คนไทยป่วยเป็นโรคเบาหวาน 3 ล้านคน เสี่ยงตาบอดจากจอประสาทตาเสื่อม หรือเบาหวานขึ้นตาสูงถึง 23% สูงกว่าประชาชนทั่วไป 25 เท่าตัว เร่งป้องกันและตั้งศูนย์เชี่ยวชาญรักษาโรคตาในโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไปทุกจังหวัด พร้อมขยายบริการเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดให้ประชาชนเข้าถึงใกล้บ้าน
วันนี้ (15 ก.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมราชการที่โรงพยาบาลมหาสารคาม เพื่อติดตามผลการดำเนินงานพัฒนาระบบบริการรักษาพยาบาลแก่ประชาชน รวมทั้งปัญหาอุปสรรคต่างๆ ว่า จากรายงานการดำเนินการ รพ.มหาสารคาม ขณะนี้อยู่ระหว่างการลดความแออัดของผู้ป่วยนอกและพัฒนาศักยภาพการรักษาให้สูงขึ้นในระดับเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ เนื่องจากมีความพร้อม มีแพทย์เฉพาะทางเป็นศูนย์กลางดูแลผู้ป่วยในจังหวัดซึ่งมีประชากรเกือบ 1 ล้านคน โดยกระจายการตรวจรักษาผู้ป่วยนอกไปที่ศูนย์สุขภาพชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในเขตอ.เมือง 11 แห่ง ส่วนแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลมหาสารคาม จะตรวจรักษาผู้ป่วยที่มีอาการซับซ้อนที่ส่งมาจากโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพิ่มประสิทธิภาพของระบบบริการ ประชาชนไม่ต้องเดินทางไกล
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า ปัญหาที่น่าห่วงขณะนี้ พบว่าคนไทยเจ็บป่วยโรคเรื้อรังสูงอันดับ 1 ในประเทศ ซึ่งโรคนี้รักษาไม่หายขาด และมีโรคแทรกซ้อนเกิดตามมาได้ง่าย หากดูแลรักษาตนเองไม่ดีพอ โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ทั่วประเทศมีผู้ป่วยประมาณ 3 ล้านคน เรื่องที่ต้องระมัดระวังคือเรื่องตาบอดจากปัญหาจอประสาทตาเสื่อม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าเบาหวานขึ้นตา พบได้ประมาณร้อยละ 23 ของผู้ป่วย มีความเสี่ยงสูงกว่าประชาชนทั่วไป 25 เท่าตัว ซึ่งตาบอดนี้ยังพบในกลุ่มที่เป็นโรคตาต้อกระจก และต้อหินในผู้สูงอายุด้วย รวมทั้งจากอุบัติเหตุต่างๆ
"สธ.ได้เร่งป้องกันโดยจัดระบบการตรวจคัดกรองประชาชนอายุ 15ปีขึ้นไป เพื่อค้นหาความผิดปกติให้เร็วที่สุด ดูแลป้องกันปัญหาแทรกซ้อน และกระจายศูนย์รักษาโรคตาในโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไปทุกจังหวัด โดยที่ รพ.มหาสารคาม ได้ตั้งศูนย์รับบริจาคอวัยวะจากผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรที่สมองตายแล้วร่วมกับสภากาชาดไทย ทั้งดวงตา ตับ ไต หัวใจ ต่อมน้ำเหลือง และผิวหนัง ตั้งแต่ พ.ศ.2553-2556 มีผู้บริจาคอวัยวะ 7 คน เฉพาะตาจัดเก็บได้ 42 ดวง และผ่าตัดเปลี่ยนใส่ให้ผู้ป่วย 29 คน หลังเปลี่ยนทุกรายสามารถมองเห็นได้ตามปกติ และผ่าตัดจอประสาทตาป้องกันตาบอดจากเบาหวานขึ้นตา 440 ราย" ปลัด สธ. กล่าว
นพ.ณรงค์ กล่าวด้วยว่า สำหรับการพัฒนาระบบบริการของโรงพยาบาลในสังกัดทุกระดับรวมกว่า 10,000 แห่ง จะนำระบบบริหารร่วมมาใช้ เพื่อใช้ทรัพยากรทั้งบุคลากรทุกวิชาชีพ เตียง เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ในจังหวัด และระหว่างจังหวัด ร่วมกันบริหารในรูปของคณะกรรมการที่มาจากทุกสาขาวิชาชีพ และจากสถานบริการทุกระดับ ในระดับจังหวัดและระดับเขต เพื่อเชื่อมโยงบริการตั้งแต่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อให้ประชาชนได้บริการใกล้บ้าน
วันนี้ (15 ก.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมราชการที่โรงพยาบาลมหาสารคาม เพื่อติดตามผลการดำเนินงานพัฒนาระบบบริการรักษาพยาบาลแก่ประชาชน รวมทั้งปัญหาอุปสรรคต่างๆ ว่า จากรายงานการดำเนินการ รพ.มหาสารคาม ขณะนี้อยู่ระหว่างการลดความแออัดของผู้ป่วยนอกและพัฒนาศักยภาพการรักษาให้สูงขึ้นในระดับเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ เนื่องจากมีความพร้อม มีแพทย์เฉพาะทางเป็นศูนย์กลางดูแลผู้ป่วยในจังหวัดซึ่งมีประชากรเกือบ 1 ล้านคน โดยกระจายการตรวจรักษาผู้ป่วยนอกไปที่ศูนย์สุขภาพชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในเขตอ.เมือง 11 แห่ง ส่วนแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลมหาสารคาม จะตรวจรักษาผู้ป่วยที่มีอาการซับซ้อนที่ส่งมาจากโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพิ่มประสิทธิภาพของระบบบริการ ประชาชนไม่ต้องเดินทางไกล
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า ปัญหาที่น่าห่วงขณะนี้ พบว่าคนไทยเจ็บป่วยโรคเรื้อรังสูงอันดับ 1 ในประเทศ ซึ่งโรคนี้รักษาไม่หายขาด และมีโรคแทรกซ้อนเกิดตามมาได้ง่าย หากดูแลรักษาตนเองไม่ดีพอ โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ทั่วประเทศมีผู้ป่วยประมาณ 3 ล้านคน เรื่องที่ต้องระมัดระวังคือเรื่องตาบอดจากปัญหาจอประสาทตาเสื่อม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าเบาหวานขึ้นตา พบได้ประมาณร้อยละ 23 ของผู้ป่วย มีความเสี่ยงสูงกว่าประชาชนทั่วไป 25 เท่าตัว ซึ่งตาบอดนี้ยังพบในกลุ่มที่เป็นโรคตาต้อกระจก และต้อหินในผู้สูงอายุด้วย รวมทั้งจากอุบัติเหตุต่างๆ
"สธ.ได้เร่งป้องกันโดยจัดระบบการตรวจคัดกรองประชาชนอายุ 15ปีขึ้นไป เพื่อค้นหาความผิดปกติให้เร็วที่สุด ดูแลป้องกันปัญหาแทรกซ้อน และกระจายศูนย์รักษาโรคตาในโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไปทุกจังหวัด โดยที่ รพ.มหาสารคาม ได้ตั้งศูนย์รับบริจาคอวัยวะจากผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรที่สมองตายแล้วร่วมกับสภากาชาดไทย ทั้งดวงตา ตับ ไต หัวใจ ต่อมน้ำเหลือง และผิวหนัง ตั้งแต่ พ.ศ.2553-2556 มีผู้บริจาคอวัยวะ 7 คน เฉพาะตาจัดเก็บได้ 42 ดวง และผ่าตัดเปลี่ยนใส่ให้ผู้ป่วย 29 คน หลังเปลี่ยนทุกรายสามารถมองเห็นได้ตามปกติ และผ่าตัดจอประสาทตาป้องกันตาบอดจากเบาหวานขึ้นตา 440 ราย" ปลัด สธ. กล่าว
นพ.ณรงค์ กล่าวด้วยว่า สำหรับการพัฒนาระบบบริการของโรงพยาบาลในสังกัดทุกระดับรวมกว่า 10,000 แห่ง จะนำระบบบริหารร่วมมาใช้ เพื่อใช้ทรัพยากรทั้งบุคลากรทุกวิชาชีพ เตียง เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ในจังหวัด และระหว่างจังหวัด ร่วมกันบริหารในรูปของคณะกรรมการที่มาจากทุกสาขาวิชาชีพ และจากสถานบริการทุกระดับ ในระดับจังหวัดและระดับเขต เพื่อเชื่อมโยงบริการตั้งแต่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อให้ประชาชนได้บริการใกล้บ้าน