สพฐ.เล็งจัดเสวนาโต๊ะกลมถกปรับทิศทางห้องเรียน นำสู่การปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนโดยดึงแนวคิดหลักจากหนังสือ Flip Your Classroom ที่ใช้เทคโนโลยีที่ทำให้เด็กสืบค้นข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา “ชินภัทร” ชี้เหมาะกับ ร.ร.ที่มีข้อจำกัด โดยเฉพาะ ร.ร.ใน 3 จ.ภาคใต้ตอบรับแนวทางนี้ เตรียมสำรวจ ร.ร.ที่มีความพร้อมเพื่ออบรมครูนำไปปรับใช้สอนเด็กในพื้นที่
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า เร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เตรียมจัดเวทีเสวนาโต๊ะกลมเกี่ยวกับแนวคิดการปรับทิศทางของห้องเรียน โดยจะนำแนวคิดจากหนังสือ Flip Your Classroom มาเป็นแนวคิดหลักของการเสวนาในครั้งนี้ ซึ่งแนวคิดของหนังสือดังกล่าวนั้นเป็นการปรับทิศทางการจัดกิจกรรมในชั้นเรียนภายใต้บริบทของเทคโนโลยี ระบบไอซีทีที่ความรู้นั้นมีอยู่ทั่วทุกสถานที่และสามารถเรียนรู้ได้อยู่ตลอดเวลา แต่ปัจจุบันกระบวนการเรียนการสอนที่โรงเรียนดำเนินการอยู่คือ ช่วงเวลา 5 นาทีแรก จะเป็นการนำเข้าสู่บทเรียน ช่วง 20 นาทีต่อมา เป็นการบรรยาย อีก 10 นาทีต่อมา เป็นเวลาของการสาธิตและ 5 นาทีสุดท้าย เป็นช่วงเวลาที่ครูตั้งคำถามให้เด็กคิดและตอบ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทำให้เด็กมีส่วนร่วมในชั้นเรียนน้อยมาก
“เพราะฉะนั้น จากนี้ไปจะต้องมีการปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนและใช้เวลาในห้องเรียน โดยใช้เทคโนโลยีที่มีมาช่วยให้เกิดการประโยชน์คล้ายกับวิธีที่จะใช้แท็บเล็ตเป็นเครื่องมือให้นักเรียนใช้ในการสืบหาข้อมูล และต่อไปเด็กจะมาเรียน โดยมีความพร้อมที่จะตั้งคำถามกับครู หรือพร้อมที่จะเสวนา หรือถกแถลงในชั้นเรียนเกี่ยวกับเรื่องที่ครูมอบเป็นการบ้านกลับไปสืบค้นจากเนื้อหาที่มีอยู่ในแท็บเล็ตได้ ไม่ใช่มาเรียนด้วยสมองว่างเปล่า และรอรับความรู้จากครู ซึ่งเป็นวิธีการแบบเดิม” นายชินภัทร กล่าวและว่า ทั้งนี้ หากปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้สำเร็จจะส่งผลดีต่อโรงเรียนที่มีข้อจำกัดได้ค่อนข้างมากอีกด้วย โดยเฉพาะในโรงเรียนพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ สพฐ.เคยเสนอแนวทางดังกล่าวต่อครูและผู้บริหารในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้รับการตอบรับดี เพราะหากเราสามารถปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนได้สำเร็จก็จะส่งผลดี คือเด็กในพื้นที่สามารถใช้เวลาเรียนกับตนเองมากขึ้น เวลาเรียนต่อวันและสัปดาห์จะลดลง อย่างไรก็ตาม สำคัญที่สุดที่จะทำรูปแบบนี้ให้เป็นผลสำเร็จได้จะต้องมีระบบโครงสร้างพื้นฐาน สื่อการเรียนการสอนตามหัวข้อ ระบบอินเทอร์เน็ต แผนการสอน โดยเบื้องต้น สพฐ.ได้มอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปทำการสำรวจว่า หากจะดำเนินการเรื่องดังกล่าวในโรงเรียนพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีโรงเรียนที่มีความพร้อมกี่โรงเพื่อจะได้อบรมพัฒนาครูให้มีความพร้อมกับการจัดการเรียนการสอนในแนวทางใหม่
