“หมอเกรียง” เข้าให้ปากคำดีเอสไอ ร้องตรวจสอบ สธ.ไฟเขียวงบ 147 ล้าน ซื้อเครื่องตรวจวัดน้ำตาลแจก อสม.ทั่วประเทศ งัดข้อมูลจัดซื้อแพง ชี้กฎหมายยังไม่รับรอง
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวภายหลังเข้าพบพนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพื่อเข้าให้ปากคำในฐานะพยานปากแรก พร้อมยื่นหลักฐานเพิ่มเติมกรณีขอให้ตรวจสอบโครงการส่งเสริมศักยภาพอาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ด้วยการสนับสนุนอุปกรณ์ที่จำเป็น (เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดแบบพกพา) ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) วงเงิน 147 ล้านบาท ว่า ตนได้เข้าให้ถ้อยคำชี้แจงรายละเอียดที่เคยร้องไว้ตามเอกสาร และมอบเอกสารที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเช่น ผลการจัดซื้อจัดจ้างของ จ.อำนาจเจริญ ที่ได้ผู้ชนะการประมูลแล้ว สำหรับข้อร้องเรียนที่ต้องการให้ตรวจสอบมี 2 ประเด็นคือ 1.ความไม่ชอบมาพากลในการสั่งซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด 81,685 เครื่อง เพื่อแจก อสม.ทั่วประเทศ ในราคาเครื่องละ 1,800 บาท ทั้งที่ยังไม่มีกฎหมายรับรองอนุญาตให้ อสม.ประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยการเจาะเลือดจากปลายนิ้วเพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดผู้อื่นได้ และ 2.ลักษณะการจัดซื้อทั้งที่ไม่มีความจำเป็น เนื่องจากปัจจุบันโรงพยาบาลจะไม่ใช้วิธีการจัดซื้อเครื่องตรวจน้ำตาล แต่ใช้วิธีการซื้อแถบตรวจวัดระดับน้ำตาล โดยบริษัทจะแถมเครื่องตรวจโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ซึ่งราคาแถบตรวจจะมีราคาเพียงประมาณ 6.50 บาทเท่านั้น นอกจากนี้ยังพบว่าโรงพยาบาลและสถานีอนามัยทั่วประเทศไม่ได้ขาดแคลนเครื่องตรวจฯด้วย
“ผมมีหลักฐานว่า อบต.บางแห่งในอำนาจเจริญ จัดซื้อแถบวัดน้ำตาลแล้วจำนวน 600,000 แผ่น ในราคาแผ่นละ 11 บาท โดยบริษัทเอกชนที่เป็นคู่สัญญาเคยขายแถบวัดน้ำตาลให้กับโรงพยาบาลในชัยภูมิในราคาเพียงแผ่นละ 6 บาท และมีแผนจะซื้อเครื่องตรวจวัดน้ำตาลเพิ่ม ซึ่งเป็นการซื้อแพงและเตรียมจัดซื้อแบบกลับไปกลับมา การออกมาเคลื่อนไหวตรวจสอบของแพทย์ชนบทส่งผลให้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างสะดุดลง ผมจึงนำหลักฐานมายื่นให้ดีเอสไอตรวจสอบว่าเงินทอนในการจัดซื้อตกไปอยู่กับผู้ใด” ประธานชมรมฯ กล่าวและว่า นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานการประชุมที่ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรี สธ.พูดในที่ประชุมว่า อสม.น่าจะมีศักยภาพในการตรวจน้ำตาลในเลือด แต่รองปลัดกระทรวงคนหนึ่งคัดค้านว่าขัดกฎหมาย แต่ต่อมามีการอนุมัติงบประมาณแล้วเตรียมจัดซื้อล็อตใหญ่จากส่วนกลาง แต่รองปลัดกระทรวงไม่กล้าจัดซื้อ จึงมีการกระจายงบประมาณไปให้จัดซื้อในระดับจังหวัดแทน” นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบขณะนี้พบว่ามีกว่า 10 จังหวัดที่ทำการจัดซื้อจัดจ้างเสร็จสิ้น จึงมองว่าการกระทำผิดสำเร็จแล้ว อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าดีเอสไอจะสอบสวนเรื่องดังกล่าวอย่างตรงไปตรงมา เพราะก่อนหน้านี้เพิ่งสอบสวนความผิดขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) กรณีจัดซื้อวัตถุดิบพาราเซตามอลและการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ หากเทียบกับเรื่องร้องเรียนครั้งนี้ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ ก็ยอมรับกับตนว่าน่าจะสอบสวนง่ายกว่า เพราะข้อเท็จจริงไม่ซับซ้อน มีเอกสาร คำสั่งต่างๆ ตรวจสอบได้ชัดเจนโดยเฉพาะการอนุมัติจัดซื้อก่อนแก้กฎหมาย
