อย.จ่อประกาศคุมปริมาณสารอีก 3 ชนิดที่ใช้ในกระบวนการผลิตข้าวสารถุง เชื่อสามารถควบคุมและดูแลสถานการณ์ได้เร็วที่สุด แถผลตรวจข้าว “โค-โค่” เกินมาตรฐานจริง แต่ยังไม่เกินค่าอันตรายต่อหน่วยร่างกายที่ไม่ควรได้รับ จึงถือว่าไม่เกินค่ามาตรฐาน ด้าน รมว.สธ.สั่งเร่งขึ้นทะเบียนข้าวสาร ดีเดย์ 1 ม.ค.57
วันนี้ (17 ก.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแถลงผลตรวจข้าวยี่ห้อโค-โค่ พบสารเมทิลโบรไมด์ เกินมาตรฐาน 50 ppm ว่า ขณะนี้ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เตรียมสุ่มตรวจข้าวสารเพิ่มทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อสร้างความมั่นใจกับผู้บริโภค โดยในระยะสั้นจะขอให้ประชาชนเป็นผู้ชี้แหล่งว่าต้องการให้ อย.และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจข้าวยี่ห้อใดและสถานที่ไหน ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า ร้านค้าส่ง หรือโรงสี เพื่อความสบายใจแก่ผู่บริโภค ส่วนในระยะยาวเร่งให้ อย.บังคับใช้มาตรฐานการผลิตอาหารที่ดีขั้นพื้นฐาน (Primary GMP) ในผู้ผลิตข้าวถุง จากเดิมที่กำหนดให้เริ่มดำเนินการในปี 2558 ให้เริ่มวันที่ 1 ม.ค.2557 และให้ผู้ประกอบการปรับปรุงสถานที่ให้ได้มาตรฐานให้แล้วเสร็จภายใน 5 เดือน
“ขอให้ทุกฝ่ายอย่านำปัญหาเรื่องข้าวมาเป็นเกมการเมือง เพราะจะกระทบต่อการส่งออกข้าวของประเทศที่เป็นรายได้หลัก จะทำให้ไทยเสียโอกาสทางการค้า และในวันพรุ่งนี้ (18 ก.ค.) นายกรัฐมนตรี เตรียมลงพื้นที่สุ่มตรวจโรงสีของบริษัทผู้ผลิตข้าวถุงใน จ.พระนครศรีอยุธยา” รมว.สาธารณสุข กล่าว
วันเดียวกัน ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการ อย.กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการอาหาร ว่า คณะกรรมการมีข้อสรุปว่าจะแก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง (ฉบับที่ 2) ตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 โดยจะเพิ่มชนิดและปริมาณสารพิษตกค้างจากวัตถุอันตรายทางการเกษตรในบัญชีอาหารหมายเลข 1 ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด (Maximum Residue Limit : MRL) โดยจะกำหนดให้ สารไฮโดรเจนฟอสไฟด์ (Hydrogen Phasphide) มีปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด ไม่เกิน 0.1 มิลลิกรัมของต่อ 1 กิโลกรัมของอาหาร สารเมทิลโบรไมด์ (Methyl Bromide) มีปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด ไม่เกิน 0.01 มิลลิกรัมของสารต่อ 1 กิโลกรัมของอาหาร ทั้งนี้ สารดังกล่าวอยู่ในรูปของแก๊สทำให้วัดปริมาณได้ยาก จึงต้องวัดจากโบรไมด์ ไอออน (Bromide Ion) ในสารเมทิลโบรไมด์อีกที โดยกำหนดไม่เกิน 50 ppm และสารซัลฟูริล ฟลูออไรด์ (Sulfuryl Fluoride) มีปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดไม่เกิน 0.1 มิลลิกรัมของสารต่อ 1 กิโลกรัมของอาหาร โดยเป็นไปตามมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (CODEX) โดยจะเสนอให้ รมว.สาธารณสุข ลงนามและประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับใช้ทันที
ภญ.ศรีนวล กล่าวอีกว่า การแก้ไขประกาศเป็นแนวทางที่สามารถควบคุมและดูแลสถานการณ์ได้รวดเร็วที่สุด สำหรับวิธีการออกเลขสารระบบ หรือขอหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต (GMP) นั้น มีการออกประกาศแนวทางไว้แล้ว หากผู้ประกอบการต้องการขอเลขสารระบบก็สามารถทำได้เลย แต่กระบวนการบังคับเพื่อออกเลขสารระบบนั้น เป็นกระบวนการต่อไป อย่างไรก็ตาม สำหรับตัวอย่างข้าวที่ อย.และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สุ่มเก็บตรวจนั้น มีเป็นจำนวนมาก โดยมีการเปิดผลการตรวจสอบไปแล้ว 107 ตัวอย่าง จะเหลืออีก 66 ตัวอย่าง โดยในจำนวนนั้นมี ตัวอย่างข้าวโค-โค่ ด้วย ซึ่งผลการตรวจสอบจะทยอยออกต่อจากนี้ ทั้งนี้ ผลเบื้องต้น พบว่า ตัวอย่างข้าวโค-โค่ นั้น มีปริมาณสารเมทิลโบรไมด์ เกินมาตรฐานอยู่ที่ 94.2 PPM ส่วนขั้นตอนการเอาผิดนั้น ที่ผ่านมายังไม่เคยมีการกำหนดค่ามาตรฐานในข้าวสารมาก่อน เพราะถือว่าเป็นอาหารที่มีความเสี่ยงต่ำ และเมื่อแปลผลเป็นค่าอันตรายต่อหน่วยที่ร่างกายไม่ควรได้รับ ก็ถือว่ายังไม่เกินค่ามาตรฐาน
