กทม.แจงถังขยะรุ่นใหม่ออกแบบให้เข้ากับทางเท้าเหมาะทิ้งมูลฝอยขนาดเล็กสำหรับรับขยะสัญจรจากประชาชนที่เดินทาง
นายบรรจง สุขดี ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวถึงกรณีถังขยะรุ่นใหม่ของกทม.ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชนเป็นจำนวนมากถึงรูปแบบและความเหมาะสมของการใช้งาน ว่า ถังขยะรุ่นใหม่ หรือ ถังสะดวกทิ้งนี้ มีการออกแบบให้มีความเหมาะสมกับลักษณะของทางเท้า เพื่อไม่ให้กีดขวางทางสัญจร อีกทั้งมีรูปแบบเหมาะสมกับการเป็นเมืองน่าท่องเที่ยวซึ่งได้รับการโหวตสูงสุด โดยถังขยะมีความจุถังขนาด 85 ลิตร ถังชั้นในเป็นพลาสติกสีขาว ฝาปิดมีช่องใสใส่ขยะ ถังชั้นนอกเป็นพลาสติกลายไม้มีฐานรองเป็นคอนกรีตเพื่อเพิ่มน้ำหนักของถังให้มีความแข็งแรงและป้องกันถังล้มจากพายุลมแรง ทั้งนี้ กทม.ได้นำถังสะดวกทิ้งไปตั้งวางในที่สาธารณะที่มีประชาชนสัญจรไป-มาเป็นจำนวนมาก และบริเวณทางเชื่อมต่อการเดินทาง เช่น ป้ายรถโดยสารประจำทาง ท่าเรือ และลานเอนกประสงค์ เพื่อรองรับขยะมูลฝอยชิ้นเล็กๆ เนื่องจากที่ผ่านมา กทม.ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนถึงความไม่สะดวกว่า ไม่มีถังรองรับตั๋วรถประจำทางใช้แล้ว หรือทิ้งเศษขยะ ขวดน้ำ แก้วน้ำในมือก่อนขึ้นหรือหลังลงจากรถประจำทาง ทำให้บางรายทิ้งขยะลงบนพื้น หรือวางไว้บริเวณเสาหรือป้ายรถประจำทางและที่สาธารณะต่างๆ สร้างความไม่น่าดูให้กับกรุงเทพฯ เป็นอย่างมาก
นายบรรจง กล่าวด้วยว่า ในอดีต กทม.ได้เก็บถังขยะขนาดเล็กซึ่งตั้งวางในที่สาธารณะออก เพื่อคุมเข้มมาตรการรักษาความปลอดภัย และไม่ให้เป็นจุดล่อแหลมของผู้ไม่หวังดี จากนั้นได้เปลี่ยนเป็นถุงพลาสติกใส แต่ไม่มีความแข็งแรง อีกทั้งไม่มีฝาปิดทำให้น้ำขังภายในถุงขยะ และส่งกลิ่นเหม็น รวมถึงมีแมลงรบกวน ทำให้กทม.จำเป็นต้องทบทวนมาตรการในการรักษาความสะอาด ควบคู่ไปกับการรักษาความปลอดภัยของเมือง และการเป็นเมืองท่องเที่ยว จึงได้ออกแบบถังขยะให้มีความเหมาะสมในทุกด้าน ซึ่งถังสะดวกทิ้งจะใช้สำหรับรองรับขยะชิ้นเล็กๆ เช่น ถุงพลาสติก ตั๋วรถประจำทาง กระป๋อง ขวด หรือเศษกระดาษ เป็นต้น แตกต่างจากถังขยะทั่วไป ทั้งถังขยะสีเขียวสำหรับใส่เศษอาหารและขยะเปียก ถังสีเหลืองสำหรับขยะรีไซเคิล และถังสีส้มสำหรับขยะอันตราย ซึ่งเป็นถังขยะขนาดใหญ่ และใช้สำหรับเป็นจุดพักขยะจากครัวเรือนซึ่งจำนวนมาก จึงไม่เหมาะสำหรับการตั้งวางบนถนนสายหลัก และสายรอง
ในส่วนของการจัดเก็บนั้น กทม.ได้กำชับให้สำนักงานเขตจัดชุดเร่งด่วนจัดเก็บขยะในถังสะดวกทิ้ง เพื่อไม่ให้มีขยะสะสม จนเป็นจุดล่อแหลม พร้อมทั้งกำชับคนงานกวาดหมั่นตรวจสอบการตั้งวางถังให้เป็นระเบียบ มีสภาพดี และสะอาด ตลอดจนเฝ้าระวังไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมในถังขยะ พร้อมกันนี้ กทม.ขอความร่วมมือประชาชนโปรดทิ้งขยะในช่องทิ้ง ซึ่งมีบานเปิด-ปิด ไม่เปิดฝาทิ้งถังไว้ หรือทำลายฝาถังขยะ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำฝนไหลเข้าถังขยะ ป้องกันกลิ่นเหม็น และแมลงต่างๆ เพื่อสุขอนามัยที่ดีของประชาชน อีกทั้งความเป็นระเบียบเรียบร้อย และสร้างกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองน่าอยู่ต่อไป
