กรุงเทพธนาคม ทำหนังสือถึงดีเอสไอ ขอสำเนามติที่ประชุม กคพ.รับ-ไม่รับคดีจ้างบีทีเอสเดินรถไฟฟ้าเป็นคดีพิเศษ หลัง “เฉลิม-ธาริต” พูดไม่ตรงกัน
นายอัศวัชร์ อภัยวงศ์ ที่ปรึกษาของนายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม.เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ตนได้รับแจ้งจาก รศ.ประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ ประธานกรรมการ (บอร์ด) บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) ระบุว่า ล่าสุดเคทีได้มีหนังสือถึง นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพื่อขอรับสำเนารายงานการประชุมและมติของที่ประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ครั้งที่ 5/2555 เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2555 ที่ผ่านมา และภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมดังกล่าว อธิบดีดีเอสไอได้ออกมาแถลงข่าวผ่านสื่อมวลชน โดยอ้างว่า ที่ประชุม กคพ.พิจารณาลงมติให้ความผิดทางอาญาจำนวนทั้งสิ้น 8 เรื่อง เป็นคดีพิเศษที่จะต้องสืบสวนสอบสวนต่อไป โดยเฉพาะในเรื่องที่ 7 คือ กรณีการทำสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (รถไฟฟ้าบีทีเอส) ระหว่างเคทีกับ บมจ.บีทีเอสซี ที่เข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดทางอาญา
ขณะเดียวกัน ต่อมาในวันที่ 11 ต.ค.2555 ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานในที่ประชุม กคพ.ครั้งดังกล่าวตามคำสั่งของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการ กคพ.ได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนกรณีเดียวกันนี้ว่ายังไม่ใช่การนำเข้าเป็นคดีพิเศษ หากแต่เป็นเพียงการตรวจสอบข้อมูลเท่านั้น และหากไม่พบข้อบกพร่อง หรือขัดต่อกฎหมายก็ถือเป็นอันยุติ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ไม่สอดคล้องกัน อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทได้ถูกระบุชื่อในข่าวว่าเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดทางอาญา ก่อให้เกิดความสับสนแก่ผู้บริหารและพนักงานเจ้าหน้าที่ของบริษัทอย่างมาก
ทั้งนี้ บริษัท กรุงเทพธนาคม ในฐานะที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียและเกี่ยวข้องโดยตรงในอันที่จะต้องชี้แจงข้อเท็จจริงต่างๆ ให้ถูกต้องครบถ้วนต่อเจ้าหน้าที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตลอดจนต่อสาธารณชน อีกทั้งมติของกคพ.นั้นมีลักษณะเป็น “มติของคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย” ตามคำจำกัดความใน พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540 ดังนั้น เพื่อที่จะได้สามารถพิจารณาดำเนินการและให้ความร่วมมือได้อย่างถูกต้องและชัดเจนต่อไป
“ประเด็นหลัก คือ ความชัดเจน หลังจากที่คำให้สัมภาษณ์ของทั้ง 2 ท่านไม่สอดคล้องกัน ซึ่งอาจทำให้มีผลต่อข้อกล่าวหา หากมีมติรับเป็นคดีพิเศษก็จะทำให้ดีเอสไอมีอำนาจในการสอบสวนมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆ นี้ กทม.ได้รับรายงานว่า ท่านอธิบดีดีเอสไอได้ลงนามในหนังสือเวียนแจ้งถึงคณะกรรมการ กคพ.เพื่อรับรองผลการประชุมครั้งที่ผ่านมา แต่เบื้องต้นยังมีกรรมการประมาณ 1 ใน 3 ของทั้งหมดที่ยังไม่เซ็นรับรองเหตุ เพราะในหนังสือเวียนกลับไม่มีข้อมูลรายงานการประชุมแนบมาด้วยแต่อย่างใด ซึ่งถือเป็นประเด็นที่น่าตั้งข้อสังเกตอย่างยิ่ง และยังไม่มีการตอบรับใดๆ กลับมาเช่นกัน” นายอัศวัชร์ กล่าว
