ตะลึง! อีก 3 ปีข้างหน้า ถ้าไม่กำจัดขยะอันตราย ไทยจะมีซากทีวี 12 ล้านเครื่อง กล้องถ่ายภาพ/วิดีโอ 4 ล้านเครื่อง โทรศัพท์มือถือ 48 ล้านเครื่อง กรมควบคุมโรคแนะลดใช้ผลิตภัณฑ์ก่อขยะอันตราย หากใช้ให้แยะขยะออกจากขยะทั่วไป หวังลดอันตรายสารพิษไหลลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะในช่วงหน้าฝน
วันนี้ (14 มิ.ย.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ช่วงหน้าฝนประชาชนมีโอกาสได้รับสารพิษจากขยะอันตรายมากขึ้น เนื่องจากสารพิษมีโอกาสสูงที่จะไหลลงสู่แหล่งธรรมชาติ สังเกตได้จากข้อมูลเมื่อปี 2547 พบว่า มีขยะอันตรายจากชุมชนเกิดขึ้นในประเทศไทยปีละ 4 แสนตัน และนับวันจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น โดยช่วงปลายปี 2554 ยังมีขยะอันตรายจากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในภาคกลางตอนล่างอีก 18,000 ตัน ซึ่งล้วนยังไม่มีระบบการจัดการที่ดี ยังคงเป็นปัญหาที่หลายฝ่ายร่วมมือกันลดการใช้และทำลายอย่างถูกวิธี ทั้งนี้ การลดอันตรายจากสารพิษที่ประชาชนทำได้ คือ ลดการใช้สารเคมีและการคัดแยกขยะครัวเรือนออกจากขยะทั่วไป เพื่อลดจำนวนสารอันตรายไม่ให้ปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ขยะอันตรายจากชุมชนที่พบบ่อย ได้แก่ ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซากวิทยุ โทรทัศน์ พัดลม แอร์ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่มือถือ ซากคอมพิวเตอร์ สารเคมีที่ใช้ในครัวเรือน เช่น สเปรย์ น้ำยาทำความสะอาด สี น้ำมันเครื่อง ยารักษาโรค เป็นต้น ขยะอันตรายนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง คือ ทางการหายใจ ทางปาก และทางผิวหนัง หากสูดดมสารพิษจะรู้สึก แสบจมูก ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ เจ็บคอ แสบคอ คัดจมูก หากถูกผิวหนังอาจเกิดอาการผิวหนังไหม้ เกิดผื่นคัน แสบตา ตาแดง หากรับประทานสารพิษเข้าร่างกายอาจเกิดอาการปวดแสบปวดร้อน ในระบบทางเดินอาหาร ปวดท้องและอาจถึงตายได้ หากกำจัดไม่ถูกวิธียังอาจก่อให้เกิดผลเรื้อรังด้วย
“การป้องกันโรคและภัยสุขภาพควรดำเนินการดังนี้ 1.ลดปริมาณขยะอันตรายในบ้าน หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีภายในบ้าน หันไปใช้สารทดแทนจากธรรมชาติ หรือเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานนาน 2.ถ้าต้องซื้อวัสดุที่มีสารอันตรายเป็นส่วนประกอบควรซื้อในปริมาณที่พอใช้เท่านั้น 3.ไม่ควรเทสารเคมีที่ใช้ลงในท่อน้ำทิ้งแหล่งน้ำสาธารณะหรือบนพื้นดิน ควรใช้ให้หมด และ 4.ขยะภายในครัวเรือน ควรแยกเป็น 3 ถุง ได้แก่ ขยะอาหาร ขยะแห้ง และขยะอันตราย เพราะหากปนกันกรดหรือก๊าซไข่เน่าในขยะทั่วไปจะไปทำปฏิกิริยากับสารพิษทำให้เกิดความเป็นพิษมากขึ้น” อธิบดี คร.กล่าว
