xs
xsm
sm
md
lg

ศจย.แนะไทยเร่งปฏิบัติตามกรอบอนุสัญญาฯ ควบคุมยาสูบ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้ควบคุมยาสูบ (ศจย.) มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า เป็นเวลากว่า 4 ปีแล้ว ที่สมาชิกองค์การอนามัยโลก ต้องดำเนินมาตรการควบคุมการบริโภคยาสูบตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ มาตรา 5.3 เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยาสูบแทรกแซงนโยบายของรัฐ แต่ประเทศไทยยังไม่มีมาตรการรองรับอนุสัญญาดังกล่าว โดยเมื่อวันที่ 17 เมษายน ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีเพิ่งเห็นชอบมาตรการในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพด้านยาสูบ เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ต้องทำตามกรอบอนุสัญญา
ที่ผ่านมามาตรการควบคุมยาสูบของไทยยังไม่เข้มข้นพอ จึงไม่ได้นำไปสู่การปฏิบัติ
นายแพทย์หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย และประธานรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาควบคุมยาสูบ องค์การอนามัยโลก มองว่า 4 ปีที่ไทยไม่สามารถดำเนินการได้ตามกรอบอนุสัญญา เป็นการเสียประโยชน์อย่างมาก ทำให้ปัจจุบันไทยถูกแทรกแซงจากบริษัทบุหรี่ข้ามชาติที่เข้ามาในรูปแบบการจัดตั้งองค์กรบังหน้า เพื่อชักจูงเกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบให้ได้รับข้อมูลที่บิดเบือน โดยที่ไม่ได้ทำให้บริษัทเสียประโยชน์ และออกมาคัดค้านทุกมาตรการภาครัฐที่ควบคุมยาสูบ โดยเฉพาะร่างกฎหมายควบคุมการบริโภคยาสูบฉบับใหม่ จึงเห็นว่าการปฏิบัติตามมาตรา 5.3 มีความจำเป็นที่ภาครัฐต้องเร่งผลักดันให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว
นายแพทย์หทัย ยังเรียกร้องให้ภาครัฐเร่งออกมาตรการเพื่อให้มีผลบังคับใช้ในทางสาธารณะ และแพร่หลายมากกว่าการบังคับใช้เพียงแค่บางหน่วยงาน และภาครัฐต้องเร่งผลักดันนโยบายที่ยังดำเนินการอยู่ ให้แล้วเสร็จ ได้แก่ การควบคุม การห้ามทำกิจกรรมซีเอสอาร์ และโฆษณาของบริษัทบุหรี่ และห้ามโฆษณาผ่านทางอินเทอร์เน็ตของผลิตภัณฑ์ยาสูบ การเพิ่มสิทธิหลักประกันการรักษาโรคติดบุหรี่ การบังคับใช้กฎหมายควบคุมยาสูบที่ผิดกฎหมาย และปราบปรามการลักลอบนำเข้าบุหรี่เถื่อน
ขณะที่ข้อมูลของ ศจย.ที่สำรวจความพึงพอใจเรื่องมาตรการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพด้านยาสูบของรัฐ โดยมี 38 องค์กรสุขภาพเป็นผู้ประเมิน หลังครบ 6 เดือนที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการดังกล่าว พบว่าการดำเนินตามนโยบายยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เฉลี่ย 3.3 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 โดยหน่วยงานที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการคลัง กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ขณะที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีความพึงพอใจน้อยที่สุด
จวกกลุ่มเสียผลประโยชน์เป่าหูเกษตรกร ลุกฮือต้าน กม.คุมบุหรี่ฉบับใหม่
จวกกลุ่มเสียผลประโยชน์เป่าหูเกษตรกร ลุกฮือต้าน กม.คุมบุหรี่ฉบับใหม่
หมอพรเทพ จวกกลุ่มเสียผลประโยชน์เป่าหูเกษตรกรลุกฮือต้าน ร่าง กม.บุหรี่ฉบับใหม่ ยันกฎหมายไม่เกี่ยวข้องการปลูกยาสูบของเกษตรกร แต่เป็นการปกป้องเด็กและเยาวชนจากการเข้าถึงบุหรี่ และเพิ่มมาตรการสำหรับการตลาดรูปแบบใหม่ๆ เหตุกฎหมายเก่าบังคับใช้นาน 20 ปีแล้ว แต่ไร้การปรับปรุงหมอประกิต เตือนผู้มีอำนาจและชาวไร่ยาสูบศึกษาข้อเท็จจริง อย่าหูเบาหลงกลบริษัทบุหรีข้ามชาติที่บิดเบือนข้อมูล ร่าง กม.บุหรี่ฉบับใหม่ ยันไม่มีมาตราใดห้ามปลูกยาสูบตามที่เข้าใจกัน ย้ำหาก กม.บุหรี่ใหม่ล้ม บริษัทบุหรี่ต่างชาติรับประโยชน์เต็มๆ แถมเข้าแย่งส่วนแบ่งการตลาดจากบุหรี่ไทย
กำลังโหลดความคิดเห็น