ยอดป่วยไข้เลือดออกสะสม 4 เดือน สูงลิ่ว 2.4 หมื่นคน ตาย 28 คนกว่า 60% เป็นเด็กประถมและมัธยม สาเหตุการเสียชีวิต 1 ใน 3 คือมารักษาช้า สธ.เตรียมประชุมวอร์รูมฯ ร่วม สพฐ. เสนอ 9 แนวทางรับมือป้องกัยไข้เลือดออกและหวัดใหญ่ ช่วงเปิดเทอมฤดูฝน ย้ำไข้สูง 2 วันต้องพบแพทย์ทันที
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ถล่าวถึงสถานการณ์โรคไข้เลือดออกว่า จากการประเมินสถานการณ์พบว่าตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 17 เม.ย. ทั่วประเทศมีผู้ป่วยสะสม 24,272 ราย เสียชีวิต 28 ราย ผู้เสียชีวิตร้อยละ 60 เป็นเด็กชั้นประถมและมัธยมศึกษา อายุ 6-12 ปี จากการวิเคราะห์สาเหตุพบว่าประมาณ 1 ใน 3 ไปรักษาตัวที่คลินิกก่อน เพราะเข้าใจว่าป่วยเป็นโรคอื่น โดยมี 19 จังหวัดที่พบผู้ป่วยมากกว่า 2 อำเภอติดต่อกัน 2 สัปดาห์ในช่วงวันที่ 7-20 เม.ย. ได้แก่ นครราชสีมา ร้อยเอ็ด เลย หนองบัวลำภู นครพนม กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เชียงราย น่าน แพร่ กระบี่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ปัตตานี สงขลา และสกลนคร ได้กำชับให้ผู้ตรวจราชการ สธ.ที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่ดังกล่าว ติดตามแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.กล่าวว่า จากการลงพื้นที่สำรวจของสำนักงานควบคุมป้องกันโรค พบว่ามีแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายได้ทั่วไป ส่วนใหญ่จะอยู่นอกบ้านมากกว่าในบ้าน เช่น เศษขยะ กล่องโฟม โอ่งเก็บน้ำฝนขนาดใหญ่ไม่มีฝาปิด กระป๋อง ถ้วยน้ำหรือแก้วพลาสติกที่ทิ้งไม่เป็นที่เป็นทางและมีน้ำขัง ยางรถยนต์เก่า เป็นต้น ต้องเน้นย้ำให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ตระหนักและจริงจังในการกำจัดต้นตอของยุงลาย รวมถึงสอนให้เด็กๆ เข้าใจถึงอันตรายของไข้เลือดออก ใส่ใจการป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด และช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ไม่ให้ยุงได้มีโอกาสแพร่พันธุ์มากขึ้น
นพ.ณรงค์กล่าวอีกว่า วันที่ 2 พ.ค.นี้ คณะกรรมการวอร์รูมฯ ของ สธ.จะประชุมหารือกับผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทั่วประเทศ เพื่อสร้างความปลอดภัยให้เด็กนักเรียน ทำให้โรงเรียนเป็นเขตปลอดยุงลาย โดยจะเสนอให้ใช้ 9 แนวทางเตรียมพร้อมรับมือโรคไข้เลือดออกและไข้หวัดใหญ่ในฤดูฝนก่อนเปิดเทอม ได้แก่ 1. กำจัดขยะ และภาชนะเหลือใช้ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง 2. ขัด-ล้างทำความสะอาดภาชนะที่ใช้บรรจุน้ำ ซึ่งอาจมีไข่ของยุงลายเกาะอยู่ 3. ใส่เกลือหรือน้ำส้มสายชูในภาชนะบรรจุน้ำขนาดเล็ก 4. ทำความสะอาดพื้นผิวที่สัมผัสบ่อยๆ เพื่อลดการแพร่เชื้อจากมือของเด็กที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ไปยังผู้อื่น 5. จัดหาเจลล้างมือไว้หน้าห้องเรียน 6. ตั้งกลุ่มเด็กอาสาสมัครเพื่อช่วยกันสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ และแจ้งการป่วยของเพื่อนนักเรียน 7. ตรวจคัดกรองหรือวัดไข้เด็ก หากมีไข้ ไอ เจ็บคอให้สวมหน้ากากอนามัย แต่หากมีไข้ 2 วันให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นไข้เลือดออก และให้ทายากันยุง เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อและให้รีบไปพบแพทย์ 8. ปลูกตะไคร้หอม เพื่อนำไปใช้กันยุงในห้องเรียน และ 9. จัดเตรียมความรู้ให้ครูอนามัยเรื่องไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ และโรคมือเท้าปาก
“หากไข้ไม่ลดลงใน 2 วัน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ให้สันนิษฐานว่าเป็นไข้เลือดออกไว้ก่อน ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อรับการตรวจรักษาที่ถูกวิธีตั้งแต่เนิ่นๆ และป้องกันการเสียชีวิต เนื่องจากผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่ เมื่อเป็นไข้มักจะไปพบแพทย์ที่คลินิกหลายๆ แห่งก่อน กว่าจะนำผู้ป่วยไปส่งโรงพยาบาลก็เมื่อมีอาการรุนแรง สุดท้ายก็ช่วยชีวิตไว้ไม่ทัน” ปลัด สธ.กล่าว
