สภาการศึกษาทางเลือก จวก ศธ.ผุดนโยบายยุบควบรวม ร.ร.ขนาดเล็กแก้ปัญหาปลายเหตุ ทั้งที่ต้นเหตุมาจากการบริหารจัดการของ ศธ.ที่ไร้ประสิทธิภาพ ลั่นไม่ยกเลิกแนวทางดังกล่าว เตรียมประสานองค์กรศึกษาทั่วประเทศจัดหนัก “พงศ์เทพ”
นายสมบูรณ์ รินท้าว ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหัวเวียงเหนือ จ.น่าน ในฐานะประธานชมรมเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก กล่าวถึงกรณีกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีนโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนนักเรียนน้อยกว่า 60 คน จำนวน 14,186 แห่ง ว่า การยุบโรงเรียนขนาดเล็กโดยยกประเด็นเรื่องคุณภาพ ทั้งที่ผ่านมาไม่เคยสนับสนุนทรัพยากรทางการศึกษาและทางการบริหารให้เลย ทั้งครู อุปกรณ์สื่อการเรียนการสอน โดยเฉพาะการนำผลคะแนนทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) มาเป็นตัวตัดสินยิ่งใช้ไม่ได้ในเวลานี้ เพราะหากติดตามผลการทำงานของโรงเรียนขนาดเล็กเป็นรายโรง ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ หรือตะวันออกเฉียงเหนือ จะพบว่าในปีการศึกษา 2555 นี้ คะแนนโอเน็ตของเด็ก ป.6 ดีขึ้นติดอันดับต้นๆ ของจังหวัดด้วยซ้ำ เฉพาะวิชาคณิตศาสตร์บางโรงเรียนทำได้สูงขึ้นถึง 40% และหลายวิชาก็ได้ค่าเฉลี่ยสูงกว่า 5% ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดด้วย หรือแม้การรับรองคุณภาพภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รอบที่ 3 ปัจจุบันก็มีโรงเรียนขนาดเล็กได้รับการรับรองด้วยนั้น เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าแต่ขณะนี้โรงเรียนขนาดเล็กหลายแห่งได้ทำให้เห็นแล้วว่าคุณภาพของเด็กดีขึ้น แม้จะไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควรก็ตาม
“เมื่อยกเหตุผลเรื่องไร้คุณภาพเพื่อยุบโรงเรียนขนาดเล็ก และยังมีปัญหางบประมาณที่มีจำกัดอีก แต่เสนอการแก้ปัญหาด้วยการซื้อรถตู้เพื่อรับส่งนักเรียน ถามว่าการซื้อรถตู้กรณีนี้ปัญหาที่จะตามมา คือ ค่าน้ำมัน ค่าคนขับ ค่าซ่อมแซม ค่าเสื่อมราคา เหล่านี้ใครจะมาเป็นคนรับผิดชอบ แล้วจะช่วยลดงบประมาณได้จริงไหมก็ไม่จริง แล้วถามต่อว่าเงินค่าน้ำมันจะเอามาจากที่ไหน ถึงบอกว่าจะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มาจ่าย แต่เอาเข้าจริง อปท.ก็ไม่ได้มีรายได้นอกเหนือจากงบประมาณอุดหนุนเพียงอย่างเดียว แล้วเขาจะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายมาสนับสนุนค่าน้ำมันรถรับส่งนักเรียนได้ เพราะฉะนั้น เหตุผลและวิธีการแก้ไขปัญหาไม่ได้ช่วยให้โรงเรียนขนาดเล็กมีคุณภาพดีขึ้น” นายสมบูรณ์ กล่าว
นายสมบูรณ์ กล่าวด้วยว่า ที่สำคัญการยุบโรงเรียนทิ้ง หรือการควบรวมยังสะท้อนให้เห็นด้วยว่าส่วนกลางใช้ทรัพยากรบุคคลได้ไม่เต็มศักยภาพ เพราะหากยุบโรงเรียนแล้วกลุ่มผู้บริหารโรงเรียน ครูที่ไม่มีตำแหน่งที่ลงจะถูกนำไปกองรวมกันไว้ไม่มีที่ลง ทั้งที่หากยังอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ยังสามารถทำประโยชน์และพัฒนาโรงเรียนได้เต็มศักยภาพมากกว่า
