แพทยสภาอ้ำอึ้ง ไม่ตอบ “หมอบอนด์” จบต่างประเทศจริงหรือไม่ ยันก่อนเป็นสมาชิกแพทยสภามีการตรวจสอบข้อมูลและสัมภาษณ์ ป้องกันปลอมวุฒิอยู่แล้ว เผยเรียกสอบหมอบอนด์ได้ก็ต่อเมื่อมี ปชช.ร้องเรียน หรือต้องรอมติบอร์ดแพทยสภาเห็นชอบสั่งตรวจสอบ
จากกรณีข้อสงสัยเรื่องวุฒิการศึกษาของ ดร.นพ.ปิยะวงศ์ เศรษฐวงศ์ หรือ หมอบอนด์ พิธีกรร่วมประจำรายการ “เค้าว่ากันว่า” ออกอากาศทางช่อง workpoint tv ทั้งยังเป็นนักเขียนบทความหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ นิตยสารขวัญเรือน แพรว ดิฉัน ฯลฯ ที่อาจมีการกล่าวอ้างเกินจริง รวมถึงมีการเขียนบทความเชิงจิตวิทยาเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต โดยระบุสถานะเป็นแพทย์ประจำบ้าน สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งล่าสุดทางสถาบันได้ออกหนังสือชี้แจงแล้วว่า “หมอบอนด์” ไม่ได้เป็นจิตแพทย์อย่างที่อ้างอิงไว้ท้ายบทความแต่อย่างใด
วันนี้ (17 ก.ค.) ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า การดำเนินการตรวจสอบวุฒิการศึกษาของ หมอบอนด์ จะต้องมีประชาชนฟ้องร้องเข้ามาก่อนแพทยสภาจึงจะสามารถดำเนินการตรวจสอบได้ แต่หากแพทยสภาจะฟ้องเพื่อดำเนินการตรวจสอบเอง ตรงนี้จะต้องผ่านมติที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภาเสียก่อน ทั้งนี้ แพทยสภากำลังเตรียมที่จะทำเว็บไซต์เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ว่า แพทย์คนใดเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านไหน เป็นแพทย์จริงหรือไม่ ซึ่งข้อมูลตรงนี้จะเป็นเฉพาะแพทย์ที่จบการศึกษาภายในประเทศเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากเป็นแพทย์ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ อย่างกรณี หมอบอนด์ ที่ระบุว่า จบปริญญาโทและปริญญาเอกจากต่างประเทศ จะสามารถตรวจสอบได้หรือไม่ ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า แพทย์ที่จบในประเทศไทยทุกคนจะต้องเป็นสมาชิกของแพทยสภาอยู่แล้ว ซึ่งการจะเป็นสมาชิกของแพทยสภานั้นจะมีการตรวจสอบข้อมูลการศึกษาและสัมภาษณ์ก่อนทุกครั้ง หากมีการจบการศึกษาจากต่างประเทศก็จะมีการเช็กข้อมูลไปยังมหาวิทยาลัยในต่างประเทศว่าจบการศึกษาจริงหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดการปลอมวุฒิการศึกษา
เมื่อถามต่อว่า หมอบอนด์ เป็นสมาชิกแพทยสภาหรือไม่ และมีการสัมภาษณ์ถึงประวัติการศึกษาจากต่างประเทศหรือไม่ ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวย้ำเพียงว่า แพทย์ที่จบการศึกษาในประเทศไทยเป็นสมาชิกแพทยสภาทุกคนอยู่แล้ว
สำหรับประวัติ หมอบอนด์ - ดร.นพ.ปิยะวงศ์ เศรษฐวงศ์ ที่ระบุไว้ในบล็อกส่วนตัว http://doctorpiyawong.blogspot.com จนทำให้หมอหนุ่มวัย 29 ปี เป็นที่จับตามองในทันที โดยเฉพาะประวัติการศึกษา อาทิ วิทยาศาสตร์บัณฑิต ม.สงขลานครินทร์ แพทยศาสตรบัณฑิต ม.ศรีนครินทรวิโรฒ เศรษฐศาสตรบัณฑิตจากประเทศฮอลแลนด์ รวมถึง diploma กับ certificate ในด้านต่างๆ อีกจำนวนมาก ซึ่งเป็นที่สนใจและค้นหาคำตอบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวุฒิการศึกษาเหล่านี้
