ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเตือนภัยโรคปอดบวม เผยตลอดปี 2555 ทั่วประเทศพบผู้ป่วยเกือบ 2 แสนราย เสียชีวิตกว่า 1,000 ราย พบมากในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ส่วนใหญ่มักเกิดตามมาหลังป่วยเป็นไข้หวัด ย้ำเตือนช่วงหน้าหนาว หากประชาชนป่วยไขัสูงเกิน 3 วัน ไอมาก หายใจหอบ น้ำมูกเปลี่ยนสี ขอให้รีบพบแพทย์
นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้อากาศหนาวเย็น ประชาชนอาจป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจมากขึ้น โดยเฉพาะไข้หวัดและปอดบวม ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อชนิดนี้จะเจริญเติบโตได้ดีในช่วงที่อากาศหนาวเย็น จากรายงานของสำนักระบาดวิทยา ปี 2555 พบผู้ป่วยปอดบวมทั่วประเทศจำนวน 194,094 ราย เสียชีวิต 1,255 ราย โดยกลุ่มที่พบว่าป่วยสูงที่สุดคือเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีสูงถึง 74,277 ราย เสียชีวิต 227 ราย รองลงมาพบในกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี จำนวน 40,497 ราย เสียชีวิต 222 ราย ซึ่งในปี 2556 นี้ตั้งแต่ 1-14 มกราคม พบผู้ป่วยโรคปอดบวมแล้ว 3,037 ราย เสียชีวิต 4 ราย
โดยทั่วไปไข้หวัดเป็นโรคติดต่อที่ไม่อันตราย ติดต่อกันจาการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย โดยเชื้อจะแพร่กระจายมาจากน้ำมูก น้ำลาย เสมหะของผู้ป่วยโดยตรง หรือติดมากับสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วย เริ่มแรกมักมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ต่ำๆ คัดจมูก ไอจาม ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย อาการมักหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ โดยหลังจากวันที่ 3 อาการควรจะเริ่มดีขึ้น ไข้ลดลง อาจไอต่อไปได้อีก 1-2 สัปดาห์ แต่หากยังไม่ดีขึ้นและมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ คือ มีไข้สูง ไอมาก หายใจหอบเร็ว น้ำมูกเปลี่ยนสีจากสีเหลืองอ่อนๆ เป็นสีเขียว ขอให้สงสัยว่าอาจมีโรคแทรกซ้อนที่ปอด ที่สำคัญคือโรคปอดบวมหรือที่เรียกว่าปอดอักเสบ เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจรุนแรง เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตมากที่สุด โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ
นายแพทย์ณรงค์ กล่าวต่อว่า จากการติดตามสถานการณ์โรคทางเดินหายใจในช่วงหน้าหนาวในพื้นที่ภาคเหนือ เช่นที่รพ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ขณะนี้มีผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเข้ารักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น และพบโรคปอดบวม 87 ราย จึงขอแนะนำประชาชนหากป่วยเป็นไข้หวัดขอให้นอนพักให้มากๆ และอาจกินยาลดไข้ประเภทพาราเซตามอล อาการจะดีขึ้นเรื่อยๆ แต่หากไข้สูงเกิน 3 วัน ไอมากและเจ็บหน้าอก ต้องพบแพทย์ ส่วนในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี หากป่วยเป็นไข้ พ่อแม่ต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ให้เด็กดื่มน้ำหรือนมบ่อยๆ นอนให้เพียงพอ กินอาหารที่ย่อยง่าย เช่นโจ๊ก หากมีไข้ให้เช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดาและให้กินยาลดไข้ประเภทพาราเซตามอล อาการไข้หวัดจะค่อยๆ ดีขึ้น ไข้ลดลง และหายป่วยประมาณ 1 สัปดาห์ แต่หากยังไม่ดีขึ้นใน 3 วันหรือเด็กมีอาการซึมลง ไม่กินน้ำไม่กินนม หรือมีอาการไข้สูง ไอ หายใจหอบเร็ว หายใจมีเสียงฮืดหรือเสียงหวีด หายใจแรงจนชายโครงบุ๋ม ซึ่งเป็นสัญญาณของโรคปอดบวม ให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาตั้งแต่ระยะแรก อันตรายต่างๆจะน้อยลง
“ในการป้องกันโรคปอดบวมในช่วงฤดูหนาว ขอให้ผู้ปกครองดูแลความอบอุ่นให้เด็ก สวมเสื้อผ้าหนาๆ หรือเสื้อกันหนาว หลีกเลี่ยงพาเด็กเล็กเข้าไปในบริเวณที่มีคนแออัดหรือมีควันไฟในบ้าน ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ ซึ่งทำให้มีโอกาสเป็นหวัดได้ง่าย นอกจากนี้ สามารถเพิ่มภูมิต้านทานโรคตามธรรมชาติเด็กได้ โดยหญิงหลังคลอดขอแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งภูมิต้านทานจากแม่จะส่งผ่านไปให้ลูกทางน้ำนม เด็กจะไม่เจ็บป่วยง่าย และผู้ปกครองที่ดูแลเด็กควรเลิกสูบบุหรี่ เพราะพบว่าเด็กที่มีผู้ปกครองสูบบุหรี่ มีโอกาสเป็นโรคทางเดินหายใจมากกว่าและรุนแรงกว่าเด็กอื่น” นายแพทย์ณรงค์กล่าว
นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้อากาศหนาวเย็น ประชาชนอาจป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจมากขึ้น โดยเฉพาะไข้หวัดและปอดบวม ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อชนิดนี้จะเจริญเติบโตได้ดีในช่วงที่อากาศหนาวเย็น จากรายงานของสำนักระบาดวิทยา ปี 2555 พบผู้ป่วยปอดบวมทั่วประเทศจำนวน 194,094 ราย เสียชีวิต 1,255 ราย โดยกลุ่มที่พบว่าป่วยสูงที่สุดคือเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีสูงถึง 74,277 ราย เสียชีวิต 227 ราย รองลงมาพบในกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี จำนวน 40,497 ราย เสียชีวิต 222 ราย ซึ่งในปี 2556 นี้ตั้งแต่ 1-14 มกราคม พบผู้ป่วยโรคปอดบวมแล้ว 3,037 ราย เสียชีวิต 4 ราย
โดยทั่วไปไข้หวัดเป็นโรคติดต่อที่ไม่อันตราย ติดต่อกันจาการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย โดยเชื้อจะแพร่กระจายมาจากน้ำมูก น้ำลาย เสมหะของผู้ป่วยโดยตรง หรือติดมากับสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วย เริ่มแรกมักมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ต่ำๆ คัดจมูก ไอจาม ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย อาการมักหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ โดยหลังจากวันที่ 3 อาการควรจะเริ่มดีขึ้น ไข้ลดลง อาจไอต่อไปได้อีก 1-2 สัปดาห์ แต่หากยังไม่ดีขึ้นและมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ คือ มีไข้สูง ไอมาก หายใจหอบเร็ว น้ำมูกเปลี่ยนสีจากสีเหลืองอ่อนๆ เป็นสีเขียว ขอให้สงสัยว่าอาจมีโรคแทรกซ้อนที่ปอด ที่สำคัญคือโรคปอดบวมหรือที่เรียกว่าปอดอักเสบ เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจรุนแรง เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตมากที่สุด โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ
นายแพทย์ณรงค์ กล่าวต่อว่า จากการติดตามสถานการณ์โรคทางเดินหายใจในช่วงหน้าหนาวในพื้นที่ภาคเหนือ เช่นที่รพ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ขณะนี้มีผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเข้ารักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น และพบโรคปอดบวม 87 ราย จึงขอแนะนำประชาชนหากป่วยเป็นไข้หวัดขอให้นอนพักให้มากๆ และอาจกินยาลดไข้ประเภทพาราเซตามอล อาการจะดีขึ้นเรื่อยๆ แต่หากไข้สูงเกิน 3 วัน ไอมากและเจ็บหน้าอก ต้องพบแพทย์ ส่วนในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี หากป่วยเป็นไข้ พ่อแม่ต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ให้เด็กดื่มน้ำหรือนมบ่อยๆ นอนให้เพียงพอ กินอาหารที่ย่อยง่าย เช่นโจ๊ก หากมีไข้ให้เช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดาและให้กินยาลดไข้ประเภทพาราเซตามอล อาการไข้หวัดจะค่อยๆ ดีขึ้น ไข้ลดลง และหายป่วยประมาณ 1 สัปดาห์ แต่หากยังไม่ดีขึ้นใน 3 วันหรือเด็กมีอาการซึมลง ไม่กินน้ำไม่กินนม หรือมีอาการไข้สูง ไอ หายใจหอบเร็ว หายใจมีเสียงฮืดหรือเสียงหวีด หายใจแรงจนชายโครงบุ๋ม ซึ่งเป็นสัญญาณของโรคปอดบวม ให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาตั้งแต่ระยะแรก อันตรายต่างๆจะน้อยลง
“ในการป้องกันโรคปอดบวมในช่วงฤดูหนาว ขอให้ผู้ปกครองดูแลความอบอุ่นให้เด็ก สวมเสื้อผ้าหนาๆ หรือเสื้อกันหนาว หลีกเลี่ยงพาเด็กเล็กเข้าไปในบริเวณที่มีคนแออัดหรือมีควันไฟในบ้าน ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ ซึ่งทำให้มีโอกาสเป็นหวัดได้ง่าย นอกจากนี้ สามารถเพิ่มภูมิต้านทานโรคตามธรรมชาติเด็กได้ โดยหญิงหลังคลอดขอแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งภูมิต้านทานจากแม่จะส่งผ่านไปให้ลูกทางน้ำนม เด็กจะไม่เจ็บป่วยง่าย และผู้ปกครองที่ดูแลเด็กควรเลิกสูบบุหรี่ เพราะพบว่าเด็กที่มีผู้ปกครองสูบบุหรี่ มีโอกาสเป็นโรคทางเดินหายใจมากกว่าและรุนแรงกว่าเด็กอื่น” นายแพทย์ณรงค์กล่าว