“ยกตัวอย่างง่ายๆ กลุ่มของพวกผมรวมตัวกันมาแต่ปี 2554 เคยยื่นเรื่องขอกับทางต้นสังกัด สพฐ.เพื่อบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก มีเป้าหมายจะพัฒนาให้เป็นโรงเรียนชุมชน เราเสนอของบประมาณ 200,000 บาทต่อปี นำมาบริหารจัดการทั้งจ้างครูให้เพียงพอต่อการสอนเด็กแต่ก็ไม่เคยได้รับอนุมัติ แต่การจะจ่ายเงินซื้อรถตู้คันเป็นล้านบาทกลับซื้อได้ โดยที่ผ่านมาผมเคยไปรอพบ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการที่ทำเนียบรัฐบาล ก็ไม่มีโอกาสได้พบ ล่าสุดเมื่อเกิดประเด็นนี้ขึ้นเช้าวันพฤหัสบดีที่ 9 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้โทรศัพท์ติดต่อไปยังหน้าห้อง รมว.ศึกษาธิการ เพื่อขอได้ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรงเรียนขนาดเล็ก เพราะผมมีความเชื่อว่า ถ้า นายพงศ์เทพ ได้ฟังข้อเท็จจริงจะเข้าใจปัญหาและไม่สั่งยุบโรงเรียนแต่ก็ไม่ได้พูดคุยแต่อย่างใด” นายสมบูรณ์ กล่าว
นายชัชวาลย์ ทองดีเลิศ เลขาธิการสภาการศึกษาทางเลือก กล่าวว่า การยุบโรงเรียนขนาดเล็กเป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุ ทั้งที่ต้นเหตุของปัญหามาจากการที่ ศธ.บริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพ จัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้ไม่ทั่วถึงจากโรงเรียนในมือกว่า 3 หมื่นโรง ทำไปมาจนกลายเป็นขนาดเล็กไปกว่า 1.7 หมื่นโรง เพราะให้ความสำคัญแต่การดูแลพัฒนาเด็กโรงเรียนในเมือง แต่หลงลืมโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ชายแดนต่างๆ สะท้อนให้เห็นความไม่เป็นธรรมทางการศึกษาที่โรงเรียนขนาดเล็กต้องเผชิญอย่างชัดเจน ดูได้จากเงินอุดหนุนรายหัว จำนวนครูที่น้อยมีไม่ครบชั้นแต่ภาระงานการสอนกับต้องสอนเท่ากับโรงเรียนใหญ่ๆ ที่มีพร้อม ทั้งยังถูกมองว่าไม่มีคุณภาพการศึกษาโดยไปยกตัวอย่างจากคะแนนโอเน็ต ซึ่งในความจริงภาพรวมคะแนนโอเน็ตของเด็กทั้งประเทศอยู่ในเกณฑ์ต่ำ แต่ขณะที่ตนได้คุยกับผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กหลายแห่งกลับพบว่า เด็กของโรงเรียนเหล่านี้ทำคะแนนโอเน็ตได้ดีกว่าเด็กโรงเรียนขนาดใหญ่ เพราะฉะนั้น ปัญหาไม่ใช่ที่คุณภาพ แต่เป็นการบริหารงานที่ไร้ประสิทธิภาพจนทำให้โรงเรียนขนาดเล็กกลายเป็นแพะรับบาป
นายชัชวาลย์ กล่าวอีกว่า ศธ.ควรพิจารณาปัญหาและสาเหตุที่แท้จริง นั่นคือการบริหารงานของ ศธ.ที่กระจุกตัวส่วนกลางไม่กระจายอำนาจ กลายเป็นเตี้ยอุ้มค่อม สุดท้ายก็ดูแลไม่ได้ทั่วถึง ทั้งที่ใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หรือแม้แต่คณะกรรมการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่ 2 ก็ระบุชัดเจนว่า ศธ.จะต้องกระจายอำนาจ และลดบทบาทของตัวเองจากผู้จัดการศึกษามาเป็นผู้สนับสนุนให้ท้องถิ่นมาร่วมจัดการศึกษา ไม่ใช่บริหารผิดแล้วก็มาจัดประชุมสั่งยุบโรงเรียนแบบนี้ คือ การทำงานแบบผิดทิศผิดทาง แล้วเดี๋ยวพอนานเข้ามีปัญหาก็สั่งยุบอีกเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ
“ร.ร.ขนาดเล็กควรจะปรับพัฒนาให้เป็น ร.ร.ของชุมชน กระจายอำนาจออกไปให้ท้องถิ่นมาช่วยดูแลแบบนี้ จึงจะเป็นการสร้างความเป็นธรรมทางการศึกษาให้แก่โรงเรียนขนาดเล็ก เพราะต้องไม่ลืมว่าโรงเรียนเหล่านี้เกิดจากชาวบ้านที่เขาร่วมระดมทุน ร่วมสร้างมีความผูกพัน พอเด็กเหลือน้อยก็แก้ปัญหายุบทิ้งย้ายไปเรียนรวมที่อื่นเช่นนี้ผมมองว่าเป็นการซ้ำเติมชาวบ้าน ต้องคิดถึงใจชาวบ้านด้วย ขณะที่ สพฐ.ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดแม้ที่ผ่านมาจะพูดมาหลายรอบว่าการยุบจะต้องสำรวจก่อน แต่ปัญหาคือพอฝ่ายการเมืองมีทิศทางว่าจะยุบ ข้าราชการก็ตอบสนองนักการเมือง ตั้งธงยุบเป็นหลักตาม เพราะฉะนั้นการจะทำอะไรต้องคุยกับผู้รู้ คนในพื้นที่เพื่อจะได้แก้ปัญหาตรงจุด โดยทางกลุ่มไม่ได้นิ่งนอนใจมีการหารือเพื่อกำหนดท่าทีหาก ศธ.ไม่ยุติ หรือทบทวนเรื่องนี้ใหม่ ก็จะมีการเคลื่อนไหวใหญ่แน่นอน” นายชัชวาลย์ กล่าว
นายชัชวาลย์ กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาทางสภาการศึกษาทางเลือก เคยพยายามติดต่อเพื่อขอเข้าพบ นายพงศ์เทพ แต่ก็ได้รับการเลื่อนนัดมา 2-3 ครั้งและเร็วๆ นี้ จะพยายามประสานเพื่อขอพบและชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรงเรียนขนาดเล็กต่อไป
นายวิทยา พันธุ์เพ็ง ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลโนนคูณ จ.ศรีสะเกษ รองประธานชมรมครูประชาบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า ข่าวเรื่องการยุบโรงเรียนขนาดเล็กได้สร้างความรู้สึกเจ็บปวดและหวั่นวิตกให้กับ ครู อาจารย์ ชาวบ้านทั่วประเทศ และจะให้เกิดผลกระทบอย่างมากมาย ที่สำคัญนโยบายปิดโรงเรียนขนาดเล็กเป็นการฉีกกฏหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพในการจัดการศึกษา ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศชาติ ซึ่งในมาตรา 49 กล่าวไว้ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการได้รับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการ ผู้ทุพพลภาพ หรือผู้ที่อยู่ในภาวะยากลำบากต้องใช้รับสิทธิตามวรรค 1 และได้รับการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น ซึ่งตามกฎหมายมาตรานี้รัฐได้จัดให้โรงเรียนทั่วประเทศเพียงพอหรือยัง
“เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมานักเรียนจากจังหวัดหนองคายที่เข้ามาเรียนในโรงเรียนดังแห่งหนึ่งในกรุงเทพ (มหิดลวิทยานุสรณ์) เกิดความเครียดจากการเรียน จุดไฟเผาห้องวิทยาศาสตร์มูลค่า130 ล้านบาท นี่คือโรงเรียนที่มีคุณภาพ แต่ถ้าไปเปรียบเทียบกับโรงเรียนบ้านโคกอีแล้งมีนักเรียน 20 คน ได้เงินรายหัวแค่เล็กน้อย ตรงนี้เป็นปัญหาเรื่องความเสมอภาค นี่คือการฉีกกฎหมายรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกันก็ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย พ.ร.บ.การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 มาตราที่ 4 ว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับด้วย” นายวิทยา กล่าว
นายวิทยา กล่าวต่อว่า ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการให้ประชากรได้เรียนอย่างทั่วถึง ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีปัญหาความเท่าเทียม เสมอภาคระหว่างโรงเรียนอยู่ แต่ ศธ.กลับมีนโยบายยุบโรงเรียน นโยบายนี้จะทำให้เกิดผลกระทบต่อนักเรียนอย่างแน่นอน โดยเฉพาะนักเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล เมื่อถูกย้ายไปเรียนไกลบ้านเชื่อว่านักเรียนบางส่วนจะไม่ไปเรียน ดังนั้นเรื่องการยุบโรงเรียนขนาดเล็กต้องถามชุมชนด้วย อย่างไรก็ตามประเด็นดังกล่าวมีครูโรงเรียนขนาดเล็กจำนวนมากออกมาแสดงความคิดเห็น ไม่เห็นด้วยกับการยุบโรงเรียนถึงขนาดจะนำผู้ปกครอง และนักเรียนเดินทางมาที่กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อคัดค้านการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งประเด็นทั้งหมดนี้ทางส.