อึ้ง! คนไทยป่วยไข้เลือดออกแล้วกว่า 2.4 หมื่นราย ตาย 28 ราย สูงกว่าช่วงเดียวกันในปีที่แล้วถึง 3.5 เท่า กรมควบคุมโรค ชู 13 นวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น กำจัดลูกน้ำยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก ขอความร่วมมือ ปชช.ร่วมกำจัดก่อนเข้าหน้าฝน
วันนี้ (25 เม.ย.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) เปิดเผยว่า จากการจัดมหกรรมรณรงค์โรคไข้เลือดออก 4 ภาค ร่วมกับเครือข่ายในภูมิภาคต่างๆ ภายใต้หัวข้อ “ภูมิปัญญาไทย ต้านภัยไข้เลือดออก” คร.ได้รวบรวมนวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าสนใจไว้ 13 นวัตกรรม ได้แก่ 1.การใช้มะกรูดบากผิวใส่ลงในภาชนะขังน้ำ 1 ลูกต่อพื้นที่น้ำ 40 ตารางนิ้ว ป้องกันได้ 2 วัน 2.ใช้ปูนแดงปั้นขนาดเท่าลูกปิงปอง ตากให้แห้ง 3 วัน ใช้ 1 ก้อนใส่ในโอ่งมังกร 1 ใบ ป้องกันได้ 3 เดือน 3.ใช้อิฐมอญเผาร้อนจนอิฐเป็นสีแดง ใช้คีมคีบใส่ในโอ่ง 1 ก้อนต่อ 1 โอ่ง ป้องกันได้ 1 เดือน 4.ทำกาลักน้ำดูดกำจัดลูกน้ำและตัวโม่งออกจากภาชนะ ป้องกันได้ 7 วัน 5.ปล่อยปลาหางนกยูงในภาชนะที่มีน้ำขัง 6.การใช้ตาข่ายไนล่อนหรือผ้าขาวบางมาปิดปากโอ่งรัดด้วยเชือก ป้องกันไม่ให้ยุงลายมาวางไข่ 7.ใช้สวิงช้อนลูกน้ำในภาชนะที่มีน้ำขัง ป้องกันได้ 7 วัน
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า 8.โรยผงซักฟอกในภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น จานรองกระถางต้นไม้ ยางรถยนต์ ใช้ประมาณ 1 ช้อนแกง ต่อปริมาณน้ำไม่เกิน 2ลิตร ป้องกันได้ 1 เดือน 9.ใช้เกลือแกง 1 ช้อนชา ในแหล่งน้ำขนาดเล็ก เช่น จานรองขาตู้กับข้าว จนกว่าจะพบลูกน้ำจึงเติมเกลืออีกครั้ง 10.นำถุงใส่ตะไคร้หอมวางบริเวณที่อับ เช่น ตู้เสื้อผ้า ห้องน้ำ จะไล่ยุงไม่ให้มารบกวนได้ 11.ปี๊บดักยุง โดยใช้ปี๊บขนมปังเปิดฝาใส่ผ้าสีทึบหรือถุงเท้า ยุงจะเข้าไปตอนกลางคืน ตอนเช้าเอาปี๊บไปตากแดด 2 ชั่วโมงเพื่อฆ่ายุง 12.ใช้น้ำยาล้างจานผสมน้ำหนึ่งกระบอก ฉีดไปตามมุมบ้านจะช่วยลดจำนวนยุงลายในบ้าน และ 13.ให้ใช้น้ำยาล้างจานทาให้ทั่วจานพลาสติกสำหรับใช้โฉบจับยุงที่บินมากวนใกล้ๆ ตัว ยุงจะถูกจับตายอยู่บนจาน ซึ่งภูมิปัญญาพื้นบ้านเหล่านี้จะนำมาเสนอให้ประชาชนได้ทราบในงานมหกรรมรณรงค์โรคไข้เลือดออก 4 ภาค และจะเผยแพร่ในพื้นที่ชุมชนต่อไป
ด้าน พญ.วราภรณ์ ภูมิสวัสดิ์ รองอธิบดี คร. กล่าวว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 24 เม.ย. 2556 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 24,272 ราย เสียชีวิต 28 ราย ซึ่งมากกว่าปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกัน 3.5 เท่า จังหวัดที่มีผู้ป่วยต่อเนื่องมากกว่า 2 อำเภอ มี 23 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท เพชรบุรี ระยอง กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู อุบลราชธานี กำแพงเพชร เชียงราย นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ กระบี่ นครศรีธรรมราช พังงา พัทลุง และสงขลา
“กรมควบคุมโรคได้เร่งรัดและรณรงค์ให้ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ก่อนเข้าฤดูฝน ซึ่งจะทำให้ปริมาณยุงเพิ่มอย่างรวดเร็ว โดยต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานเครือข่ายต่างๆ รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งและประชาชนทุกคน เร่งกำจัดลูกน้ำยุงลายทุกสัปดาห์และ ทุกระดับ รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ป้องกันตนเองไม่ให้ยุงลายกัด โดยใช้ผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นลดการใช้สารเคมี” รองอธิบดี คร. กล่าว
