บอร์ด กพฐ.เสนอตั้ง อนุ ก.ค.ศ.สพฐ. ขึ้นเคลียร์ปัญหาตั้งผู้บริหารกลุ่ม ร.ร.พรีเมียม หวังแก้ปัญหาระยะยาว ส่วนระยะสั้นเสนอโยน อนุ ก.ค.ศ.วิสามัญฯ พิจารณาหลักเกณฑ์โยกย้ายข้ามเขต และกำหนดจำนวน ร.ร.ที่เหมาะสม เหตุบอร์ดมองว่าจำนวนมากเกินไป
นายสุรัฐ ศิลปอนันต์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุม กพฐ.เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องการโยกย้ายและแต่งตั้งผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มพรีเมียมสคูล จำนวน 111 โรง ซึ่งประกอบด้วยโรงเรียนวัตถุประสงค์พิเศษ 56 โรง และโรงเรียนคุณภาพพิเศษ 55 โรง ซึ่งหลังจากนี้จะเตรียมส่งต่อไปยังคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษาเพื่อพิจารณาแต่งตั้งต่อไป นอกจากนี้ บอร์ด กพฐ.ได้ทบทวนเรื่องการพิจารณากลั่นกรองโยกย้ายและแต่งตั้งผู้บริหารกลุ่มดังกล่าวด้วย เนื่องจากอำนาจการแต่งตั้ง ผอ.โรงเรียน เป็นของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ แต่เพราะกรณีโรงเรียนกลุ่มพรีเมียม ก.ค.ศ.ได้กำหนดให้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พิจารณาการกลั่นกรองก่อนเพื่อให้ได้คนมีฝีมือและมีคุณภาพไปบริหารโรงเรียน โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรม แต่เพราะยังมีปัญหาในหลายขั้นตอน เพราะฉะนั้น บอร์ด กพฐ.จึงมีมติมอบหมายให้กรรมการท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นกรรมการในคณะ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯเกี่ยวกับนโยบายและระบบบริหารงานบุคคล ไปหารือใน อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯชุดดังกล่าวว่า การดำเนินการโยกย้ายและแต่งตั้งผู้บริหารกลุ่มพรีเมียมสคูลนั้นจะยังคงดำเนินการตามระบบวิธีการเดิม หรือจะเปลี่ยนแปลง
ด้าน นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า สพฐ.ได้นำเสนอผลการประมวลผลดีผลเสียกรณีมีการกลั่นกรองการคัดเลือก ผอ.โรงเรียน ในกลุ่มพรีเมียมสคูล จากส่วนกลางต่อที่บอร์ด กพฐ.ซึ่งได้มีมติให้ สพฐ.ดำเนินการแก้ปัญหาในระยะสั้นและระยะยาว โดยระยะสั้นที่ต้องดำเนินการทันที คือให้ สพฐ.ส่งมอบผลการประมวลดังกล่าวให้ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯ นำไปพิจารณาใน 2 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นแรก ให้ทบทวนหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายเพื่อให้เกิดการเลื่อนไหลหรือย้ายข้ามเขตได้ เพื่อให้ได้ผู้บริหารที่มีคุณภาพประสบการณ์เหมาะสมที่สุด และประเด็นที่สอง เพื่อให้พิจารณาว่าจำนวนรายชื่อโรงเรียนกลุ่มคุณภาพพิเศษ จำนวนที่เหมาะสมควรมีเท่าไร หรือที่มีอยู่ในปัจจุบันมากเกินไปหรือไม่ เนื่องจากระยะแรกที่ สพฐ.ดำเนินการนั้นมีเพียง 16 โรงแต่ปัจจุบันในปีที่ 2 เพิ่มขึ้นเป็น 56 โรง ซึ่งที่ประชุมบางส่วนใหญ่มองว่าจำนวนมากเกินไป
ส่วนระยะยาว ที่ประชุมเสนอให้มีการตั้งกำหนด อ.ก.ค.ศ.สพฐ.ขึ้น เพื่อที่หากเกิดกรณีที่การพิจารณาจาก สพฐ.ไม่สอดคล้องกับการพิจารณาของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ก็ให้นำเสนอปัญหาเหล่านั้นมาสู่การพิจารณาของ อ.ก.ค.ศ.สพฐ.และให้ถือว่าการประชุมและมติของ อ.ก.ค.ศ.สพฐ.เป็นข้อยุติ แต่เนื่องจากเวลานี้ในระบบบริหารงานบุคคลนั้นไม่ได้มี อ.ก.ค.ศ.สพฐ.ทำให้เวลาเกิดปัญหาขัดแย้งจึงต้องเสนอปัญหาไปยังบอร์ด ก.ค.ศ.ชุดใหญ่เท่านั้น