จากกรณีข้อสงสัยเรื่องวุฒิการศึกษาของ ดร.นพ.ปิยะวงศ์ เศรษฐวงศ์ หรือ หมอบอนด์ พิธีกรร่วมประจำรายการ “เค้าว่ากันว่า” ออกอากาศทางช่อง workpoint tv ทั้งยังเป็นนักเขียนบทความหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ นิตยสารขวัญเรือน แพรว ดิฉัน ฯลฯ ที่อาจมีการกล่าวอ้างเกินจริง รวมถึงมีการเขียนบทความเชิงจิตวิทยาเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต โดยระบุสถานะเป็นแพทย์ประจำบ้าน สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งล่าสุดทางสถาบันได้ออกหนังสือชี้แจงแล้วว่า “หมอบอนด์” ไม่ได้เป็นจิตแพทย์อย่างที่อ้างอิงไว้ท้ายบทความแต่อย่างใด
วันนี้ (17 ก.ค.) ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า การดำเนินการตรวจสอบวุฒิการศึกษาของ หมอบอนด์ จะต้องมีประชาชนฟ้องร้องเข้ามาก่อนแพทยสภาจึงจะสามารถดำเนินการตรวจสอบได้ แต่หากแพทยสภาจะฟ้องเพื่อดำเนินการตรวจสอบเอง ตรงนี้จะต้องผ่านมติที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภาเสียก่อน ทั้งนี้ แพทยสภากำลังเตรียมที่จะทำเว็บไซต์เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ว่า แพทย์คนใดเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านไหน เป็นแพทย์จริงหรือไม่ ซึ่งข้อมูลตรงนี้จะเป็นเฉพาะแพทย์ที่จบการศึกษาภายในประเทศเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากเป็นแพทย์ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ อย่างกรณี หมอบอนด์ ที่ระบุว่า จบปริญญาโทและปริญญาเอกจากต่างประเทศ จะสามารถตรวจสอบได้หรือไม่ ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า แพทย์ที่จบในประเทศไทยทุกคนจะต้องเป็นสมาชิกของแพทยสภาอยู่แล้ว ซึ่งการจะเป็นสมาชิกของแพทยสภานั้นจะมีการตรวจสอบข้อมูลการศึกษาและสัมภาษณ์ก่อนทุกครั้ง หากมีการจบการศึกษาจากต่างประเทศก็จะมีการเช็กข้อมูลไปยังมหาวิทยาลัยในต่างประเทศว่าจบการศึกษาจริงหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดการปลอมวุฒิการศึกษา
เมื่อถามต่อว่า หมอบอนด์ เป็นสมาชิกแพทยสภาหรือไม่ และมีการสัมภาษณ์ถึงประวัติการศึกษาจากต่างประเทศหรือไม่ ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวย้ำเพียงว่า แพทย์ที่จบการศึกษาในประเทศไทยเป็นสมาชิกแพทยสภาทุกคนอยู่แล้ว
สำหรับประวัติ หมอบอนด์ - ดร.นพ.ปิยะวงศ์ เศรษฐวงศ์ ที่ระบุไว้ในบล็อกส่วนตัว http://doctorpiyawong.blogspot.com จนทำให้หมอหนุ่มวัย 29 ปี เป็นที่จับตามองในทันที โดยเฉพาะประวัติการศึกษา อาทิ วิทยาศาสตร์บัณฑิต ม.สงขลานครินทร์ แพทยศาสตรบัณฑิต ม.ศรีนครินทรวิโรฒ เศรษฐศาสตรบัณฑิตจากประเทศฮอลแลนด์ รวมถึง diploma กับ certificate ในด้านต่างๆ อีกจำนวนมาก ซึ่งเป็นที่สนใจและค้นหาคำตอบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวุฒิการศึกษาเหล่านี้