“หมอประดิษฐ” เตรียมงานเข้า! เจอม็อบขับไล่เกือบรายวัน สหภาพฯ อภ.ขู่ชุมนุม หลัง สธ.ให้ข่าวยื่นดีเอสไอสอบยาพาราฯปนเปื้อนผิด กลายเป็นยาปลอม ทำให้ภาพลักษณ์เสียหาย รมว.สธ.ยอมขอโทษหากทำให้เข้าใจผิด
วันนี้ (2 เม.ย.) ที่องค์การเภสัชกรรม นายระวัย ภู่ผะกา ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า การที่ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และนายกมล บันไดเพชร เลขานุการ รมว.สาธารณสุข ได้ยื่นกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ให้สอบสวน อภ.กรณีสร้างโรงงานผลิตวัคซีนช้า และการสั่งซื้อยาพาราเซตามอลมีความผิดปกติ เนื่องจากพบการปลอมปนนั้น ถือว่าทำให้ อภ.เสียหาย เพราะการปลอมปนยา ตาม พ.ร.บ.ยา แล้วถือว่าเป็นยาปลอม ห้ามจำหน่าย ห้ามบริโภค เป็นการทำลายชื่อเสียงความเชื่อถือ และความไว้วางใจในผลิตภัณฑ์และทำลายภาพลักษณ์ของ อภ.หากประธานคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด อภ.) ยังไม่ดำเนินการใดๆ ภายใน 1 สัปดาห์ สหภาพฯ จะเดินทางไปยื่นหนังสือขับไล่ นพ.ประดิษฐ และนายกมล ให้ออกจากตำแหน่งที่ สธ.
“ไม่มีการปลอมปนวัตถุดิบการผลิตยาแน่นอน ส่วนการปนเปื้อนยอมรับว่า อาจมีบ้าง แต่มีมาตรฐานที่กำหนดไว้ ส่วนกรณีการก่อสร้างโรงงานวัคซีนยืนยันว่า ไม่มีการทุจริตอย่าง แต่ไม่ว่าผลการสอบสวนของดีเอสไอจะเป็นเช่นไรก็พร้อมยอมรับ เนื่องจากการทุจริตและคุณภาพยาในภาพรวมถือเป็นคนละเรื่องกัน” นายระวัย กล่าว
ด้าน นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า การให้ดีเอสไอตรวจสอบไม่ได้ต้องการกล่าวหาใคร แต่ต้องการข้อเท็จจริง หากตนหรือนายกมลสื่อสารแล้วทำให้สหภาพฯ เข้าใจผิด หรือคิดว่าเป็นการดิสเครดิต จนเกิดภาพพจน์ที่ไม่ดี ก็ต้องขอโทษและขออภัย เพราะตนก็รักองค์กรเช่นกัน ยืนยันว่าการสั่งให้สอบสวนเรื่องดังกล่าวเพียงต้องการชำระสะสางข้อมูล ทำให้เกิดคำตอบที่ชัดเจน ซึ่งต่อจากนี้ประชาชนจำเป็นต้องได้รับคำตอบในเรื่องที่มีความผิดปกติ ไม่ใช่เงียบหายไปแบบไม่มีคำตอบ โดยตนจะถือเป็นแนวทางปฏิบัติในอนาคตว่าทุกเรื่องต้องสามารถตอบสังคมได้
“เชื่อว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเพียงการสื่อสารที่ไม่ถูกต้องเท่านั้น การส่งเรื่องให้ดีเอสไอสอบสวนเกิดจากกรณีของการปนเปื้อน จึงต้องการจัดการปัญหา ส่วนเรื่องจะใส่ชุดดำมาขับไล่ออกจากตำแหน่งนั้น อยากให้ประชาชนและสหภาพฯ ใช้วิจารณญาณว่าเหมาะสมหรือไม่ กับการที่ผมต้องการหาข้อเท็จจริง” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี ประธานกรรมการ อภ.กล่าวว่า หลังจากตรวจสอบพบสารปนเปื้อน ได้สั่งการให้ ผอ.อภ.ส่งคืนวัตถุดิบผลิตยาพาราเซตามอลทั้งหมดให้กับบริษัทตัวแทนในประเทศไทยและบริษัทผู้ผลิต ซึ่งทางบริษัทยินดีรับวัตถุดิบทั้งหมด และ อภ.