นายอัศวัชร์ อภัยวงศ์ ที่ปรึกษาของนายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม.เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ตนได้รับแจ้งจาก รศ.ประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ ประธานกรรมการ (บอร์ด) บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) ระบุว่า ล่าสุดเคทีได้มีหนังสือถึง นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพื่อขอรับสำเนารายงานการประชุมและมติของที่ประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ครั้งที่ 5/2555 เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2555 ที่ผ่านมา และภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมดังกล่าว อธิบดีดีเอสไอได้ออกมาแถลงข่าวผ่านสื่อมวลชน โดยอ้างว่า ที่ประชุม กคพ.พิจารณาลงมติให้ความผิดทางอาญาจำนวนทั้งสิ้น 8 เรื่อง เป็นคดีพิเศษที่จะต้องสืบสวนสอบสวนต่อไป โดยเฉพาะในเรื่องที่ 7 คือ กรณีการทำสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (รถไฟฟ้าบีทีเอส) ระหว่างเคทีกับ บมจ.บีทีเอสซี ที่เข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดทางอาญา
ขณะเดียวกัน ต่อมาในวันที่ 11 ต.ค.2555 ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานในที่ประชุม กคพ.ครั้งดังกล่าวตามคำสั่งของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการ กคพ.ได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนกรณีเดียวกันนี้ว่ายังไม่ใช่การนำเข้าเป็นคดีพิเศษ หากแต่เป็นเพียงการตรวจสอบข้อมูลเท่านั้น และหากไม่พบข้อบกพร่อง หรือขัดต่อกฎหมายก็ถือเป็นอันยุติ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ไม่สอดคล้องกัน อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทได้ถูกระบุชื่อในข่าวว่าเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดทางอาญา ก่อให้เกิดความสับสนแก่ผู้บริหารและพนักงานเจ้าหน้าที่ของบริษัทอย่างมาก
ทั้งนี้ บริษัท กรุงเทพธนาคม ในฐานะที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียและเกี่ยวข้องโดยตรงในอันที่จะต้องชี้แจงข้อเท็จจริงต่างๆ ให้ถูกต้องครบถ้วนต่อเจ้าหน้าที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตลอดจนต่อสาธารณชน อีกทั้งมติของกคพ.นั้นมีลักษณะเป็น “มติของคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย” ตามคำจำกัดความใน พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540 ดังนั้น เพื่อที่จะได้สามารถพิจารณาดำเนินการและให้ความร่วมมือได้อย่างถูกต้องและชัดเจนต่อไป
“ประเด็นหลัก คือ ความชัดเจน หลังจากที่คำให้สัมภาษณ์ของทั้ง 2 ท่านไม่สอดคล้องกัน ซึ่งอาจทำให้มีผลต่อข้อกล่าวหา หากมีมติรับเป็นคดีพิเศษก็จะทำให้ดีเอสไอมีอำนาจในการสอบสวนมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆ นี้ กทม.ได้รับรายงานว่า ท่านอธิบดีดีเอสไอได้ลงนามในหนังสือเวียนแจ้งถึงคณะกรรมการ กคพ.เพื่อรับรองผลการประชุมครั้งที่ผ่านมา แต่เบื้องต้นยังมีกรรมการประมาณ 1 ใน 3 ของทั้งหมดที่ยังไม่เซ็นรับรองเหตุ เพราะในหนังสือเวียนกลับไม่มีข้อมูลรายงานการประชุมแนบมาด้วยแต่อย่างใด ซึ่งถือเป็นประเด็นที่น่าตั้งข้อสังเกตอย่างยิ่ง และยังไม่มีการตอบรับใดๆ กลับมาเช่นกัน” นายอัศวัชร์ กล่าว