วันนี้ (25 เม.ย.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) เปิดเผยว่า จากการจัดมหกรรมรณรงค์โรคไข้เลือดออก 4 ภาค ร่วมกับเครือข่ายในภูมิภาคต่างๆ ภายใต้หัวข้อ “ภูมิปัญญาไทย ต้านภัยไข้เลือดออก” คร.ได้รวบรวมนวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าสนใจไว้ 13 นวัตกรรม ได้แก่ 1.การใช้มะกรูดบากผิวใส่ลงในภาชนะขังน้ำ 1 ลูกต่อพื้นที่น้ำ 40 ตารางนิ้ว ป้องกันได้ 2 วัน 2.ใช้ปูนแดงปั้นขนาดเท่าลูกปิงปอง ตากให้แห้ง 3 วัน ใช้ 1 ก้อนใส่ในโอ่งมังกร 1 ใบ ป้องกันได้ 3 เดือน 3.ใช้อิฐมอญเผาร้อนจนอิฐเป็นสีแดง ใช้คีมคีบใส่ในโอ่ง 1 ก้อนต่อ 1 โอ่ง ป้องกันได้ 1 เดือน 4.ทำกาลักน้ำดูดกำจัดลูกน้ำและตัวโม่งออกจากภาชนะ ป้องกันได้ 7 วัน 5.ปล่อยปลาหางนกยูงในภาชนะที่มีน้ำขัง 6.การใช้ตาข่ายไนล่อนหรือผ้าขาวบางมาปิดปากโอ่งรัดด้วยเชือก ป้องกันไม่ให้ยุงลายมาวางไข่ 7.ใช้สวิงช้อนลูกน้ำในภาชนะที่มีน้ำขัง ป้องกันได้ 7 วัน
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า 8.โรยผงซักฟอกในภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น จานรองกระถางต้นไม้ ยางรถยนต์ ใช้ประมาณ 1 ช้อนแกง ต่อปริมาณน้ำไม่เกิน 2ลิตร ป้องกันได้ 1 เดือน 9.ใช้เกลือแกง 1 ช้อนชา ในแหล่งน้ำขนาดเล็ก เช่น จานรองขาตู้กับข้าว จนกว่าจะพบลูกน้ำจึงเติมเกลืออีกครั้ง 10.นำถุงใส่ตะไคร้หอมวางบริเวณที่อับ เช่น ตู้เสื้อผ้า ห้องน้ำ จะไล่ยุงไม่ให้มารบกวนได้ 11.ปี๊บดักยุง โดยใช้ปี๊บขนมปังเปิดฝาใส่ผ้าสีทึบหรือถุงเท้า ยุงจะเข้าไปตอนกลางคืน ตอนเช้าเอาปี๊บไปตากแดด 2 ชั่วโมงเพื่อฆ่ายุง 12.ใช้น้ำยาล้างจานผสมน้ำหนึ่งกระบอก ฉีดไปตามมุมบ้านจะช่วยลดจำนวนยุงลายในบ้าน และ 13.ให้ใช้น้ำยาล้างจานทาให้ทั่วจานพลาสติกสำหรับใช้โฉบจับยุงที่บินมากวนใกล้ๆ ตัว ยุงจะถูกจับตายอยู่บนจาน ซึ่งภูมิปัญญาพื้นบ้านเหล่านี้จะนำมาเสนอให้ประชาชนได้ทราบในงานมหกรรมรณรงค์โรคไข้เลือดออก 4 ภาค และจะเผยแพร่ในพื้นที่ชุมชนต่อไป
ด้าน พญ.วราภรณ์ ภูมิสวัสดิ์ รองอธิบดี คร. กล่าวว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 24 เม.ย. 2556 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 24,272 ราย เสียชีวิต 28 ราย ซึ่งมากกว่าปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกัน 3.5 เท่า จังหวัดที่มีผู้ป่วยต่อเนื่องมากกว่า 2 อำเภอ มี 23 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท เพชรบุรี ระยอง กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู อุบลราชธานี กำแพงเพชร เชียงราย นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ กระบี่ นครศรีธรรมราช พังงา พัทลุง และสงขลา
“กรมควบคุมโรคได้เร่งรัดและรณรงค์ให้ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ก่อนเข้าฤดูฝน ซึ่งจะทำให้ปริมาณยุงเพิ่มอย่างรวดเร็ว โดยต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานเครือข่ายต่างๆ รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งและประชาชนทุกคน เร่งกำจัดลูกน้ำยุงลายทุกสัปดาห์และ ทุกระดับ รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ป้องกันตนเองไม่ให้ยุงลายกัด โดยใช้ผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นลดการใช้สารเคมี” รองอธิบดี คร. กล่าว