ค.ท.จะรวบรวมนำเสนอนายกฯในคราวต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สมาคมสภาการศึกษาทางเลือกและเครือข่ายโรงเรียนชุมชนได้ออกแถลงการณ์ เรื่อง การแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กของภาครัฐ โดยระบุว่า การยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กสะท้อนถึงความไม่เป็นธรรมและเหลื่อมล้ำ ดังนี้ 1.ความไม่เป็นธรรมในการแก้ปัญหาอันเกิดจากความล้มเหลวด้านหารบริหารจัดการศึกษาของ ศธ.2.ความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงสิทธิพื้นฐานของประชาชน 3.ความไม่เป็นธรรมต่อพ่อแม่ผู้ปกครอง 4.ความไม่เป็นธรรมต่อเด็กในการเรียนรู้ 5.ความไม่เป็นธรรมต่อชุมชน และ 6.ความเหลื่อมล้ำอันเกิดจากการศึกษาแบบรวมศูนย์ของรัฐ ซึ่งท่าทีและแนวทางนี้เป็นการหักหาญและทำลายหัวใจพ่อแม่และชุมชน
สำหรับการบริการจัดการโรงเรียนขนาดเล็กให้มีคุณภาพ สภาการศึกษาทางเลือกและเครือข่ายโรงเรียนชุมชนเสนอดงันี้ 1.ศธ.ต้องกระจายอำนาจการจัดการศึกษาแก่ท้องถิ่น และ 2.ขอคืนพื้นที่การศึกษาให้แก่ชุมชน ยกเลิกนโยบายยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก หาก ศธ.ยังเดินหน้าเรื่องนี้ โดยไม่ฟังแนวทางจากภาคประชาชน สภาการศึกษาทางเลือกจะประสานองค์กรด้านการศึกษาทั่วประเทศจัดรณรงค์ครั้งใหญ่ เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและการรวมศูนย์อำนาจการจัดการศึกษา ที่เป็นต้นตอของวิกฤตการศึกษาไทย
นายสมบูรณ์ รินท้าว ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหัวเวียงเหนือ จ.น่าน ในฐานะประธานชมรมเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก กล่าวถึงกรณีกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีนโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนนักเรียนน้อยกว่า 60 คน จำนวน 14,186 แห่ง ว่า การยุบโรงเรียนขนาดเล็กโดยยกประเด็นเรื่องคุณภาพ ทั้งที่ผ่านมาไม่เคยสนับสนุนทรัพยากรทางการศึกษาและทางการบริหารให้เลย ทั้งครู อุปกรณ์สื่อการเรียนการสอน โดยเฉพาะการนำผลคะแนนทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) มาเป็นตัวตัดสินยิ่งใช้ไม่ได้ในเวลานี้ เพราะหากติดตามผลการทำงานของโรงเรียนขนาดเล็กเป็นรายโรง ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ หรือตะวันออกเฉียงเหนือ จะพบว่าในปีการศึกษา 2555 นี้ คะแนนโอเน็ตของเด็ก ป.6 ดีขึ้นติดอันดับต้นๆ ของจังหวัดด้วยซ้ำ เฉพาะวิชาคณิตศาสตร์บางโรงเรียนทำได้สูงขึ้นถึง 40% และหลายวิชาก็ได้ค่าเฉลี่ยสูงกว่า 5% ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดด้วย หรือแม้การรับรองคุณภาพภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รอบที่ 3 ปัจจุบันก็มีโรงเรียนขนาดเล็กได้รับการรับรองด้วยนั้น เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าแต่ขณะนี้โรงเรียนขนาดเล็กหลายแห่งได้ทำให้เห็นแล้วว่าคุณภาพของเด็กดีขึ้น แม้จะไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควรก็ตาม
