รศ.ดร.ภญ.นุศราพร เกษสมบูรณ์
ความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป เริ่มเปิดเจรจาครั้งแรกในขณะนี้คือระหว่างวันที่ 27-31 พ.ค. 56 ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม โดยคาดว่าจะให้เสร็จสิ้นภายใน 18 เดือน การเจรจากับสหภาพยุโรปในครั้งนี้จะเป็นบทพิสูจน์ถึงความจริงใจต่อคำประกาศนโยบายที่ผ่านมาของรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศ
สำหรับสหภาพยุโรป ผลการเจรจาจะสะท้อนว่าสหภาพยุโรปได้ปฏิบัติตามมติของรัฐสภายุโรปว่าด้วยข้อตกลงทริปส์และการเข้าถึงยา (เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2007) ที่ เรียกร้องให้สหภาพยุโรปรักษาคำสัญญาที่ให้ไว้ในปฏิญญาโดฮา และกำกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการยุโรปไม่ให้เจรจาเรียกร้องให้มีข้อผูกพันแบบทริปส์ผนวกที่เกี่ยวกับยาและเวชภัณฑ์ (เช่น การผูกขาดข้อมูลทางยา และการขยายการคุ้มครองสิทธิบัตร)
ดังนั้น จึงขอให้คณะกรรมาธิการยุโรปตระหนักถึงความจำเป็นเรื่องการเข้าถึงยาสำหรับประเทศกำลังพัฒนา และหยุดกดดันประเทศกำลังพัฒนาให้ยอมรับข้อผูกพันแบบทริปส์ผนวกในข้อตกลงการค้าเสรี รวมถึงบทว่าด้วยการคุ้มครองการลงทุนที่เป็นภัยและทำให้รัฐบาลต่างๆ ไม่สามารถมีหรือนำนโยบายเพื่อสาธารณสุขมาใช้
ในส่วนประเทศไทย ภาคประชาสังคม องค์กรวิชาการ องค์กรประชาชนและองค์กรพัฒนาเอกชนที่ติดตามการเจรจาการค้าเสรี ได้พยายามให้ข้อเสนอแนะ ข้อท้วงติงกับรัฐบาลมาโดยตลอด และมีข้อห่วงใยหลายเรื่องซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประเทศและสังคมทุกภาคส่วนในระยะยาวซึ่งจะมีผลกระทบกับงบประมาณแผ่นดินมากกว่าแสนล้านบาท
ดังนั้นเพื่อให้การจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป เป็นประโยชน์กับประเทศไทยอย่างแท้จริง โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้ประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นรวมถึงประชาชนทั่วไป (ซึ่งไม่มีโอกาสไปร่วมเจรจากับท่าน) ตามนโยบายของรัฐบาลไทยที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยได้ประกาศไว้ต่อรัฐสภา จึงขอย้ำประเด็นข้อเสนอแนะจากภาคส่วนต่างๆ แก่คณะผู้เจรจา ดังนี้
1.ต้องไม่ยอมรับเนื้อหาการเจรจาที่เกินไปกว่าข้อตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การการค้าโลก (ไม่ยอมรับทริปส์พลัส) โดยเฉพาะในประเด็น การขยายเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตร การผูกขาดข้อมูลทางยา มาตรการ ณ จุดผ่านแดน และไม่ยอมรับการแก้ไขกฎหมายระบบการคุ้มครองพันธุ์พืชที่ประเทศไทยใช้บังคับอยู่ ซึ่งเป็นไปตามความตกลงทริปส์และสอดคล้องกับอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ
2.ต้องไม่ใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการ ในการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชนในบทว่าด้วยการลงทุน ที่เกี่ยวกับการลงทุนสาธารณะ การออกนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์สาธารณะ การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองสุขภาพประชาชน การสาธารณูปโภคพื้นฐาน และความมั่นคง ดังเช่นที่ อุรุกวัย และออสเตรเลีย กำลังเผชิญการฟ้องร้องเพื่อล้มนโยบายการควบคุมยาสูบจากอุตสาหกรรมบุหรี่ ในประเทศไทยเองก็เคยได้รับบทเรียนต้องเสียค่าโง่ไปหลายกรณี เพราะใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการ
3.ต้องไม่เปิดเสรีการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ การทำนา ทำสวน ทำไร่ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การปลูกป่า การเพาะและขยายพันธุ์พืช ตลอดจนการลงทุนที่สร้างผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร
4.ต้องถอนสินค้าประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ ออกจากการเจรจาสินค้า เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่เป็นสินค้าสารเสพติดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสังคม มีผลทำลายต้นทุนของสังคมตั้งแต่ระดับบุคคล ครัวเรือน ไปจนถึงสังคมโดยรวม สินค้าเหล่านี้ไม่ควรอยู่ในรายการสินค้าที่ได้รับการยกเว้นหรือได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีใดๆทั้งสิ้น ข้ออ้างที่ว่าเราจะได้สิทธิพิเศษทางภาษีนั้น สมควรได้รับการตั้งข้อสงสัยหลายประการ เช่น เขาจะไม่ให้เราอยู่แล้วในอนาคตหรือไม่ ใครได้ประโยชน์ส่วนนี้ไปอย่างเป็นกอบเป็นกำ ความสูญเสียด้านสุขภาพและชีวิตผู้คนจะมีมูลค่ามหาศาลเพียงใด ผู้ที่ได้ประโยชน์จากข้อตกลงจะมีส่วนรับผิดชอบแก่ผู้เสียหายแค่ไหน ฯลฯ
เราหวังว่าคณะเจรจาไทยและสหภาพยุโรปจะยินดีรับข้อเสนอแนะและมีหัวใจที่มุ่งปกป้องสุขภาพคนไทยและสังคมไทย จากการเจรจาในครั้งนี้
ความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป เริ่มเปิดเจรจาครั้งแรกในขณะนี้คือระหว่างวันที่ 27-31 พ.ค. 56 ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม โดยคาดว่าจะให้เสร็จสิ้นภายใน 18 เดือน การเจรจากับสหภาพยุโรปในครั้งนี้จะเป็นบทพิสูจน์ถึงความจริงใจต่อคำประกาศนโยบายที่ผ่านมาของรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศ
สำหรับสหภาพยุโรป ผลการเจรจาจะสะท้อนว่าสหภาพยุโรปได้ปฏิบัติตามมติของรัฐสภายุโรปว่าด้วยข้อตกลงทริปส์และการเข้าถึงยา (เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2007) ที่ เรียกร้องให้สหภาพยุโรปรักษาคำสัญญาที่ให้ไว้ในปฏิญญาโดฮา และกำกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการยุโรปไม่ให้เจรจาเรียกร้องให้มีข้อผูกพันแบบทริปส์ผนวกที่เกี่ยวกับยาและเวชภัณฑ์ (เช่น การผูกขาดข้อมูลทางยา และการขยายการคุ้มครองสิทธิบัตร)
ดังนั้น จึงขอให้คณะกรรมาธิการยุโรปตระหนักถึงความจำเป็นเรื่องการเข้าถึงยาสำหรับประเทศกำลังพัฒนา และหยุดกดดันประเทศกำลังพัฒนาให้ยอมรับข้อผูกพันแบบทริปส์ผนวกในข้อตกลงการค้าเสรี รวมถึงบทว่าด้วยการคุ้มครองการลงทุนที่เป็นภัยและทำให้รัฐบาลต่างๆ ไม่สามารถมีหรือนำนโยบายเพื่อสาธารณสุขมาใช้
ในส่วนประเทศไทย ภาคประชาสังคม องค์กรวิชาการ องค์กรประชาชนและองค์กรพัฒนาเอกชนที่ติดตามการเจรจาการค้าเสรี ได้พยายามให้ข้อเสนอแนะ ข้อท้วงติงกับรัฐบาลมาโดยตลอด และมีข้อห่วงใยหลายเรื่องซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประเทศและสังคมทุกภาคส่วนในระยะยาวซึ่งจะมีผลกระทบกับงบประมาณแผ่นดินมากกว่าแสนล้านบาท
ดังนั้นเพื่อให้การจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป เป็นประโยชน์กับประเทศไทยอย่างแท้จริง โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้ประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นรวมถึงประชาชนทั่วไป (ซึ่งไม่มีโอกาสไปร่วมเจรจากับท่าน) ตามนโยบายของรัฐบาลไทยที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยได้ประกาศไว้ต่อรัฐสภา จึงขอย้ำประเด็นข้อเสนอแนะจากภาคส่วนต่างๆ แก่คณะผู้เจรจา ดังนี้
1.ต้องไม่ยอมรับเนื้อหาการเจรจาที่เกินไปกว่าข้อตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การการค้าโลก (ไม่ยอมรับทริปส์พลัส) โดยเฉพาะในประเด็น การขยายเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตร การผูกขาดข้อมูลทางยา มาตรการ ณ จุดผ่านแดน และไม่ยอมรับการแก้ไขกฎหมายระบบการคุ้มครองพันธุ์พืชที่ประเทศไทยใช้บังคับอยู่ ซึ่งเป็นไปตามความตกลงทริปส์และสอดคล้องกับอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ
2.ต้องไม่ใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการ ในการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชนในบทว่าด้วยการลงทุน ที่เกี่ยวกับการลงทุนสาธารณะ การออกนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์สาธารณะ การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองสุขภาพประชาชน การสาธารณูปโภคพื้นฐาน และความมั่นคง ดังเช่นที่ อุรุกวัย และออสเตรเลีย กำลังเผชิญการฟ้องร้องเพื่อล้มนโยบายการควบคุมยาสูบจากอุตสาหกรรมบุหรี่ ในประเทศไทยเองก็เคยได้รับบทเรียนต้องเสียค่าโง่ไปหลายกรณี เพราะใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการ
3.ต้องไม่เปิดเสรีการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ การทำนา ทำสวน ทำไร่ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การปลูกป่า การเพาะและขยายพันธุ์พืช ตลอดจนการลงทุนที่สร้างผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร
4.ต้องถอนสินค้าประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ ออกจากการเจรจาสินค้า เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่เป็นสินค้าสารเสพติดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสังคม มีผลทำลายต้นทุนของสังคมตั้งแต่ระดับบุคคล ครัวเรือน ไปจนถึงสังคมโดยรวม สินค้าเหล่านี้ไม่ควรอยู่ในรายการสินค้าที่ได้รับการยกเว้นหรือได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีใดๆทั้งสิ้น ข้ออ้างที่ว่าเราจะได้สิทธิพิเศษทางภาษีนั้น สมควรได้รับการตั้งข้อสงสัยหลายประการ เช่น เขาจะไม่ให้เราอยู่แล้วในอนาคตหรือไม่ ใครได้ประโยชน์ส่วนนี้ไปอย่างเป็นกอบเป็นกำ ความสูญเสียด้านสุขภาพและชีวิตผู้คนจะมีมูลค่ามหาศาลเพียงใด ผู้ที่ได้ประโยชน์จากข้อตกลงจะมีส่วนรับผิดชอบแก่ผู้เสียหายแค่ไหน ฯลฯ
เราหวังว่าคณะเจรจาไทยและสหภาพยุโรปจะยินดีรับข้อเสนอแนะและมีหัวใจที่มุ่งปกป้องสุขภาพคนไทยและสังคมไทย จากการเจรจาในครั้งนี้