นายสุรัฐ ศิลปอนันต์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุม กพฐ.เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องการโยกย้ายและแต่งตั้งผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มพรีเมียมสคูล จำนวน 111 โรง ซึ่งประกอบด้วยโรงเรียนวัตถุประสงค์พิเศษ 56 โรง และโรงเรียนคุณภาพพิเศษ 55 โรง ซึ่งหลังจากนี้จะเตรียมส่งต่อไปยังคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษาเพื่อพิจารณาแต่งตั้งต่อไป นอกจากนี้ บอร์ด กพฐ.ได้ทบทวนเรื่องการพิจารณากลั่นกรองโยกย้ายและแต่งตั้งผู้บริหารกลุ่มดังกล่าวด้วย เนื่องจากอำนาจการแต่งตั้ง ผอ.โรงเรียน เป็นของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ แต่เพราะกรณีโรงเรียนกลุ่มพรีเมียม ก.ค.ศ.ได้กำหนดให้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พิจารณาการกลั่นกรองก่อนเพื่อให้ได้คนมีฝีมือและมีคุณภาพไปบริหารโรงเรียน โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรม แต่เพราะยังมีปัญหาในหลายขั้นตอน เพราะฉะนั้น บอร์ด กพฐ.จึงมีมติมอบหมายให้กรรมการท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นกรรมการในคณะ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯเกี่ยวกับนโยบายและระบบบริหารงานบุคคล ไปหารือใน อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯชุดดังกล่าวว่า การดำเนินการโยกย้ายและแต่งตั้งผู้บริหารกลุ่มพรีเมียมสคูลนั้นจะยังคงดำเนินการตามระบบวิธีการเดิม หรือจะเปลี่ยนแปลง
ด้าน นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า สพฐ.ได้นำเสนอผลการประมวลผลดีผลเสียกรณีมีการกลั่นกรองการคัดเลือก ผอ.โรงเรียน ในกลุ่มพรีเมียมสคูล จากส่วนกลางต่อที่บอร์ด กพฐ.ซึ่งได้มีมติให้ สพฐ.ดำเนินการแก้ปัญหาในระยะสั้นและระยะยาว โดยระยะสั้นที่ต้องดำเนินการทันที คือให้ สพฐ.ส่งมอบผลการประมวลดังกล่าวให้ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯ นำไปพิจารณาใน 2 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นแรก ให้ทบทวนหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายเพื่อให้เกิดการเลื่อนไหลหรือย้ายข้ามเขตได้ เพื่อให้ได้ผู้บริหารที่มีคุณภาพประสบการณ์เหมาะสมที่สุด และประเด็นที่สอง เพื่อให้พิจารณาว่าจำนวนรายชื่อโรงเรียนกลุ่มคุณภาพพิเศษ จำนวนที่เหมาะสมควรมีเท่าไร หรือที่มีอยู่ในปัจจุบันมากเกินไปหรือไม่ เนื่องจากระยะแรกที่ สพฐ.ดำเนินการนั้นมีเพียง 16 โรงแต่ปัจจุบันในปีที่ 2 เพิ่มขึ้นเป็น 56 โรง ซึ่งที่ประชุมบางส่วนใหญ่มองว่าจำนวนมากเกินไป
ส่วนระยะยาว ที่ประชุมเสนอให้มีการตั้งกำหนด อ.ก.ค.ศ.สพฐ.ขึ้น เพื่อที่หากเกิดกรณีที่การพิจารณาจาก สพฐ.ไม่สอดคล้องกับการพิจารณาของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ก็ให้นำเสนอปัญหาเหล่านั้นมาสู่การพิจารณาของ อ.ก.ค.ศ.สพฐ.และให้ถือว่าการประชุมและมติของ อ.ก.ค.ศ.สพฐ.เป็นข้อยุติ แต่เนื่องจากเวลานี้ในระบบบริหารงานบุคคลนั้นไม่ได้มี อ.ก.ค.ศ.สพฐ.ทำให้เวลาเกิดปัญหาขัดแย้งจึงต้องเสนอปัญหาไปยังบอร์ด ก.ค.ศ.ชุดใหญ่เท่านั้น