กลุ่มแพทย์ รพศ./รพท.ร่วม 4 พันคนตบเท้าเข้าให้กำลังใจ “หมอประดิษฐ-หมอณรงค์” เดินหน้าปรับวิธีจ่ายค่าตอบแทนเป็นแบบ P4P ตัดหน้ากลุ่มแพทย์ชนบทไปชุมนุมคัดค้านและขับไล่ รมว.สธ.พ้นตำแหน่งหน้าทำเนียบ 26 มี.ค.นี้ ย้ำพื้นที่ห่างไกล และ 3 จชต.ยังได้เบี้ยเหมือนเดิม ซัดโยงเจ้ากระทรวงเอื้อ รพ.เอกชนรับเมดิคัล ฮับ หลักฐานไม่ชัดเจน
วันนี้ (25 มี.ค.) เมื่อเวลา 09.00 น. พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไปแห่งประเทศไทย (สพศท.) ได้นำตัวแทนแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชกร และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) และตัวแทนชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) แห่งประเทศไทย ประมาณ 4,000 คน เดินทางมายังสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้กำลังใจ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.ในการปรับวิธีจ่ายค่าตอบแทนเป็นแบบตามภาระงาน (P4P: Pay for Performance) ซึ่งจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.นี้
พญ.ประชุมพร กล่าวว่า การเดินทางมาครั้งนี้เพื่อให้กำลังใจ รมว.สธ.และปลัด สธ.ที่กำลังถูกแพทย์บางกลุ่มเข้าใจคลาดเคลื่อนและมีการขับไล่ออกจากตำแหน่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากการประเมินแบบ P4P เป็นวิธีที่ลดความขัดแย้งของแต่ละวิชาชีพมากที่สุด เพราะที่ผ่านมาโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ได้ค่าตอบแทนตรงนี้มาก ทั้งๆ ที่บางพื้นที่ไม่ใช่ถิ่นทุรกันดารเลย การปรับพื้นที่ใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันจึงเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งขอย้ำว่าในพื้นที่ห่างไกล พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ยังคงได้เบี้ยงเลี้ยงเหมาจ่ายเหมือนเดิม ร่วมกับการคิด P4P ตรงนี้ไม่แน่ใจว่าแพทย์ในพื้นที่ทราบหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ส่วนที่จะมีการหยุดงานประท้วงนั้นไม่ต้องกังวล เพราะปกติ รพช.จะมีแพทย์ประจำ 1 คน และมีพยาบาลประจำ หากมีผู้ป่วยฉุกเฉินหรือรักษาไม่ได้อย่างไรก็จะส่งต่อมายังโรงพยาบาลจังหวัด ซึ่งดำเนินการแบบนี้มาตลอด
“การออกมาคัดค้านและขู่ไล่ รมว.สธ.ออกจากตำแหน่งดูเหมือนจะไม่มีเหตุผลเพียงพอ เพราะไม่ใช่แค่เรี่อง P4P แต่กลับไปเชื่อมโยงว่า รมว.สธ.สนับสนุนนโยบายเมดิคัล ฮับ สนับสนุนโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งไม่มีหลักฐานชัดเจน อีกอย่างโรงพยาบาลเอกชนหากต้องการแพทย์มาทำงานในโรงพยาบาลรับเมดิคัล อับ พวกเขาต้องการแพทย์ที่เชี่ยวชาญ ไม่ใช่แพทย์ในโรงพยาบาลอำเภอหรือชุมชน ตรงนี้จึงน่าจะเข้าใจผิดหรือไม่” ประธาน สพศท.กล่าว
นพ.ประเสริฐ ขันเงิน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพุทธชินราช จ.พิษณุโลก กล่าวว่า รพศ.รพท.จะมีการประเมินการเคลื่อนไหวของกลุ่มแพทย์ชนบทที่จะเดินทางไปชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาลวันที่ 26 มี.ค.นี้ เพื่อกำหนดท่าทีการเคลื่อนไหวของ รพศ.รพท.ต่อไป เนื่องจากเห็นว่าการเคลื่อนไหวคัดค้านตอนนี้กลายเป็นเรื่องการเมือง ดังนั้น การดำเนินการก็จะใช้วิธีทางการเมืองเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม หาก รพช.หยุดให้บริการจริงในช่วงสงกรานต์ รพศ.รพท.พร้อมรองรับการให้บริการประชาชน ส่วนจะใช้วิธีการใดอยู่ระหว่างการหารือ อาจใช้วิธีการเชิงรุกด้วยการตั้ง รพ.เฉพาะในพื้นที่อำเภอเหมือนกรณีเกิดน้ำท่วม หรือวิธีการเชิงรับด้วยการให้พื้นที่ส่งผู้ป่วยเข้ามายัง รพศ.รพท.
