“53 นักวิชาการ” ยื่นหนังสือ “นายกฯ” รื้อสอบสวน บ.บุหรี่ข้ามชาติ สำแดงราคาเท็จ หนีภาษี ทำประเทศสูญเกือบ 7 หมื่นล้าน วอน “ดีเอสไอ” เปิดผลสอบเหตุหลังอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง เสนอ 2 ทางเลือกปรับวิธีเก็บภาษียาสูบใหม่
วันนี้ (11 มี.ค.) นพ.หทัย ชิตานนท์ หัวหน้าคณะนักวิจัยการควบคุมยาสูบ ในฐานะประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย และอดีตประธานรัฐภาคีกฎหมายบุหรี่โลก (2550-2551) ขององค์การอนามัยโลก เปิดเผยว่า ตนพร้อมคณะนักวิจัยการควบคุมยาสูบ องค์กรพัฒนาเอกชน และเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชนจำนวน 53 คน ร่วมลงนามทำหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และเข้ายื่นต่อสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เพื่อเรียกร้องขอให้พิจารณาดำเนินคดีกับ บ.ฟิลลิปมอร์ริส กรณีแจ้งราคานำเข้าบุหรี่มวลต่ำกว่าความเป็นจริง เป็นเหตุให้ประเทศไทยขาดรายได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าสูงถึง 68,000 ล้านบาท และขอให้เร่งรัดไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กระทรวงยุติธรรม รื้อฟื้นส่งดำเนินคดีใหม่อีกครั้ง เพื่อประโยชน์ทางการคลังของประเทศ ภายหลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้เคยจัดส่งสำนวนการสอบสวนไปยังสำนักงานอัยการและมีคำสั่งไม่ฟ้อง
“ผลสอบสวนคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยดีเอสไอ พบหลักฐานชี้ว่าราคาบุหรี่ที่นำเข้าโดยบริษัทบุหรี่รายนี้ มีต้นทุนสูงกว่าราคาที่สำแดงต่อกรมสรรพสามิต รวมไปถึงราคาขายในประเทศอื่นๆ ที่สูงกว่า ดังนั้น ควรมีการเปิดเผยข้อมูลผลการสอบสวนที่ผ่านมาให้สาธารณะรับทราบถึงเหตุผลที่ไม่สามารถสั่งฟ้องได้” นพ.หทัย กล่าว และว่า ทั้งหมดนี้คงต้องรอคำตอบจากนายกรัฐมนตรีภายหลังเดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว ซึ่งหากรัฐบาลไม่ดำเนินการต่อ คงจะร่วมกับภาคีเครือข่ายในการรณรงค์บอยคอตไม่ซื้อบุหรี่จากบริษัทบุหรี่ข้ามชาตินี้
นพ.หทัย กล่าวว่า รัฐบาลควรปรับวิธีจัดเก็บภาษียาสูบใหม่ เพื่อไม่ให้ประเทศเสียประโยชน์ ทั้งนี้ปัจจุบันกรมสรรพสามิตเก็บภาษีจากราคาหน้าโรงงานที่บริษัทบุหรี่นำเข้าหรือผลิตในประเทศเป็นผู้สำแดง โดยบริษัทบุหรี่ข้ามชาติสำแดงราคาเพียง 7.60 บาท/ซอง แต่ราคาขายสูงถึง 70-80 บาท ขณะที่บริษัทบุหรี่ในประเทศสำแดงราคาหน้าโรงงาน 25 บาท/ซอง ราคาขาย 35-40 บาทเท่านั้น สะท้อนถึงการสำแดงข้อมูลราคาเป็นเท็จเพื่อหลบเลี่ยงภาษีซึ่งทำมานาน ที่ผ่านมาจึงมีข้อเสนอการจัดเก็บภาษีรูปแบบใหม่จากกลุ่มนักวิชาการควบคุมยาสูบ คือ 1.กำหนดอัตราภาษียาสูบแบบตายตัว เช่น จัดเก็บอัตรา 40 บาท/ซอง ทั้งหมด ไม่ว่าบุหรี่นำเข้า หรือผลิตในประเทศ และ 2.จัดเก็บโดยคำนวณภาษีจากราคาขายขายปลีก ซึ่งทางที่ดีควรใช้ทั้ง 2 วิธีในการจัดเก็บควบคู่กัน และควรปรับขึ้นอัตราภาษีอย่างต่อเนื่อง
สำหรับนักวิชาการควบคุมยาสูบที่ร่วมลงนาม อาทิ นพ.วิทูรย์ อึ้งประพันธ์ กรรมการกฤษฎีกาและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายสาธารณสุข, นพ.ชูฤทธิ์ เต็งไตรสรณ์ ผู้อํานวยการสํานักควบคุมการบริโภคยาสูบ รศ.ดร.สุชาดา ตั้งทางธรรม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รศ.ดร.เนาวรัตน์ เจริญค้า, ผศ.ดร.นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์ และ รศ.ดร.นิภาพรรณ กังสกุลนิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ท.พญ.วรางคณา ชิดช่วงชัย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ท.พญ.ศิริวรรณ ทิพยรังสฤษฏ์ ผู้อํานวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ เป็นต้น