“โอกาสที่ทำให้เกิดการปนเปื้อนนั้น น่าจะเกิดจากการรมควันในขั้นตอนการเก็บข้าว แต่ต้องพิจารณาว่า เกิดจากขั้นตอนใดได้บ้าง เพราะกระบวนการผลิตข้าว บางครั้งจะมีการรมควันในถุงอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีแมลง มอด ส่วนการยกเลิกการใช้สารเมทิลโบรไมด์ เป็นหน้าที่ของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งสาเหตุในการยกเลิกเป็นเพราะแก๊สดังกล่าวมีการระเหยเร็วและเป็นปัญหาต่อสภาวะเรือนกระจก” รองเลขาธิการ อย. กล่าว
ภญ.ศรีนวล กล่าวด้วยว่า สำหรับสารที่มีการออกประกาศเพิ่มเติมนั้น จะอยู่ในรูปแบบของแก๊ส โดยปกติจะเป็นอันตรายกับส่วนมีสัมผัสแก๊สโดยตรง คือ เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ส่วนการตกค้างในอาหารนั้น ได้ทำการทดสอบพบว่า เมทิลโบรไมด์ เป็นสารที่มีจุดเดือดต่ำ เมื่อนำข้าวสารไปซาวน้ำก็ทำให้ปริมาณสารระเหยไป เมื่อนำไปหุงด้วยความร้อนอีกก็จะหมดไปเกือบ ร้อยละ 86 นอกจากนี้ ยังไม่มีข้อมูลวิชาการรายงานเรื่องความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดมะเร็งด้วย ทั้งนี้ วันที่ 24 ก.ค.นี้ จะมีการเชิญ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เข้าอบรมเรื่องการพัฒนาสถานที่ในการของ GPM นอกจากนี้ จะเชิญสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 10 แห่ง ที่มีโรงสีข้าวเพื่ออบรมเพิ่มเติมในการตรวจคุณภาพโรงสี และการตรวจสอบเพื่อออกใบอนุญาตด้วย
วันนี้ (17 ก.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแถลงผลตรวจข้าวยี่ห้อโค-โค่ พบสารเมทิลโบรไมด์ เกินมาตรฐาน 50 ppm ว่า ขณะนี้ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เตรียมสุ่มตรวจข้าวสารเพิ่มทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อสร้างความมั่นใจกับผู้บริโภค โดยในระยะสั้นจะขอให้ประชาชนเป็นผู้ชี้แหล่งว่าต้องการให้ อย.และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจข้าวยี่ห้อใดและสถานที่ไหน ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า ร้านค้าส่ง หรือโรงสี เพื่อความสบายใจแก่ผู่บริโภค ส่วนในระยะยาวเร่งให้ อย.บังคับใช้มาตรฐานการผลิตอาหารที่ดีขั้นพื้นฐาน (Primary GMP) ในผู้ผลิตข้าวถุง จากเดิมที่กำหนดให้เริ่มดำเนินการในปี 2558 ให้เริ่มวันที่ 1 ม.ค.2557 และให้ผู้ประกอบการปรับปรุงสถานที่ให้ได้มาตรฐานให้แล้วเสร็จภายใน 5 เดือน
“ขอให้ทุกฝ่ายอย่านำปัญหาเรื่องข้าวมาเป็นเกมการเมือง เพราะจะกระทบต่อการส่งออกข้าวของประเทศที่เป็นรายได้หลัก จะทำให้ไทยเสียโอกาสทางการค้า และในวันพรุ่งนี้ (18 ก.ค.) นายกรัฐมนตรี เตรียมลงพื้นที่สุ่มตรวจโรงสีของบริษัทผู้ผลิตข้าวถุงใน จ.พระนครศรีอยุธยา” รมว.สาธารณสุข กล่าว
