“ชินภัทร” ไม่มีความเห็น กรณีถูกเสนอตั้ง กก.สอบวินัยร้ายแรง เปรยองค์กรขนาดใหญ่มีการกระจายอำนาจต้องดูความรับผิดชอบอย่าเหมารวม ยันทำงานราชการด้วยความมุ่งมั่นการตัดสินขึ้นอยู่กับผู้มีหน้าที่ พร้อมประชุมทางไกลกำชับ คกก.ติดตามการจัดสอบครูผู้ช่วย หวั่นซ้ำรอยเดิม เตรียมเสนอบอร์ด ก.ค.ศ.พิจารณากรณีสมัครสอบซ้ำ 2 ที่ แต่หลักเกณฑ์ให้สมัครเพียงที่เดียว
วันนี้ (20 พ.ค.) นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการติดตามสถานการณ์เพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ประจำปี 2556 ซึ่งจะมีขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายนนี้ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ว่า วันนี้ได้ประชุมเพื่อเตรียมการและซักซ้อมทำความเข้าใจในการดำเนินการติดตามการจัดสอบครูผู้ช่วย ซึ่ง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้น 3 ส่วนดูแลการจัดสอบ ประกอบด้วย 1.คณะกรรมการอำนวยการกลาง มีนายอนันต์ ระงับทุกข์ รองเลขาธิการ กพฐ.เป็นประธาน ทำหน้าที่กำหนดนโยบายแนวทางและรับรายงานจากเขตพื้นที่การศึกษาที่รับผิดชอบในการติดตามสถานการณ์ 2.คณะกรรมการประจำศูนย์ปฏิบัติการการสอบแข่งขันที่อยู่ในส่วนกลาง มี นายพิธาน พื้นฐาน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติกร (สพร.) เป็นประธาน มีหน้าที่ประสานงานเขตพื้นที่ฯ รวบรวมข้อมูลและรายงานต่อคณะกรรมการอำนวยการฯ และ3.คณะกรรมการติดตามสถานการณ์การสอบแข่งขันครูผู้ช่วย มีทั้งสิ้น 79 คณะ โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ไม่ได้จัดสอบแข่งขัน ซึ่งองค์ประกอบของชุดนี้จะประกอบด้วย ผอ.เขตพื้นที่ เป็นประธาน เจ้าหน้าที่ส่วนกลาง สพฐ.2 คนเป็นกรรมการ และเลขานุการของกรรมการให้พิจารณามอบ รอง ผอ.เขตพื้นที่ หรือนิติกรทำหน้าที่ ซึ่งหน้าที่สำคัญของทั้ง 79 คณะจะต้องดูความเคลื่อนไหวการจัดสอบ ความพร้อมว่าเขตพื้นที่จัดสอบมีการวางมาตรการจัดสอบที่รัดกุมหรือไม่
“คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นหูเป็นตา รายงานความเคลื่อนไหวและสิ่งผิดปกติในการจัดสอบให้ สพฐ.รับทราบ ซึ่งเราไม่ได้จับผิดเขตพื้นที่ฯ แต่เจตนาต้องการช่วยเขตพื้นที่ฯ ซึ่งจัดสอบแข่งขันสามารถดำเนินการได้เรียบร้อยเพื่อ ช่วยกันนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ดึงความเชื่อมั่นกลับคืนมา” นายชินภัทร กล่าวและว่า ในวันพุธที่ 22 พ.ค.นี้ ตนจะประชุมร่วมกับ ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาที่มีการจัดสอบครูผู้ช่วยเพื่อติดตามความคืบหน้า ผลการทาบทามมหาวิทยาลัยที่จะทำหน้าที่ออกข้อสอบ จัดส่งข้อสอบ ตรวจกระดาษคำตอบ และประมวลผลการสอบจะได้ทราบรายงานล่าสุดและดูว่าเขตใดมีปัญหาหรือไม่
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ก็ได้เน้นย้ำถึงหลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้ง บุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ประจำปี 2556 ที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กำหนดขึ้นโดยเฉพาะข้อที่ 7 ที่ให้ผู้สมัครสอบสมัครได้เพียงแห่งเดียวเท่านั้นหากสมัครเกินจะตัดสิทธิ์การสอบ ซึ่งตรงนี้เขตพื้นที่ฯแต่ละแห่งจะไม่สามารถตรวจสอบข้ามเขตได้ เพราะฉะนั้น สพฐ.จะมีคณะกรรมการขึ้นมาทำการตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ และเลขประจำตัว 13 หลักหากพบมีการสมัครซ้ำจะแจ้งให้เขตพื้นที่ฯ ทราบ และดำเนินการตามอำนาจต่อไป อย่างไรก็ตาม หากเกิดกรณีที่มีความจำเป็นต้องตีความ สพฐ.คงไม่สามารถให้คำตอบหรือคำแนะนำใดได้ แต่ในข้อ 22 ของหลักเกณฑ์ดังกล่าวกำหนดชัดเจนว่าให้นำหารือในที่ประชุม ก.ค.ศ.เพราะฉะนั้น ขณะนี้มีเกิดกรณีพบว่ามีผู้สมัครสอบบางรายสมัครซ้ำ 2 ที่ และอยากจะถอนชื่อออกเพื่อไม่ให้โดนตัดสิทธิ์การสอบนั้น สพฐ.จะนำเรื่องดังกล่าวหารือต่อที่ประชุม ก.ค.ศ.ต่อไป
