“หมอชลน่าน” ควงรองปลัด สธ.ชี้แจงการบรรจุลูกจ้างชั่วคราวกว่าแสนคนเป็น พกส.ลั่นจะเร่งบรรจุให้เสร็จใน ส.ค.นี้ ฟุ้งมีความมั่นคงในอาชีพ ได้สิทธิสวัสดิการใกล้เคียงข้าราชการ
วันนี้ (4 พ.ค.) ที่โรงพยาบาลนครนายก จ.นครนายก นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวระหว่างเปิดประชุมสมาชิกสมาพันธ์สมาคมลูกจ้างของรัฐแห่งประเทศไทย ใน 17 จังหวัดภาคกลางจำนวน 600 คน เพื่อชี้แจงนโยบายและความคืบหน้าการปรับเปลี่ยนสถานภาพลูกจ้างชั่วคราวในสถานพยาบาลสังกัด สธ.เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.) ว่า การปรับปรุงรูปแบบการจ้างงานเพื่อให้การปฏิบัติราชการเกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายแก้ไขปัญหาความขาดแคลนอัตรากำลังคนการให้บริการดูแลรักษาประชาชน ทั้งนี้ หลังออกระเบียบว่าด้วยพนักงานกระทรวงสาธารณสุข และมีผลบังคับใช้มาแล้ว 2 เดือน สธ.จะเร่งดำเนินการบรรจุลูกจ้างชั่วคราวทั้งหมด 117,000 คน ทั้งสายวิชาชีพเฉพาะและสายสนับสนุนเข้าเป็น พกส.ให้เสร็จสิ้นทั่วประเทศภายใน ส.ค. 2556 มีสัญญา 4 ปี เหมือนพนักงานราชการ โดยพร้อมเข้าสู่ระบบการจ้างงานแบบใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2556 เป็นต้นไป
นพ.ชลน่าน กล่าวอีกว่า อัตราการจ้าง พกส.จะใช้บัญชีเงินเดือนของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ยกเว้นสายงานวิชาชีพ เช่น พยาบาล จะได้รับ 1.2 เท่าของเงินเดือนข้าราชการ ขั้นต้น 15,960 บาท ขณะที่ตามระบบเดิมจะได้รับ 11,340 บาท เลื่อนค่าจ้างทุกวันที่ 1 ต.ค.ของปี และปรับเพิ่มค่าจ้างไม่เกินร้อยละ 12 ซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นคงในอาชีพ นอกจากนั้นยังได้รับสิทธิและสวัสดิการต่างๆ ไม่ต่างจากข้าราชการ มีสิทธิลา การศึกษาต่อ ลาคลอดบุตร ส่วนผู้ชายมีสิทธิลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตรได้ไม่เกิน 15 วันทำการ
ด้าน นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา รองปลัด สธ.กล่าวว่า การบรรจุลูกจ้างชั่วคราวเข้าสู่ตำแหน่ง พกส. จะมีคณะกรรมการของหน่วยบริการดำเนินการประเมิน ทั้งความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และคุณลักษณะของบุคคล โดยแบ่ง พกส.ออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภททั่วไป มี 3 กลุ่มงาน ได้แก่ 1.กลุ่มเทคนิคบริการและบริหารทั่วไป 2.กลุ่มวิชาชีพเฉพาะ 3.กลุ่มเชี่ยวชาญ และประเภทพิเศษ ได้แก่ กลุ่มที่ต้องใช้ความสามารถสูงและมีความจำเป็นของหน่วยงาน ที่สำคัญมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสร้างความมั่นคงให้แก่พนักงานฯทุกคน เมื่ออายุมากขึ้นจนถึงวัยเกษียณก็จะมีเงินสะสม รวมกับเงินสมทบพร้อมทั้งผลกำไรที่เกิดจากการลงทุนคืนให้สมาชิกทุกคน
วันนี้ (4 พ.ค.) ที่โรงพยาบาลนครนายก จ.นครนายก นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวระหว่างเปิดประชุมสมาชิกสมาพันธ์สมาคมลูกจ้างของรัฐแห่งประเทศไทย ใน 17 จังหวัดภาคกลางจำนวน 600 คน เพื่อชี้แจงนโยบายและความคืบหน้าการปรับเปลี่ยนสถานภาพลูกจ้างชั่วคราวในสถานพยาบาลสังกัด สธ.เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.) ว่า การปรับปรุงรูปแบบการจ้างงานเพื่อให้การปฏิบัติราชการเกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายแก้ไขปัญหาความขาดแคลนอัตรากำลังคนการให้บริการดูแลรักษาประชาชน ทั้งนี้ หลังออกระเบียบว่าด้วยพนักงานกระทรวงสาธารณสุข และมีผลบังคับใช้มาแล้ว 2 เดือน สธ.จะเร่งดำเนินการบรรจุลูกจ้างชั่วคราวทั้งหมด 117,000 คน ทั้งสายวิชาชีพเฉพาะและสายสนับสนุนเข้าเป็น พกส.ให้เสร็จสิ้นทั่วประเทศภายใน ส.ค. 2556 มีสัญญา 4 ปี เหมือนพนักงานราชการ โดยพร้อมเข้าสู่ระบบการจ้างงานแบบใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2556 เป็นต้นไป
นพ.ชลน่าน กล่าวอีกว่า อัตราการจ้าง พกส.จะใช้บัญชีเงินเดือนของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ยกเว้นสายงานวิชาชีพ เช่น พยาบาล จะได้รับ 1.2 เท่าของเงินเดือนข้าราชการ ขั้นต้น 15,960 บาท ขณะที่ตามระบบเดิมจะได้รับ 11,340 บาท เลื่อนค่าจ้างทุกวันที่ 1 ต.ค.ของปี และปรับเพิ่มค่าจ้างไม่เกินร้อยละ 12 ซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นคงในอาชีพ นอกจากนั้นยังได้รับสิทธิและสวัสดิการต่างๆ ไม่ต่างจากข้าราชการ มีสิทธิลา การศึกษาต่อ ลาคลอดบุตร ส่วนผู้ชายมีสิทธิลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตรได้ไม่เกิน 15 วันทำการ
ด้าน นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา รองปลัด สธ.กล่าวว่า การบรรจุลูกจ้างชั่วคราวเข้าสู่ตำแหน่ง พกส. จะมีคณะกรรมการของหน่วยบริการดำเนินการประเมิน ทั้งความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และคุณลักษณะของบุคคล โดยแบ่ง พกส.ออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภททั่วไป มี 3 กลุ่มงาน ได้แก่ 1.กลุ่มเทคนิคบริการและบริหารทั่วไป 2.กลุ่มวิชาชีพเฉพาะ 3.กลุ่มเชี่ยวชาญ และประเภทพิเศษ ได้แก่ กลุ่มที่ต้องใช้ความสามารถสูงและมีความจำเป็นของหน่วยงาน ที่สำคัญมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสร้างความมั่นคงให้แก่พนักงานฯทุกคน เมื่ออายุมากขึ้นจนถึงวัยเกษียณก็จะมีเงินสะสม รวมกับเงินสมทบพร้อมทั้งผลกำไรที่เกิดจากการลงทุนคืนให้สมาชิกทุกคน