วันนี้ (25 มี.ค.) เมื่อเวลา 09.00 น. พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไปแห่งประเทศไทย (สพศท.) ได้นำตัวแทนแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชกร และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) และตัวแทนชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) แห่งประเทศไทย ประมาณ 4,000 คน เดินทางมายังสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้กำลังใจ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.ในการปรับวิธีจ่ายค่าตอบแทนเป็นแบบตามภาระงาน (P4P: Pay for Performance) ซึ่งจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.นี้
พญ.ประชุมพร กล่าวว่า การเดินทางมาครั้งนี้เพื่อให้กำลังใจ รมว.สธ.และปลัด สธ.ที่กำลังถูกแพทย์บางกลุ่มเข้าใจคลาดเคลื่อนและมีการขับไล่ออกจากตำแหน่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากการประเมินแบบ P4P เป็นวิธีที่ลดความขัดแย้งของแต่ละวิชาชีพมากที่สุด เพราะที่ผ่านมาโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ได้ค่าตอบแทนตรงนี้มาก ทั้งๆ ที่บางพื้นที่ไม่ใช่ถิ่นทุรกันดารเลย การปรับพื้นที่ใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันจึงเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งขอย้ำว่าในพื้นที่ห่างไกล พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ยังคงได้เบี้ยงเลี้ยงเหมาจ่ายเหมือนเดิม ร่วมกับการคิด P4P ตรงนี้ไม่แน่ใจว่าแพทย์ในพื้นที่ทราบหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ส่วนที่จะมีการหยุดงานประท้วงนั้นไม่ต้องกังวล เพราะปกติ รพช.จะมีแพทย์ประจำ 1 คน และมีพยาบาลประจำ หากมีผู้ป่วยฉุกเฉินหรือรักษาไม่ได้อย่างไรก็จะส่งต่อมายังโรงพยาบาลจังหวัด ซึ่งดำเนินการแบบนี้มาตลอด
“การออกมาคัดค้านและขู่ไล่ รมว.สธ.ออกจากตำแหน่งดูเหมือนจะไม่มีเหตุผลเพียงพอ เพราะไม่ใช่แค่เรี่อง P4P แต่กลับไปเชื่อมโยงว่า รมว.สธ.สนับสนุนนโยบายเมดิคัล ฮับ สนับสนุนโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งไม่มีหลักฐานชัดเจน อีกอย่างโรงพยาบาลเอกชนหากต้องการแพทย์มาทำงานในโรงพยาบาลรับเมดิคัล อับ พวกเขาต้องการแพทย์ที่เชี่ยวชาญ ไม่ใช่แพทย์ในโรงพยาบาลอำเภอหรือชุมชน ตรงนี้จึงน่าจะเข้าใจผิดหรือไม่” ประธาน สพศท.กล่าว
นพ.ประเสริฐ ขันเงิน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพุทธชินราช จ.พิษณุโลก กล่าวว่า รพศ.รพท.จะมีการประเมินการเคลื่อนไหวของกลุ่มแพทย์ชนบทที่จะเดินทางไปชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาลวันที่ 26 มี.ค.นี้ เพื่อกำหนดท่าทีการเคลื่อนไหวของ รพศ.รพท.ต่อไป เนื่องจากเห็นว่าการเคลื่อนไหวคัดค้านตอนนี้กลายเป็นเรื่องการเมือง ดังนั้น การดำเนินการก็จะใช้วิธีทางการเมืองเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม หาก รพช.หยุดให้บริการจริงในช่วงสงกรานต์ รพศ.รพท.พร้อมรองรับการให้บริการประชาชน ส่วนจะใช้วิธีการใดอยู่ระหว่างการหารือ อาจใช้วิธีการเชิงรุกด้วยการตั้ง รพ.เฉพาะในพื้นที่อำเภอเหมือนกรณีเกิดน้ำท่วม หรือวิธีการเชิงรับด้วยการให้พื้นที่ส่งผู้ป่วยเข้ามายัง รพศ.รพท.