อภ.ยันมีข้อมูลทุกอย่าง พร้อมให้ตรวจสอบปัญหาที่ รมว.สธ.สงสัย แจง 3 เหตุหลักสร้างโรงงานวัคซีนช้า พ่วงใช้เทคโนโลยีใหม่มาตรฐานสูงกว่าเดิม ย้ำส่งคืนวัตถุดิบผลิตยาพาราฯมีปัญหาแล้ว ด้าน บอร์ด อภ.เร่งหาประธาน คกก.สอบสวน และ คกก.สอบข้อเท็จจริง
นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวถึงกรณี นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ยื่นเรื่องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) สอบเรื่องการสร้างโรงงานผลิตวัคซีนล่าช้า และวัตถุดิบผลิตยาพาราเซตามอลมีปัญหา ว่า ตนมีข้อมูลทุกอย่างและพร้อมให้ความร่วมมือในการตรวจสอบ เนื่องจากทุกคนปฏิบัติตามหน้าที่ มีหลักฐานการทำงาน อย่างโรงงานวัคซีนเป็นการทำงานร่วมกับองค์การอนามัยโลก (WHO) มาตรฐานจึงไม่เหมือนโรงงานวัคซีนในอดีต และมีการใช้เทคโนโลยีแบบใหม่ ทำให้ต้องอาศัยความร่วมมือกับต่างประเทศในการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งปัจจุบันญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลืออยู่ โดยขอยืนยันว่าความล่าช้าไม่เกี่ยวกับเรื่องเชื้อเป็นเชื้อตาย แต่เกิดจาก 1.ฐานรากอาคารตั้งอยู่บนพื้นดินที่มีพื้นหินชั้นใต้อยู่ หากมีน้ำป่าฐานรากจะเสี่ยงต่อการกัดเซาะได้ 2.น้ำท่วม ซึ่งได้ขยายตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) และ 3.การทบทวนแบบตามสัญญาจ้างของบริษัทที่สร้างโรงงานวัคซีนเพื่อให้ได้มาตรฐานความปลอดภัยของ WHO จีเอ็มพี จึงใช้เวลาทบทวนนานพอสมควร และหลังทบทวนผู้รับเหมาคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นที่ปรึกษาได้คำนวณแล้วไม่เกิน 45 ล้านบาท จึงได้นำเสนอคณะกรรมาธิการสาธารณสุขไปหลายครั้งแล้ว ซึ่งทางบริษัทรับเหมาต่อรองไว้ 59 ล้านบาท หากบริษัทที่ปรึกษาเสนอ 45 ล้านบาท ว่าเป็นวงเงินเหมาะสม สัปดาห์หน้าก็จะทำหนังสือยืนยันกับบริษัทอีกครั้งว่า หากไม่ดำเนินการเราจะยกเลิกสัญญา
“โรงงานนี้ต้องใช้มาตรฐานสูง ไม่เหมือนโรงงานทั่วไป เพราะไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก ต้องมีความปลอดภัยมาก ขณะเดียวกันงานวิจัยของวัคซีนก็ยังทำ โดยมีความคืบหน้าไปอย่างดีร้อยละ 53 โรงงานวัคซีนชนิดเชื้อตาย โดยกำลังการผลิตอยู่ที่ 2 ล้านโดส และจะขยายขึ้นไปให้ได้ 10 ล้านโดส” ผอ.อภ.กล่าว
นพ.วิทิต กล่าวอีกว่า ส่วนเรื่องยาพาราฯ ได้มีการชี้แจงหลายรอบแล้วว่า การที่ อภ.มาผลิตอีกครั้ง เพราะเมื่อหลายปีก่อนมีเรื่องคุณภาพในการจ้างผลิต จึงนำกลับมาดูแลเอง โดยนำเข้ามาล็อตแรกเพื่อทดลองผลิต และล็อตที่ 2 อีก 100 ตัน ได้นำเข้ามาตอนน้ำท่วมใหญ่ปี 2550 แต่เนื่องจากโรงงานเภสัชกรรมทหารต้องใช้ 10 ตัน เราก็ส่งไปให้ 5 ตัน 2 ครั้ง ขณะนี้ได้ทำเรื่องคืนวัตถุดิบดังกล่าวแล้ว โดยทาง อภ.