เครือข่ายต้านน้ำเมา บุก ปภ.อ่านแถลงการณ์ประณามบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กอบโกยบนความสูญเสียท่ามกลางยอดอุบัติเหตุ เจ็บ-ตายของประชาชนช่วงสงกรานต์
วันนี้ (18 เม.ย.) ที่บริเวณด้านหน้ากรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เมื่อเวลา 11.30 น. นายชูวิทย์ จันทรส เลขานุการเครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ พร้อมด้วยเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ เครือข่ายเฝ้าระวังแอลกอฮอล์กรุงเทพฯ กว่า 50 คน รวมตัวกันอ่านแถลงการณ์ประมาณบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่โหมทำการตลาดท่ามกลางความสูญเสีย ทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในช่วงสงกรานต์
ทั้งนี้ได้มีการแสดงละครตีแผ่ เพื่อสะท้อนว่าทุกฝ่ายทำงานอย่างเต็มที่แต่มีฝ่ายน้ำเมาที่กอบโกยบนความสูเสีย ซากศพ และคราบน้ำตา จากนั้นได้วางดอกไม้ ธูปเทียนไว้อาลัยกับผู้ที่สูญเสีย และทวงถามสำนึกจากบริษัทน้ำเมา
นายชูวิทย์ กล่าวว่า ช่วงเวลา 4-5 ปี ที่ผ่านมา ตัวเลขความสูญเสีย จากอุบัติเหตุจราจรทางบก ทั้ง ปีใหม่และสงกรานต์ เริ่มอยู่ในภาวะที่ทรงตัวมีแนวโน้มไปทางเพิ่มขึ้น ปัจจัยหลักๆยังคงเป็น ดื่มแล้วขับ ซึ่งเป็นเหตุอันดับหนึ่งซ้ำซาก ขับรถเร็ว ยานพาหนะแห่งความสูญเสียยังเป็นจักรยานยนต์ ตามด้วยรถกระบะ ซึ่งตัวเลขความสูญเสีย ช่วง 7 วันอันตรายสงกรานต์ 2556 แม้จะพบว่าจำนวนครั้งของการเกิดอุบัติเหตุรวมถึงจำนวนผู้บาดเจ็บจะลดลง แต่จำนวนผู้ที่เสียชีวิตกลับเพิ่มขึ้น ซึ่งหมายความว่าความรุนแรงของอุบัติเหตุจราจรทางบก รุนแรงมากขึ้น ตายมากขึ้น โดยยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุยังคงเป็น จักรยานยนต์เช่นเคย รูปการณ์ของปัญหายังคงเดิมๆ วนเวียนซ้ำซาก คล้ายกับอาการดื้อยาของร่างกายมนุษย์
นายชูวิทย์ กล่าวว่า การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งดูเหมือนว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างระดมสรรพกำลังกันอย่างเต็มที่ คนจำนวนมากทั้งภาครัฐและองค์กรภาคประชาสังคมกำลังใช้ความพยายามอยู่กับภารกิจเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ แต่ธุรกิจน้ำเมากำลังทุ่มเทให้กับภารกิจด้านการตลาด วางกลยุทธ์ให้สินค้าของตัวเองขายให้ได้มากที่สุดในช่วงนี้ แน่นอนเม็ดเงินที่ได้ย่อมมีมูลค่ามหาศาล คุ้มกับความเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมาย มีฝ่ายหนึ่งกำลังนับเงินคำนวณรายได้ แต่อีกฝ่ายหนึ่งกำลังปกป้องคนเจ็บคนตาย และผู้ที่ได้รับผลกระทบ ทั้งสองภาพนี้ช่างเป็นมุมสะท้อนที่ตัดกันอย่างสิ้นเชิง จึงถึงเวลาที่คนทำงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ จะตั้งคำถามและทวงถามความรับผิดชอบ จากบรรดาผู้ผลิตและผู้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ทำการตลาดกันอย่างเต็มที่ ทั้งถูก หลีกเลี่ยง และผิดกฎหมายชัดๆ เจตนาจัดกิจกรรมการตลาดกับเยาวชน ซึ่งออกจากพื้นที่ควบคุมการดื่ม ดักขายที่ปลายทางออก มีกิจกรรมยั่วยุดึงดูด เช่น นุ่งน้อยห่มน้อย เต้นยั่วเย้า ให้เยาวชนไปซื้อดื่มก่อนเดินทางกลับบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่ใช้มอเตอร์ไซค์ จึงทำให้เยาวชนที่เป็นส่วนใหญ่ของสถิติ ต้องเสียชีวิตสูงสุดทุกปี ธุรกิจน้ำเมาจึงเปรียบเสมือนฆาตกรต่อเนื่อง ฆ่าคนไทยมายาวนาน แต่ไม่มีความผิดใดๆ หรือเรียกได้ว่าธุรกิจนี้กอบโกยบนความสูญเสียของเพื่อนมนุษย์ได้อย่างเลือดเย็น