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวภายหลังเข้าพบพนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพื่อเข้าให้ปากคำในฐานะพยานปากแรก พร้อมยื่นหลักฐานเพิ่มเติมกรณีขอให้ตรวจสอบโครงการส่งเสริมศักยภาพอาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ด้วยการสนับสนุนอุปกรณ์ที่จำเป็น (เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดแบบพกพา) ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) วงเงิน 147 ล้านบาท ว่า ตนได้เข้าให้ถ้อยคำชี้แจงรายละเอียดที่เคยร้องไว้ตามเอกสาร และมอบเอกสารที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเช่น ผลการจัดซื้อจัดจ้างของ จ.อำนาจเจริญ ที่ได้ผู้ชนะการประมูลแล้ว สำหรับข้อร้องเรียนที่ต้องการให้ตรวจสอบมี 2 ประเด็นคือ 1.ความไม่ชอบมาพากลในการสั่งซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด 81,685 เครื่อง เพื่อแจก อสม.ทั่วประเทศ ในราคาเครื่องละ 1,800 บาท ทั้งที่ยังไม่มีกฎหมายรับรองอนุญาตให้ อสม.ประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยการเจาะเลือดจากปลายนิ้วเพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดผู้อื่นได้ และ 2.ลักษณะการจัดซื้อทั้งที่ไม่มีความจำเป็น เนื่องจากปัจจุบันโรงพยาบาลจะไม่ใช้วิธีการจัดซื้อเครื่องตรวจน้ำตาล แต่ใช้วิธีการซื้อแถบตรวจวัดระดับน้ำตาล โดยบริษัทจะแถมเครื่องตรวจโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ซึ่งราคาแถบตรวจจะมีราคาเพียงประมาณ 6.50 บาทเท่านั้น นอกจากนี้ยังพบว่าโรงพยาบาลและสถานีอนามัยทั่วประเทศไม่ได้ขาดแคลนเครื่องตรวจฯด้วย
“ผมมีหลักฐานว่า อบต.บางแห่งในอำนาจเจริญ จัดซื้อแถบวัดน้ำตาลแล้วจำนวน 600,000 แผ่น ในราคาแผ่นละ 11 บาท โดยบริษัทเอกชนที่เป็นคู่สัญญาเคยขายแถบวัดน้ำตาลให้กับโรงพยาบาลในชัยภูมิในราคาเพียงแผ่นละ 6 บาท และมีแผนจะซื้อเครื่องตรวจวัดน้ำตาลเพิ่ม ซึ่งเป็นการซื้อแพงและเตรียมจัดซื้อแบบกลับไปกลับมา การออกมาเคลื่อนไหวตรวจสอบของแพทย์ชนบทส่งผลให้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างสะดุดลง ผมจึงนำหลักฐานมายื่นให้ดีเอสไอตรวจสอบว่าเงินทอนในการจัดซื้อตกไปอยู่กับผู้ใด” ประธานชมรมฯ กล่าวและว่า นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานการประชุมที่ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรี สธ.พูดในที่ประชุมว่า อสม.น่าจะมีศักยภาพในการตรวจน้ำตาลในเลือด แต่รองปลัดกระทรวงคนหนึ่งคัดค้านว่าขัดกฎหมาย แต่ต่อมามีการอนุมัติงบประมาณแล้วเตรียมจัดซื้อล็อตใหญ่จากส่วนกลาง แต่รองปลัดกระทรวงไม่กล้าจัดซื้อ จึงมีการกระจายงบประมาณไปให้จัดซื้อในระดับจังหวัดแทน” นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบขณะนี้พบว่ามีกว่า 10 จังหวัดที่ทำการจัดซื้อจัดจ้างเสร็จสิ้น จึงมองว่าการกระทำผิดสำเร็จแล้ว อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าดีเอสไอจะสอบสวนเรื่องดังกล่าวอย่างตรงไปตรงมา เพราะก่อนหน้านี้เพิ่งสอบสวนความผิดขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) กรณีจัดซื้อวัตถุดิบพาราเซตามอลและการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ หากเทียบกับเรื่องร้องเรียนครั้งนี้ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ ก็ยอมรับกับตนว่าน่าจะสอบสวนง่ายกว่า เพราะข้อเท็จจริงไม่ซับซ้อน มีเอกสาร คำสั่งต่างๆ ตรวจสอบได้ชัดเจนโดยเฉพาะการอนุมัติจัดซื้อก่อนแก้กฎหมาย