xs
xsm
sm
md
lg

สพฐ.มึน! คะแนนโอเน็ต ม.6 ร.ร.ชนบทสูงกว่า ร.ร.ในเมือง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สพฐ.มึน! วิเคราะห์คะแนนโอเน็ต ม.6 ของ ร.ร.ห่างไกลคะแนนสูงกว่า ร.ร.ในเมือง เร่งสั่งสำนักทดสอบไปวิจัยเชิงลึกหาคำตอบด่วน ด้าน เลขาฯ กพฐ.ฟุ้ง คะแนนโอเน็ต ม.6 ในภาพรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.86 แยกย่อยรายวิชาพบ เพิ่มขึ้นถึง 6 วิชา

วันนี้ (9 เม.ย.) นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ตระดับชั้น ม.6 ของนักเรียนในสังกัด โดยเปรียบเทียบคะแนนโอเน็ตระหว่างปี 2554 และ 2555 เพื่อดูพัฒนาในการจัดการเรียนการสอน และพบว่าในภาพรวมคะแนนดีขึ้น 6 วิชา จากทั้งหมด 8 วิชา โดยวิชาที่คะแนนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่ วิชาภาษาไทย เพิ่มขึ้น 5.56% วิทยาศาสตร์ เพิ่มขึ้น 5.37 ศิลปะ 4.33 สังคมศึกษา เพิ่มขึ้น 3.07 ส่วนอีก 2 คะแนนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย คือ วิชาภษาอังกฤษ เพิ่มขึ้น 0.37 และคณิตศาสตร์ 0.09 สำหรับวิชาที่คะแนนลดลง ได้แก่ วิชาสุขศึกษา ลดลง 0.88 และการงานและอาชีพ ลดลง 3.01 อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมเฉลี่ยทุกวิชา คะแนนเพิ่มขึ้น 1.86
ภาพประกอบข่าวจากอินเทอร์เน็ต
สพฐ.ยังได้วิเคราะห์เจาะลึกโดยแยกคะแนนโอเน็ตตาม ขนาดของโรงเรียน คือ ร.ร.ขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก พบว่า คะแนนเฉลี่ยนลดหลั่นไปตามขนาดของโรงเรียน และยังได้เปรียบเทียบคะแนนโอเน็ตระหว่าง ร.ร.ในเมืองและในชนบท พบข้อมูลที่น่าตกใจว่า คะแนนเฉลี่ยของ ร.ร.ในชนบททคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าในเมือง ซึ่ง สพฐ.จะให้ได้มอบให้สำนักทดสอบทางการศึกษาของ สพฐ.ไปวิจัยเชิงลึกเพื่อหา สาเหตุที่ทำให้คะแนนโอเน็ตของ ร.ร.ในชนบทสูงว่า ร.ร.ในเมือง ” นายชินภัทร กล่าว

เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม สพฐ.จะได้วิจัยผลการสอบโอเน็ตอย่างละเอียด เพื่อนำมาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในแต่ละวิชาด้วย โดยเลือกดูว่า หัวข้อการเรียนรู้ใดที่ นร.ทำสอบไม่ค่อยได้ เช่น วิชาภาษาไทย พบว่านักเรียนมีปัญหาในเรื่องหลักใช้ภาษา วรรณคดีและวรรณกรรม วิชาคณิตศาสตร์ มีปัญหาพีชคณิตศาสตร์ สพฐ.ก็จะเข้าปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในหัวข้อนั้นๆ ด้วยการจัดทำคู่มือการเรียนการสอน พัฒนาสื่อ พัฒนาครู ให้มีเทคนิคการสอนหัวข้อเหล่านี้ดียิ่งขึ้น สำหรับผลวิจัยคะแนนโอเน็ตต่ำ จะนำย้อนกลับมาที่การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ จะเป็นข้อมูลที่ สพฐ.ใช้ในการวางแผนพัฒนาแบบเจาะลึก ทั้งการพัฒนาครู พัฒาการจัดการเรียนการสอน โดย สพฐ.จะไม่ปูพรมทำเหมือนสมัยก่อน แต่จะเลือกเน้นพัฒนาในหัวข้อการเรียนรู้ที่มีปัญหา