เมื่อถามถึงกรณีที่คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงการทุจริตสอบครูผู้ช่วย ที่มีนางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอให้ตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรงผู้บริหาร สพฐ.4 ราย ได้แก่ นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการ กพฐ. นายอนันต์ ระงับทุกข์ รองเลขาธิการ กพฐ. นายไกร เกษทัน อดีต ผอ.สพร. นายสุเทพ ชิตยวงษ์ อดีตผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ.ในข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ทำให้ราชการเสียหายร้ายแรง นั้น นายชินภัทร กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า ไม่มีความเห็นเรื่องนี้
“ชีวิตข้าราชการคงบอกได้แค่ว่าเราทำหน้าที่ของเราให้เต็มที่ หน่วยงานที่มีขนาดใหญ่แบบ สพฐ.การทำงานในจุดที่มีคนจำนวนมาก สายการบังคับบัญชากว้างและมีจุดที่มีความเสี่ยงทุกๆ เรืองที่ เพราะฉะนั้นเมื่อมีความผิดพลาด ปัญหาเกิดขึ้นธรรมดาหน่วยงานขนาดใหญ่จะจุดผิดพลาดเกิดขึ้น แต่ในองค์กรขนาดใหญ่ที่เน้นการกระจายอำนาจส่วนนี้คงต้องพิจารณาด้วยถึงความรับผิดชอบต่างๆ หากจะเป็นการเหมารวมทุกเรื่อง ผมเชื่ออนาคตคนจะมาบริหารองค์กรขนาดใหญ่จะหนักใจเป็นธรรมดา ผมเองทำงานมาตลอดระยะเวลาที่รับราชการก็มุ่งมั่นในหน้าที่ ส่วนที่จะมีการพิจารณาอย่างไรอยู่ที่ผู้มีความรับผิดชอบในการพิจารณาตัดสิน” นายชินภัทร กล่าว
วันนี้ (20 พ.ค.) นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการติดตามสถานการณ์เพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ประจำปี 2556 ซึ่งจะมีขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายนนี้ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ว่า วันนี้ได้ประชุมเพื่อเตรียมการและซักซ้อมทำความเข้าใจในการดำเนินการติดตามการจัดสอบครูผู้ช่วย ซึ่ง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้น 3 ส่วนดูแลการจัดสอบ ประกอบด้วย 1.คณะกรรมการอำนวยการกลาง มีนายอนันต์ ระงับทุกข์ รองเลขาธิการ กพฐ.เป็นประธาน ทำหน้าที่กำหนดนโยบายแนวทางและรับรายงานจากเขตพื้นที่การศึกษาที่รับผิดชอบในการติดตามสถานการณ์ 2.คณะกรรมการประจำศูนย์ปฏิบัติการการสอบแข่งขันที่อยู่ในส่วนกลาง มี นายพิธาน พื้นฐาน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติกร (สพร.) เป็นประธาน มีหน้าที่ประสานงานเขตพื้นที่ฯ รวบรวมข้อมูลและรายงานต่อคณะกรรมการอำนวยการฯ และ3.คณะกรรมการติดตามสถานการณ์การสอบแข่งขันครูผู้ช่วย มีทั้งสิ้น 79 คณะ โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ไม่ได้จัดสอบแข่งขัน ซึ่งองค์ประกอบของชุดนี้จะประกอบด้วย ผอ.เขตพื้นที่ เป็นประธาน เจ้าหน้าที่ส่วนกลาง สพฐ.2 คนเป็นกรรมการ และเลขานุการของกรรมการให้พิจารณามอบ รอง ผอ.เขตพื้นที่ หรือนิติกรทำหน้าที่ ซึ่งหน้าที่สำคัญของทั้ง 79 คณะจะต้องดูความเคลื่อนไหวการจัดสอบ ความพร้อมว่าเขตพื้นที่จัดสอบมีการวางมาตรการจัดสอบที่รัดกุมหรือไม่
“คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นหูเป็นตา รายงานความเคลื่อนไหวและสิ่งผิดปกติในการจัดสอบให้ สพฐ.รับทราบ ซึ่งเราไม่ได้จับผิดเขตพื้นที่ฯ แต่เจตนาต้องการช่วยเขตพื้นที่ฯ ซึ่งจัดสอบแข่งขันสามารถดำเนินการได้เรียบร้อยเพื่อ ช่วยกันนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ดึงความเชื่อมั่นกลับคืนมา” นายชินภัทร กล่าวและว่า ในวันพุธที่ 22 พ.ค.นี้ ตนจะประชุมร่วมกับ ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาที่มีการจัดสอบครูผู้ช่วยเพื่อติดตามความคืบหน้า ผลการทาบทามมหาวิทยาลัยที่จะทำหน้าที่ออกข้อสอบ จัดส่งข้อสอบ ตรวจกระดาษคำตอบ และประมวลผลการสอบจะได้ทราบรายงานล่าสุดและดูว่าเขตใดมีปัญหาหรือไม่
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ก็ได้เน้นย้ำถึงหลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้ง บุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ประจำปี 2556 ที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กำหนดขึ้นโดยเฉพาะข้อที่ 7 ที่ให้ผู้สมัครสอบสมัครได้เพียงแห่งเดียวเท่านั้นหากสมัครเกินจะตัดสิทธิ์การสอบ ซึ่งตรงนี้เขตพื้นที่ฯแต่ละแห่งจะไม่สามารถตรวจสอบข้ามเขตได้ เพราะฉะนั้น สพฐ.จะมีคณะกรรมการขึ้นมาทำการตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ และเลขประจำตัว 13 หลักหากพบมีการสมัครซ้ำจะแจ้งให้เขตพื้นที่ฯ ทราบ และดำเนินการตามอำนาจต่อไป อย่างไรก็ตาม หากเกิดกรณีที่มีความจำเป็นต้องตีความ สพฐ.คงไม่สามารถให้คำตอบหรือคำแนะนำใดได้ แต่ในข้อ 22 ของหลักเกณฑ์ดังกล่าวกำหนดชัดเจนว่าให้นำหารือในที่ประชุม ก.ค.ศ.เพราะฉะนั้น ขณะนี้มีเกิดกรณีพบว่ามีผู้สมัครสอบบางรายสมัครซ้ำ 2 ที่ และอยากจะถอนชื่อออกเพื่อไม่ให้โดนตัดสิทธิ์การสอบนั้น สพฐ.จะนำเรื่องดังกล่าวหารือต่อที่ประชุม ก.ค.ศ.ต่อไป
เมื่อถามถึงกรณีที่คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงการทุจริตสอบครูผู้ช่วย ที่มีนางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอให้ตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรงผู้บริหาร สพฐ.4 ราย ได้แก่ นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการ กพฐ. นายอนันต์ ระงับทุกข์ รองเลขาธิการ กพฐ. นายไกร เกษทัน อดีต ผอ.สพร. นายสุเทพ ชิตยวงษ์ อดีตผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ.ในข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ทำให้ราชการเสียหายร้ายแรง นั้น นายชินภัทร กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า ไม่มีความเห็นเรื่องนี้
“ชีวิตข้าราชการคงบอกได้แค่ว่าเราทำหน้าที่ของเราให้เต็มที่ หน่วยงานที่มีขนาดใหญ่แบบ สพฐ.การทำงานในจุดที่มีคนจำนวนมาก สายการบังคับบัญชากว้างและมีจุดที่มีความเสี่ยงทุกๆ เรืองที่ เพราะฉะนั้นเมื่อมีความผิดพลาด ปัญหาเกิดขึ้นธรรมดาหน่วยงานขนาดใหญ่จะจุดผิดพลาดเกิดขึ้น แต่ในองค์กรขนาดใหญ่ที่เน้นการกระจายอำนาจส่วนนี้คงต้องพิจารณาด้วยถึงความรับผิดชอบต่างๆ หากจะเป็นการเหมารวมทุกเรื่อง ผมเชื่ออนาคตคนจะมาบริหารองค์กรขนาดใหญ่จะหนักใจเป็นธรรมดา ผมเองทำงานมาตลอดระยะเวลาที่รับราชการก็มุ่งมั่นในหน้าที่ ส่วนที่จะมีการพิจารณาอย่างไรอยู่ที่ผู้มีความรับผิดชอบในการพิจารณาตัดสิน” นายชินภัทร กล่าว