“ประดิษฐ” เผยแผนปฏิรูป สธ.ใกล้แล้วเสร็จ แต่ละกรมแบ่งบทบาทหน้าที่ชัดเจนขึ้น สั่งปรับแก้ไขส่วนที่ยังทับซ้อน คาดเสร็จสิ้น ก.ย.นี้ เริ่มใช้ได้ ต.ค. 2556 เป็นต้นไป ชี้ยังไม่ออกประกาศเป็น กม.แต่ใช้การแบ่งบทบาทหน้าที่ไปก่อน
วันนี้ (25 ก.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังประชุมผู้บริหาร สธ.ระดับสูง ว่า การประชุมวันนี้เป็นการติดตามความคืบหน้าการปฏิรูป สธ.ให้ทุกกรมนำเสนอแผนการปรับโครงสร้างของทุกกรมและสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) ตามแผนการปฏิรูป โดยให้แบ่งบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจนใน 3 ส่วน คือ 1.ผู้ให้บริการ (Provider) 2.การควบคุมกำกับ (Regulator) และ 3.ผู้ออกและกำกับนโยบายสาธารณสุข (National Health Authority) ซึ่ง สธ.ได้ศึกษาแนวคิดดังกล่าวมาหลายปี ตรงกับที่ฝ่ายวิชาการ เช่น อาจารย์คณะแพทย์รามาธิบดีได้เสนอว่ากระทรวงสาธารณสุขควรแบ่งบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจน
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า การปฏิรูป สธ.จะยังไม่มีการแก้ไขกฎหมาย เพราะเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา แต่จะใช้การแบ่งบทบาทหน้าที่ก่อน และปรับโครงสร้างให้มีผู้รับผิดชอบชัดเจน ไม่ก้าวก่ายการทำงานกัน และงานไม่ซ้ำซ้อนกัน ซึ่งวันนี้แต่ละกรมได้เสนอความคืบหน้า ทุกกรมมีแผนปฏิบัติการแล้ว และแบ่งบทบาทหน้าที่ใกล้จะแล้วเสร็จ เช่น สป.สธ.มีสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ดูแลเรื่องนโยบายสาธารณสุขแยกชัดเจน กรมการแพทย์ มีบทบาทเป็นผู้ควบคุมกำกับ ดูแลมาตรฐานการให้บริการประชาชน กำหนดเทคโนโลยีทางการแพทย์ต่างๆ ที่ใช้รักษาโรคทั่วไปและโรคเฉพาะทางต่างๆ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เป็นผู้ควบคุมกำกับดูแลมาตรฐานการบริการของสถานบริการ ทั้งภาครัฐและเอกชนให้เป็นไปตามกฎระเบียบ เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชนในการรับบริการสุขภาพ ไม่ได้ทำหน้าที่ให้บริการประชาชนโดยตรง เป็นต้น
นพ.ประดิษฐ กล่าวด้วยว่า จากการติดตามการปรับโครงสร้างบทบาทหน้าที่ของบางหน่วยงาน เช่น กลุ่มประกันสุขภาพ สังกัด สป.สธ.ยังมีบทบาทซ้ำซ้อนกัน คือเป็นทั้งผู้กำหนดนโยบาย และการเป็นผู้ปฏิบัติดูแลการเก็บเงินในระบบหลักประกันสุขภาพ จึงมีข้อเสนอให้ทบทวนและปรับเป็นสำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินการคลัง และแยกเป็น 2 หน่วยงานอย่างชัดเจน โดยให้ทุกกรมไปปรับแก้ให้สมบูรณ์แบบ และนำมาเสนออีกครั้งใน 2 สัปดาห์ คาดว่าจะเร่งให้แล้วเสร็จใน ก.ย. 2556 และเริ่มดำเนินการตามบทบาทโครงสร้างใหม่ ได้ใน ต.ค. 2556 เป็นต้นไป
“การปรับโครงสร้างบทบาทหน้าที่ของกรมต่างๆ ครั้งนี้ เป็นปัจจัยสำคัญในการปฏิรูป สธ.เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและคุณภาพระบบบริการสาธารณสุขของประเทศไทย ไม่ให้เกิดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในอนาคต คุ้มค่ากับภาษี และเกิดประโยชน์กับประชาชนที่สุด ประชาชนจะได้รับการดูแลปกป้อง คุ้มครองความปลอดภัยทั้งเรื่องอาหาร ยา บริการรักษาพยาบาล การได้รับข่าวสารความรู้ด้านสุขภาพทำให้รู้เท่าทันกับปัญหาและภัยสุขภาพต่างๆ ดีขึ้น” รมว.สาธารณสุข กล่าว
