xs
xsm
sm
md
lg

“พงศ์เทพ” ปิ๊งไอเดียถ่ายโอนครูสามัญไปสอนอาชีวะแก้ครูล้น

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

“พงศ์เทพ” ชูไอเดีย! ถ่ายโอนครูสายสามัญไปวิทยาลัยอาชีวะรองรับนโยบายเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีพเป็น 50:50 ในปี 2559 มีผลต่อจำนวน นร.ลดลง และภาวะครูเกิน พร้อมสั่งการวิทยาลัยทบทวนแผนผลิตกำลังคนใหม่ โดยสำรวจความต้องการกำลังภาคอุตสาหกรรม/ภาคเกษตรในพื้นที่ นำมาวางแผนการผลิตนักศึกษา

วันนี้ (2 เม.ย.) รร.อะเดรียติค พาเลซ กทม. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาทั่วประเทศ กว่า 500 คน ระหว่างวันที่ 1-3 เม.ย.ว่า ได้สั่งการให้วิทยาลัยอาชีวศึกษา เตรียมการรองรับจำนวนผู้เรียนที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นผลจากนโยบายปรับสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีพเพิ่มเป็นร้อยละ 50 ภายในปี 2559 จากปัจจุบันมีผู้เรียนสายสามัญเพียงร้อยละ 36 ที่เหลือร้อยละ 64 เลือกเรียนต่อสายสามัญ อย่างไรก็ตาม ในอนาคตเมื่อมีการปรับสัดส่วน เพิ่มผู้เรียนสายอาชีพและลดผู้เรียนสายสามัญแล้ว สถานศึกษาสายสามัญย่อมต้องมีผู้เรียนลดลง โรงเรียนจะอยู่ในภาวะครูเกิน ขณะที่วิทยาลัยอาชีวศึกษา จะอยู่ในภาวะครูไม่เพียงพอแทน เนื่องจากต้องเพิ่มการรับนักเรียนอีกจำนวนมาก เพราะฉะนั้น จะให้ทาง สอศ.หารือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) วางแผนถ่ายโอนครูจากโรงเรียนสายสามัญมายังวิทยาลัยอาชีวศึกษาเพื่อเป็นการแก้ปัญหาของทั้ง 2 ฝ่าย
ภาพประกอบข่าวจากอินเทอร์เน็ต
ปัจจุบันวิทยาลัยอาชีวศึกษาหลายแห่งอยู่ในภาวะเด็กล้นมือ ยังลำบากที่จะรับนักเรียนเพิ่มขึ้นอีกเพราะมีข้อจำกัดต่างๆ โดยเฉพาะข้อจำกัดด้านครู ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาต้องหาทางแก้ปัญหาดังกล่าวไว้ล่วงหน้า แต่ทั้งนี้ ไม่อยากให้เน้นแก้ปัญหาขาดครูด้วยการรับครูใหม่ รับบุคคลากรเพิ่มขึ้น เพราะค่าใช้จ่ายสำหรับจ้างข้าราชการตั้งแต่แรกบรรจุถึงตายจากนั้น สูงถึงหัวละ 30 ล้านบาท แต่ให้ใช้วิธิรับโอนครูจากโรงเรียนดีกว่า เลือกรับโอนในวิชาที่ครูสามารถปรับตัวมาสอนได้ เช่น วิชาภาษาอังกฤษ” รมว.ศึกษาธิการ กล่าว

นายพงศ์เทพ กล่าวต่อว่า นอกจากนั้น ได้สั่งการให้วิทยาลัยอาชีวศึกษาทุกแห่ง ปรับระบบการจัดผลิตนักศึกษาใหม่ด้วย โดยหลักการแล้วการผลิตกำลังคนของแต่ละวิทยาลัยนั้นต้องสอดคล้องกับความต้องการกำลังในภาคอุตสาหกรรม บริการและภาคเกษตรในพื้นที่ เพราะฉะนั้น วิทยาลัยต้องออกไปประสานและกับผู้ปกครองการที่อยู่ในละแวก เพื่อทำข้อตกลงในการผลิตกำลังคนร่วมกันในสายวิชาชีพที่สถานประกอบการต้องการ เช่น จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา เป็นฐานของอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์นั้น วิทยาลัยที่อยู่ในแถบนั้น ก็จะต้องมีความเป็นเอกด้านนี้ ส่วนพื้นที่ใดที่ไม่ใช่เขตอุตสาหกรรม เป็นพื้นที่เกษตรกรรม วิทยาลัยทั้งอยู่ก็ต้องเป็นเอกในด้านเกษตรกรรมแทน อย่างไรก็ตาม ต้องการให้วิทยาลัยปรับการจัดการเรียนการสอน มาเป็นการทำงานร่วมกับสถานประกอบการมากขึ้น วิธีดังกล่าวจะช่วยให้วิทยาลัยปรับการเรียนการสอนให้ผลิตคนที่มีฝีมือตรงตามข้ามต้องการของสถานประกอบการ สามารถส่งเด็กไปฝึกงานได้ในระหว่างเรียน เมื่อเรียนจบแล้วผู้เรียนจะได้สามารถเริ่มทำงานได้ทันทีตั้งแต่วันแรก ไม่ต้องไปให้สถานประกอบการฝึกงานเพิ่มเติมให้เป็นปีเหมือนในปัจจุบัน และเด็กจะได้เรียนรู้กับเครื่องมือเครื่องจักรจริง
กำลังโหลดความคิดเห็น