วันเดียวกัน ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการ อย.กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการอาหาร ว่า คณะกรรมการมีข้อสรุปว่าจะแก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง (ฉบับที่ 2) ตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 โดยจะเพิ่มชนิดและปริมาณสารพิษตกค้างจากวัตถุอันตรายทางการเกษตรในบัญชีอาหารหมายเลข 1 ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด (Maximum Residue Limit : MRL) โดยจะกำหนดให้ สารไฮโดรเจนฟอสไฟด์ (Hydrogen Phasphide) มีปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด ไม่เกิน 0.1 มิลลิกรัมของต่อ 1 กิโลกรัมของอาหาร สารเมทิลโบรไมด์ (Methyl Bromide) มีปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด ไม่เกิน 0.01 มิลลิกรัมของสารต่อ 1 กิโลกรัมของอาหาร ทั้งนี้ สารดังกล่าวอยู่ในรูปของแก๊สทำให้วัดปริมาณได้ยาก จึงต้องวัดจากโบรไมด์ ไอออน (Bromide Ion) ในสารเมทิลโบรไมด์อีกที โดยกำหนดไม่เกิน 50 ppm และสารซัลฟูริล ฟลูออไรด์ (Sulfuryl Fluoride) มีปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดไม่เกิน 0.1 มิลลิกรัมของสารต่อ 1 กิโลกรัมของอาหาร โดยเป็นไปตามมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (CODEX) โดยจะเสนอให้ รมว.สาธารณสุข ลงนามและประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับใช้ทันที
ภญ.ศรีนวล กล่าวอีกว่า การแก้ไขประกาศเป็นแนวทางที่สามารถควบคุมและดูแลสถานการณ์ได้รวดเร็วที่สุด สำหรับวิธีการออกเลขสารระบบ หรือขอหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต (GMP) นั้น มีการออกประกาศแนวทางไว้แล้ว หากผู้ประกอบการต้องการขอเลขสารระบบก็สามารถทำได้เลย แต่กระบวนการบังคับเพื่อออกเลขสารระบบนั้น เป็นกระบวนการต่อไป อย่างไรก็ตาม สำหรับตัวอย่างข้าวที่ อย.และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สุ่มเก็บตรวจนั้น มีเป็นจำนวนมาก โดยมีการเปิดผลการตรวจสอบไปแล้ว 107 ตัวอย่าง จะเหลืออีก 66 ตัวอย่าง โดยในจำนวนนั้นมี ตัวอย่างข้าวโค-โค่ ด้วย ซึ่งผลการตรวจสอบจะทยอยออกต่อจากนี้ ทั้งนี้ ผลเบื้องต้น พบว่า ตัวอย่างข้าวโค-โค่ นั้น มีปริมาณสารเมทิลโบรไมด์ เกินมาตรฐานอยู่ที่ 94.2 PPM ส่วนขั้นตอนการเอาผิดนั้น ที่ผ่านมายังไม่เคยมีการกำหนดค่ามาตรฐานในข้าวสารมาก่อน เพราะถือว่าเป็นอาหารที่มีความเสี่ยงต่ำ และเมื่อแปลผลเป็นค่าอันตรายต่อหน่วยที่ร่างกายไม่ควรได้รับ ก็ถือว่ายังไม่เกินค่ามาตรฐาน
“โอกาสที่ทำให้เกิดการปนเปื้อนนั้น น่าจะเกิดจากการรมควันในขั้นตอนการเก็บข้าว แต่ต้องพิจารณาว่า เกิดจากขั้นตอนใดได้บ้าง เพราะกระบวนการผลิตข้าว บางครั้งจะมีการรมควันในถุงอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีแมลง มอด ส่วนการยกเลิกการใช้สารเมทิลโบรไมด์ เป็นหน้าที่ของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งสาเหตุในการยกเลิกเป็นเพราะแก๊สดังกล่าวมีการระเหยเร็วและเป็นปัญหาต่อสภาวะเรือนกระจก” รองเลขาธิการ อย. กล่าว
ภญ.ศรีนวล กล่าวด้วยว่า สำหรับสารที่มีการออกประกาศเพิ่มเติมนั้น จะอยู่ในรูปแบบของแก๊ส โดยปกติจะเป็นอันตรายกับส่วนมีสัมผัสแก๊สโดยตรง คือ เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ส่วนการตกค้างในอาหารนั้น ได้ทำการทดสอบพบว่า เมทิลโบรไมด์ เป็นสารที่มีจุดเดือดต่ำ เมื่อนำข้าวสารไปซาวน้ำก็ทำให้ปริมาณสารระเหยไป เมื่อนำไปหุงด้วยความร้อนอีกก็จะหมดไปเกือบ ร้อยละ 86 นอกจากนี้ ยังไม่มีข้อมูลวิชาการรายงานเรื่องความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดมะเร็งด้วย ทั้งนี้ วันที่ 24 ก.ค.นี้ จะมีการเชิญ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เข้าอบรมเรื่องการพัฒนาสถานที่ในการของ GPM นอกจากนี้ จะเชิญสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 10 แห่ง ที่มีโรงสีข้าวเพื่ออบรมเพิ่มเติมในการตรวจคุณภาพโรงสี และการตรวจสอบเพื่อออกใบอนุญาตด้วย