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า เร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เตรียมจัดเวทีเสวนาโต๊ะกลมเกี่ยวกับแนวคิดการปรับทิศทางของห้องเรียน โดยจะนำแนวคิดจากหนังสือ Flip Your Classroom มาเป็นแนวคิดหลักของการเสวนาในครั้งนี้ ซึ่งแนวคิดของหนังสือดังกล่าวนั้นเป็นการปรับทิศทางการจัดกิจกรรมในชั้นเรียนภายใต้บริบทของเทคโนโลยี ระบบไอซีทีที่ความรู้นั้นมีอยู่ทั่วทุกสถานที่และสามารถเรียนรู้ได้อยู่ตลอดเวลา แต่ปัจจุบันกระบวนการเรียนการสอนที่โรงเรียนดำเนินการอยู่คือ ช่วงเวลา 5 นาทีแรก จะเป็นการนำเข้าสู่บทเรียน ช่วง 20 นาทีต่อมา เป็นการบรรยาย อีก 10 นาทีต่อมา เป็นเวลาของการสาธิตและ 5 นาทีสุดท้าย เป็นช่วงเวลาที่ครูตั้งคำถามให้เด็กคิดและตอบ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทำให้เด็กมีส่วนร่วมในชั้นเรียนน้อยมาก
“เพราะฉะนั้น จากนี้ไปจะต้องมีการปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนและใช้เวลาในห้องเรียน โดยใช้เทคโนโลยีที่มีมาช่วยให้เกิดการประโยชน์คล้ายกับวิธีที่จะใช้แท็บเล็ตเป็นเครื่องมือให้นักเรียนใช้ในการสืบหาข้อมูล และต่อไปเด็กจะมาเรียน โดยมีความพร้อมที่จะตั้งคำถามกับครู หรือพร้อมที่จะเสวนา หรือถกแถลงในชั้นเรียนเกี่ยวกับเรื่องที่ครูมอบเป็นการบ้านกลับไปสืบค้นจากเนื้อหาที่มีอยู่ในแท็บเล็ตได้ ไม่ใช่มาเรียนด้วยสมองว่างเปล่า และรอรับความรู้จากครู ซึ่งเป็นวิธีการแบบเดิม” นายชินภัทร กล่าวและว่า ทั้งนี้ หากปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้สำเร็จจะส่งผลดีต่อโรงเรียนที่มีข้อจำกัดได้ค่อนข้างมากอีกด้วย โดยเฉพาะในโรงเรียนพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ สพฐ.เคยเสนอแนวทางดังกล่าวต่อครูและผู้บริหารในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้รับการตอบรับดี เพราะหากเราสามารถปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนได้สำเร็จก็จะส่งผลดี คือเด็กในพื้นที่สามารถใช้เวลาเรียนกับตนเองมากขึ้น เวลาเรียนต่อวันและสัปดาห์จะลดลง อย่างไรก็ตาม สำคัญที่สุดที่จะทำรูปแบบนี้ให้เป็นผลสำเร็จได้จะต้องมีระบบโครงสร้างพื้นฐาน สื่อการเรียนการสอนตามหัวข้อ ระบบอินเทอร์เน็ต แผนการสอน โดยเบื้องต้น สพฐ.ได้มอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปทำการสำรวจว่า หากจะดำเนินการเรื่องดังกล่าวในโรงเรียนพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีโรงเรียนที่มีความพร้อมกี่โรงเพื่อจะได้อบรมพัฒนาครูให้มีความพร้อมกับการจัดการเรียนการสอนในแนวทางใหม่