สมเด็จพระเทพฯ ทรงย้ำการแก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีน ต้องเพิ่มการเข้าถึงให้แก่ประชาชน สธ.ขานรับเดินหน้าหมู่บ้านไอโอดีนอย่างต่อเนื่อง พร้อมดำเนินการตาม 7 ยุทธศาสตร์ใหม่ ตามแผนระยะปี 2557-2559 ตั้งเป้าประเทศไทยปลอดโรคขาดสารไอโอดีน
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยภายหลังสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2556 ณ ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 22 มี.ค.ที่ผ่านมา พร้อมเสด็จฯทอดพระเนตรนิทรรศการผลการดำเนินงาน ผลงานการวิจัยและการพัฒนาต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งเครื่องผสมเกลือไอโอดีน ชุดทดสอบและเครื่องอ่านค่าไอโอดีน ศูนย์การเรียนรู้การผลิตเกลือบริโภคเสริมไอโอดีน และการแสดงผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน ว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทัยสถิติของแต่ละพื้นที่ที่ยังขาดสารไอโอดีนอยู่ แต่ไม่ได้ทรงรับสั่งให้ดำเนินการสิ่งใดเป็นพิเศษ เพราะมาตรการที่ สธ.ดำเนินการอยู่ตามแผนยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาการขาดสารไอโอดีน พ.ศ.2553-2556 เป็นมาตรการที่ถูกต้องแล้ว และวิธีการทำงานของ 6 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สธ.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ และชมรมผู้ประกอบการเกลือไอโอดีน ก็ดำเนินการเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ที่ได้วางไว้ ส่งผลให้การประเมินของคณะผู้เชี่ยวชาญจากสภานานาชาติเพื่อการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนนั้น ประเทศไทยมีการแก้ปัญหาในเกณฑ์น่าพอใจ
นพ.ชลน่าน กล่าวอีกว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเน้นย้ำเรื่องกระบวนการในการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงไอโอดีนด้วย เนื่องจากขณะนี้ได้มีการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข 4 ฉบับ กำหนดให้เติมไอโอดีนในน้ำปลา เกลือบริโภค น้ำเกลือปรุงอาหาร และผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ได้จากการย่อยโปรตีนในถั่วเหลือง เช่น ซอส ซีอิ๊ว และสนับสนุนเครื่องผสมเกลือไอโอดีนแก่ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ขนาดกลาง เพื่อให้เกลือบริโภคมีสัดส่วนของไอโอดีนเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เท่ากับเรามีการจัดหาไอโอดีนให้แก่ประชาชนแล้ว แต่ต้องเพิ่มการเข้าถึงด้วย ซึ่งที่ผ่านมา สธ.ได้ใช้กลยุทธ์เครือข่ายในชุมชนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ให้เป็นทูตไอโอดีน โดยมีหมู่บ้านไอโอดีนเป็นยุทธศาสตร์หลัก ซึ่งขณะนี้จาก 77,000 หมู่บ้าน สามารถดำเนินการให้เป็นหมู่บ้านไอโอดีนได้แล้วกว่า 38,000 หมู่บ้าน
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า เรื่องของผลิตภัณฑ์ที่กำหนดให้มีการเติมไอโอดีนนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดแล้ว แม้แต่ผลิตภัณฑ์บางประเภทที่ต้องผสมไอโอดีนหลังการผลิต เช่น ซีอิ๊ว น้ำปลา เพราะกลัวสีเปลี่ยนไปก็มีการดำเนินการแล้วเช่นกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงไอโอดีนมากขึ้น ทั้งนี้ แผนควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในระยะ พ.ศ.2557-2559 ตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยปลอดโรคขาดสารไอโอดีน เสริมสร้างสติปัญญาและสุขภาวะที่ดีของทุกกลุ่มวัย ก้าวไกลสู่อาเซียน ประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1.การขับเคลื่อนในระดับนโยบาย สร้างความร่วมมือองค์กร ภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมดำเนินการตามยุทธศาสตร์ 2.เกลือเสริมไอโอดีนถ้วนหน้า มีการผลิตและกระจายเกลือเสริมไอโอดีนคุณภาพ และบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ 3.ระบบเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ในกลุ่มเสี่ยง
นพ.ประดิษฐ กล่าวต่อไปว่า 4.สร้างความเข้มแข็งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคีเครือข่าย ร่วมขับเคลื่อนให้เกิดชุมชนและหมู่บ้านไอโอดีนทุกหมู่บ้านทั่วประเทศ มีการใช้เกลือเสริมไอโอดีนในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน และมีแผนงานควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนในระดับท้องถิ่น 5.ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ และการตลาดเชิงสังคมเพื่อส่งเสริมการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนอย่างต่อเนื่อง 6.การศึกษาวิจัยต่างๆ และ 7.การใช้มาตรการเสริม โดยสนับสนุนให้มีการบริโภคน้ำดื่มเสริมไอโอดีน ในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และให้สถานบริการสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชนจ่ายยาเม็ดวิตามินเสริมไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดนาน 6 เดือนอย่างต่อเนื่อง
