หน้าหนาวระวัง “ปอดบวม” ปลัด สธ.ชี้มักตามมาหลังอาการป่วย แนะสังเกตอาการหากไข้เกิน 3 วัน ไอ หอบ น้ำมูกเปลี่ยนสี ต้องรีบพบแพทย์
วันนี้ (23 ธ.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้อากาศหนาวเย็น ประชาชนอาจป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจมากขึ้น โดยเฉพาะไข้หวัดและปอดบวม จากรายงานของสำนักระบาดวิทยา ในปี 2556 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 14 ธ.ค.พบผู้ป่วยโรคปอดบวมแล้ว 175,221 ราย กลุ่มที่พบว่าป่วยสูงที่สุดคือเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 69,731 ราย คิดเป็นร้อยละ 40 ของผู้ป่วยทั้งหมด รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 55 ปีขึ้นไป จำนวน 49,330 ราย โดยมีเสียชีวิต 991 ราย ทั้งนี้ โรคปอดบวมมักเกิดตามมาหลังจากป่วยเป็นไข้หวัด จากการติดตามสถานการณ์โรคทางเดินหายใจในช่วงหน้าหนาวในพื้นที่ภาคเหนือ เช่น รพ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ขณะนี้มีผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเข้ารักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นกว่าช่วงปกติร้อยละ 15 และพบโรคปอดบวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 10
“ขอแนะนำว่าหากป่วยเป็นไข้หวัดขอให้นอนพักผ่อนให้มากๆ และอาจกินยาลดไข้ประเภทพาราเซตามอล อาการจะดีขึ้นเรื่อยๆ แต่หากไข้สูงเกิน 3 วัน ไอมากและเจ็บหน้าอก น้ำมูกเปลี่ยนสีจากสีเหลืองอ่อนๆ เป็นสีเขียว ขอให้สงสัยว่าอาจมีโรคแทรกซ้อนที่ปอด ต้องรีบพบแพทย์ ส่วนในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี หากป่วยเป็นไข้หวัด พ่อแม่ต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ให้เด็กดื่มน้ำหรือนมบ่อยๆ นอนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่นโจ๊ก เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำธรรมดาและให้กินยาลดไข้ประเภทพาราเซตามอล อาการจะค่อยๆ ดีขึ้น ไข้ลดลง และหายป่วยประมาณ 1 สัปดาห์ แต่หากยังไม่ดีขึ้นใน 3 วัน หรือเด็กมีอาการซึมลง ไม่กินน้ำกินนม หรือมีไข้สูง ไอ หายใจหอบเร็ว หรือหายใจมีเสียงฮืดหรือเสียงหวีด หายใจแรงจนชายโครงบุ๋ม ซึ่งเป็นสัญญาณของโรคปอดบวม ให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาตั้งแต่ระยะแรก อันตรายต่างๆจะน้อยลง” ปลัด สธ.กล่าว
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า การป้องกันโรคปอดบวมในช่วงฤดูหนาว ขอให้ประชาชนออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างภูมิต้านทานโรค ให้กินร้อน ช้อนกลาง และล้างมือบ่อยๆ เพื่อขจัดเชื้อโรคต่างๆ ที่ติดมากับมือ ผู้สูงอายุขอให้ใส่เสื้อกันหนาว หรือใส่เสื้อผ้าหลายๆ ชั้น ส่วนในเด็กเล็ก ขอให้ผู้ปกครองดูแลความอบอุ่น สวมเสื้อผ้าหนาๆ หรือเสื้อกันหนาว หลีกเลี่ยงพาเด็กเล็กเข้าไปในบริเวณที่มีคนแออัดหรือมีควันไฟในบ้าน ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ ซึ่งทำให้มีโอกาสเป็นหวัดได้ง่าย ส่วนหญิงหลังคลอดขอแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ภูมิต้านทานจากแม่จะส่งผ่านไปให้ลูกทางน้ำนม เด็กจะไม่เจ็บป่วยง่าย เป็นการเพิ่มภูมิต้านทานโรคตามธรรมชาติให้เด็ก
นพ.ณรงค์ กล่าวด้วยว่า โดยทั่วไปโรคไข้หวัดเป็นโรคติดต่อที่ไม่อันตราย ติดต่อกันจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย โดยเชื้อจะแพร่กระจายมาจากน้ำมูก น้ำลาย เสมหะของผู้ป่วยโดยตรง หรือติดมากับสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วย เริ่มแรกมักมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ต่ำๆ คัดจมูก ไอจาม ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย อาการมักหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ โดยหลังจากวันที่ 3 อาการควรจะเริ่มดีขึ้น ไข้ลดลง แต่อาจไอต่อไปได้อีก 1-2 สัปดาห์
