นักวิชาการชี้เหตุตำรวจตั้งด่านถูกรถชน เกิดจากเมาแล้วขับ ตั้งด่านผิดหลัก เสนอปรับปรุงกฎหมายหลังพบคนทำผิดซ้ำได้รับโทษเบา เหตุฐานข้อมูลไม่เพียงพอ
นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน กล่าวว่า การเกิดอุบัติเหตุกับเจ้าหน้าที่ตำรวจระหว่างปฏิบัติงานที่ด่านตรวจ สาเหตุเกิดจากผู้ขับขี่ดื่มแล้วขับและการตั้งด่านที่ไม่ถูกหลัก ทำให้ไม่สามารถเบรกได้ทัน ทั้งนี้ การตั้งด่านตามวิธีสากลจะต้องมีสัญลักษณ์เตือนก่อนเข้าด่าน และตั้งด่านในลักษณะที่เห็นได้ชัด โดยใช้รถติดสัญญาณไฟเป็นด่านแรก มีเจ้าหน้าที่ยืนหลังจากนั้น พร้อมทั้งตั้งกรวยยางก่อนเข้าด่าน เพื่อให้รถชะลอความเร็วลง หากเป็นทางหลวงก็ต้องเพิ่มระยะกรวยให้ห่างจากเจ้าหน้าที่ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดกับเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะกลางคืนซึ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นจากผู้ขับขี่ที่ดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจะมีการตัดสินใจที่ช้าลงทำให้ไม่สามารถหยุดรถได้ทันเมื่อมีด่าน
นพ.ธนะพงศ์ กล่าวอีกว่า สำหรับกฎหมายห้ามดื่มแอลกอฮอล์ขณะขับขี่ ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2531 กำหนดปริมาณแอลกอฮอล์ไม่ให้เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์นั้น ปัจจุบันกฎหมายกำหนดให้ต้องส่งฟ้องศาลแขวงภายใน 48 ชั่วโมง ซึ่งปัจจุบันเงื่อนเวลาในการส่งฟ้องศาล ทำให้เจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถรวบรวมหลักฐานได้มากพอ ทำให้บางกรณีผู้ที่กระทำผิดซ้ำในข้อหาเดิมได้รับโทษเพียงขั้นต่ำเท่านั้น ซึ่งเกิดจากฐานข้อมูลที่ไม่เพียงพอ จึงควรมีการปรับปรุงในเรื่องฐานข้อมูลเพื่อนำไปสู่การลงโทษที่เหมาะสม ซึ่งในหลายประเทศจะมีกฎหมายกำหนดว่าการกระทำผิดฐานความผิดเดิมจะต้องมีการพักใบอนุญาต ระงับ หรือ ยกเลิกใบอนุญาตชั่วคราว และถาวร
“ปัจจุบันมีผู้ประสบอุบัติเหตุ เสียชีวิต และบาดเจ็บจากการดื่มแอลกอฮอล์ คิดเป็น 1 ใน 3 ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด โดยการดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุที่ทำให้การตัดสินใจช้าลง โดยพบว่าหากดื่มแอลกอฮอล์ 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ และขับรถด้วยความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะทำให้การตัดสินใจช้าลง 0.5 วินาที ทำให้ระยะเบรกใกล้ขึ้นประมาณ 10-20 เมตร หากดื่มแอลกอฮอล์ 80 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ แล้วขับขี่ด้วยความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะทำให้การตัดสินใจช้าลง 0.7-1 วินาที ทำให้ระยะเบรกใกล้ขึ้นประมาณ 35 เมตร และเมื่อดื่มมากขึ้นระยะการตัดสินใจจะช้าลงเรื่อยๆ และเพิ่มระยะการเบรกออกไป ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุ” นพ.ธนะพงศ์ กล่าว
นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน กล่าวว่า การเกิดอุบัติเหตุกับเจ้าหน้าที่ตำรวจระหว่างปฏิบัติงานที่ด่านตรวจ สาเหตุเกิดจากผู้ขับขี่ดื่มแล้วขับและการตั้งด่านที่ไม่ถูกหลัก ทำให้ไม่สามารถเบรกได้ทัน ทั้งนี้ การตั้งด่านตามวิธีสากลจะต้องมีสัญลักษณ์เตือนก่อนเข้าด่าน และตั้งด่านในลักษณะที่เห็นได้ชัด โดยใช้รถติดสัญญาณไฟเป็นด่านแรก มีเจ้าหน้าที่ยืนหลังจากนั้น พร้อมทั้งตั้งกรวยยางก่อนเข้าด่าน เพื่อให้รถชะลอความเร็วลง หากเป็นทางหลวงก็ต้องเพิ่มระยะกรวยให้ห่างจากเจ้าหน้าที่ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดกับเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะกลางคืนซึ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นจากผู้ขับขี่ที่ดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจะมีการตัดสินใจที่ช้าลงทำให้ไม่สามารถหยุดรถได้ทันเมื่อมีด่าน
นพ.ธนะพงศ์ กล่าวอีกว่า สำหรับกฎหมายห้ามดื่มแอลกอฮอล์ขณะขับขี่ ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2531 กำหนดปริมาณแอลกอฮอล์ไม่ให้เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์นั้น ปัจจุบันกฎหมายกำหนดให้ต้องส่งฟ้องศาลแขวงภายใน 48 ชั่วโมง ซึ่งปัจจุบันเงื่อนเวลาในการส่งฟ้องศาล ทำให้เจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถรวบรวมหลักฐานได้มากพอ ทำให้บางกรณีผู้ที่กระทำผิดซ้ำในข้อหาเดิมได้รับโทษเพียงขั้นต่ำเท่านั้น ซึ่งเกิดจากฐานข้อมูลที่ไม่เพียงพอ จึงควรมีการปรับปรุงในเรื่องฐานข้อมูลเพื่อนำไปสู่การลงโทษที่เหมาะสม ซึ่งในหลายประเทศจะมีกฎหมายกำหนดว่าการกระทำผิดฐานความผิดเดิมจะต้องมีการพักใบอนุญาต ระงับ หรือ ยกเลิกใบอนุญาตชั่วคราว และถาวร
“ปัจจุบันมีผู้ประสบอุบัติเหตุ เสียชีวิต และบาดเจ็บจากการดื่มแอลกอฮอล์ คิดเป็น 1 ใน 3 ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด โดยการดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุที่ทำให้การตัดสินใจช้าลง โดยพบว่าหากดื่มแอลกอฮอล์ 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ และขับรถด้วยความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะทำให้การตัดสินใจช้าลง 0.5 วินาที ทำให้ระยะเบรกใกล้ขึ้นประมาณ 10-20 เมตร หากดื่มแอลกอฮอล์ 80 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ แล้วขับขี่ด้วยความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะทำให้การตัดสินใจช้าลง 0.7-1 วินาที ทำให้ระยะเบรกใกล้ขึ้นประมาณ 35 เมตร และเมื่อดื่มมากขึ้นระยะการตัดสินใจจะช้าลงเรื่อยๆ และเพิ่มระยะการเบรกออกไป ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุ” นพ.ธนะพงศ์ กล่าว