อธิบดีกรมสุขภาพจิต ยันอาชีพหมอไม่เอื้อการเป็นฆาตกร ชี้ไม่มีหลักฐานรองรับ เผยคนเป็นฆาตกรอยู่ที่ปัจจัยมากกว่าอาชีพ ส่วนที่เห็นหมอเป็นฆาตกรตามข่าวบ่อย เพราะสังคมสนใจและคาดหวังว่าหมอต้องเป็นผู้ช่วยชีวิตคนอื่นมากกว่าทำลาย
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีแพทย์เข้าไปเกี่ยวข้องกับความรุนแรงในสังคม จนเกิดคำถามว่าวิชาชีพนี้มีแนวโน้มสร้างความรุนแรงจนกระทั่งเป็นฆาตกรมากกว่าอาชีพอื่นหรือไม่ ว่า แนวโน้มการเป็นฆาตกรขึ้นอยู่กับปัจจัยไม่ใช่อาชีพ ซึ่งจากหลักฐานทางวิชาการไม่พบว่าแพทย์มีแนวโน้มเป็นฆาตกรมากกว่าอาชีพอื่น ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้เป็นฆาตกรมาจากปัจจัยภายนอก คือ โอกาสและสถานการณ์ต่างๆ ที่เอื้อต่อการลงมือ ส่วนปัจจัยภายในคือภายในจิตใจของบุคคล ซึ่งมีสาเหตุมาจากแรงจูงใจ หรือแรงผลักดันภายใน ทั้งในระดับจิตสำนึกคือรู้ตัว ต้องการ หรือจิตใต้สำนึก คือไม่ตั้งใจแต่มีความต้องการอยู่ภายในที่อาจจะไม่รู้
นพ.วชิระ กล่าวอีกว่า สำหรับฆาตกรแบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1.ฆาตกรต่อเนื่อง (Serial Killer) ซึ่งฆ่าเพราะอยากฆ่า ไม่ได้มีความโกรธแค้น มีพื้นฐานมาจากบุคลิกภาพคือคนที่ทำความผิด และ 2.ฆาตรกรตามปกติ อาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ อาทิ ความโกรธแค้นส่วนตัว และความพลั้งเผลอ อย่างไรก็ตาม กรณีฆาตรกรต่อเนื่องพบว่า ในต่างประเทศมีการถกเถียงกันว่า บุคลากรทางการแพทย์ เช่น แพทย์ หรือ พยาบาล นั้นมีแนวโน้มที่จะเป็นฆาตรกรต่อเนื่องเพิ่มขึ้นกว่าคนทั่วไปหรือไม่ กลุ่มที่สนับสนุนเชื่อว่า เพราะบุคลากรทางการแพทย์เกี่ยวข้องอยู่กับการเจ็บป่วยและความตายตลอด อาจเห็นเรื่องการตายเป็นเรื่องธรรมดา จึงมีโอกาสสูงกว่าบุคคลทั่วไปในการที่จะทำให้คนเสียชีวิตอย่างต่อเนื่องได้ แต่กลุ่มที่คัดค้านยังเชื่อว่า บุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นฆาตรกรนั้นน่าจะต้องมีปัญหาจากจิตเวชร่วมด้วย
"ฆาตกรต่อเนื่องบุคลิกภาพพื้นฐานมักเป็นพวกต่อต้านสังคม คือ บกพร่องเรื่องคุณธรรม ไม่ค่อยเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น ไม่รู้ว่าทำแบบนี้จะไปทำให้ใครเศร้าโศกเสียใจ ขณะที่บางรายบุคลิกภาพดีแต่เสพยา ก็จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้ทำความผิดได้ ส่วนบุคลากรทางการแพทย์นั้นเจ็บป่วยทางจิต มีอาการวิกลจริต มีความผิดปกติทางความคิด หวาดระแวง หรือการรับรู้ เช่น ได้ยินเสียงแว่ว เห็นภาพหลอน สำหรับข้อสงสัยที่ว่า ทำไมหมอเป็นฆาตรกรกันบ่อย จริงๆไม่ได้บ่อย แต่หมอเป็นอาชีพที่สังคมให้ความคาดหวังว่าต้องช่วยชีวิตคน แต่เมื่อมาฆ่าคนตายเสียเอง จึงเป็นที่สนใจจากสังคมเป็นพิเศษ" อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว
นพ.วชิระ กล่าวอีกว่า สำหรับประเทศไทยมีแพทย์ไม่ถึง 10 คน ในช่วงมากกว่าสิบปีที่ผ่านมาที่เป็นฆาตรกร สรุปคือ การฆ่ากันด้วยสาเหตุต่างๆ นั้นมีได้ในทุกอาชีพไม่จำเป็นต้องเป็นหมอ แต่สังคมอาจจะคาดหวังว่าหมอต้องมีวิจารณญาณที่ดี มีคุณธรรมที่ดี และมีสมองที่ดี จึงทำให้มีมุมมองจากคนภายนอกว่า ด้วยความฉลาดของหมอ จึงอาจจะทำให้หมอก็มีวิธีการฆ่าแบบอำพรางคดีได้ดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับคนทั่วไป ซึ่งก็เป็นเพียงความเชื่อเท่านั้น อยากให้สังคมขบคิดถึงมูลเหตุแรงจูงใจ พฤติกรรมของแต่ละบุคคลมากกว่า และพิจารณาให้ถ้วนถี่ ไม่ให้กระแสจากสื่อที่อาจจะมีผลตัดสินแพทย์ว่าเป็นฆาตกร ทั้งๆที่อาจจะยังเป็นเพียงผู้ต้องหาในคดีฆาตรกรรมเท่านั้น