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังต้องร่วมกันดูแลเฝ้าระวังอย่าให้ผู้อื่นนำขยะอันตรายมาทิ้งในชุมชน ซึ่งสามารถสังเกตได้ดังนี้ หากขยะอยู่บนดินในอากาศจะมีกลิ่นขยะปนสารเคมีโชยมาตามลม อยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ สี กลิ่น รสของน้ำจะเปลี่ยนไป ใช้แล้วจะมีอาการคัน หากมีอาการเจ็บป่วยจากสารเคมี ให้จดบันทึกอาการอย่างละเอียดพร้อมระบุ วัน เวลา สถานที่เกิดอาการ ถ้ามีกล้องจากมือถือให้ถ่ายภาพ ผื่นคัน ตาแดง หรืออาการอื่นๆ ที่เห็นได้ชัดไว้เป็นหลักฐานและมาพบแพทย์ เพื่อจะได้วินิจฉัยได้ถูกต้องว่าเป็นอาการป่วยมาจากสารพิษ รวมทั้งให้แจ้ง อบต. เทศบาล หรือตำรวจ และงดใช้น้ำบริเวณที่มีขยะอันตราย ไม่ว่าจะเป็นน้ำบ่อ น้ำบาลดาล หรือประปาหมู่บ้านที่มีต้นน้ำมาจากบริเวณดังกล่าว
นพ.พรเทพ กล่าวต่อว่า จากข้อมูลโครงการพัฒนาแนวทางการประเมินปริมาณซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของกรมควบคุมมลพิษ ได้มีการคาดการณ์ว่าในช่วงปี พ.ศ.2555-2559 หากไม่มีการดำเนินการกำจัดขยะอันตรายอย่างถูกต้อง จะมีซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ดังนี้ โทรทัศน์ 12 ล้านเครื่อง กล้องถ่ายภาพ/วิดีโอ 4 ล้านเครื่อง อุปกรณ์เล่นภาพ/เสียงขนาดพกพา 17 ล้านเครื่อง เครื่องพิมพ์/โทรสาร 7 ล้านเครื่อง โทรศัพท์มือถือ/โทรศัพท์บ้าน 48 ล้านเครื่อง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล 11 ล้านเครื่อง เครื่องปรับอากาศ 3 ล้านเครื่อง และตู้เย็น 4 ล้านเครื่อง ซึ่งหลายหน่วยงานกำลังร่วมกันกำจัดขยะอันตรายเหล่านี้อย่างถูกวิธี แต่อย่างไรก็ตาม จะสำเร็จได้ต้องเริ่มต้นจากการแยกขยะในครัวเรือนเป็นลำดับแรก และไม่นำขยะอันตรายทิ้งปนกับขยะทั่วไป รวมถึงลดการใช้สิ่งต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดขยะอันตราย
วันนี้ (14 มิ.ย.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ช่วงหน้าฝนประชาชนมีโอกาสได้รับสารพิษจากขยะอันตรายมากขึ้น เนื่องจากสารพิษมีโอกาสสูงที่จะไหลลงสู่แหล่งธรรมชาติ สังเกตได้จากข้อมูลเมื่อปี 2547 พบว่า มีขยะอันตรายจากชุมชนเกิดขึ้นในประเทศไทยปีละ 4 แสนตัน และนับวันจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น โดยช่วงปลายปี 2554 ยังมีขยะอันตรายจากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในภาคกลางตอนล่างอีก 18,000 ตัน ซึ่งล้วนยังไม่มีระบบการจัดการที่ดี ยังคงเป็นปัญหาที่หลายฝ่ายร่วมมือกันลดการใช้และทำลายอย่างถูกวิธี ทั้งนี้ การลดอันตรายจากสารพิษที่ประชาชนทำได้ คือ ลดการใช้สารเคมีและการคัดแยกขยะครัวเรือนออกจากขยะทั่วไป เพื่อลดจำนวนสารอันตรายไม่ให้ปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ขยะอันตรายจากชุมชนที่พบบ่อย ได้แก่ ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซากวิทยุ โทรทัศน์ พัดลม แอร์ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่มือถือ ซากคอมพิวเตอร์ สารเคมีที่ใช้ในครัวเรือน เช่น สเปรย์ น้ำยาทำความสะอาด สี น้ำมันเครื่อง ยารักษาโรค เป็นต้น ขยะอันตรายนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง คือ ทางการหายใจ ทางปาก และทางผิวหนัง หากสูดดมสารพิษจะรู้สึก แสบจมูก ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ เจ็บคอ แสบคอ คัดจมูก หากถูกผิวหนังอาจเกิดอาการผิวหนังไหม้ เกิดผื่นคัน แสบตา ตาแดง หากรับประทานสารพิษเข้าร่างกายอาจเกิดอาการปวดแสบปวดร้อน ในระบบทางเดินอาหาร ปวดท้องและอาจถึงตายได้ หากกำจัดไม่ถูกวิธียังอาจก่อให้เกิดผลเรื้อรังด้วย