นายบรรจง สุขดี ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวถึงกรณีถังขยะรุ่นใหม่ของกทม.ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชนเป็นจำนวนมากถึงรูปแบบและความเหมาะสมของการใช้งาน ว่า ถังขยะรุ่นใหม่ หรือ ถังสะดวกทิ้งนี้ มีการออกแบบให้มีความเหมาะสมกับลักษณะของทางเท้า เพื่อไม่ให้กีดขวางทางสัญจร อีกทั้งมีรูปแบบเหมาะสมกับการเป็นเมืองน่าท่องเที่ยวซึ่งได้รับการโหวตสูงสุด โดยถังขยะมีความจุถังขนาด 85 ลิตร ถังชั้นในเป็นพลาสติกสีขาว ฝาปิดมีช่องใสใส่ขยะ ถังชั้นนอกเป็นพลาสติกลายไม้มีฐานรองเป็นคอนกรีตเพื่อเพิ่มน้ำหนักของถังให้มีความแข็งแรงและป้องกันถังล้มจากพายุลมแรง ทั้งนี้ กทม.ได้นำถังสะดวกทิ้งไปตั้งวางในที่สาธารณะที่มีประชาชนสัญจรไป-มาเป็นจำนวนมาก และบริเวณทางเชื่อมต่อการเดินทาง เช่น ป้ายรถโดยสารประจำทาง ท่าเรือ และลานเอนกประสงค์ เพื่อรองรับขยะมูลฝอยชิ้นเล็กๆ เนื่องจากที่ผ่านมา กทม.ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนถึงความไม่สะดวกว่า ไม่มีถังรองรับตั๋วรถประจำทางใช้แล้ว หรือทิ้งเศษขยะ ขวดน้ำ แก้วน้ำในมือก่อนขึ้นหรือหลังลงจากรถประจำทาง ทำให้บางรายทิ้งขยะลงบนพื้น หรือวางไว้บริเวณเสาหรือป้ายรถประจำทางและที่สาธารณะต่างๆ สร้างความไม่น่าดูให้กับกรุงเทพฯ เป็นอย่างมาก
นายบรรจง กล่าวด้วยว่า ในอดีต กทม.ได้เก็บถังขยะขนาดเล็กซึ่งตั้งวางในที่สาธารณะออก เพื่อคุมเข้มมาตรการรักษาความปลอดภัย และไม่ให้เป็นจุดล่อแหลมของผู้ไม่หวังดี จากนั้นได้เปลี่ยนเป็นถุงพลาสติกใส แต่ไม่มีความแข็งแรง อีกทั้งไม่มีฝาปิดทำให้น้ำขังภายในถุงขยะ และส่งกลิ่นเหม็น รวมถึงมีแมลงรบกวน ทำให้กทม.จำเป็นต้องทบทวนมาตรการในการรักษาความสะอาด ควบคู่ไปกับการรักษาความปลอดภัยของเมือง และการเป็นเมืองท่องเที่ยว จึงได้ออกแบบถังขยะให้มีความเหมาะสมในทุกด้าน ซึ่งถังสะดวกทิ้งจะใช้สำหรับรองรับขยะชิ้นเล็กๆ เช่น ถุงพลาสติก ตั๋วรถประจำทาง กระป๋อง ขวด หรือเศษกระดาษ เป็นต้น แตกต่างจากถังขยะทั่วไป ทั้งถังขยะสีเขียวสำหรับใส่เศษอาหารและขยะเปียก ถังสีเหลืองสำหรับขยะรีไซเคิล และถังสีส้มสำหรับขยะอันตราย ซึ่งเป็นถังขยะขนาดใหญ่ และใช้สำหรับเป็นจุดพักขยะจากครัวเรือนซึ่งจำนวนมาก จึงไม่เหมาะสำหรับการตั้งวางบนถนนสายหลัก และสายรอง
ในส่วนของการจัดเก็บนั้น กทม.ได้กำชับให้สำนักงานเขตจัดชุดเร่งด่วนจัดเก็บขยะในถังสะดวกทิ้ง เพื่อไม่ให้มีขยะสะสม จนเป็นจุดล่อแหลม พร้อมทั้งกำชับคนงานกวาดหมั่นตรวจสอบการตั้งวางถังให้เป็นระเบียบ มีสภาพดี และสะอาด ตลอดจนเฝ้าระวังไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมในถังขยะ พร้อมกันนี้ กทม.ขอความร่วมมือประชาชนโปรดทิ้งขยะในช่องทิ้ง ซึ่งมีบานเปิด-ปิด ไม่เปิดฝาทิ้งถังไว้ หรือทำลายฝาถังขยะ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำฝนไหลเข้าถังขยะ ป้องกันกลิ่นเหม็น และแมลงต่างๆ เพื่อสุขอนามัยที่ดีของประชาชน อีกทั้งความเป็นระเบียบเรียบร้อย และสร้างกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองน่าอยู่ต่อไป