นายชูวิทย์ กล่าวว่า เครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ และองค์กรพันธมิตร จึงขอประณามธุรกิจน้ำเมา ที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อชีวิตและทรัพย์สินของคนไทยส่วนใหญ่ เห็นแต่ประโยชน์ทางธุรกิจของตนเอง ไม่มีสำนึกแม้แต่น้อยว่า ชีวิตคนไทยจำนวนมากที่เสียไป พิการ ปัญหาสังคมที่ตามมาอีกมากมาย มีความสำคัญ มีค่าน้อยกว่าเงินและผลประโยชน์ที่ตนเองกอบโกยได้ ขอเรียกร้องให้ธุรกิจน้ำเมาเคารพ และหยุดละเมิดกฎหมายทุกรูปแบบ หยุดทำการค้าโดยไม่คำนึงถึงชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยเฉพาะในช่วงที่มีความเสี่ยงมากอยู่แล้ว เช่น ในวันหยุดยาว มีเยาวชนเป็นเป้าหมายทางการตลาด ฯลฯ และขอเรียกร้องให้กระทรวงมหาดไทยเร่งตรวจสอบและดำเนินการกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางราย ที่ร่วมกับบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จัดกิจกรรมให้มีการขายและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ห้ามตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551โดยไม่สนใจต่อคำสั่งใดๆของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งข้อมูลทั้งหมดอยู่ระหว่างการรวบรวบพยานหลักฐานของสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อสร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้องดีงามต่อไป
วันนี้ (18 เม.ย.) ที่บริเวณด้านหน้ากรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เมื่อเวลา 11.30 น. นายชูวิทย์ จันทรส เลขานุการเครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ พร้อมด้วยเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ เครือข่ายเฝ้าระวังแอลกอฮอล์กรุงเทพฯ กว่า 50 คน รวมตัวกันอ่านแถลงการณ์ประมาณบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่โหมทำการตลาดท่ามกลางความสูญเสีย ทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในช่วงสงกรานต์
ทั้งนี้ได้มีการแสดงละครตีแผ่ เพื่อสะท้อนว่าทุกฝ่ายทำงานอย่างเต็มที่แต่มีฝ่ายน้ำเมาที่กอบโกยบนความสูเสีย ซากศพ และคราบน้ำตา จากนั้นได้วางดอกไม้ ธูปเทียนไว้อาลัยกับผู้ที่สูญเสีย และทวงถามสำนึกจากบริษัทน้ำเมา
นายชูวิทย์ กล่าวว่า ช่วงเวลา 4-5 ปี ที่ผ่านมา ตัวเลขความสูญเสีย จากอุบัติเหตุจราจรทางบก ทั้ง ปีใหม่และสงกรานต์ เริ่มอยู่ในภาวะที่ทรงตัวมีแนวโน้มไปทางเพิ่มขึ้น ปัจจัยหลักๆยังคงเป็น ดื่มแล้วขับ ซึ่งเป็นเหตุอันดับหนึ่งซ้ำซาก ขับรถเร็ว ยานพาหนะแห่งความสูญเสียยังเป็นจักรยานยนต์ ตามด้วยรถกระบะ ซึ่งตัวเลขความสูญเสีย ช่วง 7 วันอันตรายสงกรานต์ 2556 แม้จะพบว่าจำนวนครั้งของการเกิดอุบัติเหตุรวมถึงจำนวนผู้บาดเจ็บจะลดลง แต่จำนวนผู้ที่เสียชีวิตกลับเพิ่มขึ้น ซึ่งหมายความว่าความรุนแรงของอุบัติเหตุจราจรทางบก รุนแรงมากขึ้น ตายมากขึ้น โดยยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุยังคงเป็น จักรยานยนต์เช่นเคย รูปการณ์ของปัญหายังคงเดิมๆ วนเวียนซ้ำซาก คล้ายกับอาการดื้อยาของร่างกายมนุษย์
