สธ.สั่งตั้งคณะทำงานออกประกาศคุมการติดต่อเจ้าหน้าที่รัฐและบริษัทบุหรี่ สกัดการแทรกแซงเพื่อความโปร่งใส เผยเพิ่มขนาดภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ยังคับใช้ 2 ต.ค.นี้ หลังบริษัทบุหรี่ข้ามชาติขู่ฟ้อง
วันนี้ (16 พ.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2556 ว่า ที่ประชุมมีการหารือการยกร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการติดต่อระหว่างผู้ประกอบการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ยาสูบกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. ... หรือผู้ผลิต ผู้ขาย ผู้นำเข้า ผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ยาสูบ กับผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากบุหรี่ทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้เป็นไปตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลกมาตรา 5.3 และระเบียบกรมควบคุมโรค พ.ศ.2555 ว่าด้วยการติดต่อกับผู้ประกอบการและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ยาสูบเป็นต้นแบบ เนื่องจากระเบียบของกรมควบคุมโรคที่ใช้ในปัจจุบันใช้แค่ในระดับกรมเท่านั้น ยังไม่ครอบคลุมหน่วยงานอื่น
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า ร่างระเบียบฯฉบับนี้ จะให้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาร่วมกันเพื่อบังคับใช้ในหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การติดต่อประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ประกอบการ เช่น การแจ้งรายการส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ยาสูบ การขอรับหนังสือรับรองการแจ้งรายการส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ยาสูบ กระทำได้เท่าที่จำเป็นเฉพาะการปฏิบัติการตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือมาตรการอื่นใดตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบเท่านั้น โดยจะเน้นการกำหนดมาตรการเพื่อจำกัดการติดต่อประสานงานกับอุตสาหกรรมยาสูบและมาตรการเพื่อให้แน่ใจว่าการติดต่อประสานงานที่อาจเกิดขึ้นต้องเป็นไปด้วยความโปร่งใส โดยจะมีรายละเอียดข้อปฏิบัติที่ชัดเจน
ด้าน นพ.นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า จากการเรียกผู้ประกอบการยาสูบทั้งในและนอกประเทศมาทำความเข้าใจเรื่องการออกประกาศ เปลี่ยนภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ให้มีพื้นที่ร้อยละ 85 บนซองบุหรี่นั้น ได้ทำความเข้าใจว่าประกาศฉบับดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้วันที่ 2 ต.ค.นี้ ส่วนบุหรี่นำเข้าก่อนวันที่ 2 ต.ค.จะอนุโลมให้อีก 90 วัน โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 31 ธ.ค.ซึ่งในการชี้แจงทำความเข้าใจดังกล่าว มีตัวแทนจากบริษัทผู้นำเข้ายาสูบนำเข้า ได้แสดงความคิดเห็นว่า ประกาศดังกล่าวเป็นอาจเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญาของตราสินค้าและขอสงวนสิทธิ์ว่าไม่เห็นด้วย ซึ่งได้ชี้แจงว่า ประกาศดังกล่าวเป็นการขยายภาพคำเตือนและไม่ได้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ตราสินค้าแต่อย่างใด ซึ่งจากนี้เมื่อถึงวันที่กฎหมายอนุโลมให้ทุกบริษัทที่จำหน่ายในประเทศไทยก็จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมไม่มีข้อยกเว้น ส่วนการจะฟ้องร้องต่อศาลในเรื่องดังกล่าวก็เป็นวิจารณญาณของศาลต่อไป
style="border:none; overflow:hidden; width:450px; height:590px;" allowTransparency="true">
วันนี้ (16 พ.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2556 ว่า ที่ประชุมมีการหารือการยกร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการติดต่อระหว่างผู้ประกอบการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ยาสูบกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. ... หรือผู้ผลิต ผู้ขาย ผู้นำเข้า ผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ยาสูบ กับผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากบุหรี่ทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้เป็นไปตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลกมาตรา 5.3 และระเบียบกรมควบคุมโรค พ.ศ.2555 ว่าด้วยการติดต่อกับผู้ประกอบการและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ยาสูบเป็นต้นแบบ เนื่องจากระเบียบของกรมควบคุมโรคที่ใช้ในปัจจุบันใช้แค่ในระดับกรมเท่านั้น ยังไม่ครอบคลุมหน่วยงานอื่น
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า ร่างระเบียบฯฉบับนี้ จะให้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาร่วมกันเพื่อบังคับใช้ในหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การติดต่อประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ประกอบการ เช่น การแจ้งรายการส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ยาสูบ การขอรับหนังสือรับรองการแจ้งรายการส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ยาสูบ กระทำได้เท่าที่จำเป็นเฉพาะการปฏิบัติการตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือมาตรการอื่นใดตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบเท่านั้น โดยจะเน้นการกำหนดมาตรการเพื่อจำกัดการติดต่อประสานงานกับอุตสาหกรรมยาสูบและมาตรการเพื่อให้แน่ใจว่าการติดต่อประสานงานที่อาจเกิดขึ้นต้องเป็นไปด้วยความโปร่งใส โดยจะมีรายละเอียดข้อปฏิบัติที่ชัดเจน
ด้าน นพ.นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า จากการเรียกผู้ประกอบการยาสูบทั้งในและนอกประเทศมาทำความเข้าใจเรื่องการออกประกาศ เปลี่ยนภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ให้มีพื้นที่ร้อยละ 85 บนซองบุหรี่นั้น ได้ทำความเข้าใจว่าประกาศฉบับดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้วันที่ 2 ต.ค.นี้ ส่วนบุหรี่นำเข้าก่อนวันที่ 2 ต.ค.จะอนุโลมให้อีก 90 วัน โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 31 ธ.ค.ซึ่งในการชี้แจงทำความเข้าใจดังกล่าว มีตัวแทนจากบริษัทผู้นำเข้ายาสูบนำเข้า ได้แสดงความคิดเห็นว่า ประกาศดังกล่าวเป็นอาจเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญาของตราสินค้าและขอสงวนสิทธิ์ว่าไม่เห็นด้วย ซึ่งได้ชี้แจงว่า ประกาศดังกล่าวเป็นการขยายภาพคำเตือนและไม่ได้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ตราสินค้าแต่อย่างใด ซึ่งจากนี้เมื่อถึงวันที่กฎหมายอนุโลมให้ทุกบริษัทที่จำหน่ายในประเทศไทยก็จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมไม่มีข้อยกเว้น ส่วนการจะฟ้องร้องต่อศาลในเรื่องดังกล่าวก็เป็นวิจารณญาณของศาลต่อไป
style="border:none; overflow:hidden; width:450px; height:590px;" allowTransparency="true">