ยังมีบริษัทที่อยู่ในรายการที่สามารถสั่งซื้อวัตถุดิบได้อีก 2 บริษัท แต่ยังไม่ได้เริ่มกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ส่วนตัวเลขว่า มีความผิดปกติ 19 ล็อตนั้น จริงๆ เป็นตัวเลขที่ดำเนินการมา 5 ปี ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี ประธานบอร์ด อภ.กล่าวว่า บอร์ด อภ.ชุดปัจจุบันเพิ่งเข้ามารับหน้าที่เมื่อเดือน ธ.ค.55 โดยมีการติดตามการทำงานอย่างต่อเนื่องและเพื่อความโปร่งใส จะมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนในส่วนของกรณีการสร้างโรงงานที่ล่าช้า และตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ในส่วนของความผิดปกติของสั่งซื้อวัตถุดิบผลิตยาพาราฯ ซึ่งอยู่ระหว่างการหาประธานคณะกรรมการสอบสวนทั้งสองชุด โดยในส่วนของโรงงานผลิตวัคซีนนั้นพบว่า มีมูลความผิดปกติในเรื่องของความล่าช้า และมีข้อมูลเชื่อมโยงไปถึงตัวบุคคลได้ แต่ขอไม่เปิดเผยรายละเอียด เพราะจะกระทบต่อการสอบสวน จึงขอให้เป็นเรื่องของคณะกรรมการ และ ดีเอสไอ ที่จะทำหน้าที่ ทั้งนี้ ปัจจุบันโรงงานวัคซีนสร้างเสร็จไปประมาณร้อยละ 50 โดยตามสัญญาจะต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในเดือน ม.ค.56 ซึ่งจะมีการติดตามและให้ผู้รับเหมาทำงานให้เสร็จตามสัญญา นอกจากนี้ พบว่ายังติดปัญหาเรื่องของผู้รับเหมาบางส่วนที่ยังมีการต่อรองราคาอยู่ โดยจะหาผู้เชี่ยวชาญด้านงานก่อสร้างมาดูเรื่องดังกล่าวเพิ่มเติมด้วย
นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวถึงกรณี นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ยื่นเรื่องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) สอบเรื่องการสร้างโรงงานผลิตวัคซีนล่าช้า และวัตถุดิบผลิตยาพาราเซตามอลมีปัญหา ว่า ตนมีข้อมูลทุกอย่างและพร้อมให้ความร่วมมือในการตรวจสอบ เนื่องจากทุกคนปฏิบัติตามหน้าที่ มีหลักฐานการทำงาน อย่างโรงงานวัคซีนเป็นการทำงานร่วมกับองค์การอนามัยโลก (WHO) มาตรฐานจึงไม่เหมือนโรงงานวัคซีนในอดีต และมีการใช้เทคโนโลยีแบบใหม่ ทำให้ต้องอาศัยความร่วมมือกับต่างประเทศในการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งปัจจุบันญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลืออยู่ โดยขอยืนยันว่าความล่าช้าไม่เกี่ยวกับเรื่องเชื้อเป็นเชื้อตาย แต่เกิดจาก 1.ฐานรากอาคารตั้งอยู่บนพื้นดินที่มีพื้นหินชั้นใต้อยู่ หากมีน้ำป่าฐานรากจะเสี่ยงต่อการกัดเซาะได้ 2.น้ำท่วม ซึ่งได้ขยายตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) และ 3.