“หมอประดิษฐ” ยันส่งเรื่องดีเอสไอตรวจสอบสร้างโรงงานวัคซีนล่าช้า-ยาพาราฯมีปัญหา ไม่ได้คิดปลด ผอ.เภสัชฯ เพียงแต่ต้องการคำตอบที่ชัดเจน พร้อมให้โอกาสชี้แจงทั้งเรื่องฐานราก และการผลิตเชื้อเป็นเชื้อตาย ย้ำไม่ได้โต้กลับทางการเมือง ไม่คิดรวบอำนาจองค์กรต่างๆ
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีส่งเรื่องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตรวจสอบองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เรื่องความล่าช้าการสร้างโรงงานผลิตวัคซีน และการจัดซื้อวัตถุดิบผลิตยาพาราเซตามอลมีการปนเปื้อนว่า การส่งเรื่องให้ดีเอสไอตรวจสอบไม่ได้เป็นการตั้งธงว่าจะปลด นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการ อภ.ออกจากตำแหน่ง และที่ผ่านมาก็ไม่เคยพูดว่าจะปลด เพราะเรื่องนี้อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า เรื่องทั้งหมดเป็นอย่างไรและมีใครเป็นผู้รับผิดชอบบ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเอาผิด เนื่องจากต้องดูว่าการแก้ปัญหาถูกต้องตามขั้นตอนหรือไม่ หากมีเหตุอันควรก็จะได้ทราบ เพราะที่ผ่านมาไม่เคยได้รับคำตอบที่ชัดเจน แม้กระทั่งผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) ก็สรุปแบบคลุมเครือ จึงยื่นเรื่องนี้ให้ดีเอสไอตรวจสอบ
“ผลการสอบสวนของบอร์ด อภ.ที่แจ้งว่า นพ.วิทิต ในฐานะผู้บริหารต้องรับผิดชอบ แต่ไม่มีหลักฐานหรือเอกสารใดๆ ที่ชัดเจน จึงมองว่าไม่ถูกต้อง เพราะหาก ผอ.อภ.สั่งการถูกต้องทั้งหมดแต่จะไปเอาผิดก็ไม่ถูก จึงให้ไปตรวจสอบอีกครั้ง โดยไล่ขั้นตอนให้ดูก่อนว่ามีการสั่งการอย่างถูกต้องหรือไม่ อย่างเรื่องโรงงานผลิตยาเอดส์ที่ จ.ปทุมธานี ที่ยังสร้างไม่เสร็จเพราะมีปัญหาในเรื่องเครื่องปรับอากาศ ก็ยังส่งให้ดีเอสไอสอบสวน เพราะต้องให้โอกาสผู้ปฏิบัติงานชี้แจงข้อเท็จจริง หากชี้แจงได้ชัดเจนก็ให้ดำเนินการต่อ หากไม่ก็จะใช้กระบวนการตรวจสอบดีเอสไอเช่นกัน” รมว.สาธารณสุขกล่าว
นพ.ประดิษฐกล่าวอีกว่า สำหรับเรื่องโรงงานผลิตวัคซีน อภ.ต้องชี้แจงเรื่องนี้ให้ได้ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงแบบอาคารโรงงาน ซึ่งที่ผ่านมาให้เหตุผลว่าเป็นเพราะฐานรากหรือโครงสร้างพื้นดินรับอาคารไม่ดีพอ เกรงน้ำท่วมจะกัดเซาะ ถามว่าสมควรหรือไม่ เพราะก่อนก่อสร้างต้องมีการตรวจสอบพื้นดิน จึงน่าจะทราบอยู่แล้วว่า พื้นดินเป็นอย่างไร นอกจากนี้ การต่อเติมตัวอาคารใหม่เพื่อรองรับการผลิตวัคซีนชนิดเชื้อเป็น ซึ่งตัวอาคารจะต้องได้มาตรฐานในแง่ความปลอดภัยสูง ทำให้ต้องเพิ่มวงเงินอีก 45 ล้านบาทนั้น เพราะต้องการให้โรงงานผลิตได้ทั้งเชื้อเป็นและเชื้อตายเพื่อรองรับการระบาด ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ครม.อนุมัติให้ผลิตวัคซีนเชื้อตายอย่างเดียวนั้น ต้องถามกลับว่าคุ้มค่าหรือไม่ เพราะการผลิตวัคซีนชนิดเชื้อเป็น ยังมีเรื่องของวัตถุดิบที่จะนำมาผลิตคือ ไข่ปลอดเชื้อ หากเกิดการระบาดจริงจะสามารถจัดหาไข่จำนวนเป็นล้านๆ ได้อย่างไร อีกทั้งผลการทดลองก็ยังไม่ได้ข้อสรุปชัดเจน เป็นการเตรียมเทคโนโลยีไว้ล่วงหน้า ถามว่าหากการทดลองไม่ประสบความสำเร็จจะทำอย่างไร ก็ไม่ได้คำตอบ
“ขณะนี้ได้สอบถามไปยังองค์การอนามัยโลกว่าสามารถยกระดับโรงงานผลิตวัคซีนเป็นมาตรฐานความปลอดภัยระดับ 2 บวก คือ ผลิตทั้งเชื้อเป็นและเชื้อตายได้หรือไม่ หากได้รับคำตอบว่า สามารถดำเนินการได้ด้วยการยกระดับเปลี่ยนเครื่องจักร ก็จะได้หมดปัญหาในเรื่องนี้ว่า ผู้ที่ดำเนินการอย่างบริสุทธิ์ โดยรัฐไม่เสียประโยชน์ ซึ่งตรงนี้เป็นการพยายามหาทางออกให้ว่า อาจเป็นการทำงานอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือไม่” รมว.สาธารณสุขกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า การส่งเรื่องให้ดีเอสไอเป็นการโต้กลับทางการเมืองหรือไม่ นพ.ประดิษฐกล่าวว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นมานานแล้ว ไม่ได้มาโยงเลย ซึ่งแปลกใจว่าทำไมกลุ่มคัดค้านเอาเรื่องนี้มาโยงกับแนวทางการปรับปรุงค่าตอบแทน และหากทุกคนเห็นว่าเรื่องนี้ผิดปกติ ทำไมไม่รู้สึกดีใจที่จะได้มีการสอบข้อเท็จจริง เพื่อให้ทุกอย่างชัดเจน ทำไมต้องเดือดร้อนแทนใคร
ต่อข้อถามว่า การเสนอเรื่องให้ดีเอสไอตรวจสอบ เนื่องจากต้องการเปลี่ยนตัว นพ.วิทิต และเป็นการเดินเรื่องเพื่อรวบอำนาจองค์กรต่างๆหรือไม่ นพ.ประดิษฐกล่าวว่า ไม่มีทางรวบได้ เพราะองค์กรส่วนหนึ่งเกิดโดยกฎหมาย และตนก็เป็นประธานในบางองค์กร อย่าง ประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ซึ่งมีอำนาจอยู่แล้ว จะไปรวบอำนาจอะไรอีก อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 2 เมษายนนี้ จะมีเวทีเสวนาขององค์กรอิสระด้านสุขภาพต่างๆ โดยเฉพาะองค์กร ส. เพื่อให้เกิดมุมมองที่หลากหลายเกี่ยวกับเรื่องนี้
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี ประธานบอร์ด อภ.กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงตั้งแต่เดือนมกราคม และได้ส่งผลการตรวจสอบให้รัฐมนตรี สธ.เมื่อช่วงเดือนมีนาคม ซึ่งทราบว่า มีสาเหตุที่ทำให้โครงการเกิดความล่าช้า แต่ยังไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้ และไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นความผิดที่เกิดจากการทุจริต หรือจากกระบวนการทำงาน เนื่องจากต้องรวบรวมหลักฐานอย่างละเอียดอีกครั้ง เบื้องต้นเตรียมตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อพิจารณารายละเอียดเหล่านี้ โดยบอร์ด อภ.ไม่ได้นิ่งนอนใจ คาดว่าจะได้รายชื่อคณะกรรมการฯภายในสัปดาห์หน้า
สำหรับโรงงานผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ถือเป็นแห่งแรกของประเทศไทย โดยผ่านมติครม. ในส่วนของหลักการและงบประมาณก่อสร้างตั้งแต่ปี 2550 โดยเป็นการลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างองค์การเภสัชกรรม และองค์การอนามัยโลก เพื่อผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ซึ่งเป็นชนิดเชื้อตาย โดยโรงงานดังกล่าววางศิลาฤกษ์และก่อสร้างในปี 2552 ซึ่งตรงกับสมัยนายวิทยา แก้วภราดัย เป็นรัฐมนตรี สธ. ทั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มอนุมัติโครงการ จนถึงการก่อสร้าง มีนพ.วิชัย โชควิวัฒน เป็นประธานบอร์ด อภ. อย่างไรก็ตาม ระหว่างการก่อสร้างได้เกิดการระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 จึงมีแนวคิดในการผลิตวัคซีนที่สามารถนำมาใช้ในช่วงที่มีการระบาดอย่างรุนแรง ขณะนั้นจึงนำเทคโนโลยีจากประเทศรัสเซีย ซึ่งผลิตวัคซีนชนิดเชื้อเป็น เนื่องจากเชื้อเป็นจะผลิตได้ครั้งละจำนวนมากกว่าเชื้อตาย และมีการทดลองในห้องปฏิบัติการ และในอาสาสมัครกลุ่มย่อย โดยการทดลองผลิตนั้นได้ใช้ห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตศาลายา ซึ่งสุดท้ายก็ยังไม่สรุปผลการทดลองใดๆ