“การป้องกันโรคและภัยสุขภาพควรดำเนินการดังนี้ 1.ลดปริมาณขยะอันตรายในบ้าน หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีภายในบ้าน หันไปใช้สารทดแทนจากธรรมชาติ หรือเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานนาน 2.ถ้าต้องซื้อวัสดุที่มีสารอันตรายเป็นส่วนประกอบควรซื้อในปริมาณที่พอใช้เท่านั้น 3.ไม่ควรเทสารเคมีที่ใช้ลงในท่อน้ำทิ้งแหล่งน้ำสาธารณะหรือบนพื้นดิน ควรใช้ให้หมด และ 4.ขยะภายในครัวเรือน ควรแยกเป็น 3 ถุง ได้แก่ ขยะอาหาร ขยะแห้ง และขยะอันตราย เพราะหากปนกันกรดหรือก๊าซไข่เน่าในขยะทั่วไปจะไปทำปฏิกิริยากับสารพิษทำให้เกิดความเป็นพิษมากขึ้น” อธิบดี คร.กล่าว
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังต้องร่วมกันดูแลเฝ้าระวังอย่าให้ผู้อื่นนำขยะอันตรายมาทิ้งในชุมชน ซึ่งสามารถสังเกตได้ดังนี้ หากขยะอยู่บนดินในอากาศจะมีกลิ่นขยะปนสารเคมีโชยมาตามลม อยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ สี กลิ่น รสของน้ำจะเปลี่ยนไป ใช้แล้วจะมีอาการคัน หากมีอาการเจ็บป่วยจากสารเคมี ให้จดบันทึกอาการอย่างละเอียดพร้อมระบุ วัน เวลา สถานที่เกิดอาการ ถ้ามีกล้องจากมือถือให้ถ่ายภาพ ผื่นคัน ตาแดง หรืออาการอื่นๆ ที่เห็นได้ชัดไว้เป็นหลักฐานและมาพบแพทย์ เพื่อจะได้วินิจฉัยได้ถูกต้องว่าเป็นอาการป่วยมาจากสารพิษ รวมทั้งให้แจ้ง อบต. เทศบาล หรือตำรวจ และงดใช้น้ำบริเวณที่มีขยะอันตราย ไม่ว่าจะเป็นน้ำบ่อ น้ำบาลดาล หรือประปาหมู่บ้านที่มีต้นน้ำมาจากบริเวณดังกล่าว
นพ.พรเทพ กล่าวต่อว่า จากข้อมูลโครงการพัฒนาแนวทางการประเมินปริมาณซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของกรมควบคุมมลพิษ ได้มีการคาดการณ์ว่าในช่วงปี พ.ศ.2555-2559 หากไม่มีการดำเนินการกำจัดขยะอันตรายอย่างถูกต้อง จะมีซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ดังนี้ โทรทัศน์ 12 ล้านเครื่อง กล้องถ่ายภาพ/วิดีโอ 4 ล้านเครื่อง อุปกรณ์เล่นภาพ/เสียงขนาดพกพา 17 ล้านเครื่อง เครื่องพิมพ์/โทรสาร 7 ล้านเครื่อง โทรศัพท์มือถือ/โทรศัพท์บ้าน 48 ล้านเครื่อง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล 11 ล้านเครื่อง เครื่องปรับอากาศ 3 ล้านเครื่อง และตู้เย็น 4 ล้านเครื่อง ซึ่งหลายหน่วยงานกำลังร่วมกันกำจัดขยะอันตรายเหล่านี้อย่างถูกวิธี แต่อย่างไรก็ตาม จะสำเร็จได้ต้องเริ่มต้นจากการแยกขยะในครัวเรือนเป็นลำดับแรก และไม่นำขยะอันตรายทิ้งปนกับขยะทั่วไป รวมถึงลดการใช้สิ่งต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดขยะอันตราย