หมอโครงการผลิตแพทย์ในชนบท 2 ราย ยอมลาออกแม้ยังใช้ทุนไม่หมด 12 ปี เหตุเพราะเปลี่ยนวิธีจ่ายค่าตอบแทนเป็น P4P อ้างทำให้แพทย์มองคนไข้เป็นสินค้า ด้าน รพร.20 แห่ง ออกแถลงการณ์ รพช.ไม่เอา P4P “หมอประดิษฐ” ลั่นหากมีจริงขอข้อมูล เตรียมเยียวยา
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ขณะนี้มีแพทย์ในโครงการแพทย์โอดอด (ODOD) หรือ 1 แพทย์ 1 ตำบล ซึ่งต้องใช้ทุนมากกว่าเรียนแพทย์ทั่วไปถึง 4 เท่า หรือ 12 ปี และหากจะออกก่อนต้องใช้ทุนคืนมากกว่าปกติ 5 เท่า คิดเป็น 2 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีคนลาออก แต่ล่าสุดมีแพทย์แสดงความประสงค์ลาออก 2 คน โดยเป็นแพทย์โรงพยาบาลบ้านฝาง จ. ขอนแก่น โดยรายแรกเป็นแพทย์ใช้ทุนปี 2 ขึ้น ปี 3 และอีกรายแพทย์ใช้ทุนปี 1 ขึ้น ปี 2 เมื่อสอบถามล้วนตอบว่า ส่วนหนึ่งมาจากการจ่ายตามภาระงาน (P4P: Pay for Performance) ซึ่งไม่เป็นธรรมกับหมอในชนบท อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 9 เม.ย.นี้ ที่โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต แกนนำแพทย์โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) จะมีการรวมตัวกันเพื่อหารือถึงแนวทางเคลื่อนไหวเรื่องนี้อีกครั้ง พร้อมทั้งทราบมาว่าแพทย์ ที่ได้รับรางวัลแพทย์ชนบทดีเด่นของศิริราชพยาบาล จะรวมตัวกันร้องทุกข์หน้าสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ซึ่งทรงเป็นพระบิดาแห่งการแพทย์ไทย
พญ.นิภารัตน์ สรีไพร แพทย์ใช้ทุนโครงการโอดอด ปี 1 ขึ้น ปี 2 กล่าวว่า สาเหตุของการลาออกมี 2 ส่วนคือ ต้องการศึกษาต่อ และไม่พอใจกับการใช้ P4P เพราะจะทำให้แพทย์เห็นคนไข้เหมือนสินค้า ทั้งนี้ หลังจากการลาออกจะไปทำงานเอกชนก่อน เพื่อหาเงินมาใช้คืนรัฐบาล อย่างไรก็ตาม รัฐบาลก่อนทำพีฟอร์พี กลับไม่เคยทำประชาพิจารณ์ความคิดเห็นผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรพ.ที่จะได้รับประโยชน์จากพีฟอร์พี จะเป็นโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป เพราะมีจำนวนเตียงมากกว่าโรงพยาบาลชุมชน การคิดค่าคะแนนย่อมมากกว่า
วันเดียวกัน เครือข่ายผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช (รพร.) 20 แห่ง อาทิ รพร.ท่าบ่อ จ.หนองคาย รพร.เชียงของ จ.เชียงราย รพร.เด่นชัย จ.แพร่ รพร.ด่านซ้าย จ.เลย รพร.บ้านดุง จ.อุดรธานี รพร.ตะพานหิน จ.พิจิตร รพร.เลิงนกทา จ.ยโสธร รพร.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี รพร.สายบุรี จ.ปัตตานี รพร.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช ฯลฯ ออกแถลงการณ์ต่อกรณีการใช้ P4P ใน รพช.ว่า เจ้าหน้าที่ทุกคนที่ปฏิบัติงานใน รพร.ทุกแห่ง ตระหนักดีถึงพระบรมราโชวาทของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ที่พระราชทานแก่ รพร.เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2522 ซึ่งได้น้อมนำและยึดเป็นหลักปฏิบัติในการทำงานตลอดมาว่า “ทุกคนที่ทำงาน ต้องไม่ลืมว่า โรงพยาบาลแห่งนี้ ก่อกำเนิดขึ้นจากความมุ่งปรารถนาอันแรงกล้าของคนไทยทั่วราชอาณาจักร ที่ต้องการจะเห็นผู้ที่อยู่ในท้องถิ่นทุรกันดารทุกหนแห่ง ได้รับการดูแลเอาใจใส่ในการรักษาพยาบาลเป็นอย่างดี ให้ปลอดภัยจากความเจ็บไข้ โดยทั่วถึงเสมอหน้ากัน”
แต่เนื่องจากการปรับเปลี่ยนวิธีคิดเบี้ยเลี้ยงแบบเดิมมาเป็นวิธีคิด P4P ได้ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งใน สธ.นั้น จึงความเห็นร่วมกันว่า หากนำมาตรการจ่ายค่าตอบแทนตามระบบ P4P มาใช้กับลักษณะงานทางการแพทย์อาจจะมีความไม่เหมาะสม และอาจส่งผลให้การทำงานไม่เกิดผลสำเร็จดังพระบรมราโชวาทที่ได้ทรงพระราชทานไว้ เนื่องจากงานด้านสุขภาพนั้นเป็นงานวิชาชีพ ไม่ใช่งานอาชีพ งานวิชาชีพใช้มาตรฐานจริยธรรมกำกับ หากเอาพีฟอร์พีมาใช้จะทำให้เกิดปัญหาเชิงจริยธรรม จึงมีข้อเสนอ ดังนี้ 1.ควรชะลอหรือยกเลิกการใช้มาตรการจ่ายค่าตอบแทนพีฟอร์พี 2.ควรทบทวนแนวทางการจ่ายค่าตอบแทนพีฟอร์พี โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และมีการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน แล้วประเมินผลอีกครั้ง 3.ควรเร่งดำเนินการลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นกับทุกฝ่าย และสร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน 4.ควรร่วมมือกันอย่างสันติในการออกแบบระบบการจ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสม
ด้าน นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า เรื่องนี้ขอให้มีตัวเลขที่ชัดเจนก่อนว่ามีแพทย์ลาออกเท่าไหร่ จะได้เข้าไปเยียวยา ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงาน อย่างไรก็ตาม อยากให้เข้าใจว่า การปรับวิธีจ่ายค่าตอบแทนนั้นแทบไม่ได้ลดเลย แถมมีการจ่ายเงินแบบ P4P เพิ่มเติมอีก นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีมติว่าหากเงินบำรุงไม่พอก็สามารถเบิกเงินงบประมาณได้อีก เรื่องนี้แทบเหมือนเดิมทุกอย่าง จึงอยากให้เข้าใจเรื่องนี้ เพราะรัฐบาลเข้าใจดีว่าเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายเป็นการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างภาครัฐและเอกชน จึงมีการคงที่ไว้ แต่จะให้เพิ่มขึ้นนั้น สิ่งที่จะตอบประชาชนได้ดี คือ การนำ P4P เข้าไปบวก ซึ่งจะเป็นความชอบธรรมที่บุคลากรทางการแพทย์จะได้รับ และการกระทำตรงนี้จะเป็นการรั้งคนในระบบมากกว่าไล่ออกนอกระบบ
ผู้สื่อข่าวถามว่า นอกจากการต้าน P4P ยังมีการยกระดับว่า รัฐมนตรี สธ.ยังต้องการรวบอำนาจองค์กรอิสระต่างๆ จากการตั้งคณะกรรมการนโยบายสาธารณสุขแห่งชาติ นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ได้แนะนำให้ รมช.สาธารณสุข จัดการประชุมข้อคิดเห็นเรื่องการปฏิรูป สธ.ขึ้น ซึ่งการปฏิรูปดังกล่าวไม่ได้เพิ่งเกิด แต่เกิดมานานแล้ว โดยความคิดนี้มาจาก สวรส.เอง ตนเป็นผู้นำมาต่อยอดให้สำเร็จ ซึ่งการปฏิรูประบบสาธารณสุข ต้องการสื่อให้เห็นว่าไม่ได้ครอบงำจาก สธ.เพราะกระบวนการต่างๆ ยิ่งคณะกรรมการนโยบายฯ จะดูแล ให้ สธ.สปสช. ฯลฯ ทำงานในแนวทางเดียวกัน
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ขณะนี้มีแพทย์ในโครงการแพทย์โอดอด (ODOD) หรือ 1 แพทย์ 1 ตำบล ซึ่งต้องใช้ทุนมากกว่าเรียนแพทย์ทั่วไปถึง 4 เท่า หรือ 12 ปี และหากจะออกก่อนต้องใช้ทุนคืนมากกว่าปกติ 5 เท่า คิดเป็น 2 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีคนลาออก แต่ล่าสุดมีแพทย์แสดงความประสงค์ลาออก 2 คน โดยเป็นแพทย์โรงพยาบาลบ้านฝาง จ. ขอนแก่น โดยรายแรกเป็นแพทย์ใช้ทุนปี 2 ขึ้น ปี 3 และอีกรายแพทย์ใช้ทุนปี 1 ขึ้น ปี 2 เมื่อสอบถามล้วนตอบว่า ส่วนหนึ่งมาจากการจ่ายตามภาระงาน (P4P: Pay for Performance) ซึ่งไม่เป็นธรรมกับหมอในชนบท อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 9 เม.ย.นี้ ที่โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต แกนนำแพทย์โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) จะมีการรวมตัวกันเพื่อหารือถึงแนวทางเคลื่อนไหวเรื่องนี้อีกครั้ง พร้อมทั้งทราบมาว่าแพทย์ ที่ได้รับรางวัลแพทย์ชนบทดีเด่นของศิริราชพยาบาล จะรวมตัวกันร้องทุกข์หน้าสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ซึ่งทรงเป็นพระบิดาแห่งการแพทย์ไทย
พญ.นิภารัตน์ สรีไพร แพทย์ใช้ทุนโครงการโอดอด ปี 1 ขึ้น ปี 2 กล่าวว่า สาเหตุของการลาออกมี 2 ส่วนคือ ต้องการศึกษาต่อ และไม่พอใจกับการใช้ P4P เพราะจะทำให้แพทย์เห็นคนไข้เหมือนสินค้า ทั้งนี้ หลังจากการลาออกจะไปทำงานเอกชนก่อน เพื่อหาเงินมาใช้คืนรัฐบาล อย่างไรก็ตาม รัฐบาลก่อนทำพีฟอร์พี กลับไม่เคยทำประชาพิจารณ์ความคิดเห็นผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรพ.ที่จะได้รับประโยชน์จากพีฟอร์พี จะเป็นโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป เพราะมีจำนวนเตียงมากกว่าโรงพยาบาลชุมชน การคิดค่าคะแนนย่อมมากกว่า
วันเดียวกัน เครือข่ายผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช (รพร.) 20 แห่ง อาทิ รพร.ท่าบ่อ จ.หนองคาย รพร.เชียงของ จ.เชียงราย รพร.เด่นชัย จ.แพร่ รพร.ด่านซ้าย จ.เลย รพร.บ้านดุง จ.อุดรธานี รพร.ตะพานหิน จ.พิจิตร รพร.เลิงนกทา จ.ยโสธร รพร.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี รพร.สายบุรี จ.ปัตตานี รพร.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช ฯลฯ ออกแถลงการณ์ต่อกรณีการใช้ P4P ใน รพช.ว่า เจ้าหน้าที่ทุกคนที่ปฏิบัติงานใน รพร.ทุกแห่ง ตระหนักดีถึงพระบรมราโชวาทของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ที่พระราชทานแก่ รพร.เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2522 ซึ่งได้น้อมนำและยึดเป็นหลักปฏิบัติในการทำงานตลอดมาว่า “ทุกคนที่ทำงาน ต้องไม่ลืมว่า โรงพยาบาลแห่งนี้ ก่อกำเนิดขึ้นจากความมุ่งปรารถนาอันแรงกล้าของคนไทยทั่วราชอาณาจักร ที่ต้องการจะเห็นผู้ที่อยู่ในท้องถิ่นทุรกันดารทุกหนแห่ง ได้รับการดูแลเอาใจใส่ในการรักษาพยาบาลเป็นอย่างดี ให้ปลอดภัยจากความเจ็บไข้ โดยทั่วถึงเสมอหน้ากัน”