“เมื่อยกเหตุผลเรื่องไร้คุณภาพเพื่อยุบโรงเรียนขนาดเล็ก และยังมีปัญหางบประมาณที่มีจำกัดอีก แต่เสนอการแก้ปัญหาด้วยการซื้อรถตู้เพื่อรับส่งนักเรียน ถามว่าการซื้อรถตู้กรณีนี้ปัญหาที่จะตามมา คือ ค่าน้ำมัน ค่าคนขับ ค่าซ่อมแซม ค่าเสื่อมราคา เหล่านี้ใครจะมาเป็นคนรับผิดชอบ แล้วจะช่วยลดงบประมาณได้จริงไหมก็ไม่จริง แล้วถามต่อว่าเงินค่าน้ำมันจะเอามาจากที่ไหน ถึงบอกว่าจะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มาจ่าย แต่เอาเข้าจริง อปท.ก็ไม่ได้มีรายได้นอกเหนือจากงบประมาณอุดหนุนเพียงอย่างเดียว แล้วเขาจะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายมาสนับสนุนค่าน้ำมันรถรับส่งนักเรียนได้ เพราะฉะนั้น เหตุผลและวิธีการแก้ไขปัญหาไม่ได้ช่วยให้โรงเรียนขนาดเล็กมีคุณภาพดีขึ้น” นายสมบูรณ์ กล่าว
นายสมบูรณ์ กล่าวด้วยว่า ที่สำคัญการยุบโรงเรียนทิ้ง หรือการควบรวมยังสะท้อนให้เห็นด้วยว่าส่วนกลางใช้ทรัพยากรบุคคลได้ไม่เต็มศักยภาพ เพราะหากยุบโรงเรียนแล้วกลุ่มผู้บริหารโรงเรียน ครูที่ไม่มีตำแหน่งที่ลงจะถูกนำไปกองรวมกันไว้ไม่มีที่ลง ทั้งที่หากยังอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ยังสามารถทำประโยชน์และพัฒนาโรงเรียนได้เต็มศักยภาพมากกว่า
“ยกตัวอย่างง่ายๆ กลุ่มของพวกผมรวมตัวกันมาแต่ปี 2554 เคยยื่นเรื่องขอกับทางต้นสังกัด สพฐ.เพื่อบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก มีเป้าหมายจะพัฒนาให้เป็นโรงเรียนชุมชน เราเสนอของบประมาณ 200,000 บาทต่อปี นำมาบริหารจัดการทั้งจ้างครูให้เพียงพอต่อการสอนเด็กแต่ก็ไม่เคยได้รับอนุมัติ แต่การจะจ่ายเงินซื้อรถตู้คันเป็นล้านบาทกลับซื้อได้ โดยที่ผ่านมาผมเคยไปรอพบ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการที่ทำเนียบรัฐบาล ก็ไม่มีโอกาสได้พบ ล่าสุดเมื่อเกิดประเด็นนี้ขึ้นเช้าวันพฤหัสบดีที่ 9 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้โทรศัพท์ติดต่อไปยังหน้าห้อง รมว.ศึกษาธิการ เพื่อขอได้ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรงเรียนขนาดเล็ก เพราะผมมีความเชื่อว่า ถ้า นายพงศ์เทพ ได้ฟังข้อเท็จจริงจะเข้าใจปัญหาและไม่สั่งยุบโรงเรียนแต่ก็ไม่ได้พูดคุยแต่อย่างใด” นายสมบูรณ์ กล่าว
นายชัชวาลย์ ทองดีเลิศ เลขาธิการสภาการศึกษาทางเลือก กล่าวว่า การยุบโรงเรียนขนาดเล็กเป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุ ทั้งที่ต้นเหตุของปัญหามาจากการที่ ศธ.บริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพ จัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้ไม่ทั่วถึงจากโรงเรียนในมือกว่า 3 หมื่นโรง ทำไปมาจนกลายเป็นขนาดเล็กไปกว่า 1.7 หมื่นโรง เพราะให้ความสำคัญแต่การดูแลพัฒนาเด็กโรงเรียนในเมือง แต่หลงลืมโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ชายแดนต่างๆ สะท้อนให้เห็นความไม่เป็นธรรมทางการศึกษาที่โรงเรียนขนาดเล็กต้องเผชิญอย่างชัดเจน ดูได้จากเงินอุดหนุนรายหัว จำนวนครูที่น้อยมีไม่ครบชั้นแต่ภาระงานการสอนกับต้องสอนเท่ากับโรงเรียนใหญ่ๆ ที่มีพร้อม ทั้งยังถูกมองว่าไม่มีคุณภาพการศึกษาโดยไปยกตัวอย่างจากคะแนนโอเน็ต ซึ่งในความจริงภาพรวมคะแนนโอเน็ตของเด็กทั้งประเทศอยู่ในเกณฑ์ต่ำ แต่ขณะที่ตนได้คุยกับผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กหลายแห่งกลับพบว่า เด็กของโรงเรียนเหล่านี้ทำคะแนนโอเน็ตได้ดีกว่าเด็กโรงเรียนขนาดใหญ่ เพราะฉะนั้น ปัญหาไม่ใช่ที่คุณภาพ แต่เป็นการบริหารงานที่ไร้ประสิทธิภาพจนทำให้โรงเรียนขนาดเล็กกลายเป็นแพะรับบาป