ด้าน รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) กล่าวว่า สำหรับคะแนนเฉลี่ยของโอเน็ต ชั้น ม.6 ในภาพรวมแยกตามสาระทั้งในระดับประเทศและตามขนาดโรงเรียน ใน 5 วิชาหลัก ดังนี้ 1.วิชาภาษาไทย โรงเรียนขนาดเล็ก มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใน การอ่านสูงที่สุด 47.41% รองลงมาคือ การฟัง การดู และการพูด 39.23% ตามด้วยการเขียน 34.68% วรรณคดีและวรรณกรรม 29.55% และ หลักการใช้ภาษา 29.03% โรงเรียนขนาดกลาง การอ่านสูงสุด 50.73% รองลงมาคือ การฟัง การดู และการพูด 43.32% ตามด้วยการเขียน 37.50% หลักการใช้ภาษา 32.09% และวรรณคดีและวรรณกรรม 32.06%

โรงเรียนขนาดใหญ่ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใน การอ่านสูงที่สุด 54.73% รองลงมาคือ การฟัง การดู และการพูด 48.41% ตามด้วยการเขียน 40.90% หลักการใช้ภาษา 35.93% และวรรณคดีและวรรณกรรม 35.37% และโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ การอ่านสูงสุด 61.48% รองลงมาคือ การฟัง การดู และการพูด 57.89% ตามด้วยการเขียน 47.35% หลักการใช้ภาษา 44.00% และวรรณคดีและวรรณกรรม 42.33%

2.สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนขนาดเล็ก มีผลสำเร็จทางการเรียนในเรื่อง หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคมสูงสุด 37.30% รองลง ภูมิศาสตร์ 37.16% เศรษฐศาสตร์ 36.77% ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม 27.48% และประวัติศาสตร์ 22.06% โรงเรียนขนาดกลาง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภูมิศาสตร์สูงสุด 39.04% รองลงมา เศรษฐศาสตร์ 38.85% หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม 38.50% ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม 27.25 และประวัติศาสตร์ 22.67%โรงเรียนขนาดใหญ่ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภูมิศาสตร์สูงสุด 41.41% รองลงมา เศรษฐศาสตร์ 40.70% หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม 40.02% ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม 29.41 และประวัติศาสตร์ 23.76% โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภูมิศาสตร์สูงสุด 45.30% รองลงมา เศรษฐศาสตร์ 44.59% หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม 43.16% ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม 33.23 และประวัติศาสตร์ 27.09%

3.ภาษาอังกฤษ โรงเรียนขนาดเล็ก มีผลสัมฤทธิ์เรื่องภาษาและการสื่อสารสูงสุด 21.78% รองมาภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น 19.23% ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก 18.90% และภาษาและวัฒนธรรม 9.80% โรงเรียนขนาดกลาง ภาษาและการสื่อสารสูงสุด 22.59% รองมาภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น 19.63% ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก 19.31 และภาษาและวัฒนธรรม 11.05% โรงเรียนขนาดใหญ่ ภาษาและการสื่อสารสูงสุด 24.24% ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก 20.65% รองมาภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น 20.60% และภาษาและวัฒนธรรม 12.93% โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ภาษาและการสื่อสารสูงสุด 31.12% ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก 26.41% รองมาภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น 24.41% และภาษาและวัฒนธรรม 17.92%

4.วิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนขนาดเล็ก สูงสุดการวัด 18.16% พีชคณิต 18.06% จำนวนและการดำเนินการ 17.62% การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 15.53% โรงเรียนขนาดกลาง สูงสุดพีชคณิต 19.64 % รองมาจำนวนและการดำเนินการ 18.99% การวัด 18.72% การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 16.67%

โรงเรียนขนาดใหญ่ สูงสุดพีชคณิต 22.04% รองมาจำนวนและการดำเนินการ 20.98% การวัด 19.57% การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 17.72% โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ สูงสุดพีชคณิต 28.82% รองมาจำนวนและการดำเนินการ 27.50% การวัด 22.37% การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 21.07%

5.วิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนขนาดเล็ก สูงสุด ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 38.02% รองมาธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 37.21% กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก 33.46 % โรงเรียนขนาดกลาง สูงสุดธรรม ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 39.34% ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 39.29% กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก 36.12 % โรงเรียนขนาดใหญ่ ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 41.63% ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 40.63% กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก 38.85% โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 46.35% รองลงมากระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก 43.80% และชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 43.32%
กำลังโหลดความคิดเห็น