เพชรบุรี - จังหวัดเพชรบุรี ประกาศอำเภอบ้านแหลมเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติแล้ว หลังน้ำทะเลเน่าเสีย หอยตายจำนวนมาก ด้าน ส.ส.ลงพื้นที่ชี้แจงการแก้ไขปัญหาเยียวยา พร้อมให้เกษตรกรกว่า 800 รายที่เดือดร้อนนำหลักฐานยื่นคำร้อง
เมื่อเวลา 14.00 น.วันนี้ (3 ธ.ค.) ที่หอประชุมเทศบาลตำบลบางตะบูน นายยุทธพล อังกินันทน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พรรคชาติไทยพัฒนา นายชัยยศ สงวนทรัพย์ นายกเทศมนตรีตำบลบางตะบูน และนางขวัญฤทัย เสาวะนะ ประมงจังหวัดเพชรบุรี ร่วมประชุมชี้แจงการแก้ไขปัญหาเยียวยาเงินช่วยเหลือ หลังทางจังหวัดเพชรบุรีได้มีประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินในพื้นที่อำเภอบ้านแหลมเมื่อวันที่ 29 พ.ย.55 ที่ผ่านมา
โดยมีข้อความประกาศว่าด้วยได้เกิดเหตุภัยพิบัติฉุกเฉิน ภัยอื่นๆ (น้ำทะเลเป็นพิษจากการตายของแพลงก์ตอนจมลงสู่พื้นทะเล เกิดก๊าซแอมโมเนีย และก๊าซไข่เน่า) เป็นสาเหตุให้หอยที่เกษตรกรเลี้ยงไว้ในทะเลตายเป็นบริเวณกว้าง และต่อเนื่องในพื้นที่ตำบลบ้านแหลม ตำบลบางตะบูน ตำบลบางตะบูนออก และตำบลบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย.55 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินทางการเกษตรของประชาชน และภัยพิบัติดังกล่าวยังไม่สิ้นสุด อาศัยอำนาจตามข้อ 16(2) ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีจึงประกาศให้เป็นพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติฉุกเฉิน และจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือเป็นกรณีเร่งด่วน
ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 3 เดือน และการช่วยเหลือต้องเสร็จสิ้นภายในเวลาที่กำหนด ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกาศให้ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน และการกำหนดภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินขนาดเล็ก หรือภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินเฉพาะหน้าของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ลงชื่อ นายมณเฑียร ทองนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ผู้ประกาศ
ทั้งนี้ ได้มีเกษตรกรทั้งอำเภอบ้านแหลมที่ได้รับผลกระทบต่างนำหลักฐานซึ่งประกอบด้วย ใบ กส.01 ใบแจ้งความ ใบค่าน้ำ (ใบอนุญาต) สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนฟาร์ม ทะเบียนเกษตร และสมุดบัญชี ธ.ก.ส.มายื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานของทางเทศบาลด้วย โดยมีประชาชนกว่า 500 รายที่ได้รับความเดือดร้อนเดินทางมายื่นคำร้องพร้อมกับร่วมฟังคำชี้แจงจนแน่นหอประชุม และส่วนที่เหลือที่ยังไม่ได้นำหลักฐานมายื่นคำร้องสามารถดำเนินการได้ภายใน 15 วัน
นายยุทธพล อังกินันทน์ ส.ส.พรรคชาติไทยพัฒนา เปิดเผยว่า ตอนนี้ได้เข้ามาชี้แจงสร้างความเข้าใจในเรื่องขั้นตอนที่จะเข้าสู่กระบวนการเยียวยาหลังจากที่มีการประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติจากทางจังหวัด โดยชาวบ้านต้องการทราบว่าขั้นตอนต่อไปจะเป็นเช่นไร และเพื่อสร้างความรวดเร็วเพราะเข้าใจว่าชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก และยังคงวิตกกังวล
