สหภาพ อภ.ยืนเคียง “หมอวิทิต” พร้อมเป็นพยานเอาผิด “ประดิษฐ-ครม.-บอร์ด อภ.” ยันไม่เข้าร่วมรับฟังชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีเด้ง ผอ.อภ.8 ก.ค.นี้ แม้ รมว.สธ.สั่งการให้จัดตามเดิม
นายระวัย ภู่ระกา ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม (สร.อภ.) เปิดเผยว่า การไปฟังคำชี้แจงตามที่ นพ.จรัญ ตฤณวุฒิพงษ์ ประธานคณะผู้ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีปลด นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ออกจากตำแหน่ง ผอ.อภ.ในวันที่ 8 ก.ค.ไม่เกิดประโยชน์ เพราะแค่เข้าไปฟังและดูข้อมูล ไม่สามารถตัดสินอะไรได้ ท้ายสุดก็จบที่ศาลอยู่ดี จึงไม่ขอเข้าร่วม ทั้งที่การเจรจาวันที่ 4 มิ.ย.ที่ผ่านมา นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นผู้เสนอเองให้ตั้งคณะกรรมการจากคนภายนอกตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อให้สังคมหายสงสัยว่าไม่มีใบสั่งทางการเมือง เอื้อประโยชน์ธุรกิจเอกชนและบริษัทยาข้ามชาติ และไม่มีใครอยู่เบื้องหลังกรณีให้ข่าวทำลายชื่อเสียง อภ.และปลด นพ.วิทิต
“วันนั้น นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ยังพูดเลยว่า ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงขึ้นมา ให้ไปพิสูจน์กัน หากผิดต้องว่าไปตามผิด ทุกคนรับได้หรือไม่ ทุกฝ่ายในที่นั้นก็รับคำ และผลสรุปที่เสนอ ครม.ก็ชัดเจนให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ไม่ใช่เพียงแค่อนุญาตให้ตั้งคณะบุคคลไปฟังคำชี้แจงตามที่ นพ.ประดิษฐ กำลังสั่งให้เล่นละครหลอกสังคมอยู่ในขณะนี้” ประธาน สร.อภ. กล่าวและว่า ยืนยันว่า พร้อมเป็นพยานหนุน นพ.วิทิต ฟ้องเอาผิด รมว.สาธารณสุข คณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) ที่มี นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เป็นประธาน
ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) หนึ่งในคณะรับฟังข้อเท็จจริงที่ นพ.ประดิษฐ อนุญาตให้เข้าฟัง กล่าวว่า ไม่ยอมรับคำสั่งแบบนี้ สิ่งที่ควรจะเป็นคือ ต้องมีการเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งกระบวนการว่าถูกต้อง ชอบธรรมหรือไม่ ไม่ใช่ไปฟังและดูแค่เอกสารผลการสอบเท่านั้น เพราะการทำลาย อภ.เท่ากับเป็นการทำลายระบบความมั่นคงด้านยาของประเทศ และทำให้บริษัทยาข้ามชาติได้ประโยชน์ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่สังคมสงสัยในบทบาทของผู้มีอำนาจทางการเมืองว่าทำไปเพื่อผลประโยชน์ของใคร
ด้าน นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ตนยังยืนยันให้บอร์ด อภ.นัดประชุมตามเดิม คือ วันที่ 8 ก.ค.โดยจะต้องนัดทั้งฝ่ายรับฟังข้อเท็จจริงและฝ่ายชี้แจง ส่วนที่ฝ่ายรับฟังฯ จะไม่เข้าร่วม ตนอยากให้เข้าฟังข้อมูลต่างๆ ก่อน อย่างไรก็ตาม คณะทำงานที่ตั้งขึ้นมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบเอกสารทุกอย่าง ซึ่งก็เป็นไปตามที่ตกลงว่าให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง สิ่งสำคัญต้องเข้าไปนั่งฟังก่อน ไปดูเอกสารทุกอย่างที่ใช้ในการอ้างอิงว่าถูกต้องจริงหรือไม่ ปลอมหลักฐานหรือไม่ แล้วค่อยมาพิจารณากัน แต่บางเรื่องจะไปเรียกพยานใหม่คงไม่ได้ และยังมีข้อจำกัดในเรื่อง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการฯ ว่า ผู้เสียหายยินยอมให้ข้อมูลหรือไม่
นายระวัย ภู่ระกา ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม (สร.อภ.) เปิดเผยว่า การไปฟังคำชี้แจงตามที่ นพ.จรัญ ตฤณวุฒิพงษ์ ประธานคณะผู้ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีปลด นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ออกจากตำแหน่ง ผอ.อภ.ในวันที่ 8 ก.ค.ไม่เกิดประโยชน์ เพราะแค่เข้าไปฟังและดูข้อมูล ไม่สามารถตัดสินอะไรได้ ท้ายสุดก็จบที่ศาลอยู่ดี จึงไม่ขอเข้าร่วม ทั้งที่การเจรจาวันที่ 4 มิ.ย.ที่ผ่านมา นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นผู้เสนอเองให้ตั้งคณะกรรมการจากคนภายนอกตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อให้สังคมหายสงสัยว่าไม่มีใบสั่งทางการเมือง เอื้อประโยชน์ธุรกิจเอกชนและบริษัทยาข้ามชาติ และไม่มีใครอยู่เบื้องหลังกรณีให้ข่าวทำลายชื่อเสียง อภ.และปลด นพ.วิทิต
“วันนั้น นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ยังพูดเลยว่า ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงขึ้นมา ให้ไปพิสูจน์กัน หากผิดต้องว่าไปตามผิด ทุกคนรับได้หรือไม่ ทุกฝ่ายในที่นั้นก็รับคำ และผลสรุปที่เสนอ ครม.ก็ชัดเจนให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ไม่ใช่เพียงแค่อนุญาตให้ตั้งคณะบุคคลไปฟังคำชี้แจงตามที่ นพ.ประดิษฐ กำลังสั่งให้เล่นละครหลอกสังคมอยู่ในขณะนี้” ประธาน สร.อภ. กล่าวและว่า ยืนยันว่า พร้อมเป็นพยานหนุน นพ.วิทิต ฟ้องเอาผิด รมว.สาธารณสุข คณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) ที่มี นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เป็นประธาน
ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) หนึ่งในคณะรับฟังข้อเท็จจริงที่ นพ.ประดิษฐ อนุญาตให้เข้าฟัง กล่าวว่า ไม่ยอมรับคำสั่งแบบนี้ สิ่งที่ควรจะเป็นคือ ต้องมีการเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งกระบวนการว่าถูกต้อง ชอบธรรมหรือไม่ ไม่ใช่ไปฟังและดูแค่เอกสารผลการสอบเท่านั้น เพราะการทำลาย อภ.เท่ากับเป็นการทำลายระบบความมั่นคงด้านยาของประเทศ และทำให้บริษัทยาข้ามชาติได้ประโยชน์ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่สังคมสงสัยในบทบาทของผู้มีอำนาจทางการเมืองว่าทำไปเพื่อผลประโยชน์ของใคร
ด้าน นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ตนยังยืนยันให้บอร์ด อภ.นัดประชุมตามเดิม คือ วันที่ 8 ก.ค.โดยจะต้องนัดทั้งฝ่ายรับฟังข้อเท็จจริงและฝ่ายชี้แจง ส่วนที่ฝ่ายรับฟังฯ จะไม่เข้าร่วม ตนอยากให้เข้าฟังข้อมูลต่างๆ ก่อน อย่างไรก็ตาม คณะทำงานที่ตั้งขึ้นมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบเอกสารทุกอย่าง ซึ่งก็เป็นไปตามที่ตกลงว่าให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง สิ่งสำคัญต้องเข้าไปนั่งฟังก่อน ไปดูเอกสารทุกอย่างที่ใช้ในการอ้างอิงว่าถูกต้องจริงหรือไม่ ปลอมหลักฐานหรือไม่ แล้วค่อยมาพิจารณากัน แต่บางเรื่องจะไปเรียกพยานใหม่คงไม่ได้ และยังมีข้อจำกัดในเรื่อง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการฯ ว่า ผู้เสียหายยินยอมให้ข้อมูลหรือไม่