ศธ.จับมือเครือข่ายเฝ้าระวังเหตุเด็กทะเลาะวิวาท พร้อมปล่อยคาราวานรถปลอดภัยดูแล 28 จุดเสี่ยง รอบกรุงเทพและปริมณฑล “พงศ์เทพ” ย้ำต้องไม่ปล่อยให้การวิวาทเป็นเรื่องธรรมดาของสังคมไทย
วันนี้ (16 พ.ค.) เมื่อเวลา 13.30 น. ที่อาคารศูนย์เสมารักษ์ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีปล่อยขบวนรถยนต์ปฎิบัติการศูนย์เสมารักษ์ ในโครงการ “ไปเรียนปลอดภัย” ของสำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน พร้อมกล่าวว่า จากข้อมูลและสถิติของสำนักงานลูกเสือและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียนพบว่า จะมีการก่อเหตุบ่อยครั้งในช่วงเปิดภาคเรียนและช่วงเวลาก่อนและหลังเลิกเรียน เป็นอันตรายต่อการเดินทางไปกลับโรงเรียนของนักเรียน นักศึกษาทั่วไป เพราะฉะนั้น ศธ.จะได้จัดโครงการดังกล่าวขึ้นเพื่อประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้ง กระทรวงศึกษาธิการ สถานีตำรวจนครบาล องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และศูนยเสมารักษ์ เพื่อเฝ่าระวังจุดเสี่ยง 28 จุด ใน 5 โซนครอบคลุม กทม.และปริมณฑล รวมถึงจะมีการจัดหน่วยเครือข่ายเคลื่อนที่เร็ว เพื่อเข้าระงับเหตุเมื่อมีการก่อเหตุทะเลาะวิวาทด้วย
“ เรื่องความปลอดภัยเด็กเป็นเรื่องที่ผู้ปกครองให้ความสำคัญ เพราะไม่มีใครอยากเห็นบุตรหลานของตนเองบาดเจ็บหรือเกิดอุบัติเหตุ ที่ผ่านมามีเหตุการณ์เกิดขึ้นจากความขัดแย้งของนักศึกษา ซึ่งถึงแม้เป็นกลุ่มน้อยแต่ทำให้เกิดผลกระทบไปถึงผู้บริสุทธิ์จำนวนมาก จึงไม่อยากเห็นเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก เพราะทำให้สถาบันเสียชื่อเสียงไปด้วย ดังนั้นทุกฝ่ายจะต้องมาร่วมมือกันป้องกันและเฝ้าระวังเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ทะเลาะวิวาทของเด็กกลายเป็นเรื่องปกติของสังคมไทย” นายพงศ์เทพ กล่าว
ด้านนายศุภกรณ์ วงศ์ปราชญ์ รองปลัด ศธ.กล่าวว่า จากข้อมูลสถิติของสำนักลูกเสือฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่า ปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนนักศึกษาส่วนใหญ่จะเป็นระดับอาชีวศึกษา และช่วงเวลาก่อเหตุจะอยู่ในช่วงเปิดภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษา ก่อนเข้าโรงเรียนและเวลาหลังเลิกเรียนไปจนถึงเวลา 20.30 น.โดยเฉพาะจุดเสี่ยงที่เกิดเหตุ ได้แก่ ป้ายรถประจำทาง ห้างสรรพสินค้า และบริเวณหน้าสถานศึกษา จึงมีการดำเนินโครงการจัดทำแผนปฎิบัติงานแบ่งพื้นที่ออกเป็น5 โซน พร้อมกำหนดจุดเสี่ยงสำคัญเพื่อเฝ้าระวังตั้งแต่วันที่ 16 พ.ค.-20 มิ.ย.ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
สำหรับจุดเสี่ยงในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 28 แห่ง ได้แก่ 1.หน้าห้างสรรพสินค้าพาต้าปิ่นเกล้า 2.แยกสวนมิกสักวัน 3.สี่แยกปทุมวัน 4.ป้ายรถประจำทางวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม 5.ป้ายรถประจำทางหน้าโรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม 6.ตลอดบางแค 7.ป้ายรถประจำทางหน้าวิทยาลัยวิบูลบริหารธุรกิจสี่แยกท่าพระ 8.ตลาดอ้อมน้อยสี่แยกพุทธมนฑลสาย5 9.วงแหวนเอกชัย-บางบอน 10.สามแยกราษฎร์บูรณะ มหาวิทยาลัยราชมงคลธนบุรี 11.ตลาดมีนบุรี 12.ตลาดหนอกจอก 13.ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ ถนนรามอินทรา 14.ซอยมิสทีน ถนนสุขาภิบาล 3 15.ศูนย์การค้าเดอะมอลล์บางกะปิ 16.ป้ายรถประจำทางหน้าวัดดอนเมือง 17.สถานีรถไฟดอนเมือง 18.ป้ายรถประจำทางหน้าเซ็นทรัลรามอินทรา 19.อู่รถประจำทาง หน้าวัดพระศรีมหาธาตุ 20.ตลาดสะพานใหม่ดอนเมือง 21.หน้าโรงเรียนไทยวิจิตรศิลป์ 22.สี่แยกเกษตรศาสตร์ 23.หน้าเซ็นทรัลลาดพร้าว 24.แยกบางนา 25.ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลบางนา 26.หน้าโรงเรียนปทุมคงคา 27.ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียลสำโรง และ 28.ตลาดปากน้ำ