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีส่งเรื่องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตรวจสอบองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เรื่องความล่าช้าการสร้างโรงงานผลิตวัคซีน และการจัดซื้อวัตถุดิบผลิตยาพาราเซตามอลมีการปนเปื้อนว่า การส่งเรื่องให้ดีเอสไอตรวจสอบไม่ได้เป็นการตั้งธงว่าจะปลด นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการ อภ.ออกจากตำแหน่ง และที่ผ่านมาก็ไม่เคยพูดว่าจะปลด เพราะเรื่องนี้อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า เรื่องทั้งหมดเป็นอย่างไรและมีใครเป็นผู้รับผิดชอบบ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเอาผิด เนื่องจากต้องดูว่าการแก้ปัญหาถูกต้องตามขั้นตอนหรือไม่ หากมีเหตุอันควรก็จะได้ทราบ เพราะที่ผ่านมาไม่เคยได้รับคำตอบที่ชัดเจน แม้กระทั่งผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) ก็สรุปแบบคลุมเครือ จึงยื่นเรื่องนี้ให้ดีเอสไอตรวจสอบ
“ผลการสอบสวนของบอร์ด อภ.ที่แจ้งว่า นพ.วิทิต ในฐานะผู้บริหารต้องรับผิดชอบ แต่ไม่มีหลักฐานหรือเอกสารใดๆ ที่ชัดเจน จึงมองว่าไม่ถูกต้อง เพราะหาก ผอ.อภ.สั่งการถูกต้องทั้งหมดแต่จะไปเอาผิดก็ไม่ถูก จึงให้ไปตรวจสอบอีกครั้ง โดยไล่ขั้นตอนให้ดูก่อนว่ามีการสั่งการอย่างถูกต้องหรือไม่ อย่างเรื่องโรงงานผลิตยาเอดส์ที่ จ.ปทุมธานี ที่ยังสร้างไม่เสร็จเพราะมีปัญหาในเรื่องเครื่องปรับอากาศ ก็ยังส่งให้ดีเอสไอสอบสวน เพราะต้องให้โอกาสผู้ปฏิบัติงานชี้แจงข้อเท็จจริง หากชี้แจงได้ชัดเจนก็ให้ดำเนินการต่อ หากไม่ก็จะใช้กระบวนการตรวจสอบดีเอสไอเช่นกัน” รมว.สาธารณสุขกล่าว
นพ.ประดิษฐกล่าวอีกว่า สำหรับเรื่องโรงงานผลิตวัคซีน อภ.ต้องชี้แจงเรื่องนี้ให้ได้ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงแบบอาคารโรงงาน ซึ่งที่ผ่านมาให้เหตุผลว่าเป็นเพราะฐานรากหรือโครงสร้างพื้นดินรับอาคารไม่ดีพอ เกรงน้ำท่วมจะกัดเซาะ ถามว่าสมควรหรือไม่ เพราะก่อนก่อสร้างต้องมีการตรวจสอบพื้นดิน จึงน่าจะทราบอยู่แล้วว่า พื้นดินเป็นอย่างไร นอกจากนี้ การต่อเติมตัวอาคารใหม่เพื่อรองรับการผลิตวัคซีนชนิดเชื้อเป็น ซึ่งตัวอาคารจะต้องได้มาตรฐานในแง่ความปลอดภัยสูง ทำให้ต้องเพิ่มวงเงินอีก 45 ล้านบาทนั้น เพราะต้องการให้โรงงานผลิตได้ทั้งเชื้อเป็นและเชื้อตายเพื่อรองรับการระบาด ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ครม.อนุมัติให้ผลิตวัคซีนเชื้อตายอย่างเดียวนั้น ต้องถามกลับว่าคุ้มค่าหรือไม่ เพราะการผลิตวัคซีนชนิดเชื้อเป็น ยังมีเรื่องของวัตถุดิบที่จะนำมาผลิตคือ ไข่ปลอดเชื้อ หากเกิดการระบาดจริงจะสามารถจัดหาไข่จำนวนเป็นล้านๆ ได้อย่างไร อีกทั้งผลการทดลองก็ยังไม่ได้ข้อสรุปชัดเจน เป็นการเตรียมเทคโนโลยีไว้ล่วงหน้า ถามว่าหากการทดลองไม่ประสบความสำเร็จจะทำอย่างไร ก็ไม่ได้คำตอบ