ซึ่งวันนี้ก็มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือ และสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชนเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง กส.01 ซึ่งต้องขอขอบคุณหน่วยงานที่เข้ามาช่วยคำแนะนำในครั้งนี้ สำหรับการรับเงินเยียวยานั้นอยู่ที่คนละไม่เกิน 5 ไร่ ตกเฉลี่ยคนละ 45,000 บาท หรือคิดประเมินไร่ละ 9,098 บาท ที่จะต้องดำเนินการภายในเวลา 90 วัน ขึ้นอยู่ที่กระบวนการสำรวจ การประชุม และการดำเนินการส่งเรื่องไปที่กรม และเมื่อผ่านขั้นตอนกระบวนการที่ครบถ้วนก็จะสามารถดำเนินการอนุมัติเงินเยียวยาในการช่วยเหลือเกษตรกรที่เดือดร้อนได้ต่อไป
สำหรับปัญหาดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 พ.ย.55 ที่ผ่านมา โดยมีกลุ่มเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงหอยแมลงภู่ และหอยแครงใน ต.บางตะบูน ต.บ้านแหลม อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี รวมตัวกันกว่า 500 คน ซึ่งมีพื้นที่ทำกินอยู่ในทะเลบ้านแหลม เดินทางมารวมตัวกันที่หอประชุมเทศบาลตำบลบางตะบูน อ.บ้านแหลมเพื่อเรียกร้องให้หน่วยงานเกี่ยวข้องเข้ามาดูแล และแก้ไขปัญหาให้ หลังได้รับความเดือดร้อนจากกรณีน้ำทะเลดำคล้ำ มีกลิ่นเหม็น ส่งผลให้ปลาทะเลนับล้านตัว หอยแมลงภู่ และหอยแครงที่เลี้ยงไว้ตายเป็นจำนวนมาก ซึ่งเกษตรกรต้องขาดเงินลงทุนรวมกว่า 100 ล้านบาท และจากการรวบรวมข้อมูลจากประมง จ.เพชรบุรี พบว่า ในพื้นที่อำเภอบ้านแหลม มีฟาร์มหอยแครง และหอยแมลงภู่ของเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้ 881 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยง 14,000 ไร่ แยกเป็นหอยแครง 464 ราย และหอยแมลงภู่ 417 ราย
เมื่อเวลา 14.00 น.วันนี้ (3 ธ.ค.) ที่หอประชุมเทศบาลตำบลบางตะบูน นายยุทธพล อังกินันทน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พรรคชาติไทยพัฒนา นายชัยยศ สงวนทรัพย์ นายกเทศมนตรีตำบลบางตะบูน และนางขวัญฤทัย เสาวะนะ ประมงจังหวัดเพชรบุรี ร่วมประชุมชี้แจงการแก้ไขปัญหาเยียวยาเงินช่วยเหลือ หลังทางจังหวัดเพชรบุรีได้มีประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินในพื้นที่อำเภอบ้านแหลมเมื่อวันที่ 29 พ.ย.55 ที่ผ่านมา
โดยมีข้อความประกาศว่าด้วยได้เกิดเหตุภัยพิบัติฉุกเฉิน ภัยอื่นๆ (น้ำทะเลเป็นพิษจากการตายของแพลงก์ตอนจมลงสู่พื้นทะเล เกิดก๊าซแอมโมเนีย และก๊าซไข่เน่า) เป็นสาเหตุให้หอยที่เกษตรกรเลี้ยงไว้ในทะเลตายเป็นบริเวณกว้าง และต่อเนื่องในพื้นที่ตำบลบ้านแหลม ตำบลบางตะบูน ตำบลบางตะบูนออก และตำบลบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย.55 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินทางการเกษตรของประชาชน และภัยพิบัติดังกล่าวยังไม่สิ้นสุด อาศัยอำนาจตามข้อ 16(2) ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีจึงประกาศให้เป็นพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติฉุกเฉิน และจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือเป็นกรณีเร่งด่วน
ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 3 เดือน และการช่วยเหลือต้องเสร็จสิ้นภายในเวลาที่กำหนด ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกาศให้ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน และการกำหนดภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินขนาดเล็ก หรือภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินเฉพาะหน้าของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ลงชื่อ นายมณเฑียร ทองนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ผู้ประกาศ
ทั้งนี้ ได้มีเกษตรกรทั้งอำเภอบ้านแหลมที่ได้รับผลกระทบต่างนำหลักฐานซึ่งประกอบด้วย ใบ กส.01 ใบแจ้งความ ใบค่าน้ำ (ใบอนุญาต) สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนฟาร์ม ทะเบียนเกษตร และสมุดบัญชี ธ.ก.ส.มายื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานของทางเทศบาลด้วย โดยมีประชาชนกว่า 500 รายที่ได้รับความเดือดร้อนเดินทางมายื่นคำร้องพร้อมกับร่วมฟังคำชี้แจงจนแน่นหอประชุม และส่วนที่เหลือที่ยังไม่ได้นำหลักฐานมายื่นคำร้องสามารถดำเนินการได้ภายใน 15 วัน
นายยุทธพล อังกินันทน์ ส.ส.พรรคชาติไทยพัฒนา เปิดเผยว่า ตอนนี้ได้เข้ามาชี้แจงสร้างความเข้าใจในเรื่องขั้นตอนที่จะเข้าสู่กระบวนการเยียวยาหลังจากที่มีการประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติจากทางจังหวัด โดยชาวบ้านต้องการทราบว่าขั้นตอนต่อไปจะเป็นเช่นไร และเพื่อสร้างความรวดเร็วเพราะเข้าใจว่าชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก และยังคงวิตกกังวล
ซึ่งวันนี้ก็มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือ และสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชนเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง กส.01 ซึ่งต้องขอขอบคุณหน่วยงานที่เข้ามาช่วยคำแนะนำในครั้งนี้ สำหรับการรับเงินเยียวยานั้นอยู่ที่คนละไม่เกิน 5 ไร่ ตกเฉลี่ยคนละ 45,000 บาท หรือคิดประเมินไร่ละ 9,098 บาท ที่จะต้องดำเนินการภายในเวลา 90 วัน ขึ้นอยู่ที่กระบวนการสำรวจ การประชุม และการดำเนินการส่งเรื่องไปที่กรม และเมื่อผ่านขั้นตอนกระบวนการที่ครบถ้วนก็จะสามารถดำเนินการอนุมัติเงินเยียวยาในการช่วยเหลือเกษตรกรที่เดือดร้อนได้ต่อไป
สำหรับปัญหาดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 พ.ย.55 ที่ผ่านมา โดยมีกลุ่มเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงหอยแมลงภู่ และหอยแครงใน ต.บางตะบูน ต.บ้านแหลม อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี รวมตัวกันกว่า 500 คน ซึ่งมีพื้นที่ทำกินอยู่ในทะเลบ้านแหลม เดินทางมารวมตัวกันที่หอประชุมเทศบาลตำบลบางตะบูน อ.บ้านแหลมเพื่อเรียกร้องให้หน่วยงานเกี่ยวข้องเข้ามาดูแล และแก้ไขปัญหาให้ หลังได้รับความเดือดร้อนจากกรณีน้ำทะเลดำคล้ำ มีกลิ่นเหม็น ส่งผลให้ปลาทะเลนับล้านตัว หอยแมลงภู่ และหอยแครงที่เลี้ยงไว้ตายเป็นจำนวนมาก ซึ่งเกษตรกรต้องขาดเงินลงทุนรวมกว่า 100 ล้านบาท และจากการรวบรวมข้อมูลจากประมง จ.เพชรบุรี พบว่า ในพื้นที่อำเภอบ้านแหลม มีฟาร์มหอยแครง และหอยแมลงภู่ของเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้ 881 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยง 14,000 ไร่ แยกเป็นหอยแครง 464 ราย และหอยแมลงภู่ 417 ราย