แต่เนื่องจากการปรับเปลี่ยนวิธีคิดเบี้ยเลี้ยงแบบเดิมมาเป็นวิธีคิด P4P ได้ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งใน สธ.นั้น จึงความเห็นร่วมกันว่า หากนำมาตรการจ่ายค่าตอบแทนตามระบบ P4P มาใช้กับลักษณะงานทางการแพทย์อาจจะมีความไม่เหมาะสม และอาจส่งผลให้การทำงานไม่เกิดผลสำเร็จดังพระบรมราโชวาทที่ได้ทรงพระราชทานไว้ เนื่องจากงานด้านสุขภาพนั้นเป็นงานวิชาชีพ ไม่ใช่งานอาชีพ งานวิชาชีพใช้มาตรฐานจริยธรรมกำกับ หากเอาพีฟอร์พีมาใช้จะทำให้เกิดปัญหาเชิงจริยธรรม จึงมีข้อเสนอ ดังนี้ 1.ควรชะลอหรือยกเลิกการใช้มาตรการจ่ายค่าตอบแทนพีฟอร์พี 2.ควรทบทวนแนวทางการจ่ายค่าตอบแทนพีฟอร์พี โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และมีการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน แล้วประเมินผลอีกครั้ง 3.ควรเร่งดำเนินการลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นกับทุกฝ่าย และสร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน 4.ควรร่วมมือกันอย่างสันติในการออกแบบระบบการจ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสม
ด้าน นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า เรื่องนี้ขอให้มีตัวเลขที่ชัดเจนก่อนว่ามีแพทย์ลาออกเท่าไหร่ จะได้เข้าไปเยียวยา ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงาน อย่างไรก็ตาม อยากให้เข้าใจว่า การปรับวิธีจ่ายค่าตอบแทนนั้นแทบไม่ได้ลดเลย แถมมีการจ่ายเงินแบบ P4P เพิ่มเติมอีก นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีมติว่าหากเงินบำรุงไม่พอก็สามารถเบิกเงินงบประมาณได้อีก เรื่องนี้แทบเหมือนเดิมทุกอย่าง จึงอยากให้เข้าใจเรื่องนี้ เพราะรัฐบาลเข้าใจดีว่าเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายเป็นการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างภาครัฐและเอกชน จึงมีการคงที่ไว้ แต่จะให้เพิ่มขึ้นนั้น สิ่งที่จะตอบประชาชนได้ดี คือ การนำ P4P เข้าไปบวก ซึ่งจะเป็นความชอบธรรมที่บุคลากรทางการแพทย์จะได้รับ และการกระทำตรงนี้จะเป็นการรั้งคนในระบบมากกว่าไล่ออกนอกระบบ
ผู้สื่อข่าวถามว่า นอกจากการต้าน P4P ยังมีการยกระดับว่า รัฐมนตรี สธ.ยังต้องการรวบอำนาจองค์กรอิสระต่างๆ จากการตั้งคณะกรรมการนโยบายสาธารณสุขแห่งชาติ นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ได้แนะนำให้ รมช.สาธารณสุข จัดการประชุมข้อคิดเห็นเรื่องการปฏิรูป สธ.ขึ้น ซึ่งการปฏิรูปดังกล่าวไม่ได้เพิ่งเกิด แต่เกิดมานานแล้ว โดยความคิดนี้มาจาก สวรส.เอง ตนเป็นผู้นำมาต่อยอดให้สำเร็จ ซึ่งการปฏิรูประบบสาธารณสุข ต้องการสื่อให้เห็นว่าไม่ได้ครอบงำจาก สธ.เพราะกระบวนการต่างๆ ยิ่งคณะกรรมการนโยบายฯ จะดูแล ให้ สธ.สปสช. ฯลฯ ทำงานในแนวทางเดียวกัน