วันนี้ (23 ธ.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้อากาศหนาวเย็น ประชาชนอาจป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจมากขึ้น โดยเฉพาะไข้หวัดและปอดบวม จากรายงานของสำนักระบาดวิทยา ในปี 2556 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 14 ธ.ค.พบผู้ป่วยโรคปอดบวมแล้ว 175,221 ราย กลุ่มที่พบว่าป่วยสูงที่สุดคือเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 69,731 ราย คิดเป็นร้อยละ 40 ของผู้ป่วยทั้งหมด รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 55 ปีขึ้นไป จำนวน 49,330 ราย โดยมีเสียชีวิต 991 ราย ทั้งนี้ โรคปอดบวมมักเกิดตามมาหลังจากป่วยเป็นไข้หวัด จากการติดตามสถานการณ์โรคทางเดินหายใจในช่วงหน้าหนาวในพื้นที่ภาคเหนือ เช่น รพ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ขณะนี้มีผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเข้ารักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นกว่าช่วงปกติร้อยละ 15 และพบโรคปอดบวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 10
“ขอแนะนำว่าหากป่วยเป็นไข้หวัดขอให้นอนพักผ่อนให้มากๆ และอาจกินยาลดไข้ประเภทพาราเซตามอล อาการจะดีขึ้นเรื่อยๆ แต่หากไข้สูงเกิน 3 วัน ไอมากและเจ็บหน้าอก น้ำมูกเปลี่ยนสีจากสีเหลืองอ่อนๆ เป็นสีเขียว ขอให้สงสัยว่าอาจมีโรคแทรกซ้อนที่ปอด ต้องรีบพบแพทย์ ส่วนในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี หากป่วยเป็นไข้หวัด พ่อแม่ต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ให้เด็กดื่มน้ำหรือนมบ่อยๆ นอนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่นโจ๊ก เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำธรรมดาและให้กินยาลดไข้ประเภทพาราเซตามอล อาการจะค่อยๆ ดีขึ้น ไข้ลดลง และหายป่วยประมาณ 1 สัปดาห์ แต่หากยังไม่ดีขึ้นใน 3 วัน หรือเด็กมีอาการซึมลง ไม่กินน้ำกินนม หรือมีไข้สูง ไอ หายใจหอบเร็ว หรือหายใจมีเสียงฮืดหรือเสียงหวีด หายใจแรงจนชายโครงบุ๋ม ซึ่งเป็นสัญญาณของโรคปอดบวม ให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาตั้งแต่ระยะแรก อันตรายต่างๆจะน้อยลง” ปลัด สธ.กล่าว
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า การป้องกันโรคปอดบวมในช่วงฤดูหนาว ขอให้ประชาชนออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างภูมิต้านทานโรค ให้กินร้อน ช้อนกลาง และล้างมือบ่อยๆ เพื่อขจัดเชื้อโรคต่างๆ ที่ติดมากับมือ ผู้สูงอายุขอให้ใส่เสื้อกันหนาว หรือใส่เสื้อผ้าหลายๆ ชั้น ส่วนในเด็กเล็ก ขอให้ผู้ปกครองดูแลความอบอุ่น สวมเสื้อผ้าหนาๆ หรือเสื้อกันหนาว หลีกเลี่ยงพาเด็กเล็กเข้าไปในบริเวณที่มีคนแออัดหรือมีควันไฟในบ้าน ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ ซึ่งทำให้มีโอกาสเป็นหวัดได้ง่าย ส่วนหญิงหลังคลอดขอแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ภูมิต้านทานจากแม่จะส่งผ่านไปให้ลูกทางน้ำนม เด็กจะไม่เจ็บป่วยง่าย เป็นการเพิ่มภูมิต้านทานโรคตามธรรมชาติให้เด็ก
นพ.ณรงค์ กล่าวด้วยว่า โดยทั่วไปโรคไข้หวัดเป็นโรคติดต่อที่ไม่อันตราย ติดต่อกันจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย โดยเชื้อจะแพร่กระจายมาจากน้ำมูก น้ำลาย เสมหะของผู้ป่วยโดยตรง หรือติดมากับสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วย เริ่มแรกมักมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ต่ำๆ คัดจมูก ไอจาม ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย อาการมักหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ โดยหลังจากวันที่ 3 อาการควรจะเริ่มดีขึ้น ไข้ลดลง แต่อาจไอต่อไปได้อีก 1-2 สัปดาห์