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ถล่าวถึงสถานการณ์โรคไข้เลือดออกว่า จากการประเมินสถานการณ์พบว่าตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 17 เม.ย. ทั่วประเทศมีผู้ป่วยสะสม 24,272 ราย เสียชีวิต 28 ราย ผู้เสียชีวิตร้อยละ 60 เป็นเด็กชั้นประถมและมัธยมศึกษา อายุ 6-12 ปี จากการวิเคราะห์สาเหตุพบว่าประมาณ 1 ใน 3 ไปรักษาตัวที่คลินิกก่อน เพราะเข้าใจว่าป่วยเป็นโรคอื่น โดยมี 19 จังหวัดที่พบผู้ป่วยมากกว่า 2 อำเภอติดต่อกัน 2 สัปดาห์ในช่วงวันที่ 7-20 เม.ย. ได้แก่ นครราชสีมา ร้อยเอ็ด เลย หนองบัวลำภู นครพนม กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เชียงราย น่าน แพร่ กระบี่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ปัตตานี สงขลา และสกลนคร ได้กำชับให้ผู้ตรวจราชการ สธ.ที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่ดังกล่าว ติดตามแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.กล่าวว่า จากการลงพื้นที่สำรวจของสำนักงานควบคุมป้องกันโรค พบว่ามีแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายได้ทั่วไป ส่วนใหญ่จะอยู่นอกบ้านมากกว่าในบ้าน เช่น เศษขยะ กล่องโฟม โอ่งเก็บน้ำฝนขนาดใหญ่ไม่มีฝาปิด กระป๋อง ถ้วยน้ำหรือแก้วพลาสติกที่ทิ้งไม่เป็นที่เป็นทางและมีน้ำขัง ยางรถยนต์เก่า เป็นต้น ต้องเน้นย้ำให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ตระหนักและจริงจังในการกำจัดต้นตอของยุงลาย รวมถึงสอนให้เด็กๆ เข้าใจถึงอันตรายของไข้เลือดออก ใส่ใจการป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด และช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ไม่ให้ยุงได้มีโอกาสแพร่พันธุ์มากขึ้น
นพ.ณรงค์กล่าวอีกว่า วันที่ 2 พ.ค.นี้ คณะกรรมการวอร์รูมฯ ของ สธ.จะประชุมหารือกับผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทั่วประเทศ เพื่อสร้างความปลอดภัยให้เด็กนักเรียน ทำให้โรงเรียนเป็นเขตปลอดยุงลาย โดยจะเสนอให้ใช้ 9 แนวทางเตรียมพร้อมรับมือโรคไข้เลือดออกและไข้หวัดใหญ่ในฤดูฝนก่อนเปิดเทอม ได้แก่ 1. กำจัดขยะ และภาชนะเหลือใช้ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง 2. ขัด-ล้างทำความสะอาดภาชนะที่ใช้บรรจุน้ำ ซึ่งอาจมีไข่ของยุงลายเกาะอยู่ 3. ใส่เกลือหรือน้ำส้มสายชูในภาชนะบรรจุน้ำขนาดเล็ก 4. ทำความสะอาดพื้นผิวที่สัมผัสบ่อยๆ เพื่อลดการแพร่เชื้อจากมือของเด็กที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ไปยังผู้อื่น 5. จัดหาเจลล้างมือไว้หน้าห้องเรียน 6. ตั้งกลุ่มเด็กอาสาสมัครเพื่อช่วยกันสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ และแจ้งการป่วยของเพื่อนนักเรียน 7. ตรวจคัดกรองหรือวัดไข้เด็ก หากมีไข้ ไอ เจ็บคอให้สวมหน้ากากอนามัย แต่หากมีไข้ 2 วันให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นไข้เลือดออก และให้ทายากันยุง เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อและให้รีบไปพบแพทย์ 8. ปลูกตะไคร้หอม เพื่อนำไปใช้กันยุงในห้องเรียน และ 9. จัดเตรียมความรู้ให้ครูอนามัยเรื่องไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ และโรคมือเท้าปาก
“หากไข้ไม่ลดลงใน 2 วัน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ให้สันนิษฐานว่าเป็นไข้เลือดออกไว้ก่อน ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อรับการตรวจรักษาที่ถูกวิธีตั้งแต่เนิ่นๆ และป้องกันการเสียชีวิต เนื่องจากผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่ เมื่อเป็นไข้มักจะไปพบแพทย์ที่คลินิกหลายๆ แห่งก่อน กว่าจะนำผู้ป่วยไปส่งโรงพยาบาลก็เมื่อมีอาการรุนแรง สุดท้ายก็ช่วยชีวิตไว้ไม่ทัน” ปลัด สธ.กล่าว