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีแพทย์เข้าไปเกี่ยวข้องกับความรุนแรงในสังคม จนเกิดคำถามว่าวิชาชีพนี้มีแนวโน้มสร้างความรุนแรงจนกระทั่งเป็นฆาตกรมากกว่าอาชีพอื่นหรือไม่ ว่า แนวโน้มการเป็นฆาตกรขึ้นอยู่กับปัจจัยไม่ใช่อาชีพ ซึ่งจากหลักฐานทางวิชาการไม่พบว่าแพทย์มีแนวโน้มเป็นฆาตกรมากกว่าอาชีพอื่น ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้เป็นฆาตกรมาจากปัจจัยภายนอก คือ โอกาสและสถานการณ์ต่างๆ ที่เอื้อต่อการลงมือ ส่วนปัจจัยภายในคือภายในจิตใจของบุคคล ซึ่งมีสาเหตุมาจากแรงจูงใจ หรือแรงผลักดันภายใน ทั้งในระดับจิตสำนึกคือรู้ตัว ต้องการ หรือจิตใต้สำนึก คือไม่ตั้งใจแต่มีความต้องการอยู่ภายในที่อาจจะไม่รู้
นพ.วชิระ กล่าวอีกว่า สำหรับฆาตกรแบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1.ฆาตกรต่อเนื่อง (Serial Killer) ซึ่งฆ่าเพราะอยากฆ่า ไม่ได้มีความโกรธแค้น มีพื้นฐานมาจากบุคลิกภาพคือคนที่ทำความผิด และ 2.ฆาตรกรตามปกติ อาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ อาทิ ความโกรธแค้นส่วนตัว และความพลั้งเผลอ อย่างไรก็ตาม กรณีฆาตรกรต่อเนื่องพบว่า ในต่างประเทศมีการถกเถียงกันว่า บุคลากรทางการแพทย์ เช่น แพทย์ หรือ พยาบาล นั้นมีแนวโน้มที่จะเป็นฆาตรกรต่อเนื่องเพิ่มขึ้นกว่าคนทั่วไปหรือไม่ กลุ่มที่สนับสนุนเชื่อว่า เพราะบุคลากรทางการแพทย์เกี่ยวข้องอยู่กับการเจ็บป่วยและความตายตลอด อาจเห็นเรื่องการตายเป็นเรื่องธรรมดา จึงมีโอกาสสูงกว่าบุคคลทั่วไปในการที่จะทำให้คนเสียชีวิตอย่างต่อเนื่องได้ แต่กลุ่มที่คัดค้านยังเชื่อว่า บุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นฆาตรกรนั้นน่าจะต้องมีปัญหาจากจิตเวชร่วมด้วย
"ฆาตกรต่อเนื่องบุคลิกภาพพื้นฐานมักเป็นพวกต่อต้านสังคม คือ บกพร่องเรื่องคุณธรรม ไม่ค่อยเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น ไม่รู้ว่าทำแบบนี้จะไปทำให้ใครเศร้าโศกเสียใจ ขณะที่บางรายบุคลิกภาพดีแต่เสพยา ก็จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้ทำความผิดได้ ส่วนบุคลากรทางการแพทย์นั้นเจ็บป่วยทางจิต มีอาการวิกลจริต มีความผิดปกติทางความคิด หวาดระแวง หรือการรับรู้ เช่น ได้ยินเสียงแว่ว เห็นภาพหลอน สำหรับข้อสงสัยที่ว่า ทำไมหมอเป็นฆาตรกรกันบ่อย จริงๆไม่ได้บ่อย แต่หมอเป็นอาชีพที่สังคมให้ความคาดหวังว่าต้องช่วยชีวิตคน แต่เมื่อมาฆ่าคนตายเสียเอง จึงเป็นที่สนใจจากสังคมเป็นพิเศษ" อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว
นพ.วชิระ กล่าวอีกว่า สำหรับประเทศไทยมีแพทย์ไม่ถึง 10 คน ในช่วงมากกว่าสิบปีที่ผ่านมาที่เป็นฆาตรกร สรุปคือ การฆ่ากันด้วยสาเหตุต่างๆ นั้นมีได้ในทุกอาชีพไม่จำเป็นต้องเป็นหมอ แต่สังคมอาจจะคาดหวังว่าหมอต้องมีวิจารณญาณที่ดี มีคุณธรรมที่ดี และมีสมองที่ดี จึงทำให้มีมุมมองจากคนภายนอกว่า ด้วยความฉลาดของหมอ จึงอาจจะทำให้หมอก็มีวิธีการฆ่าแบบอำพรางคดีได้ดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับคนทั่วไป ซึ่งก็เป็นเพียงความเชื่อเท่านั้น อยากให้สังคมขบคิดถึงมูลเหตุแรงจูงใจ พฤติกรรมของแต่ละบุคคลมากกว่า และพิจารณาให้ถ้วนถี่ ไม่ให้กระแสจากสื่อที่อาจจะมีผลตัดสินแพทย์ว่าเป็นฆาตกร ทั้งๆที่อาจจะยังเป็นเพียงผู้ต้องหาในคดีฆาตรกรรมเท่านั้น