความเข้าใจว่าตรงนั้นเป็นส่วนของสถานประกอบการ แต่เงินเดือนขั้นต่ำของกระทรวงนั้นยังคงเป็นไปตามกำหนดของหน่วยงานราชการ” รองปลัด สธ.กล่าว
นพ.สุพรรณ กล่าวอีกว่า สำหรับร่างระเบียบพนักงาน ก.สธ.ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อตรวจสอบความถูกต้องทางกฎหมาย ซึ่งคาดว่าภายใน 3 เดือนจะมีมติออกมาอย่างเป็นทางการ จากนั้นจะมีการแก้ระเบียบเงินบำรุง เพื่อนำมาจ่ายเป็นค่าตอบแทนเงินเดือน และประสานกับกระทรวงการคลัง เพื่อจดทะเบียนจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นอกจากนี้ จะทำการประชาสัมพันธ์ถึงขั้นตอนการปรับสถานะเป็นพนักงาน ก.สธ.อย่างละเอียด เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจมากยิ่งขึ้นด้วย
นพ.สุพรรณ กล่าวด้วยว่า ส่วนการบรรจุเป็นข้าราชการล็อตแรกจำนวน 7,547 ตำแหน่งนั้น เมื่อพิจารณาคุณสมบัติตามที่ ก.พ.กำหนดพบว่า จาก 26 สายงาน มีเพียง 18 สายงาน จำนวน 6,558 ตำแหน่ง ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสามารถบรรจุเป็นข้าราชการได้เลย ซึ่งตรงนี้ได้ให้ทั้ง 12 เขตเครือข่ายบริการจัดทำแผนกำลังคนส่งกลับมา สธ.ภายในวันที่ 8 ก.พ.นี้ เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ซึ่งคาดว่าจะสามารถบรรจุได้ภายในวันที่ 21 ก.พ.นี้ และมีผลอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มี.ค.2556 ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 989 ตำแหน่งนั้น สธ.จะทำการตรวจคุณสมบัติเพิ่มเติมต่อไป