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยภายหลังสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2556 ณ ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 22 มี.ค.ที่ผ่านมา พร้อมเสด็จฯทอดพระเนตรนิทรรศการผลการดำเนินงาน ผลงานการวิจัยและการพัฒนาต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งเครื่องผสมเกลือไอโอดีน ชุดทดสอบและเครื่องอ่านค่าไอโอดีน ศูนย์การเรียนรู้การผลิตเกลือบริโภคเสริมไอโอดีน และการแสดงผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน ว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทัยสถิติของแต่ละพื้นที่ที่ยังขาดสารไอโอดีนอยู่ แต่ไม่ได้ทรงรับสั่งให้ดำเนินการสิ่งใดเป็นพิเศษ เพราะมาตรการที่ สธ.ดำเนินการอยู่ตามแผนยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาการขาดสารไอโอดีน พ.ศ.2553-2556 เป็นมาตรการที่ถูกต้องแล้ว และวิธีการทำงานของ 6 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สธ.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ และชมรมผู้ประกอบการเกลือไอโอดีน ก็ดำเนินการเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ที่ได้วางไว้ ส่งผลให้การประเมินของคณะผู้เชี่ยวชาญจากสภานานาชาติเพื่อการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนนั้น ประเทศไทยมีการแก้ปัญหาในเกณฑ์น่าพอใจ
นพ.ชลน่าน กล่าวอีกว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเน้นย้ำเรื่องกระบวนการในการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงไอโอดีนด้วย เนื่องจากขณะนี้ได้มีการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข 4 ฉบับ กำหนดให้เติมไอโอดีนในน้ำปลา เกลือบริโภค น้ำเกลือปรุงอาหาร และผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ได้จากการย่อยโปรตีนในถั่วเหลือง เช่น ซอส ซีอิ๊ว และสนับสนุนเครื่องผสมเกลือไอโอดีนแก่ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ขนาดกลาง เพื่อให้เกลือบริโภคมีสัดส่วนของไอโอดีนเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เท่ากับเรามีการจัดหาไอโอดีนให้แก่ประชาชนแล้ว แต่ต้องเพิ่มการเข้าถึงด้วย ซึ่งที่ผ่านมา สธ.ได้ใช้กลยุทธ์เครือข่ายในชุมชนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ให้เป็นทูตไอโอดีน โดยมีหมู่บ้านไอโอดีนเป็นยุทธศาสตร์หลัก ซึ่งขณะนี้จาก 77,000 หมู่บ้าน สามารถดำเนินการให้เป็นหมู่บ้านไอโอดีนได้แล้วกว่า 38,000 หมู่บ้าน
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า เรื่องของผลิตภัณฑ์ที่กำหนดให้มีการเติมไอโอดีนนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดแล้ว แม้แต่ผลิตภัณฑ์บางประเภทที่ต้องผสมไอโอดีนหลังการผลิต เช่น ซีอิ๊ว น้ำปลา เพราะกลัวสีเปลี่ยนไปก็มีการดำเนินการแล้วเช่นกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงไอโอดีนมากขึ้น ทั้งนี้ แผนควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในระยะ พ.ศ.2557-2559 ตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยปลอดโรคขาดสารไอโอดีน เสริมสร้างสติปัญญาและสุขภาวะที่ดีของทุกกลุ่มวัย ก้าวไกลสู่อาเซียน ประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1.การขับเคลื่อนในระดับนโยบาย สร้างความร่วมมือองค์กร ภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมดำเนินการตามยุทธศาสตร์ 2.เกลือเสริมไอโอดีนถ้วนหน้า มีการผลิตและกระจายเกลือเสริมไอโอดีนคุณภาพ และบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ 3.ระบบเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ในกลุ่มเสี่ยง
นพ.ประดิษฐ กล่าวต่อไปว่า 4.สร้างความเข้มแข็งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคีเครือข่าย ร่วมขับเคลื่อนให้เกิดชุมชนและหมู่บ้านไอโอดีนทุกหมู่บ้านทั่วประเทศ มีการใช้เกลือเสริมไอโอดีนในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน และมีแผนงานควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนในระดับท้องถิ่น 5.ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ และการตลาดเชิงสังคมเพื่อส่งเสริมการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนอย่างต่อเนื่อง 6.การศึกษาวิจัยต่างๆ และ 7.การใช้มาตรการเสริม โดยสนับสนุนให้มีการบริโภคน้ำดื่มเสริมไอโอดีน ในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และให้สถานบริการสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชนจ่ายยาเม็ดวิตามินเสริมไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดนาน 6 เดือนอย่างต่อเนื่อง