จะได้ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้คืนทั้งหมด เพราะความน่าเชื่อถือเวชภัณฑ์ที่ อภ.ผลิตเรื่องของคุณภาพจะต้องมาเป็นอันดับแรก ส่วนประเด็นที่มีการกล่าวถึงวัตถุดิบผลิตยาพาราฯปลอมนั้น เป็นความไม่เข้าใจของผู้ให้ข่าว โดยให้คำนิยามคำว่ายาปนเปื้อนเป็นยาปลอม ซึ่งข้อเท็จจริงแล้วคือ วัตถุดิบดังกล่าวมีสารปนเปื้อนไม่ใช่ยาปลอม ซึ่งในกระบวนการผลิตอาจมีการตรวจพบได้
นพ.พิพัฒน์ กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีโรงงานวัคซีน คณะกรรมการ อภ.มีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งกรรมการสอบสวนและได้ออกคำสั่งไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยให้ นพ.สมชัย นิจพานิจ อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นประธานคณะกรรมการสอบสวน ส่วนประเด็นเรื่องความล่าช้าของโรงงานผลิตยาต้านไวรัสเอดส์และกรณีของโรงงาน Mass Production โรงงานผลิตยาพาราเซตามอลแห่งใหม่ที่พระรามที่ 6 ก็ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วยเช่นกัน โดยมี นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยคณะกรรมการสอบสวนและคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 30 วัน และยินดีให้ความร่วมมือกับทุกฝ่ายในการสอบสวนข้อเท็จจริง
“ขณะนี้ อภ.ได้ส่งหนังสือสอบถามไปยัง องค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่ออธิบายข้อเท็จจริง ในเรื่องของการเทคโนโลยีการก่อสร้างโรงงาน ซึ่งจะสามารถอธิบายที่ไปที่มาของการยกระดับมาตรฐานโรงานจากระดับ 2 เป็นระดับ 2 บวกว่าเกิดจากเหตุผลใด เพื่อให้เกิดความชัดเจน ส่วนปัญหาอื่นๆ อยากให้รอผลการสอบสวนของคณะกรรมการ ซึ่งจะสามารถอธิบายได้ชัดเจนว่า ใครมีความเกี่ยวข้องอย่างไร เกิดความผิดพลาดหรือบกพร่องอย่างไร” นพ.พิพัฒน์ กล่าว
วันนี้ (2 เม.ย.) ที่องค์การเภสัชกรรม นายระวัย ภู่ผะกา ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า การที่ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และนายกมล บันไดเพชร เลขานุการ รมว.สาธารณสุข ได้ยื่นกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ให้สอบสวน อภ.กรณีสร้างโรงงานผลิตวัคซีนช้า และการสั่งซื้อยาพาราเซตามอลมีความผิดปกติ เนื่องจากพบการปลอมปนนั้น ถือว่าทำให้ อภ.เสียหาย เพราะการปลอมปนยา ตาม พ.ร.บ.ยา แล้วถือว่าเป็นยาปลอม ห้ามจำหน่าย ห้ามบริโภค เป็นการทำลายชื่อเสียงความเชื่อถือ และความไว้วางใจในผลิตภัณฑ์และทำลายภาพลักษณ์ของ อภ.หากประธานคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด อภ.) ยังไม่ดำเนินการใดๆ ภายใน 1 สัปดาห์ สหภาพฯ จะเดินทางไปยื่นหนังสือขับไล่ นพ.ประดิษฐ และนายกมล ให้ออกจากตำแหน่งที่ สธ.