style="border:none; overflow:hidden; width:450px; height:590px;" allowTransparency="true">
วันนี้ (16 พ.ค.) เมื่อเวลา 13.30 น. ที่อาคารศูนย์เสมารักษ์ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีปล่อยขบวนรถยนต์ปฎิบัติการศูนย์เสมารักษ์ ในโครงการ “ไปเรียนปลอดภัย” ของสำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน พร้อมกล่าวว่า จากข้อมูลและสถิติของสำนักงานลูกเสือและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียนพบว่า จะมีการก่อเหตุบ่อยครั้งในช่วงเปิดภาคเรียนและช่วงเวลาก่อนและหลังเลิกเรียน เป็นอันตรายต่อการเดินทางไปกลับโรงเรียนของนักเรียน นักศึกษาทั่วไป เพราะฉะนั้น ศธ.จะได้จัดโครงการดังกล่าวขึ้นเพื่อประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้ง กระทรวงศึกษาธิการ สถานีตำรวจนครบาล องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และศูนยเสมารักษ์ เพื่อเฝ่าระวังจุดเสี่ยง 28 จุด ใน 5 โซนครอบคลุม กทม.และปริมณฑล รวมถึงจะมีการจัดหน่วยเครือข่ายเคลื่อนที่เร็ว เพื่อเข้าระงับเหตุเมื่อมีการก่อเหตุทะเลาะวิวาทด้วย
“ เรื่องความปลอดภัยเด็กเป็นเรื่องที่ผู้ปกครองให้ความสำคัญ เพราะไม่มีใครอยากเห็นบุตรหลานของตนเองบาดเจ็บหรือเกิดอุบัติเหตุ ที่ผ่านมามีเหตุการณ์เกิดขึ้นจากความขัดแย้งของนักศึกษา ซึ่งถึงแม้เป็นกลุ่มน้อยแต่ทำให้เกิดผลกระทบไปถึงผู้บริสุทธิ์จำนวนมาก จึงไม่อยากเห็นเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก เพราะทำให้สถาบันเสียชื่อเสียงไปด้วย ดังนั้นทุกฝ่ายจะต้องมาร่วมมือกันป้องกันและเฝ้าระวังเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ทะเลาะวิวาทของเด็กกลายเป็นเรื่องปกติของสังคมไทย” นายพงศ์เทพ กล่าว
ด้านนายศุภกรณ์ วงศ์ปราชญ์ รองปลัด ศธ.กล่าวว่า จากข้อมูลสถิติของสำนักลูกเสือฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่า ปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนนักศึกษาส่วนใหญ่จะเป็นระดับอาชีวศึกษา และช่วงเวลาก่อเหตุจะอยู่ในช่วงเปิดภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษา ก่อนเข้าโรงเรียนและเวลาหลังเลิกเรียนไปจนถึงเวลา 20.30 น.โดยเฉพาะจุดเสี่ยงที่เกิดเหตุ ได้แก่ ป้ายรถประจำทาง ห้างสรรพสินค้า และบริเวณหน้าสถานศึกษา จึงมีการดำเนินโครงการจัดทำแผนปฎิบัติงานแบ่งพื้นที่ออกเป็น5 โซน พร้อมกำหนดจุดเสี่ยงสำคัญเพื่อเฝ้าระวังตั้งแต่วันที่ 16 พ.ค.-20 มิ.ย.ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
สำหรับจุดเสี่ยงในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 28 แห่ง ได้แก่ 1.หน้าห้างสรรพสินค้าพาต้าปิ่นเกล้า 2.แยกสวนมิกสักวัน 3.สี่แยกปทุมวัน 4.ป้ายรถประจำทางวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม 5.ป้ายรถประจำทางหน้าโรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม 6.ตลอดบางแค 7.ป้ายรถประจำทางหน้าวิทยาลัยวิบูลบริหารธุรกิจสี่แยกท่าพระ 8.ตลาดอ้อมน้อยสี่แยกพุทธมนฑลสาย5 9.วงแหวนเอกชัย-บางบอน 10.สามแยกราษฎร์บูรณะ มหาวิทยาลัยราชมงคลธนบุรี 11.ตลาดมีนบุรี 12.ตลาดหนอกจอก 13.ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ ถนนรามอินทรา 14.ซอยมิสทีน ถนนสุขาภิบาล 3 15.ศูนย์การค้าเดอะมอลล์บางกะปิ 16.ป้ายรถประจำทางหน้าวัดดอนเมือง 17.สถานีรถไฟดอนเมือง 18.ป้ายรถประจำทางหน้าเซ็นทรัลรามอินทรา 19.อู่รถประจำทาง หน้าวัดพระศรีมหาธาตุ 20.ตลาดสะพานใหม่ดอนเมือง 21.หน้าโรงเรียนไทยวิจิตรศิลป์ 22.สี่แยกเกษตรศาสตร์ 23.หน้าเซ็นทรัลลาดพร้าว 24.แยกบางนา 25.ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลบางนา 26.หน้าโรงเรียนปทุมคงคา 27.ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียลสำโรง และ 28.ตลาดปากน้ำ
style="border:none; overflow:hidden; width:450px; height:590px;" allowTransparency="true">