สาธารณสุขห่วงฤดูฝนนี้ไข้เลือดออกจะระบาดหนัก เผยรอบเกือบ 4 เดือนปีนี้พบผู้ป่วยกว่า 20,000 ราย เสียชีวิต 25 รายใน 16 จังหวัด ชี้โรคระบาดต่อเนื่องโดยเฉพาะในอีสานและใต้ ขอความร่วมมือทุกบ้านช่วยกันกำจัดลูกน้ำ อย่าให้ยุงมีที่วางไข่ พร้อมทั้งรณรงค์ทำบิ๊ก คลีนนิ่งเดย์ โรงเรียนพร้อมกันทั่วประเทศ วันที่ 21-27 เมษายน และ 10-17 พฤษภาคมนี้ ก่อนเปิดเทอม ตัดวงจรแพร่เชื้อ
นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในสัปดาห์ที่ 15 คือช่วงวันที่ 11-18 เมษายน 2556 ของปีนี้ พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 2,000 ราย โดยตั้งแต่เดือนมกราคม-10 เมษายน 2556 ทั่วประเทศมีผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสม 22,495 ราย เสียชีวิต 25 ราย ใน 16 จังหวัด มากที่สุดที่สงขลา 6 ราย กลุ่มอายุส่วนใหญ่ร้อยละ 65 ต่ำกว่า 15 ปี โดยการระบาดยังคงมีอย่างต่อเนื่องในจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ หากไม่มีมาตรการเข้มข้นในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและลูกน้ำยุงลาย คาดว่าทั้งปีจำนวนผู้ป่วยจะพุ่งขึ้น 100,000-150,000 ราย และเสียชีวิตประมาณ 100-120 ราย โดยในเดือนพฤษภาคมจะเข้าสู่ฤดูฝนซึ่งเป็นช่วงการระบาดของโรคนี้ จึงต้องเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักและร่วมมือกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย เพราะแหล่งเพาะพันธุ์ยุงที่สำคัญที่สุดอยู่ในบ้านเรือนและรอบๆ บ้านของประชาชนเอง รวมทั้งเตรียมการควบคุมโรคในพื้นที่สาธารณะที่อาจเป็นแหล่งเกิดโรคได้ เช่น โรงเรียน เป็นต้น
นายแพทย์ประดิษฐ กล่าวต่อว่า ได้กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง รณรงค์สร้างกระแสให้ชุมชนตระหนักถึงสภาพปัญหาการระบาด เร่งลดปริมาณยุงลายลงให้ได้มากที่สุด โดยกำหนดรณรงค์ทำความสะอาด หรือบิ๊ก คลีนนิงเดย์ (Big cleaning day) กำจัดยุงลาย 2 ช่วงก่อนเปิดเทอม คือวันที่ 21-27 เมษายน และ 10-17 พฤษภาคมนี้ เพื่อตัดวงจรการแพร่เชื้อไม่ให้ยุงมีที่วางไข่ รวมทั้งสั่งการให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม. สำรวจลูกน้ำยุงลายในภาชนะเก็บน้ำทุกชนิดภายในบ้าน มั่นใจว่าหากมีการกำจัดลูกน้ำอย่างต่อเนื่อง จะลดจำนวนยุงเกิดใหม่ที่จะเป็นพาหะนำโรค พร้อมทั้งให้คำแนะนำวิธีการป้องกันยุงลายกัดทั้งคนป่วยและคนปกติ โดยนอนในมุ้ง ทายากันยุง เช่น โลชั่นตะไคร้หอม รณรงค์ให้ปลูกตะไคร้หอมไว้ใช้เองที่บ้าน
ด้านนายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สำหรับการเตรียมพร้อมเรื่องการรักษาพยาบาล ศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านโรคไข้เลือดออกสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ได้จัดอบรมฟื้นฟูมาตรฐานการวินิจฉัย ดูแลรักษาแก่แพทย์ พยาบาล ทั้งรัฐและเอกชน พร้อมจัดทำคู่มือการวินิจฉัยโรคให้แพทย์จบใหม่ เพื่อลดการเสียชีวิตของประชาชนให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ จังหวัดที่มีผู้ป่วยต่อเนื่อง 2 สัปดาห์มากกว่า 2 อำเภอ มี 22 จังหวัดได้แก่ ชัยนาท เพชรบุรี ระยอง กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ กำแพงเพชร เชียงราย นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ กระบี่ นครศรีธรรมราช พังงา พัทลุง และสงขลา และจังหวัดที่สุ่มสำรวจพบลูกน้ำยุงลายในภาชนะขังน้ำเพื่อใช้ดื่ม หรือใช้ภายในบ้านเรือนชุกชุมมาก เสี่ยงเกิดการระบาดมี 5 จังหวัดคือ เลย นครพนม อุบลราชธานี ภูเก็ตและสงขลา ได้สั่งการให้ตั้งวอร์รูมระดับจังหวัดและเร่งรัดกำจัดลูกน้ำยุงลาย แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย รวมทั้งรณรงค์ให้ประชาชนใช้ตะไคร้หอมทาป้องกันยุงกัด
นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในสัปดาห์ที่ 15 คือช่วงวันที่ 11-18 เมษายน 2556 ของปีนี้ พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 2,000 ราย โดยตั้งแต่เดือนมกราคม-10 เมษายน 2556 ทั่วประเทศมีผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสม 22,495 ราย เสียชีวิต 25 ราย ใน 16 จังหวัด มากที่สุดที่สงขลา 6 ราย กลุ่มอายุส่วนใหญ่ร้อยละ 65 ต่ำกว่า 15 ปี โดยการระบาดยังคงมีอย่างต่อเนื่องในจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ หากไม่มีมาตรการเข้มข้นในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและลูกน้ำยุงลาย คาดว่าทั้งปีจำนวนผู้ป่วยจะพุ่งขึ้น 100,000-150,000 ราย และเสียชีวิตประมาณ 100-120 ราย โดยในเดือนพฤษภาคมจะเข้าสู่ฤดูฝนซึ่งเป็นช่วงการระบาดของโรคนี้ จึงต้องเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักและร่วมมือกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย เพราะแหล่งเพาะพันธุ์ยุงที่สำคัญที่สุดอยู่ในบ้านเรือนและรอบๆ บ้านของประชาชนเอง รวมทั้งเตรียมการควบคุมโรคในพื้นที่สาธารณะที่อาจเป็นแหล่งเกิดโรคได้ เช่น โรงเรียน เป็นต้น
นายแพทย์ประดิษฐ กล่าวต่อว่า ได้กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง รณรงค์สร้างกระแสให้ชุมชนตระหนักถึงสภาพปัญหาการระบาด เร่งลดปริมาณยุงลายลงให้ได้มากที่สุด โดยกำหนดรณรงค์ทำความสะอาด หรือบิ๊ก คลีนนิงเดย์ (Big cleaning day) กำจัดยุงลาย 2 ช่วงก่อนเปิดเทอม คือวันที่ 21-27 เมษายน และ 10-17 พฤษภาคมนี้ เพื่อตัดวงจรการแพร่เชื้อไม่ให้ยุงมีที่วางไข่ รวมทั้งสั่งการให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม. สำรวจลูกน้ำยุงลายในภาชนะเก็บน้ำทุกชนิดภายในบ้าน มั่นใจว่าหากมีการกำจัดลูกน้ำอย่างต่อเนื่อง จะลดจำนวนยุงเกิดใหม่ที่จะเป็นพาหะนำโรค พร้อมทั้งให้คำแนะนำวิธีการป้องกันยุงลายกัดทั้งคนป่วยและคนปกติ โดยนอนในมุ้ง ทายากันยุง เช่น โลชั่นตะไคร้หอม รณรงค์ให้ปลูกตะไคร้หอมไว้ใช้เองที่บ้าน
ด้านนายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สำหรับการเตรียมพร้อมเรื่องการรักษาพยาบาล ศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านโรคไข้เลือดออกสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ได้จัดอบรมฟื้นฟูมาตรฐานการวินิจฉัย ดูแลรักษาแก่แพทย์ พยาบาล ทั้งรัฐและเอกชน พร้อมจัดทำคู่มือการวินิจฉัยโรคให้แพทย์จบใหม่ เพื่อลดการเสียชีวิตของประชาชนให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ จังหวัดที่มีผู้ป่วยต่อเนื่อง 2 สัปดาห์มากกว่า 2 อำเภอ มี 22 จังหวัดได้แก่ ชัยนาท เพชรบุรี ระยอง กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ กำแพงเพชร เชียงราย นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ กระบี่ นครศรีธรรมราช พังงา พัทลุง และสงขลา และจังหวัดที่สุ่มสำรวจพบลูกน้ำยุงลายในภาชนะขังน้ำเพื่อใช้ดื่ม หรือใช้ภายในบ้านเรือนชุกชุมมาก เสี่ยงเกิดการระบาดมี 5 จังหวัดคือ เลย นครพนม อุบลราชธานี ภูเก็ตและสงขลา ได้สั่งการให้ตั้งวอร์รูมระดับจังหวัดและเร่งรัดกำจัดลูกน้ำยุงลาย แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย รวมทั้งรณรงค์ให้ประชาชนใช้ตะไคร้หอมทาป้องกันยุงกัด