“ไม่มีการปลอมปนวัตถุดิบการผลิตยาแน่นอน ส่วนการปนเปื้อนยอมรับว่า อาจมีบ้าง แต่มีมาตรฐานที่กำหนดไว้ ส่วนกรณีการก่อสร้างโรงงานวัคซีนยืนยันว่า ไม่มีการทุจริตอย่าง แต่ไม่ว่าผลการสอบสวนของดีเอสไอจะเป็นเช่นไรก็พร้อมยอมรับ เนื่องจากการทุจริตและคุณภาพยาในภาพรวมถือเป็นคนละเรื่องกัน” นายระวัย กล่าว
ด้าน นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า การให้ดีเอสไอตรวจสอบไม่ได้ต้องการกล่าวหาใคร แต่ต้องการข้อเท็จจริง หากตนหรือนายกมลสื่อสารแล้วทำให้สหภาพฯ เข้าใจผิด หรือคิดว่าเป็นการดิสเครดิต จนเกิดภาพพจน์ที่ไม่ดี ก็ต้องขอโทษและขออภัย เพราะตนก็รักองค์กรเช่นกัน ยืนยันว่าการสั่งให้สอบสวนเรื่องดังกล่าวเพียงต้องการชำระสะสางข้อมูล ทำให้เกิดคำตอบที่ชัดเจน ซึ่งต่อจากนี้ประชาชนจำเป็นต้องได้รับคำตอบในเรื่องที่มีความผิดปกติ ไม่ใช่เงียบหายไปแบบไม่มีคำตอบ โดยตนจะถือเป็นแนวทางปฏิบัติในอนาคตว่าทุกเรื่องต้องสามารถตอบสังคมได้
“เชื่อว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเพียงการสื่อสารที่ไม่ถูกต้องเท่านั้น การส่งเรื่องให้ดีเอสไอสอบสวนเกิดจากกรณีของการปนเปื้อน จึงต้องการจัดการปัญหา ส่วนเรื่องจะใส่ชุดดำมาขับไล่ออกจากตำแหน่งนั้น อยากให้ประชาชนและสหภาพฯ ใช้วิจารณญาณว่าเหมาะสมหรือไม่ กับการที่ผมต้องการหาข้อเท็จจริง” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี ประธานกรรมการ อภ.กล่าวว่า หลังจากตรวจสอบพบสารปนเปื้อน ได้สั่งการให้ ผอ.อภ.ส่งคืนวัตถุดิบผลิตยาพาราเซตามอลทั้งหมดให้กับบริษัทตัวแทนในประเทศไทยและบริษัทผู้ผลิต ซึ่งทางบริษัทยินดีรับวัตถุดิบทั้งหมด และ อภ.จะได้ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้คืนทั้งหมด เพราะความน่าเชื่อถือเวชภัณฑ์ที่ อภ.ผลิตเรื่องของคุณภาพจะต้องมาเป็นอันดับแรก ส่วนประเด็นที่มีการกล่าวถึงวัตถุดิบผลิตยาพาราฯปลอมนั้น เป็นความไม่เข้าใจของผู้ให้ข่าว โดยให้คำนิยามคำว่ายาปนเปื้อนเป็นยาปลอม ซึ่งข้อเท็จจริงแล้วคือ วัตถุดิบดังกล่าวมีสารปนเปื้อนไม่ใช่ยาปลอม ซึ่งในกระบวนการผลิตอาจมีการตรวจพบได้
นพ.พิพัฒน์ กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีโรงงานวัคซีน คณะกรรมการ อภ.มีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งกรรมการสอบสวนและได้ออกคำสั่งไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยให้ นพ.สมชัย นิจพานิจ อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นประธานคณะกรรมการสอบสวน ส่วนประเด็นเรื่องความล่าช้าของโรงงานผลิตยาต้านไวรัสเอดส์และกรณีของโรงงาน Mass Production โรงงานผลิตยาพาราเซตามอลแห่งใหม่ที่พระรามที่ 6 ก็ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วยเช่นกัน โดยมี นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยคณะกรรมการสอบสวนและคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 30 วัน และยินดีให้ความร่วมมือกับทุกฝ่ายในการสอบสวนข้อเท็จจริง
“ขณะนี้ อภ.ได้ส่งหนังสือสอบถามไปยัง องค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่ออธิบายข้อเท็จจริง ในเรื่องของการเทคโนโลยีการก่อสร้างโรงงาน ซึ่งจะสามารถอธิบายที่ไปที่มาของการยกระดับมาตรฐานโรงานจากระดับ 2 เป็นระดับ 2 บวกว่าเกิดจากเหตุผลใด เพื่อให้เกิดความชัดเจน ส่วนปัญหาอื่นๆ อยากให้รอผลการสอบสวนของคณะกรรมการ ซึ่งจะสามารถอธิบายได้ชัดเจนว่า ใครมีความเกี่ยวข้องอย่างไร เกิดความผิดพลาดหรือบกพร่องอย่างไร” นพ.พิพัฒน์ กล่าว