การทบทวนแบบตามสัญญาจ้างของบริษัทที่สร้างโรงงานวัคซีนเพื่อให้ได้มาตรฐานความปลอดภัยของ WHO จีเอ็มพี จึงใช้เวลาทบทวนนานพอสมควร และหลังทบทวนผู้รับเหมาคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นที่ปรึกษาได้คำนวณแล้วไม่เกิน 45 ล้านบาท จึงได้นำเสนอคณะกรรมาธิการสาธารณสุขไปหลายครั้งแล้ว ซึ่งทางบริษัทรับเหมาต่อรองไว้ 59 ล้านบาท หากบริษัทที่ปรึกษาเสนอ 45 ล้านบาท ว่าเป็นวงเงินเหมาะสม สัปดาห์หน้าก็จะทำหนังสือยืนยันกับบริษัทอีกครั้งว่า หากไม่ดำเนินการเราจะยกเลิกสัญญา
“โรงงานนี้ต้องใช้มาตรฐานสูง ไม่เหมือนโรงงานทั่วไป เพราะไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก ต้องมีความปลอดภัยมาก ขณะเดียวกันงานวิจัยของวัคซีนก็ยังทำ โดยมีความคืบหน้าไปอย่างดีร้อยละ 53 โรงงานวัคซีนชนิดเชื้อตาย โดยกำลังการผลิตอยู่ที่ 2 ล้านโดส และจะขยายขึ้นไปให้ได้ 10 ล้านโดส” ผอ.อภ.กล่าว
นพ.วิทิต กล่าวอีกว่า ส่วนเรื่องยาพาราฯ ได้มีการชี้แจงหลายรอบแล้วว่า การที่ อภ.มาผลิตอีกครั้ง เพราะเมื่อหลายปีก่อนมีเรื่องคุณภาพในการจ้างผลิต จึงนำกลับมาดูแลเอง โดยนำเข้ามาล็อตแรกเพื่อทดลองผลิต และล็อตที่ 2 อีก 100 ตัน ได้นำเข้ามาตอนน้ำท่วมใหญ่ปี 2550 แต่เนื่องจากโรงงานเภสัชกรรมทหารต้องใช้ 10 ตัน เราก็ส่งไปให้ 5 ตัน 2 ครั้ง ขณะนี้ได้ทำเรื่องคืนวัตถุดิบดังกล่าวแล้ว โดยทาง อภ.ยังมีบริษัทที่อยู่ในรายการที่สามารถสั่งซื้อวัตถุดิบได้อีก 2 บริษัท แต่ยังไม่ได้เริ่มกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ส่วนตัวเลขว่า มีความผิดปกติ 19 ล็อตนั้น จริงๆ เป็นตัวเลขที่ดำเนินการมา 5 ปี ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี ประธานบอร์ด อภ.กล่าวว่า บอร์ด อภ.ชุดปัจจุบันเพิ่งเข้ามารับหน้าที่เมื่อเดือน ธ.ค.55 โดยมีการติดตามการทำงานอย่างต่อเนื่องและเพื่อความโปร่งใส จะมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนในส่วนของกรณีการสร้างโรงงานที่ล่าช้า และตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ในส่วนของความผิดปกติของสั่งซื้อวัตถุดิบผลิตยาพาราฯ ซึ่งอยู่ระหว่างการหาประธานคณะกรรมการสอบสวนทั้งสองชุด โดยในส่วนของโรงงานผลิตวัคซีนนั้นพบว่า มีมูลความผิดปกติในเรื่องของความล่าช้า และมีข้อมูลเชื่อมโยงไปถึงตัวบุคคลได้ แต่ขอไม่เปิดเผยรายละเอียด เพราะจะกระทบต่อการสอบสวน จึงขอให้เป็นเรื่องของคณะกรรมการ และ ดีเอสไอ ที่จะทำหน้าที่ ทั้งนี้ ปัจจุบันโรงงานวัคซีนสร้างเสร็จไปประมาณร้อยละ 50 โดยตามสัญญาจะต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในเดือน ม.ค.56 ซึ่งจะมีการติดตามและให้ผู้รับเหมาทำงานให้เสร็จตามสัญญา นอกจากนี้ พบว่ายังติดปัญหาเรื่องของผู้รับเหมาบางส่วนที่ยังมีการต่อรองราคาอยู่ โดยจะหาผู้เชี่ยวชาญด้านงานก่อสร้างมาดูเรื่องดังกล่าวเพิ่มเติมด้วย