วันนี้ (11 มี.ค.) นพ.หทัย ชิตานนท์ หัวหน้าคณะนักวิจัยการควบคุมยาสูบ ในฐานะประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย และอดีตประธานรัฐภาคีกฎหมายบุหรี่โลก (2550-2551) ขององค์การอนามัยโลก เปิดเผยว่า ตนพร้อมคณะนักวิจัยการควบคุมยาสูบ องค์กรพัฒนาเอกชน และเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชนจำนวน 53 คน ร่วมลงนามทำหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และเข้ายื่นต่อสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เพื่อเรียกร้องขอให้พิจารณาดำเนินคดีกับ บ.ฟิลลิปมอร์ริส กรณีแจ้งราคานำเข้าบุหรี่มวลต่ำกว่าความเป็นจริง เป็นเหตุให้ประเทศไทยขาดรายได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าสูงถึง 68,000 ล้านบาท และขอให้เร่งรัดไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กระทรวงยุติธรรม รื้อฟื้นส่งดำเนินคดีใหม่อีกครั้ง เพื่อประโยชน์ทางการคลังของประเทศ ภายหลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้เคยจัดส่งสำนวนการสอบสวนไปยังสำนักงานอัยการและมีคำสั่งไม่ฟ้อง
“ผลสอบสวนคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยดีเอสไอ พบหลักฐานชี้ว่าราคาบุหรี่ที่นำเข้าโดยบริษัทบุหรี่รายนี้ มีต้นทุนสูงกว่าราคาที่สำแดงต่อกรมสรรพสามิต รวมไปถึงราคาขายในประเทศอื่นๆ ที่สูงกว่า ดังนั้น ควรมีการเปิดเผยข้อมูลผลการสอบสวนที่ผ่านมาให้สาธารณะรับทราบถึงเหตุผลที่ไม่สามารถสั่งฟ้องได้” นพ.หทัย กล่าว และว่า ทั้งหมดนี้คงต้องรอคำตอบจากนายกรัฐมนตรีภายหลังเดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว ซึ่งหากรัฐบาลไม่ดำเนินการต่อ คงจะร่วมกับภาคีเครือข่ายในการรณรงค์บอยคอตไม่ซื้อบุหรี่จากบริษัทบุหรี่ข้ามชาตินี้
นพ.หทัย กล่าวว่า รัฐบาลควรปรับวิธีจัดเก็บภาษียาสูบใหม่ เพื่อไม่ให้ประเทศเสียประโยชน์ ทั้งนี้ปัจจุบันกรมสรรพสามิตเก็บภาษีจากราคาหน้าโรงงานที่บริษัทบุหรี่นำเข้าหรือผลิตในประเทศเป็นผู้สำแดง โดยบริษัทบุหรี่ข้ามชาติสำแดงราคาเพียง 7.60 บาท/ซอง แต่ราคาขายสูงถึง 70-80 บาท ขณะที่บริษัทบุหรี่ในประเทศสำแดงราคาหน้าโรงงาน 25 บาท/ซอง ราคาขาย 35-40 บาทเท่านั้น สะท้อนถึงการสำแดงข้อมูลราคาเป็นเท็จเพื่อหลบเลี่ยงภาษีซึ่งทำมานาน ที่ผ่านมาจึงมีข้อเสนอการจัดเก็บภาษีรูปแบบใหม่จากกลุ่มนักวิชาการควบคุมยาสูบ คือ 1.กำหนดอัตราภาษียาสูบแบบตายตัว เช่น จัดเก็บอัตรา 40 บาท/ซอง ทั้งหมด ไม่ว่าบุหรี่นำเข้า หรือผลิตในประเทศ และ 2.จัดเก็บโดยคำนวณภาษีจากราคาขายขายปลีก ซึ่งทางที่ดีควรใช้ทั้ง 2 วิธีในการจัดเก็บควบคู่กัน และควรปรับขึ้นอัตราภาษีอย่างต่อเนื่อง
สำหรับนักวิชาการควบคุมยาสูบที่ร่วมลงนาม อาทิ นพ.วิทูรย์ อึ้งประพันธ์ กรรมการกฤษฎีกาและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายสาธารณสุข, นพ.ชูฤทธิ์ เต็งไตรสรณ์ ผู้อํานวยการสํานักควบคุมการบริโภคยาสูบ รศ.ดร.สุชาดา ตั้งทางธรรม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รศ.ดร.เนาวรัตน์ เจริญค้า, ผศ.ดร.นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์ และ รศ.ดร.นิภาพรรณ กังสกุลนิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ท.พญ.วรางคณา ชิดช่วงชัย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ท.พญ.ศิริวรรณ ทิพยรังสฤษฏ์ ผู้อํานวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ เป็นต้น