นายชัชวาลย์ กล่าวอีกว่า ศธ.ควรพิจารณาปัญหาและสาเหตุที่แท้จริง นั่นคือการบริหารงานของ ศธ.ที่กระจุกตัวส่วนกลางไม่กระจายอำนาจ กลายเป็นเตี้ยอุ้มค่อม สุดท้ายก็ดูแลไม่ได้ทั่วถึง ทั้งที่ใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หรือแม้แต่คณะกรรมการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่ 2 ก็ระบุชัดเจนว่า ศธ.จะต้องกระจายอำนาจ และลดบทบาทของตัวเองจากผู้จัดการศึกษามาเป็นผู้สนับสนุนให้ท้องถิ่นมาร่วมจัดการศึกษา ไม่ใช่บริหารผิดแล้วก็มาจัดประชุมสั่งยุบโรงเรียนแบบนี้ คือ การทำงานแบบผิดทิศผิดทาง แล้วเดี๋ยวพอนานเข้ามีปัญหาก็สั่งยุบอีกเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ
“ร.ร.ขนาดเล็กควรจะปรับพัฒนาให้เป็น ร.ร.ของชุมชน กระจายอำนาจออกไปให้ท้องถิ่นมาช่วยดูแลแบบนี้ จึงจะเป็นการสร้างความเป็นธรรมทางการศึกษาให้แก่โรงเรียนขนาดเล็ก เพราะต้องไม่ลืมว่าโรงเรียนเหล่านี้เกิดจากชาวบ้านที่เขาร่วมระดมทุน ร่วมสร้างมีความผูกพัน พอเด็กเหลือน้อยก็แก้ปัญหายุบทิ้งย้ายไปเรียนรวมที่อื่นเช่นนี้ผมมองว่าเป็นการซ้ำเติมชาวบ้าน ต้องคิดถึงใจชาวบ้านด้วย ขณะที่ สพฐ.ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดแม้ที่ผ่านมาจะพูดมาหลายรอบว่าการยุบจะต้องสำรวจก่อน แต่ปัญหาคือพอฝ่ายการเมืองมีทิศทางว่าจะยุบ ข้าราชการก็ตอบสนองนักการเมือง ตั้งธงยุบเป็นหลักตาม เพราะฉะนั้นการจะทำอะไรต้องคุยกับผู้รู้ คนในพื้นที่เพื่อจะได้แก้ปัญหาตรงจุด โดยทางกลุ่มไม่ได้นิ่งนอนใจมีการหารือเพื่อกำหนดท่าทีหาก ศธ.ไม่ยุติ หรือทบทวนเรื่องนี้ใหม่ ก็จะมีการเคลื่อนไหวใหญ่แน่นอน” นายชัชวาลย์ กล่าว
นายชัชวาลย์ กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาทางสภาการศึกษาทางเลือก เคยพยายามติดต่อเพื่อขอเข้าพบ นายพงศ์เทพ แต่ก็ได้รับการเลื่อนนัดมา 2-3 ครั้งและเร็วๆ นี้ จะพยายามประสานเพื่อขอพบและชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรงเรียนขนาดเล็กต่อไป
นายวิทยา พันธุ์เพ็ง ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลโนนคูณ จ.ศรีสะเกษ รองประธานชมรมครูประชาบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า ข่าวเรื่องการยุบโรงเรียนขนาดเล็กได้สร้างความรู้สึกเจ็บปวดและหวั่นวิตกให้กับ ครู อาจารย์ ชาวบ้านทั่วประเทศ และจะให้เกิดผลกระทบอย่างมากมาย ที่สำคัญนโยบายปิดโรงเรียนขนาดเล็กเป็นการฉีกกฏหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพในการจัดการศึกษา ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศชาติ ซึ่งในมาตรา 49 กล่าวไว้ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการได้รับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการ ผู้ทุพพลภาพ หรือผู้ที่อยู่ในภาวะยากลำบากต้องใช้รับสิทธิตามวรรค 1 และได้รับการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น ซึ่งตามกฎหมายมาตรานี้รัฐได้จัดให้โรงเรียนทั่วประเทศเพียงพอหรือยัง
“เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมานักเรียนจากจังหวัดหนองคายที่เข้ามาเรียนในโรงเรียนดังแห่งหนึ่งในกรุงเทพ (มหิดลวิทยานุสรณ์) เกิดความเครียดจากการเรียน จุดไฟเผาห้องวิทยาศาสตร์มูลค่า130 ล้านบาท นี่คือโรงเรียนที่มีคุณภาพ แต่ถ้าไปเปรียบเทียบกับโรงเรียนบ้านโคกอีแล้งมีนักเรียน 20 คน ได้เงินรายหัวแค่เล็กน้อย ตรงนี้เป็นปัญหาเรื่องความเสมอภาค นี่คือการฉีกกฎหมายรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกันก็ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย พ.ร.บ.การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 มาตราที่ 4 ว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับด้วย” นายวิทยา กล่าว
นายวิทยา กล่าวต่อว่า ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการให้ประชากรได้เรียนอย่างทั่วถึง ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีปัญหาความเท่าเทียม เสมอภาคระหว่างโรงเรียนอยู่ แต่ ศธ.กลับมีนโยบายยุบโรงเรียน นโยบายนี้จะทำให้เกิดผลกระทบต่อนักเรียนอย่างแน่นอน โดยเฉพาะนักเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล เมื่อถูกย้ายไปเรียนไกลบ้านเชื่อว่านักเรียนบางส่วนจะไม่ไปเรียน ดังนั้นเรื่องการยุบโรงเรียนขนาดเล็กต้องถามชุมชนด้วย อย่างไรก็ตามประเด็นดังกล่าวมีครูโรงเรียนขนาดเล็กจำนวนมากออกมาแสดงความคิดเห็น ไม่เห็นด้วยกับการยุบโรงเรียนถึงขนาดจะนำผู้ปกครอง และนักเรียนเดินทางมาที่กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อคัดค้านการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งประเด็นทั้งหมดนี้ทางส.ค.ท.จะรวบรวมนำเสนอนายกฯในคราวต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สมาคมสภาการศึกษาทางเลือกและเครือข่ายโรงเรียนชุมชนได้ออกแถลงการณ์ เรื่อง การแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กของภาครัฐ โดยระบุว่า การยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กสะท้อนถึงความไม่เป็นธรรมและเหลื่อมล้ำ ดังนี้ 1.ความไม่เป็นธรรมในการแก้ปัญหาอันเกิดจากความล้มเหลวด้านหารบริหารจัดการศึกษาของ ศธ.2.ความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงสิทธิพื้นฐานของประชาชน 3.ความไม่เป็นธรรมต่อพ่อแม่ผู้ปกครอง 4.ความไม่เป็นธรรมต่อเด็กในการเรียนรู้ 5.ความไม่เป็นธรรมต่อชุมชน และ 6.ความเหลื่อมล้ำอันเกิดจากการศึกษาแบบรวมศูนย์ของรัฐ ซึ่งท่าทีและแนวทางนี้เป็นการหักหาญและทำลายหัวใจพ่อแม่และชุมชน
สำหรับการบริการจัดการโรงเรียนขนาดเล็กให้มีคุณภาพ สภาการศึกษาทางเลือกและเครือข่ายโรงเรียนชุมชนเสนอดงันี้ 1.ศธ.ต้องกระจายอำนาจการจัดการศึกษาแก่ท้องถิ่น และ 2.ขอคืนพื้นที่การศึกษาให้แก่ชุมชน ยกเลิกนโยบายยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก หาก ศธ.ยังเดินหน้าเรื่องนี้ โดยไม่ฟังแนวทางจากภาคประชาชน สภาการศึกษาทางเลือกจะประสานองค์กรด้านการศึกษาทั่วประเทศจัดรณรงค์ครั้งใหญ่ เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและการรวมศูนย์อำนาจการจัดการศึกษา ที่เป็นต้นตอของวิกฤตการศึกษาไทย