“ขณะนี้ได้สอบถามไปยังองค์การอนามัยโลกว่าสามารถยกระดับโรงงานผลิตวัคซีนเป็นมาตรฐานความปลอดภัยระดับ 2 บวก คือ ผลิตทั้งเชื้อเป็นและเชื้อตายได้หรือไม่ หากได้รับคำตอบว่า สามารถดำเนินการได้ด้วยการยกระดับเปลี่ยนเครื่องจักร ก็จะได้หมดปัญหาในเรื่องนี้ว่า ผู้ที่ดำเนินการอย่างบริสุทธิ์ โดยรัฐไม่เสียประโยชน์ ซึ่งตรงนี้เป็นการพยายามหาทางออกให้ว่า อาจเป็นการทำงานอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือไม่” รมว.สาธารณสุขกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า การส่งเรื่องให้ดีเอสไอเป็นการโต้กลับทางการเมืองหรือไม่ นพ.ประดิษฐกล่าวว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นมานานแล้ว ไม่ได้มาโยงเลย ซึ่งแปลกใจว่าทำไมกลุ่มคัดค้านเอาเรื่องนี้มาโยงกับแนวทางการปรับปรุงค่าตอบแทน และหากทุกคนเห็นว่าเรื่องนี้ผิดปกติ ทำไมไม่รู้สึกดีใจที่จะได้มีการสอบข้อเท็จจริง เพื่อให้ทุกอย่างชัดเจน ทำไมต้องเดือดร้อนแทนใคร
ต่อข้อถามว่า การเสนอเรื่องให้ดีเอสไอตรวจสอบ เนื่องจากต้องการเปลี่ยนตัว นพ.วิทิต และเป็นการเดินเรื่องเพื่อรวบอำนาจองค์กรต่างๆหรือไม่ นพ.ประดิษฐกล่าวว่า ไม่มีทางรวบได้ เพราะองค์กรส่วนหนึ่งเกิดโดยกฎหมาย และตนก็เป็นประธานในบางองค์กร อย่าง ประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ซึ่งมีอำนาจอยู่แล้ว จะไปรวบอำนาจอะไรอีก อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 2 เมษายนนี้ จะมีเวทีเสวนาขององค์กรอิสระด้านสุขภาพต่างๆ โดยเฉพาะองค์กร ส. เพื่อให้เกิดมุมมองที่หลากหลายเกี่ยวกับเรื่องนี้
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี ประธานบอร์ด อภ.กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงตั้งแต่เดือนมกราคม และได้ส่งผลการตรวจสอบให้รัฐมนตรี สธ.เมื่อช่วงเดือนมีนาคม ซึ่งทราบว่า มีสาเหตุที่ทำให้โครงการเกิดความล่าช้า แต่ยังไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้ และไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นความผิดที่เกิดจากการทุจริต หรือจากกระบวนการทำงาน เนื่องจากต้องรวบรวมหลักฐานอย่างละเอียดอีกครั้ง เบื้องต้นเตรียมตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อพิจารณารายละเอียดเหล่านี้ โดยบอร์ด อภ.ไม่ได้นิ่งนอนใจ คาดว่าจะได้รายชื่อคณะกรรมการฯภายในสัปดาห์หน้า
สำหรับโรงงานผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ถือเป็นแห่งแรกของประเทศไทย โดยผ่านมติครม. ในส่วนของหลักการและงบประมาณก่อสร้างตั้งแต่ปี 2550 โดยเป็นการลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างองค์การเภสัชกรรม และองค์การอนามัยโลก เพื่อผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ซึ่งเป็นชนิดเชื้อตาย โดยโรงงานดังกล่าววางศิลาฤกษ์และก่อสร้างในปี 2552 ซึ่งตรงกับสมัยนายวิทยา แก้วภราดัย เป็นรัฐมนตรี สธ. ทั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มอนุมัติโครงการ จนถึงการก่อสร้าง มีนพ.วิชัย โชควิวัฒน เป็นประธานบอร์ด อภ. อย่างไรก็ตาม ระหว่างการก่อสร้างได้เกิดการระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 จึงมีแนวคิดในการผลิตวัคซีนที่สามารถนำมาใช้ในช่วงที่มีการระบาดอย่างรุนแรง ขณะนั้นจึงนำเทคโนโลยีจากประเทศรัสเซีย ซึ่งผลิตวัคซีนชนิดเชื้อเป็น เนื่องจากเชื้อเป็นจะผลิตได้ครั้งละจำนวนมากกว่าเชื้อตาย และมีการทดลองในห้องปฏิบัติการ และในอาสาสมัครกลุ่มย่อย โดยการทดลองผลิตนั้นได้ใช้ห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตศาลายา ซึ่งสุดท้ายก็ยังไม่สรุปผลการทดลองใดๆ