นายชูวิทย์ กล่าวว่า การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งดูเหมือนว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างระดมสรรพกำลังกันอย่างเต็มที่ คนจำนวนมากทั้งภาครัฐและองค์กรภาคประชาสังคมกำลังใช้ความพยายามอยู่กับภารกิจเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ แต่ธุรกิจน้ำเมากำลังทุ่มเทให้กับภารกิจด้านการตลาด วางกลยุทธ์ให้สินค้าของตัวเองขายให้ได้มากที่สุดในช่วงนี้ แน่นอนเม็ดเงินที่ได้ย่อมมีมูลค่ามหาศาล คุ้มกับความเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมาย มีฝ่ายหนึ่งกำลังนับเงินคำนวณรายได้ แต่อีกฝ่ายหนึ่งกำลังปกป้องคนเจ็บคนตาย และผู้ที่ได้รับผลกระทบ ทั้งสองภาพนี้ช่างเป็นมุมสะท้อนที่ตัดกันอย่างสิ้นเชิง จึงถึงเวลาที่คนทำงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ จะตั้งคำถามและทวงถามความรับผิดชอบ จากบรรดาผู้ผลิตและผู้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ทำการตลาดกันอย่างเต็มที่ ทั้งถูก หลีกเลี่ยง และผิดกฎหมายชัดๆ เจตนาจัดกิจกรรมการตลาดกับเยาวชน ซึ่งออกจากพื้นที่ควบคุมการดื่ม ดักขายที่ปลายทางออก มีกิจกรรมยั่วยุดึงดูด เช่น นุ่งน้อยห่มน้อย เต้นยั่วเย้า ให้เยาวชนไปซื้อดื่มก่อนเดินทางกลับบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่ใช้มอเตอร์ไซค์ จึงทำให้เยาวชนที่เป็นส่วนใหญ่ของสถิติ ต้องเสียชีวิตสูงสุดทุกปี ธุรกิจน้ำเมาจึงเปรียบเสมือนฆาตกรต่อเนื่อง ฆ่าคนไทยมายาวนาน แต่ไม่มีความผิดใดๆ หรือเรียกได้ว่าธุรกิจนี้กอบโกยบนความสูญเสียของเพื่อนมนุษย์ได้อย่างเลือดเย็น
นายชูวิทย์ กล่าวว่า เครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ และองค์กรพันธมิตร จึงขอประณามธุรกิจน้ำเมา ที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อชีวิตและทรัพย์สินของคนไทยส่วนใหญ่ เห็นแต่ประโยชน์ทางธุรกิจของตนเอง ไม่มีสำนึกแม้แต่น้อยว่า ชีวิตคนไทยจำนวนมากที่เสียไป พิการ ปัญหาสังคมที่ตามมาอีกมากมาย มีความสำคัญ มีค่าน้อยกว่าเงินและผลประโยชน์ที่ตนเองกอบโกยได้ ขอเรียกร้องให้ธุรกิจน้ำเมาเคารพ และหยุดละเมิดกฎหมายทุกรูปแบบ หยุดทำการค้าโดยไม่คำนึงถึงชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยเฉพาะในช่วงที่มีความเสี่ยงมากอยู่แล้ว เช่น ในวันหยุดยาว มีเยาวชนเป็นเป้าหมายทางการตลาด ฯลฯ และขอเรียกร้องให้กระทรวงมหาดไทยเร่งตรวจสอบและดำเนินการกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางราย ที่ร่วมกับบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จัดกิจกรรมให้มีการขายและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ห้ามตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551โดยไม่สนใจต่อคำสั่งใดๆของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งข้อมูลทั้งหมดอยู่ระหว่างการรวบรวบพยานหลักฐานของสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อสร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้องดีงามต่อไป