วันนี้ (25 ก.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังประชุมผู้บริหาร สธ.ระดับสูง ว่า การประชุมวันนี้เป็นการติดตามความคืบหน้าการปฏิรูป สธ.ให้ทุกกรมนำเสนอแผนการปรับโครงสร้างของทุกกรมและสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) ตามแผนการปฏิรูป โดยให้แบ่งบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจนใน 3 ส่วน คือ 1.ผู้ให้บริการ (Provider) 2.การควบคุมกำกับ (Regulator) และ 3.ผู้ออกและกำกับนโยบายสาธารณสุข (National Health Authority) ซึ่ง สธ.ได้ศึกษาแนวคิดดังกล่าวมาหลายปี ตรงกับที่ฝ่ายวิชาการ เช่น อาจารย์คณะแพทย์รามาธิบดีได้เสนอว่ากระทรวงสาธารณสุขควรแบ่งบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจน
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า การปฏิรูป สธ.จะยังไม่มีการแก้ไขกฎหมาย เพราะเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา แต่จะใช้การแบ่งบทบาทหน้าที่ก่อน และปรับโครงสร้างให้มีผู้รับผิดชอบชัดเจน ไม่ก้าวก่ายการทำงานกัน และงานไม่ซ้ำซ้อนกัน ซึ่งวันนี้แต่ละกรมได้เสนอความคืบหน้า ทุกกรมมีแผนปฏิบัติการแล้ว และแบ่งบทบาทหน้าที่ใกล้จะแล้วเสร็จ เช่น สป.สธ.มีสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ดูแลเรื่องนโยบายสาธารณสุขแยกชัดเจน กรมการแพทย์ มีบทบาทเป็นผู้ควบคุมกำกับ ดูแลมาตรฐานการให้บริการประชาชน กำหนดเทคโนโลยีทางการแพทย์ต่างๆ ที่ใช้รักษาโรคทั่วไปและโรคเฉพาะทางต่างๆ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เป็นผู้ควบคุมกำกับดูแลมาตรฐานการบริการของสถานบริการ ทั้งภาครัฐและเอกชนให้เป็นไปตามกฎระเบียบ เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชนในการรับบริการสุขภาพ ไม่ได้ทำหน้าที่ให้บริการประชาชนโดยตรง เป็นต้น
นพ.ประดิษฐ กล่าวด้วยว่า จากการติดตามการปรับโครงสร้างบทบาทหน้าที่ของบางหน่วยงาน เช่น กลุ่มประกันสุขภาพ สังกัด สป.สธ.ยังมีบทบาทซ้ำซ้อนกัน คือเป็นทั้งผู้กำหนดนโยบาย และการเป็นผู้ปฏิบัติดูแลการเก็บเงินในระบบหลักประกันสุขภาพ จึงมีข้อเสนอให้ทบทวนและปรับเป็นสำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินการคลัง และแยกเป็น 2 หน่วยงานอย่างชัดเจน โดยให้ทุกกรมไปปรับแก้ให้สมบูรณ์แบบ และนำมาเสนออีกครั้งใน 2 สัปดาห์ คาดว่าจะเร่งให้แล้วเสร็จใน ก.ย. 2556 และเริ่มดำเนินการตามบทบาทโครงสร้างใหม่ ได้ใน ต.ค. 2556 เป็นต้นไป
“การปรับโครงสร้างบทบาทหน้าที่ของกรมต่างๆ ครั้งนี้ เป็นปัจจัยสำคัญในการปฏิรูป สธ.เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและคุณภาพระบบบริการสาธารณสุขของประเทศไทย ไม่ให้เกิดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในอนาคต คุ้มค่ากับภาษี และเกิดประโยชน์กับประชาชนที่สุด ประชาชนจะได้รับการดูแลปกป้อง คุ้มครองความปลอดภัยทั้งเรื่องอาหาร ยา บริการรักษาพยาบาล การได้รับข่าวสารความรู้ด้านสุขภาพทำให้รู้เท่าทันกับปัญหาและภัยสุขภาพต่างๆ ดีขึ้น” รมว.สาธารณสุข กล่าว